WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
     SET ทะลุแนวต้าน 1,485 จุด และมีโอกาสแตะ 1,500 จุด ตามแรงหนุน Fund Flow แต่ความเสี่ยงจาก Brexit ยังมีอยู่ ยังแนะนำขายหุ้นที่เกิน Fair Value และสะสมหุ้น Domestic ที่ยังมี upside (BJC, ADVANC, ASK, CK) หรือหุ้น laggard (BBL, SYNTEC, TPIPL, RATCH) Top pick TISCO(FV@B58)

อังกฤษยังไม่ลดดอกเบี้ย จึงน่าจะให้น้ำหนักต่อการประชุมเดือน ส.ค. แทน
      วานนี้ที่ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ยังไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย (ยืนที่ 0.5% นาน 7 ปี ผิดจากตลาดคาดว่าจะลดดอกเบี้ยลง 25 bps. เนื่องจาก BOE มองว่าเร็วเกินไปที่จะตัดสินผลกระทบระยะกลางจาก Brexit ขณะที่ตลาดแรงงานยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ระดับ 5.1% (เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตซับไพรม์) และเงินเฟ้อล่าสุดยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.3% (เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจาก 1.8% เดือน ส.ค. 2550 ขึ้นสู่ระดับสูงสุด 5.2% ก.ย. 2551) ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BOE ได้ลดการดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม(CCyB) ลงเหลือ 0% จากเดิม 0.5% เพื่อช่วยกระตุ้นความต้องการใช้สินเชื่อในประเทศ
     แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผลกระทบจากการลงประชามติอออกจากยุโรป น่าจะกดดันต่อความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ การลงทุนต่าง ๆ น่าจะยังชะลอตัว และค่าเงินปอนด์ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวต่อเนื่อง แม้หลัง Brexit ได้อ่อนค่าลงกว่า 10% ซึ่งน่าจะเป็นการบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ตลาดจึงน่าจะให้น้ำหนักต่อการประชุม BOE ครั้งถัดไปคือ 4 ส.ค. 2559
     เป็นที่สังเกตว่า Money Supply ของอังกฤษ มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ-พ.ค.59 เฉลี่ยราว 2% ต่อเดือน ซึ่งน่าจะมี เหตุผลมาจากความไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจก่อนการลงประชามติ ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศชะลอตั้งแต่ต้นปี 2559 สะท้อนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงนับจากเดือน มี.ค. 2559 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันต่อเศรษฐกิจของอังกฤษในระยะกลาง และ ยาว
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6
      วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่ารวม 742 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ ตลอดช่วง 4 วันที่ผ่านมา และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ซื้อสุทธิสูงสุดที่เกาหลีใต้ราว 338 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) รองลงมาคือ ไต้หวัน 223 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 39 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 13), ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ถูกซื้อสุทธิสูงถึง 114 ล้านเหรียญ หรือ 4.0 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 551 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.2 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.9 พันล้านบาท

ความคาดหวัง Money Supply เพิ่ม แต่ยิ่งสูง ยิ่งหนาว
       ความคาดหวังของการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางที่สำคัญของโลกยังคงมีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโลก เพื่อรองรับผลกระทบ Brexit ซึ่งน่าจะหนุนให้ Money Supply (M2)โลกกระเตื้องขึ้นต่อเนื่อง แม้ล่าสุดพบว่า M2 หลายๆ ประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในเอเซีย คือ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย เช่นเดียวกับสหรัฐ และยุโรป ที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ยกเว้น UK ที่หดตัวลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น และขณะนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ได้ทำ New high เมื่อเทียบกับ ช่วงก่อนทำประชามติ Brexit ไปแล้ว
ทั้งนี้หากเทียบเคียงกับปริมาณ M2 หลังเกิดวิกฤตซับไพรม์ในช่วงปี 2551พบว่า ธนาคารกลางในหลายประเทศใช้นโยบายการเงินหลายครั้ง คือ
สหรัฐ ประกาศใช้ QE1 (ธ.ค. 2551 – มิ.ย. 2553) ผ่านการรับซื้อหนี้, MBS, และตราสารหนี้ ส่งผลให้ M2 เพิ่มขึ้นราว 7.6% และQE2 (พ.ย. 2553 – มิ.ย. 2554 และ Operation Twist ช่วง ต.ค. 2554 – ธ.ค. 2555) ในช่วงนั้น M2 เพิ่มขึ้นถึง 22.8% และ QE3 (ก.ย. 2555 – ต.ค. 2557) หนุน M2 ราว 17.4%
     ญี่ปุ่น ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ผ่าน QE1 โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เริ่มอัดฉีดเงินตั้งแต่ มี.ค.2544 จนถึงปัจจุบันนาน 9 ปี หนุน M2 เพิ่มขึ้นสูงสุดราว 125% ตามมาด้วย QE2 –QE3 พบว่า M2 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอเพียง 7% จนถึงปัจจุบัน ชึ่งเป็นช่วงที่นายกฯ คนปัจจุบัน(ชินโสะ อาเบะ) เข้าบริหารประเทศและได้เปลี่ยนมาใช้มาตรการทางการเงินแผนใหม่ทั้งปริมาณและเชิงคุณภาพ(QQE 2ครั้ง) โดยครั้งแรกในช่วง เม.ย. 2556 – ก.ย.2557 วงเงิน 60-70 ล้านล้านเยน/ปี และครั้งที่ 2 ในช่วง ต.ค.2557-ปัจจุบัน วงเงิน 80 ล้านล้านเยนต่อปี (หนุนปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 10%
    และ อังกฤษ ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ผ่านQE.ทั้งหมด 6 รอบ ผ่านการซื้อพันธบัตร(GILTS) พบว่าหนุน M2 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ราว 4-6%
    อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างระหว่างช่วงซับไพรม์/วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป กับเหตุการณ์หลัง Brexit เนื่องจากช่วงวิกฤตในอดีตนั้น ตลาดหุ้นโลกต่างพากันปรับตัวลงอย่างรุนแรง การปรับขึ้นของดัชนี จากการใช้มาตรการผ่อนคลาย จึงเป็นการฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด ขณะที่ช่วงปัจจุบันนั้น ดัชนีตลาดหุ้นโลก ได้ปรับตัว ขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงมากแล้ว และเกินจากช่วงก่อน Brexit ตลาดจึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น ดังนั้น การอัดฉีดเม็ดเงินในรอบนี้จึงช่วยขับเคลื่อนตลาดไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น แต่หากผลกระทบจาก Brexit ค่อย ๆ เริ่มปรากฏ เช่น เงินเฟ้อ การปรับลด GDP เริ่มเห็นชัดมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ดัชนีหุ้นโลกอาจมีการปรับฐานลงมา นักลงทุนจึงต้องระมัดระวัง

กลยุทธ์ระยะสั้น ยังเน้น Domestic ที่Laggard : ADVANC, BBL, TMB, RATCH
     ดังที่ได้กล่าวมาอย่างต่อเนื่องถึง ดัชนีที่ปรับตัวขึ้นใกล้ 1500 จุด หรือมี Expected P/E ใกล้ 17 เท่า และสถิติในอดีตบ่งบอกเสมอว่าทุกครั้งที่มี fund flow เข้ามา มักจะดันดัชนีขึ้นไปแตะ P/E 17-18 เท่าได้ หรืออาจจะเกินจากดัชนีเป้าหมายไป 3-5% หรือ อาจจะได้เห็น 1,525-1,550 จุด แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องตระหนักและ เตรียมตัวปรับพอร์ตตลอดเวลาคือ
หุ้นรายตัวที่มีมูลค่าแพงเกินมูลค่าหุ้นปี 2559 หรือแม้แต่ปี 2560 ซึ่งต้องติดตามอ่านบทวิเคราะห์หุ้นรายตัว หรือ กลยุทธ์การลงทุนในรายงานฉบับนี้หรือ Market Talk ซึ่งออกเป็นประจำทุกวันช่วง 8.30 น.


     ปัญหา Brexit แม้วันนี้เรายังไม่เห็นผลกระทบทันที เนื่องจากอังกฤษและ ประเทศสมาชิกมีเวลาปรับตัว ก่อนที่อังกฤษจะออกอย่างเป็นทางการในอีก 2 ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่เราเห็นผลกระทบในช่วงสั้น วันนี้คือเรื่องค่าเงินที่ปอนด์ และเงินเยนที่อ่อนค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยบ่งชี้นกำลังซื้อในประเทศ และ จะกดดันต่อ GDP ของอังกฤษ และจะกระทบต่อ สหภาพยุโรป และ สหรัฐ ซึ่งถือเป็นคู่ค้าหลัก แบบลูกโซ่ อาจจะในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของการปรับลด GDP Growth รายประเทศ และ ของโลก
กลยุทธ์ระยะสั้น ยังให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่มีราคาแพง หรือเกิน Fair Value เช่น BAY, SCB, KTB, KBANK, TRUE, JAS, HMPRO, ROBINS, THAI, BEM, AAV, VGI, BANPU, LANNA, TISCO, EGCO, SIM, RML, CHG, TFG, MCOT, GUNKUL และ THANI เป็นต้น สลับมาลงทุนในหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ มี upside สูง ดังปรากฏในตารางถัดไป หรือ ในช่วงสั้น ๆ แนะนำหุ้น Domestic ที่ยัง Laggards อยู่มาก คือ INTUCH, ADVANC, BBL, TMB, , CENTEL, TPIPL, BEC เป็นต้น
นอกจากนี้ยังแนะนำให้ให้เลือกลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 นอกจากหุ้นสื่อสาร เช่น ADVANC แล้ว ยังมีหุ้น ค้าปลีก ที่ราคาหุ้นยังมี upside และ มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีที่สุดในกลุ่มคือ BJC(FV@B47) คาดว่าการเพิ่มทุนน่าจะประสบความสำเร็จตามแผน ปีนี้เริ่มทำงบการเงินรวมกับ BIGC จึงคาดว่าจะเห็นการเติบโตของ BJC ในปี 2559 14% (คำนึงถึงผลกระทบของ Dilution Effect) แต่จะเติบโตอย่างอย่างโดดเด่นในปี 2560 ราว 119%


ถัดมาคือ กลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งน่าจะเหมาะเป็นที่หลบภัย กรณีที่มีปัญหาเศรษฐกิจจากภายนอก เพราะยังสามารถเติบโตจากคนในได้ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง แนะนำ BDMS (FV@B25)


กลุ่มรับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เนื่องจาก กระแสการลงทุนภาครัฐ ที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยขณะนี้ได้มีการเปิดขายซองรถไฟฟ้าหลายสาย กล่าวคือ วันนี้ 15ก.ค .-29 ก.ค.2559 จะมีการขายซองโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) วงเงิน 9.25 หมื่นล้านบาท (หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดขายซองสีชมพู กับ สีเหลืองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา) หากพิจารณาจากคุณสมบัติที่กำหนดไว้ผู้ที่น่าจะมีสิทธิที่จะได้งานก็น่าจะเป็นผู้รับเหมาฯ 4 รายใหญ่ ได้แก่ CK, ITD, STEC และ UNIQ แต่เนื่องจากราคาหุ้นได้ปรับขึ้นตอบรับความคาดหวังเชิงบวกแล้ว จึงเลือก CK (FV@B 36) เป็น Top pick


และสุดท้ายจะหุ้นที่มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เช่นหุ้นปันผล ได้แก่ หุ้นโรงไฟฟ้า ได้แก่ RATCH(FV@B60) ถือว่าหุ้นยัง laggard มากเมื่อเทียบกับหุ้นประเภทเดียวกัน เช่น EGCO(FV@BB188) หรือแม้แต่หุ้นขายน้ำดิบ ทั้ง EASTW([email protected]) และ TTW([email protected]) ถือว่าราคาหุ้นปัจจุบันมี upside น้อยเหลือเพียง 9% และ เต็มมูลค่า ตามลำดับ จึงแนะนำให้ switch จาก EGCO และ TTW, มายัง RATCH รวมถึงการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property fund/REIT) ซึ่งให้ผลตอบแทนที่แน่นอนเฉลี่ยทุกไตรมาส
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

adsoptimal100

 

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!