- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 22 July 2016 17:52
- Hits: 633
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้เริ่มกลับเข้าสู่โหมดของการพักฐาน หุ้นหลักที่ขึ้นมาร้อนแรงก่อนหน้านี้อย่าง SCC/ SCB/ ADVANC ขณะที่กลุ่มขนส่งขยับขึ้นเด่น นำโดย AOT ช่วยคานระดับ SET INDEX ปิด ณ สิ้นวัน ลบเป็นวันแรกในรอบ 7 วันทำการ 7.33 จุด มาอยู่ที่ 1,502.70 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 57,728 ล้านบาท
ต่างชาติยังคงเลือกซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 9 อีก 2,589 ล้านบาท กลับมา Long สุทธิใน SET50 Index Futures วันแรกในรอบ 4 วันทำการ 1,321 สัญญา แต่คงการขายสุทธิตลาดตราสารหนี้เป็นวันที่ 2 เพียง 547 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
ผบการประชุม ECB คงนโยบายการเงินตามคาด พร้อมส่งสัญญาณเพิ่มมาตรการได้หากจำเป็น
KBANK และ BBL รายงานกำไรสุทธิ 2Q59 ต่ำกว่าคาด ส่วน KTB ออกมาดีกว่าคาด
แรงขายจากกองทุนภายในประเทศช่วง 2-3 วันทำการที่ผ่านมา คาดเป็น Trigger Funds ที่แตะระดับเป้าหมาย
ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
ติดตามการรายงานงบ SCC / PTTEP
ติดตามการประชุมเฟดวันที่ 27 ก.ค. และ BoJ วันที่ 28 ก.ค.
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.ของไทย วันที่ 29 ก.ค.
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 2)
แม้ว่าวานนี้ SET INDEX จะเริ่มย่อตัวเป็นวันแรกในรอบ 7 วันทำการ และวันนี้มีแนวโน้มที่จะแกว่ง Sideways เพราะเป็นการซื้อขายวันสุดท้ายของสัปดาห์ แต่หากพิจารณาถึงกระแสเงินทุนต่างชาติที่ยังคงซื้อสุทธิอย่างหนาแน่น และการขายสุทธิของสถาบันภายในประเทศ น่าจะเป็นผลจากกองทุน Trigger Funds ที่แตะระดับเป้าหมาย และทยอยปิดกองทุนเป็นสำคัญ เรายังคงเชื่อว่า Downside risk ของ SET INDEX ช่วงสั้นนี้ยังเป็นไปอย่างจำกัด แนวรับ 1,485-1,490 จุด จะยังทำงานได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นในระบบการเงินโลก ภายใต้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักมีทิศทาง "ทรงตัวถึงปรับตัวลง" น่าจะทำให้เงินทุนยังคงเลือกลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้จับตาตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.ของไทยในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อปัจจัยพื้นฐานการลงทุน รวมถึงท่าทีของ BoJ ว่าจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่การประชุมเฟด ทั้งตลาดและเราต่างเชื่อว่า เฟดจะไม่สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ หลังสถานการณ์ต่างประเทศเปลี่ยนไป
กลยุทธ์การลงทุน "ทยอยสะสมหุ้นเป้าหมาย เมื่อราคาย่อตัว" โดยเน้นหุ้นที่คาดผลการดำเนินงานใน 2Q59 จะเติบโต qoq และ/หรือ yoy เป็นสำคัญ พร้อมประเมินกรอบแกว่ง SET INDEX วันนี้ระหว่าง 1,485-1,510 จุด
Strategy of the Day
1. สะสม KTB: ราคาปิด 16.90 บาท ราคาเหมาะสม 21.50 บาท
a) KTB รายงานกำไรสุทธิ 2Q59 เท่ากับ 8.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% qoq และดีกว่าที่ตลาดคาดถึง 13% โดย NIMs เพิ่มขึ้น 11bps จาก 1Q59 เป็น 3.28% สวนทางกับธนาคารขนาดใหญ่อื่น บวกกับ NPLs ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 4.2 พันล้านบาทเท่านั้น ลดลงจาก 1Q59 ที่ 1.37 หมื่นล้านบาท
b) แนวโน้มสินเชื่อในช่วง 2H59 เชื่อว่าจะเติบโตเด่น ตามการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล ภายใต้ NPLs ที่ชะลอตัวลง และการบริหารต้นทุนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ NIMs คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงได้ไม่ยาก
c) แม้ว่า KTB จะจ่ายเงินปันผลปีละ 1 ครั้ง แต่หากพิจารณาถึงผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงถึง 4.9% และราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ซื้อขาย P/BV59 ต่ำเพียง 0.9x และ PER59 ที่ 7.6x
2. สะสม BJC : ราคาปิด 42.25 บาท ราคาเหมาะสม 43.00 บาท
a) เรามีมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก หลังกำลังซื้อเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ รวมถึงภาวะภัยแล้งที่คลายตัวลง เชื่อว่ากำลังซื้อจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปนับตั้งแต่ 2Q59
b) แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2Q59 ของ BJC คาดเติบโต yoy และ qoq จากการรวม BIGC เต็มไตรมาสเป็นไตรมาสแรก รวมถึงมีโอกาสบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หลังเงินยูโรอ่อนค่า 1 บาท ณ สิ้น 2Q59 ภายใต้เงินกู้ 3.1 พันล้านยูโรของ BJC
c) กำไรสุทธิในปี 2559-2560 คาดเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี ถือว่า BJC เป็นหุ้นค้าปลีกที่เติบโตเด่นที่สุดบรรดาหุ้นค้าปลีกหลักของกลุ่มตลอด 2 ปีนี้
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
กระแสเงินทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก US$784 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$803 ล้าน
มีเพียงตลาดเวียดนามที่ถูกขายสุทธิ
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติยังคงเลือกสะสมหุ้นรายตัวหนาแน่นต่อเนื่อง
นักลงทุนต่างชาติ คงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 9 แต่ชะลอตัวลงมาเป็น 2,589 ล้านบาท รวม 9 วันทำการซื้อสุทธิทะลุ 25,000 ล้านบาท เป็น 26,240 ล้านบาท และทำให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิทะลุ 60,000 ล้านบาท เป็น 66,159 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้กลับมา Long สุทธิเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ 1,321 สัญญา คาดว่าจะเป็นการกลับมาเปิดสถานะ Long อีกครั้ง ผลักดันให้ QTD คงเป็น Long สุทธิขยับขึ้นเป็น 5,870 สัญญา โดย S50U16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index เท่ากับ 6.46 จุด จากวันก่อนหน้า Discount เท่ากับ 6.44 จุด
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้คงการขายสุทธิเป็นวันที่ 2 แต่เพียง 547 ล้านบาท รวม 2 วันทำการ ขายสุทธิ 3,639 ล้านบาท เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้าซื้อสุทธิ 4,293 ล้านบาท ภายใต้ราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงต่อเนื่อง ผ่านพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็น 5.33bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้น4.68bps ปิดที่ 2.107%
Short-Selling วานนี้
เพิ่มขึ้นเป็น 943 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 715 ล้านบาท
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11 กลับมาเน้นกลุ่มธนาคารถึงเกือบครึ่ง
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิอีก 2,403 ล้านบาท ชะลอตัวจากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิมากถึง 5,653 ล้านบาท รวม 11 วันทำการ ซื้อสุทธิทะลุ 30,000 ล้านบาท เป็น 35,284 ล้านบาท กลับมาเน้นสะสมกลุ่มธนาคารอีกครั้ง
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาเป็นกลางถึงบวก
- ยอดขอสวัสดิการว่างงาน เท่ากับ 2.53 แสนตำแหน่ง ดีกว่า Bloomberg consensus คาด 2.65 แสนตำแหน่ง แต่ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.54 แสนตำแหน่ง
- ดัชนีราคาบ้าน เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 0.2% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด 0.4% mom และเดือนก่อนหน้าที่ 0.3% mom เป็นระดับการเพิ่มขึ้นที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2558 โดยราคาบ้านใน New England แย่สุด หดตัว 1.3% mom
- ยอดขายบ้านมือสอง เดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.1% mom สวนทางกับที่ Bloomberg consensus คาด -0.9% mom แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.5% mom หากปรับเป็น Annulaized จะพบว่าเป็นยอดขาย้านมือสองที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2550 ยอดขายบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นถึง 0.8% mom ส่วนคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้น 3.2% mom
- ดัชนีชี้นำ เดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.3% mom เท่ากับ Bloomberg consensus แต่ฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ -0.2% mom โดยมีมุมมองเป็นบวกปานกลางหลัง Brexit
ยุโรป
ยอดค้าปลีกอังกฤษปรับตัวลง mom หลัง Brexit: ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.หดตัวลง 0.9% mom ต่ำกว่า Bloomberg consensus คาด -0.6% mom หากพิจารณายอดค้าปลีกไม่รวมยานยนต์ หดตัวลงมากกว่าคาดเช่นกัน เป็น -0.9% mom ถือเป็นการหดตัวของยอดค้าปลีกที่มากสุดในรอบ 6 เดือน
ECB คงนโยบายการเงินตามที่ตลาดคาดการณ์: อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.00% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.4% พร้อมคงวงเงิน QE ที่ 8.0 หมื่นล้านยูโร/เดือน ทั้งนี้ ECB ต้องการดูผลกระทบจากกรณี Brexit และภาพรวมเศรษฐกิจในอียู หากมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ECB พร้อมที่จะเพิ่มมาตรการทันทีในช่วงที่เหลือของปีนี้
ฝรั่งเศสต้องการให้อังกฤษเลือกตลาดในอียู หรือ ควบคุมการอพยพ: การหารือครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีฝรั่งเศส และ นายกฯ อังกฤษ ซึ่งทางฝรั่งเศส ตอกย้ำถึงการค้าระหว่างอังกฤษและอียู จะไม่มีความเป็นอิสระในการค้าขายสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุน หากไม่มีความเป็นอิสระในการเคลื่อนย้ายคน / แรงงาน อังกฤษจะต้องเลือกระหว่างการอยู่ร่วมกับอียู เพื่อคงความเป็นอิสระในการเคลื่อนย้าย / การค้าขาย หรือ จะเปลี่ยนสถานะของอังกฤษ ขณะที่นายกฯ อังกฤษ เข้าใจถึงข้อจำกัดดังกล่าว เพียงแต่ต้องการหารือเพื่อหาจุดที่ถูกต้องและดีให้แก่อังกฤษ
จีน
ไม่มี
เอเชียแปซิฟิก
ธนาคารกลางอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบี้ย: อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 6.50% คงที่จากการปะชุมครั้งก่อน สวนทางกับที่ Bloomberg Consensus ประเมินว่าจะลดลง 25 bps อยู่ที่ 6.25% โดยธนาคารกลางตัดสินใจคงดอกเบี้ยหลังจากที่ปรับลดลงมากถึง 4 ครั้งในปี 2559 อย่างไรก็ตามได้ส่งสัญญาณเพิ่มเติมถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงิน หลังอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
ไทย
ไม่มี
Strategist Team Maybank KimEng
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Rinrada Lianghathaitham Assistant Analyst 662-6586300 x 1530