WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     ดัชนียังมีความผันผวนสูง Fund Flow เริ่มชะลอตัว หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางโลกน้อยกว่าคาด แนะนำขายหุ้นเต็มมูลค่า และมาสะสมหุ้นปันผล ยัง Laggard (ADVANC, RATCH, PS, BBL, SCCC, TMB) หรือได้ประโยชน์ต้นทุนน้ำมันต่ำ (BA, TASCO) เลือก TASCO([email protected]) และ RATCH(FV@B60) Top picks

เงินเฟ้อไทยยังต่ำ แต่เป็นไปตามกระแสโลก หนุน กนง. ยืนดอกเบี้ยฯ ที่เดิม
      เงินเฟ้อ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 0.1%yoy ชะลอจากที่ขยายตัว 0.38% ในเดือน มิ.ย. (เฉลี่ย ม.ค.-ก.ค. เท่ากับ -0.07%) โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากหมวด ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์ เพิ่ม 13% เคหสถานเพิ่ม 1.41% สวนทางกับสินค้าในหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 8.03% จากสถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวล่าช้า ทำให้เชื่อว่าการประชุม กนง. 3 ส.ค. น่าจะยืนดอกเบี้ยต่อไป
ทั้งนี้เงินเฟ้อไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ นับว่าสอดคล้องทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น เงินเฟ้อ ล่าสุด (-0.4%) ยุโรป 0.1% อังกฤษ 0.3% และสหรัฐ 1% ซึ่งเป็นเหตุผลให้ธนาคารกลางทั่วโลก จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ผ่านการคงดอกเบี้ยที่เดิมดังเช่นการประชุมของธนาคารกลางสำคัญ ๆ ของโลก เช่น Fed ECB และ BOJ คงนโยบายการเงินโดยยืนดอกเบี้ยฯในระดับต่ำตามเดิม
และวันที่ 2 ส.ค. นี้ตลาดคาดผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) น่าจะลดดอกเบี้ยลง 25bps มาอยู่ที่ 1.5% หลังจากเงินเฟ้อ ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 1% ลดลงต่อเนื่องจาก 1.7% ม.ค. 2559
อย่างไรก็ตามการชะลอการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางหลัก ๆ น่าจะสร้างแรงกดดันตลาดหุ้นโลกที่ปรับตัวขึ้นมาในช่วงก่อนหน้าปรับฐานในช่วงสั้น จนกว่าธนาคารกลางสำคัญๆ จะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่

ค่าเงินเอเชียแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์ ดีต่อ BJC, TPIPL, SMIT
    หลังจากสหรัฐการรายงาน GDP Growth งวด 2Q59 ต่ำกว่าคาด และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจด้านการผลิตยังชะลอตัว (PMI และ ISM) มีน้ำหนักหักล้างการฟื้นตัวการบริโภคภาคครัวเรือน (ยอดขายบ้าน) ทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐล่าช้าออกไปดังที่กล่าวไปวานนี้ และกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาอ่อนค่าระยะสั้น หลังจากแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่าราว 2.6 % นับจากวันลงประชามติของอังกฤษเมื่อ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตรงกันข้ามกับค่าเงินยูโรที่กลับมาแข็งราว 2% ในช่วง 1 สัปดาห์ (ยกเว้นค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า) และเช่นเดียวกับค่าเงินเอเชียพบว่าอยู่ในทิศทางแข็งค่า นับจากที่มีการลงประชามติของอังกฤษ โดยพบว่าเงินบาทแข็งค่ามากสุดราว 5.72% ตามมาด้วยเงินรูเปียะห์ของอินโดนีเซีย แข็งค่า 4% ขณะที่เงินริงกิตของมาเลเซีย และเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ค่อนข้างทรงตัว ในสถานการณ์นี้ถือว่าน่าจะกดดันภาคส่งออก หากมีรายได้ในรูปดอลลาร์ แต่ต้นทุนคงที่อยู่ในรูปเงินบาท เช่น KCE, DELTA, HANA, SVI, เป็นต้น
      ตรงกันข้ามน่าจะดีต่อผู้ประกอบการที่มีหนี้สินต่างประเทศ และผู้ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หากโครงสร้างรายได้อยู่ในรูปเงินบาทเป็นส่วนใหญ่ แต่ต้นทุนอยู่ในรูปสกุลดอลลาร์ กล่าวคือ

กลุ่มที่มีหนี้สิน
BJC(FV@B47) มีหนี้สกุลยูโร 3.2 พันล้านยูโร (เกิดจากการซื้อหุ้น BIGC จากผู้ถือหุ้นเดิมคือ กลุ่มคาสิโนฯ) แต่อย่างไรก็ตามงวด 2Q59 คาดว่าอาจจะมี unrealized loss from Hedging ราว 300 ลบ. จากการอ่อนค่าของเงินยูโรเทียบกับเงินบาทอย่างเร็วช่วงปลาย 2Q59 (ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ทำ Hedging) แต่คาดว่าน่าจะกลับมามี FX Gain ในงวด 3Q59 ซึ่งบริษัทมีแผนจะจ่ายคืนเงินกู้ ราว 61% ของยอดทั้งหมด หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน คาดว่าจะมี Realised FX gain ราว 1,000 ล้านบาท (ตั้งแต่ต้นงวด 3Q59 บริษัททำ Hedging มากขึ้น จนครบ 100% แล้ว และมีต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ยังถูกกว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการกู้ คือ 21 มี.ค. 59)
TPIPL([email protected]) มีหนี้สกุลยูโร 160 ล้านยูโร คิดเป็น 0.4% ของต้นทุนการเงินทั้งหมด บริษัทไม่ได้มีการทำ Hedging จึงน่าจะมีกำไรในงวด 2Q59 ตามการแข็งค่าเงินเงินบาท เทียบกับยูโร

มีรายได้ และต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศ
SMIT([email protected]) เป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่น เพื่อใช้ทำแม่พิมพ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม โดยมีรายได้เกือบ 100% เป็นเงินบาท ขณะที่มีต้นทุนดอลลาร์ 30% และยูโร 70% แต่ได้ทำ Forward ประมาณ 60% ของต้นทุนจึงน่าจะได้ประโยชน์ ทำให้น่าจะเห็น Net margin เพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ
BSBM([email protected]) รายได้เกือบ 100% เป็นเงินบาท ขณะที่ต้นทุนดอลลาร์เกือบ 100% จึงน่าจะได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้ กล่าวคือ ทุก 4 บาท ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กอยู่ในภาวะ oversupply ทำให้การแข่งขันยังคงรุนแรง
THAI([email protected]) มีรายได้สกุลดอลลาร์ 50% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 48% ถือว่า natural hedge
BA([email protected]) มีรายได้สกุลดอลลาร์ 50% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 50% ถือว่าเป็น natural hedge
AAV([email protected]) มีรายได้สกุลดอลลาร์ 30% ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอลลาร์ 50% น่าจะได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้

ต่างชาติยังซื้อสุทธิในภูมิภาค แต่ชะลอการซื้อหุ้นไทย
     Fund Flow ยังไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคเป็นระลอกๆ โดยวานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 โดยมียอดรวมอยู่ที่ 856 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 421 ล้านเหรียญ รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 258 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 14), ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 140 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ และตลาดหุ้นไทยมียอดซื้อสุทธิเพียง 22 ล้านเหรียญ หรือ 752 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่ายอดซื้อสุทธิเฉลี่ยในช่วง 16 วันที่ผ่านมามาก (ยอดซื้อสุทธิเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 2.6 พันล้านบาท) ขณะที่มีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันฯ กว่า 3.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) มีน้ำหนักกดดัน ตลาดหุ้นไทยให้ติดลบ 11.45 จุด หรือ 0.75% เมื่อวานนี้
     ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 8.9 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิสูงถึง 2.2 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)

ตลาดหุ้นโลกมีค่า P/E เกิน 18 เท่า บ่งบอกความแพง
     ดังที่เคยกล่าวแล้วว่าปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐ ได้ขึ้นมาเกินกว่าจุด high เดิมทั้ง 2 ช่วง กล่าวคือ ช่วงแรกก่อนวิกฤติ subprime ปลายปี 2550 พบว่าดัชนีดาวโจนส์ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่บริเวณ 14,198 จุด ส่วน S&P500 ทำจุดสูงสุดที่บริเวณ 1,576 จุด ก่อนที่ดัชนีทั้งคู่จะดิ่งลงอย่างรุนแรง ดาวโจนส์ลดลงเหลือ 6,470 จุด หรือกว่า 55% ส่วน S&P500 ลดลงเหลือเพียง 666 จุด หรือกว่า 58%
แต่ช่วง 2 คือ หลังจากการใช้มาตรการ QE และการใช้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ก็ช่วยหนุนให้ทั้ง 2 ตลาด วิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาทำจุดสูงสุดกลางปี 2558 โดยดาวโจนส์ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่บริเวณ 18,351 จุด หรือ 185% ส่วน S&P500 ทำจุดสูงสุดที่บริเวณ 2,130 จุด และสูงกว่า high แรก (ก่อน subprime) ราว 86% สาเหตุหลักมาจากจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องมากกว่าประเทศพัฒนาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป (ซึ่งตลาดหุ้นทำ high ครั้งที่ 2 ช่วงกลางปี 2558 เช่นกัน แต่สูงกว่าช่วง high แรก ก่อน subprime ไม่มาก เพียง 52%) หรือ ญี่ปุ่น (ตลาดหุ้นทำ high ครั้งที่ 2 ช่วงกลางปี 2558 เช่นกัน แต่สูงกว่าช่วง high แรก ก่อน subprime ไม่มาก เพียง 14%)
ขณะที่ทางฝั่งเอเชีย (ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย) พบว่า ช่วงก่อน subprime ตลาดหุ้นแม้จะทำ high แต่ก็ไม่ได้ปรับขึ้นอย่างมีนัยฯ มากนัก เมื่อเทียบกับพัฒนาแล้วดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น เมื่อผ่านพ้นวิกฤติ subprime ตลาดหุ้นเอเชียจึงปรับขึ้นได้รุนแรงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เฉลี่ย 3 ประเทศปรับขึ้นเกินกว่า 350%
แต่อย่างไรก็ตาม หลังความคาดหวังที่มาตรการผ่อนคลายทางการเงินจะมีความเป็นไปได้น้อยลง และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ เริ่มส่งสัญญานชะลอตัวดังกล่าวข้างต้น และปัญหา Brexit ที่รออยู่ น่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐาน

    สำหรับตลาดหุ้นไทย ระยะสั้นเชื่อว่ามีโอกาสลงมาทดสอบ 1,510-1500 จุด กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำ Selective Buy เลือกหุ้นที่ได้ประเด็นบวกหรือมีปัจจัยหนุน ได้แก่

     หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลดลงของราคาน้ำมัน ได้แก่ หุ้นขนส่งทางอากาศ ชอบ BA([email protected]) เพราะราคาตลาดมี upside สูงสุดถึงกว่า 30% แม้ระยะสั้นอาจจะถูกกดดันจากการจ่ายภาษีฯ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แต่น่าจะเป็นโอกาสสะสม เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว และตามมาด้วย ผู้ผลิตยางมะตอย ที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบ คือ TASCO ([email protected]) แม้ในทางปฏิบัติได้มีการทำสัญญาขายล่วงหน้าแล้ว ราว 30-65% ของผลิตภัณฑ์รวม (ยางมะตอยคิดเป็น 70%ของยอดผลิต ขณะที่น้ำมันใส 30%) ก็ตาม (น้ำมันใสมีการทำ Hedging ไว้ทั้งหมด ราคาน้ำมันลงจึงน่าจะได้ Hedging gain ส่วนยางมะตอยแล้วแต่สถานการณ์) ราคาตลาดมีกว่า upside 25%


หุ้นที่อิงกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Play) อาทิ
      กลุ่มค้าปลีก ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างแรง ทำให้หลายหุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย จะมีก็เพียง BJC (FV@B47) เท่านั้น ที่ยังพอมี upside เหลืออยู่ และ ยังคาดหวังถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้หลังจากนี้ จากการซื้อกิจการ BIGC
     กลุ่มสื่อสาร ที่สะท้อนประเด็นลบไปมากแล้ว คาดว่าหลังจากนี้ผลประกอบการของกลุ่มฯ อาจไม่โดดเด่นนักเนื่องจากจะมีการบันทึกต้นทุนใบอนุญาต จึงแนะนำ ADVANC (FV@B189) ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องของกระแสเงินสดมากที่สุด รวมทั้งยังคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ตามปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ SCCC (FV@B390), SCC (FV@B595), CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20)
หุ้นที่มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายปันผลได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ได้แก่ ADVANC (FV@B189), SCCC (FV@B390), PS (FV@B38), ASK (FV@B23), MCS ([email protected])

นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์: ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!