WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  ตลาดมีโอกาสปรับฐาน หลังผิดหวัง BOJ, BOE, ECB ไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามคาด กลยุทธ์ให้ปรับพอร์ต เน้นเลือกหุ้น laggard และมีปันผล (ADVANC, RATCH, PS, BBL, SCCC, TMB) หรือได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันต่ำ (BA, TASCO) Top picks คือ TASCO([email protected]) และ RATCH(FV@B60)

ตลาดหุ้นเข้าสู่การปรับฐาน..ผิดหวังธนาคารกลางโลกชะลอการกระตุ้นฯ
  ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) สร้างความผิดหวังให้กับตลาด แม้เพิ่มวงเงินซื้อ Equity ETF จากเดิม 3 ล้านล้านเยน เป็น 6 ล้านล้านเยน เป็นเท่าตัว แต่ทำให้วงเงินซื้อสินทรัพย์ (QQE) เพิ่มขึ้นเพียง 3.3%
  ทั้งนี้นับว่าสอดคล้องกับการประชุมของธนาคารกลางสำคัญฯ หลายแห่งช่วงก่อนหน้าคือ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ให้ยืนดอกเบี้ยฯ ที่ 0.5% เช่นเดิม ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงนโยบายการเงินโดยยืนดอกเบี้ยฯ 0% และ QE ที่ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน ตามเดิม และธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามเดิม ทำให้ตลาดน่าจะลดความคาดหวังต่อการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมลดน้อยลงไป เนื่องจากปัญหาของ Brexit ยังต้องใช้ระยะเวลานาน 2-3 ปี การชะลอการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะสร้างแรงกดดันตลาดตลาดหุ้นโลกที่ปรับตัวขึ้นมารับล่วงหน้าไปแล้ว

Dollar Index อ่อนค่าสะท้อนดัชนีเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด หนุนน้ำมันช่วงสั้น ๆ
  การรายงาน GDP Growth งวด 2Q59 ของสหรัฐ ต่ำกว่าตลาดคาดมากว่า โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.2%QoQ Annualized (หรือ 1.2%yoy) น้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.6%QoQ ทำให้ลดความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ลง สะท้อนจากผลสำรวจ Fed fund future ของ Bloomberg ล่าสุด รอบ ก.ย. พบว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยฯ ได้เหลือเพียง 18% จากผลสำรวจครั้งก่อนที่ 20.4% และรอบ ธ.ค.(รอบที่ความน่าจะเป็นที่ตลาดให้น้ำหนักมากที่สุด) ลดลงเหลือ 35.7% จากครั้งก่อนที่ 45%) ซึ่งส่งผลให้ค่าเงิน Dollar index อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วราว 1.2% ในวันศุกร์ (หรืออ่อนค่าราว 2.1% จากต้นสัปดาห์ก่อนหน้า) ซึ่งน่าจะหนุนให้น้ำมันและทองคำฟื้นตัวระยะสั้น ๆ
BA จ่ายภาษีเพิ่ม จากวิธีปฏิบัติที่แตกต่างของ BOI vs กรมสรรพากร แต่เกิดครั้งเดียว
  ผลกระทบจากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เนื่องจากวิธีการคำนวณภาษีของ BOI และ กรมสรรพากรที่แตกต่างกัน (BOI คิดภาษีจ่ายเป็นรายโครงการที่ได้รับสิทธิฯ เป็นเวลา 8 ปี ซึ่งหากโครงการไหนขาดทุน ก็จะสามารถนำผลขาดทุนในปีนั้น ไปลดหย่อนภาษีของโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ส่วนกรมสรรพากร คำนวณทุกโครงการที่ได้รับสิทธิฯ แล้วนำผลกำไรและขาดทุน ทุกโครงการมารวมกันก่อน เพื่อนำมาคำนวณเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี) จากการเปิดเผยของกรมสรรพากรระบุว่า มีบริษัทราว 40 แห่ง ที่มีภาระจ่ายภาษีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553-2558 รวม 6.0 พันล้านบาท กำหนดจ่ายภายใน 1 ส.ค. 59 นี้
  บริษัทที่เข้าข่ายต้องจ่ายภาษีเพิ่มที่จดทะเบียนในตลาดฯ และรายงานแล้ว คือ TSTH ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 103 ล้านบาท ทำให้กำไรงวด 1Q59 (เม.ย.-มิ.ย 2559) เหลือ 219 ล้านบาท แต่ยังสูงกว่ากำไรที่ทำไว้ทั้งปี 2559 ที่ 202 ล้านบาท โดยประเมินว่าผลประกอบการในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือยังชะลอตัวตามราคาเหล็กโลก จึงยังคงประมาณการเดิม และคงคำแนะนำ Switch เหมือนเดิม
  ส่วนที่เหลือยังมิได้ประกาศคือ CPF แต่มิได้ระบุยอดจ่ายภาษีส่วนเพิ่ม (แต่จากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASPS พบว่า ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นทุก 1,000 ล้านบาท จะทำให้ มูลค่าพื้นฐานลดลง 0.15 บาท หรือ ราว 0.54% และ BR เมื่อภาระภาษีเพิ่มทุกๆ 100 ล้านบาท จะทำให้มูลค่าพื้นฐานลดลง 0.05 บาท หรือราว 0.84%
  BA เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวิธีการคิดภาษีที่แตกต่างกัน และ ได้แจ้ง ตลาดฯเมื่อ 29 ก.ค. ถึงภาระภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มในปีนี้ 446.97 ล้านบาท ซึ่ง คาดว่าจะมีการ บันทึกเป็นรายจ่ายในงวด 2Q59 ซึ่งอาจกดดันให้ผลประกอบการพลิกมาขาดทุนได้ จากที่มีกำไรจากการดำเนินงานต่อเนื่องทั้งในงวด 1Q59 และ 2Q58 และทำให้ประมาณการกำไรทั้งปี 2559 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ทำไว้เดิม โดยเตรียมจะปรับลด หลัง ประกาศงบ 2Q59 (รายการภาษีดังกล่าวคิดเป็น 17% ของคาดการณ์กำไรปีนี้) โดยคาดกระทบมูลค่าพื้นฐานราว 0.25 บาทต่อหุ้นจากมูลค่าพื้นฐานปัจจุบันที่ 29.9 บาท แต่อย่างไรก็ตามเป็นการบันทึกรายการเพียงครั้งเดียว ขณะที่ราคาตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมาลดลงเกือบ 2% ราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงมาจากประเด็นดังกล่าว เชื่อว่าเป็นโอกาสดีให้ทยอยเข้าสะสม

แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคเริ่มแผ่วลง แลสลับมาขายบางประเทศ
  วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 18 แต่แรงซื้อเริ่มเบาบางลง (มูลค่าซื้อสุทธิรวมกันอยู่ที่ 313 ล้านเหรียญ ) และเป็นการสลับมาขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ (หลังจากซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศตลอดช่วง 4 วันที่ผ่านมา) ประกอบด้วย ไต้หวันขายสุทธิราว 36 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 15 วัน), และฟิลิปปินส์ขายสุทธิเล็กน้อยราว 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 211 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 13), ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 121 ล้านเหรียญ, และไทย 18 ล้านเหรียญ หรือ 628 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 15) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯยังคงขายสุทธิราว 1.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8)
  สรุปแรงซื้อขายหุ้นในภูมิภาคในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา พบว่า มียอดซื้อสุทธิสะสมหุ้นในภูมิภาคสูงสุดในปีนี้ โดยมียอดรวมอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านเหรียญ และยังเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ
  ส่วนแนวโน้มในเดือน ส.ค. คาดว่าแรงซื้อหุ้นไทยน่าจะเริ่มชะลอตัวลง หลังจากธนาคารกลางสำคัญ ๆ ของโลกชะลอการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สังเกตได้จากในวันศุกร์ที่ผ่านมาแรงซื้อเริ่มลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ที่ต่างชาติมักขายสุทธิหุ้นไทยในเดือน ส.ค. ถึง 4 ใน 5 ปี และ SET Index มีโอกาสปรับตัวลดลงถึง 60% โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบถึง 2.47%

ดัชนีปรับฐาน สะสม SCCC, ADVANC, BA, TASCO
  เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับฐานตามตลาดหุ้นโลก หลังตลาดหุ้นผิดหวังจาก BOJ เพิ่มเม็ดเงินกระตุ้นน้อยกว่าคาด เป็นการลดความคาดหวังต่อการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ของธนาคารกลางโลกลง ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นหลายประเทศปรับขึ้นมาแรงรับข่าวความคาดหวังไปก่อนแล้ว นับจากการลงประชามติ Brexit เมื่อ 23 มิ.ย. จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ตลาดหุ้นฝั่งเอเซียปรับขึ้นได้แรง เริ่มจาก นิกเกอิ ปรับขึ้นถึง 10% ตลาดหุ้นฮั่งเส็ง ปรับขึ้นถึง 8.1% ตามด้วยตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP คือ อินโดนีเซีย ปรับขึ้น 7.9% เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น 7.8% ส่วนฟิลิปปินส์ปรับขึ้น 4.4% เท่ากับตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้
  ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ขึ้นทำ new high สูงสุดนับตั้งแต่วิกฤติ subprime โดย S&P500 ปรับขึ้นถึง 6.7% และดาวโจนส์ 5.9% ขณะที่ฝั่งยุโรปปรับขึ้นได้เช่นกัน กล่าวคือ DAX ปรับขึ้น 8.2% DAX 8.1% ส่วน FTSE100 อังกฤษ ขึ้นมากถึง 9.5%
  การปรับขึ้นแรงของดัชนี ส่งผลให้ระดับ P/E อยู่ในระดับที่สูง โดยตลาดหุ้นไทย อยู่ที่ 17.2 เท่า รองจากฟิลิปปินส์ที่ 20.3 เท่า ส่วนตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ที่ 17 เท่า ฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐ อยู่ที่ 17.4 - 18.4 เท่า ขณะที่อังกฤษอยู่ที่ 17.4 เท่า ฝรั่งเศส 14.9 เท่า และตลาดหุ้นเยอรมัน 13.2 เท่า
  ภายใต้สภาวะที่ดัชนีวิ่งขึ้นเหนือปัจจัยพื้นฐาน ขณะที่ความเสี่ยงจากปัญหา Brexit ยังคงมีอยู่ และเชื่อว่าตลาดหุ้นโลกมีโอกาสปรับฐานดังกล่าว จึงน่าจะทำให้ SET Index ยังเผชิญกับแนวต้าน 1,525-1,530 จุด กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำ Selective Buy เลือกหุ้นที่ได้ประเด็นบวกหรือมีปัจจัยหนุน ได้แก่
  หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลดลงของราคาน้ำมัน ได้แก่ หุ้นขนส่งทางอากาศ ชอบ BA([email protected]) เพราะราคาตลาดมี upside สูงสุดถึงกว่า 30% ปัจจุบันแม้มีการทำป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ไว้บางส่วน คือ ปี 2559 BA ปีมีการทำ Hedging 50% ของต้นทุนน้ำมันทั้งหมด (เทียบกับ THAI ทำ Hedging ไว้ใกล้เคียงกับ BA ยกเว้น AAV ที่ทำ Hedging 76% ส่วนปีหน้า BA ทำ Hedging ไว้ 20% ขณะที่ AAV ทำไว้เพียง 15% และ THAI 37%) ทั้งนี้พบว่า ราคาน้ำมันเครื่องบินที่ลดลง ทุก ๆ 5 เหรียญฯ (จากสมมติฐานราคาน้ำมันเครื่องบินปัจจุบันที่กำหนดไว้ 65-70 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) จะทำให้ประมาณการกำไรของ BA ปีนี้เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.2% และเพิ่มขึ้นอีก 7.2% ในปี 2560 ซึ่งจะทำให้มูลค่าพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.4 บาท เป็น 30.3 บาท แม้ระยะสั้นอาจจะถูกกดดันจากการจ่ายภาษีฯ ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แต่น่าจะเป็นโอกาสสะสม เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว
  และตามมาด้วย ผู้ผลิตยางมะตอย ที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบ คือ TASCO ([email protected]) แม้ในทางปฏิบัติได้มีการทำสัญญาขายล่วงหน้าแล้ว ราว 30-65% ของผลิตภัณฑ์รวม (ยางมะตอยคิดเป็น 70%ของยอดผลิต ขณะที่น้ำมันใส 30%) ก็ตาม (น้ำมันใสมีการทำ Hedging ไว้ทั้งหมด ราคาน้ำมันลงจึงน่าจะได้ Hedging gain ส่วนยางมะตอยแล้วแต่สถานการณ์) ราคาตลาดมีกว่า upside 25%

หุ้นที่อิงกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Play) อาทิ
  กลุ่มค้าปลีก ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างแรง ทำให้หลายหุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย จะมีก็เพียง BJC (FV@B47) เท่านั้น ที่ยังพอมี upside เหลืออยู่ และ ยังคาดหวังถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้หลังจากนี้ จากการซื้อกิจการ BIGC
  รวมทั้งกลุ่มสื่อสาร ที่สะท้อนประเด็นลบไปมากแล้ว คาดว่าหลังจากนี้ผลประกอบการของกลุ่มฯ อาจไม่โดดเด่นนักเนื่องจากจะมีการบันทึกต้นทุนใบอนุญาต จึงแนะนำ ADVANC (FV@B189) ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องของกระแสเงินสดมากที่สุด รวมทั้งยังคาดหวังเงินปันผลได้ในระดับสูง
  กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ตามปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ SCCC (FV@B390), SCC (FV@B595), CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20)
  หุ้นที่มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายปันผลได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ได้แก่ ADVANC (FV@B189), SCCC (FV@B390), PS (FV@B38), ASK (FV@B23), MCS ([email protected])

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!