- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 13 July 2016 16:08
- Hits: 390
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้ เริ่มชะลอความร้อนแรง เกิดแรงขายในกลุ่ม ICT / ธนาคารที่ปรับตัวขึ้นมาร้อนแรงก่อนหน้านี้ การเก็งกำไรเป็นหุ้นรายตัวเท่านั้น ปิดตลาด SET INDEX บวก 6.53 จุด มาอยู่ที่ 1,474.92 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 68,358 ล้านบาท
เงินทุนต่างชาติยังคงหนาแน่นเป็นวันที่ 2 ซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 มากถึง 3,254 ล้านบาท Long สุทธิใน SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 อีก 6,697 สัญญา และซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้ 3,682 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
• นายกฯ อังกฤษ David Cameron จะลาตำแหน่งในวันนี้ และ Theresa May จะขึ้นรับตำแหน่งแทน ขั้นตอนต่างๆ เร็วกว่าแผนเดิมที่วางไว้ 9 สัปดาห์
• DTAC รายงานกำไรสุทธิ 2Q59 เพียง 141 ล้านบาท เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ 550-600 ล้านบาท
• DJIA ปิดทำระดับสูงสุดใหม่
• ราคาน้ำมันดิบ NYMEX บวกเด่นกว่า 4% ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้าปรับตัวลงแรง ในคืนวานนี้
• ติดตามตัวเลขการส่งออกเดือนมิ.ย.ของจีนวันนี้ Bloomberg consensus คาด -5.0% yoy
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 8)
เราประเมินภาพ SET INDEX วันนี้จะเริ่มแกว่งแคบมากขึ้น ด่าน 1,480-1,485 จุด ยังไม่น่าผ่านในวันนี้ เพื่อรอดูผลการประชุม BoE ในค่ำวันพรุ่งนี้ อีกทั้งต้นสัปดาห์หน้าเป็นวันหยุดยาวของตลาดหุ้นไทย เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนภายในประเทศ / พอร์ตโบรกเกอร์ / กองทุนภายในประเทศ ตัดสินใจขายทำกำไรบางส่วน เพื่อปิดความเสี่ยงในช่วงวันหยุดยาวดังกล่าว
อีกทั้ง DTAC รายงานงบออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดอย่างมีนัยยะสำคัญ เชื่อว่าจะมีแรงขายหุ้น DTAC เด่นในวันนี้ น่าจะกดดันจิตวิทยาการลงทุนในกลุ่ม ICT ทางอ้อม เพียงแต่หุ้น ADVANC / INTUCH จะมีผลตอบแทนจากเงินปันผลระหว่างกาลช่วยจำกัด Downsie risk
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ เริ่มทรงตัวมากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองในอังกฤษ กลับมาชัดเจน โดยวันนี้จะมีการแต่งตั้งนาง May เข้ารับตำแหน่งนายกฯ แทนนาย David Cameron ที่จะลงจากตำแหน่งในวันนี้ พร้อมรอดูผลการประชุม BoE ในค่ำวันพรุ่งนี้ ตามเวลาประเทศไทย
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในภาพรวม นักลงทุนที่เก็งกำไรมาก่อนหน้านี้ควรพิจารณาขายทำกำไร เพื่อกลับมาถือเงินสดอีกครั้ง หรืออาจเข้าเก็งกำไรในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นช้ากว่ากลุ่มหรือมีความเป็น Laggard แทน ประเมินกรอบแกว่งวันนี้ระหว่าง 1,465-1,480 จุด
SET+MAI Latest Prior date YTD
Institute -1,692.08 3,796.81 -3,526.43
Prop -257.61 -741.59 16,821.53
Foreigner 3,278.94 637.57 45,844.29
Retail -1,329.25 -3,692.79 -59,139.64
Strategy of the Day
1. เก็งกำไร IVL : ราคาปิด 31.00 บาท ราคาเหมาะสม 38.50 บาท
a) นับตั้งแต่รู้ผลประชามติ Brexit วันที่ 24 มิ.ย.จนถึงวานนี้ ราคาหุ้น IVL ปรับลง 2.36% เทียบกับ TU -1.79% หรือ KCE -0.88% เท่านั้น ขณะที่สถานการณ์ Brexit ในอังกฤษ และยูโรโซน คลายตัวลงแล้ว
b) การอ่อนค่าของค่าเงินยูโรจะไม่กระทบกำไรอย่างมีนัยยะ โดยประเมินว่าการอ่อนค่าลงของค่าเงินยูโรเทียบกับเงินบาท ทุก 1 บาทจะกระทบประมาณการกำไรเพียง 80 ล้านบาท
c) ราคาฝ้ายล่วงหน้าในสหรัฐฯ คืนวานนี้ปิดบวก 2.99% เป็น Sentiment เชิงบวกให้แก่ราคาโพลีเอสเตอร์
d) คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติใน 2Q59 จะเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว qoq เป็น 2.2 พันล้านบาท และเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้น 2. สะสม BJC : ราคาปิด 38.50 บาท ราคาเหมาะสม 43.00 บาท
a) ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ถือว่ามี Downside risk ที่จำกัด เพราะหากพิจารณาจากราคาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 11 ก.ค. ต้นทุนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 38.17 บาท ใกล้เคียงกับราคาปิด 38.50 บาท
b) เรามีมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก หลังกำลังซื้อเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ล่าสุดทางการออกมาตรการช็อปโอทอปช่วยชาติ 15,000 บาท เอามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ถึงเดือนส.ค. จะยิ่งช่วยเพิ่มกำลังซื้อรากหญ้ามากขึ้น
c) แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2Q59 ของ BJC คาดเติบโต yoy และ qoq จากการรวม BIGC เต็มไตรมาสเป็นไตรมาสแรก ภาพของ Synergy จะเริ่มเห็นชัดมากขึ้นในช่วง 4Q59 หลังสิ้นสุดการชำระเงินเพิ่มทุนในต้นเดือนส.ค.
d) กำไรสุทธิในปี 2559-2560 คาดเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี ถือว่า BJC เป็นหุ้นค้าปลีกที่เติบโตเด่นที่สุดบรรดาหุ้นค้าปลีกหลักของกลุ่มตลอด 2 ปีนี้
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
กระแสเงินทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4 อีก US$781 ล้าน จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ US$900 ล้าน
ซื้อสุทธิทุกตลาดเป็นวันที่ 2 ตลาดหุ้น วานนี้(US$ ล้าน) วันก่อนหน้า(US$ ล้าน) YTD 2559(US$ ล้าน) 2558(US$ ล้าน) 2557(US$ ล้าน) 2556(US$ ล้าน)
TAIEX 391.1 469.7 7,240.7
3,383.6 13,190.4 9,188.0
KOSPI 153.5 272.9 3,915.9 -3,579.9 6,165.50 4,875.1
JSE 120.3 115.5 1,295.1 -1,579.5 3,750.60 -1,806.4
PSE 20.3 17.1 781.9 -1,194.4 1,256.1 678.4
VEX 3.4 7.3 -61.1 100.4 135.6 263.2
SET INDEX 92.6 17.4 1,310.5 -4,371.9 -1,091.4 -6,210.5
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติสะสมหุ้นไทยเป็นวันที่ 2
วานนี้ วันก่อนหน้า
ตลาดหุ้น (ล้านบาท) +3,254 +611
SET50 Index Futures (สัญญา) +6,697 +9,705
SSF (สัญญา) +192 -920
Metal Futures (สัญญา) -98 -12
ตลาดตราสารหนี้ (ล้านบาท) +3,682 -1,912
นักลงทุนต่างชาติ คงการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันที่ 4 อีก 3,254 ล้านบาท รวม 4 วันทำการซื้อสุทธิ 6,177 ล้านบาท และทำให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิยืนเหนือ 45,000 ล้านบาท เป็น 46,095 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Long สุทธิเป็นวันที่ 2 อีก 6,697 สัญญา รวม 2 วันทำการ Long สุทธิ 16,402 สัญญา น่าจะเป็นการทยอยเปิดสถานะ Long ต่อเนื่อง ทำให้ QTD คงการ Long สุทธิ 10,800 สัญญา ส่งผลให้ S50U16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index แคบลงเหลือ 6.43 จุด จากวันก่อนหน้า Discount กว้างถึง 8.28 จุด
ส่วนนักลงทุนกลุ่มนี้กลับมาซื้อสุทธิตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง 3,682 ล้านบาท เมื่อราคาพันธบัตรไทยปรับตัวลงแรงวานนี้ ผ่านพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถึง 5.53bps จากวันก่อนหน้าลดลง 1.81bps ปิดที่ 2.001%
Short-Selling วานนี้
ลดลงเป็น 936 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 1,318 ล้านบาท
Stock Total Value(mn Bt) % of trading Volume Avg.Price(Bt)
TRUE 233.51 3.10% 8.56
DTAC 189.82 18.16% 32.54
ADVANC 87.63 2.92% 167.81
KBANK 52.72 3.51% 178.48
INTUCH 42.58 4.37% 57.32
NVDR Movement
NVDR ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 เป็น Basket Orders
การซื้อขายผ่าน NVDR ซื้อสุทธิมากถึง 3,827 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าซื้อสุทธิ 1,475 ล้านบาท รวม 6 วันทำการซื้อสุทธิทะลุ 15,000 ล้านบาท เป็น 16,011 ล้านบาท โดยเป็นลักษณะกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มหลักของตลาดหุ้นไทย
ซื้อสุทธิสูงสุด มูลค่าสุทธิ(ล้านบาท) % มูลค่าการซื้อขาย ขายสุทธิสูงสุด มูลค่าสุทธิ(ล้านบาท) % มูลค่าการขาย
BBL 470.94 24.02 ADVANC -281.86 9.95
PTTEP 420.02 18.15 TASCO -152.34 24.09
PTT 355.48 16.75 PTG -38.06 15.74
LH 260.04 38.49 TMB -36.41 21.89
TRUE 246.24 6.91 TOP -18.36 43.28
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ – การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ไม่มี
ยุโรป
IMF ประเมินอิตาลีจะถึงช่วงก่อนเกิดวิกฤติในกลางปี 2563: เศรษฐกิจอิตาลีฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังผ่านภาวะถดถอย แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เป็นสิ่งท้าทายรอการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพการผลิต การลงทุน เติบโตในระดับต่ำ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 11% งบการเงินของธนาคารมีแรงกดดันจาก NPLs ที่อยู่ในระดับสูง และยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา รวมถึงระดับหนี้สาธารณะที่สูงถึง 133% ของ GDP สร้างข้อจำกัดในการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาลอีกด้วย
นายกฯ David ประกาศลาตำแหน่งนายกฯ วันที่ 13 ก.ค.: หลังเหลือคุณ Theresa May เข้าชิงตำแหน่งนายกฯ เพียงท่านเดียว ทำให้ขั้นตอนการแต่งตั้งนายกฯ อังกฤษ ท่านใหม่เร็วกว่าแผนเดิมที่วางไว้ 9 สัปดาห์ ทั้งนี้นาง May ยืนยันที่จะเดินหน้า Brexit ตามผลประชามติ พร้อมยืนยันที่จะไม่มีการทำประชามติรอบที่ 2 หรือการยุบสภา
เศรษฐกิจไอร์แลนด์เติบโตถึง 26% qoq ใน 2Q59: เติบโต 26.3% qoq เร่งตัวขึ้นจากตัวเลขก่อนหน้าที่รายงานเติบโตเพียง 7.8% qoq เท่านั้น ทำให้ตัวเลขดังกล่าวดีกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 7.3% qoq ทั้งนี้เป็นผลจากบริษัทเอกชนหลายแห่งที่ย้ายฐานมาตั้งในไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี 2558 ไม่ว่าจะเป็นบริษัทลิสซิ่งทางด้านสายการบิน ทำให้เกิดการจ้างงาน
การหารือระหว่างนายกฯ อิตาลีกับอียู เพื่อหาทางออกให้แก่ธนาคารในอิตาลี: วานนี้การเจรจาระหว่างนายกฯ อิตาลี กับทาง EC ที่มีรมว.คลัง อียู เข้าร่วม ซึ่งคำถามในประเด็นต่างๆ จะนำไปสู่การตัดสินใจถึงแนวทางการช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในอิตาลี โดยที่ไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ของอียู
จีน
รัสเซียชะลอการปล่อนเงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้มองโกเลีย: วงเงิน US$1.0 พันล้าน เพื่อใช้ในการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในเขตมองโกเลีย ขนาดสูง 103 เมตร ซึ่งจะช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าและลดการพึ่งพิงพลังงานจากส่วนกลาง ทั้งนี้จีนได้ชะลอการให้เงินสนับสนุนในโครงการนี้ จนกว่าจะสามารถเจรจากับรัสเซียได้สำเร็จ โครงการนี้เกิดขึ้นเพราะ มองโกเลียต้องซื้อไฟจากรัสเซียปีละกว่า US$25 ล้าน
เอเชียแปซิฟิก
นายกฯ ญี่ปุ่นต้องการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืด: การหารือระหว่างนายกฯ ญี่ปุ่น และอดีตประธานเฟด Ben Bernanke โดยนายกฯ ญี่ปุ่น ยืนยันที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบใหม่ เพื่อให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด ขณะที่ Bernanke แนะนำให้นายกฯ ญี่ปุ่น เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ “Abenomics”
OPEC ประเมินความต้องการใช้น้ำมันจะฟื้นตัวในปี 2560: ประเมินความต้องการใช้น้ำมันดิบในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นเป็น 33 ล้านบาร์เรล/วัน หรือเพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตในเดือนมิ.ย.ที่ 142,000 บาร์เรล ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์อยู่ในระดับเดียวกับ 2559 ขณะที่กำลังการผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกจะลดลง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมาเลเซียขยายตัวดีกว่าคาด: เพิ่มขึ้น 2.7% yoy สำหรับเดือน พ.ค. จากเดือนก่อนที่ +3.0% yoy เทียบกับ Bloomberg Consensus คาด +2.5% yoy ทั้งนี้นำโดยการผลิตไฟฟ้าที่ขยายตัว 9.6% yoy รวมถึงภาคการผลิตที่ +3.6% yoy ขณะที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่หดตัว 1.1% yoy
ตัวเลขเศรษฐกิจอินเดียเริ่มมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อ
o อัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 5.77% yoy เป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 เดือน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.76% yoy แม้ว่าจะต่ำกว่า Bloomberg consensus คาดการณ์เล็กน้อยที่ 5.79% yoy ก็ตาม ทั้งนี้ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอินเดียจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 9 ส.ค. ก่อนที่จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 4Q59
o ผลผลิตภาคอุตฯ เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.2% yoy สวนทางกับที่ Bloomberg consensus คาด -0.3% yoy
ไทย
ครม.อนุมัติจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน: กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย 1 แสนล้านบาท พร้อมประกันภัยผลตอบแทนขั้นต่ำ 2-3% โดยมีวงเงินตั้งต้น 1.0 หมื่นล้านบาท
Strategist Team
Mayuree Chowvikran, CISA
Strategist / Analyst
662-6586300 x 1440
Padon Vannarat
Equity Analyst
662-6586300 x 1450 Rinrada Lianghathaitham
Equity Analyst
662-6586300 x 1530