WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
 ดัชนีเหนือ 1,460 จุด ควรทยอยขายรายหุ้นที่ราคาหุ้นเกินมูลค่าฯ เพราะความเสี่ยงจากภายนอกยังมี คาดดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่า vs ปอนด์และยูโร กดดันสินทรัพย์เสี่ยง และให้สะสมหุ้นอิงเศรษฐกิจในประเทศ สินค้าจำเป็น (BJC, BDMS, ADVANC)ได้ผลบวกโครงการรัฐ (ASK, CK, UNIQ)/หุ้น P/E ต่ำ&ปันผลสูง (RATCH, TCAP) Top picks คือ UNIQ(FV@B20), ADVANC(FV@B189) ซึ่ง Laggard+ปันผลสูง

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยังย่ำแย่ และน่าจะมีผลต่องวด 2H59
 วานนี้ ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน มิ.ย. ลดลง 1.4% โดยเป็นการ ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 เช่นเดียวกับ ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ล่าสุดปรับลดลง 1.4% มาอยู่ที่ 60.6 จุด เนื่องจากประชาชนกังวล ต่อประเด็น การลงประชามติของสหราชอาณาจักร (Brexit) และการส่งออก (X) ของไทย ที่ชะลอตัว 2 เดือน ประเด็นเหล่านี้ยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจหุ้นไทยในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ แต่ก็หวังว่าการกระตุ้นภาครัฐน่าจะมีส่วนหักล้างได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐ ซึ่งในเดือน ก.ค. เริ่มเห็นการขายซองประมูลการลงทุนใน รถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ สายสีส้มกับสายสีเหลือง และสีชมพู รวมถึงการกระตุ้นผู้มีรายได้น้อยในระดับรากหญ้า และ SMEs รายใหม่ ตลาดหุ้นระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนภาครัฐมีส่วนน้อยกว่า 5% ของ GDP เมื่อเทียบกับภาคการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 70% ของ GDP อาจจะทำให้ GDP Growth ที่ ASPS ประเมินไว้ที่ 3.5% อาจจะดูสูงเกินไป เมื่อเทียบกับงวด 1Q59 ที่รายงานที่ 3.2% และ คาดว่าในงวด 2Q59 น่าจะใกล้เคียงกับงวด 1Q59 ซึ่งอาจจะทำให้ ASPS ต้องปรับลดประมาณการ GDP ในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นไทย

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอังกฤษอ่อนแอ กดดัน Fed ยืนดอกเบี้ยถึงสิ้นปีนี้
 ค่าเงินสกุลหลักๆ ทั่วโลกมีความผันผวนสูง หลัง Brexit โดยเฉพาะค่าเงินปอนด์ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ปรับลดลงราว 13% ตามมาด้วยเงินยูโรลดลงราว 3% ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจอังกฤษ เดือน พ.ค. ยังผสมผสาน แม้ช่วงก่อนการทำประชามติ กล่าวคือ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว 0.5%mom หลังจากขยายตัว 2.4% ในเดือน เม.ย. และเช่นเดียวกับ PMI ภาคการก่อสร้างและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่หดตัวตัวติดต่อกัน 5 เดือน สวนทางกับยอดค้าปลีก ที่ขยายตัวติดต่อกันตั้งแต่ปลายปี 2556 สะท้อนภาคครัวเรือนยังดีอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผลกระทบต่อเงินเฟ้อจะกดดันในราคาสินค้าในอังกฤษมีแนวโน้มสูงขึ้นจะกระทบกำลังซื้อในเวลาไม่นาน และจะกดดันเศรษฐกิจและเงินเฟ้อให้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และน่าจะส่งผลกระทบต่อคู่ค้าหลัก ทั้งยุโรป สหรัฐ จีน รัสเซีย และ ญี่ปุ่น เป็นต้น
  ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าการประชุม BOE ใน 14 ก.ค. ที่จะถึงนี้น่าจะออกมาตรการทางการเงินเเพิ่มเติม ซึ่งผลผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ใน Bloomberg ทั้งหมด 6 คน พบว่า 4 คนคาดว่า BOE จะลดดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 0.25% จาก 0.5%(ครั้งแรกในรอบ 7 ปี) หลังจากที่วันอังคารที่ผ่านมา BOE ปรับลดการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Countercyclical Capital Buffer Rate) ลงเหลือ 0% จากเดิม 0.5% ทั้งๆ ที่เพิ่มเริ่มประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อต้นปี 2559 ตาม Basel III เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น แต่ความไม่แน่นอนทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง เชื่อว่าจะไม่กระตุ้นให้เกิดความต้องการสินเชื่อมากนัก
  ขณะที่สหรัฐ ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการรายงานของ ADP (หน่วยเอกชนร่วมกับรัฐบาล สำรวจแรงงานภาคเอกชน) พบว่าการจ้างงานภาคเอกชน เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด (อยู่ที่ระดับ 1.72 แสนราย) และสูงสุดในรอบ 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม ติดตามยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls รายงานโดยกรมแรงงาน) เดือนเดียวกัน ในวันนี้ ซึ่งตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.8 แสนราย หลังจากเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นน้อยมากเพียง 3.8 หมื่นราย ซึ่งกดดันให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่าปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลก น่าจะกดดัน Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่ค่าเงินDollar index จะยังมีทิศทางแข็งค่า เป็นปัจจัยกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง และน้ำมัน

ราคาน้ำมันอ่อนตัว แม้สต๊อกน้ำมันลดลง แต่ปัญหา Brexit มีน้ำหนักกดดันมากกว่า
 วานนี้มีรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) รายสัปดาห์สิ้นสุด 1 ก.ค. พบว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลงน้อยกว่าตลาดคาด กล่าวคือ ลดลง 2.23 ล้านบาร์เรล (VS API คาด 6.7 ล้านบาร์เรล) แต่ยังเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7 และเช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปทั้ง น้ำมันดีเซลและเบนซินปรับลดลง 1.57 และ 0.92 ล้านบาร์เรล เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูกาลขับขี่และช่วงวันหยุดของสหรัฐ หนุน Demand น้ำมันสำเร็จรูปมากขึ้น
  ทั้งนี้เชื่อว่าผลกระทบ Brexit คาดว่ามีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งกดดันค่าเงิน ปอนด์และยูโรอ่อนค่าต่อเนื่อง โดย เงินปอนด์ ลดลงต่ำสุดที่ 1.296 เหรียญต่อปอนด์ หรือ 13.5% นับจากจุดสูงสุด 24 มิ.ย.2559 ลักษณะเดียวกับเงินยูโรที่อ่อนค่าน้อยกว่า โดยทำระดับต่ำสุด.1.091 เหรียญต่อยูโร หรือ 6% นับจากจุดสูงสุด 5 มี.ค. 2559 หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่า กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันให้แกว่งตัวในทิศทางลง ล่าสุดน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ลดลง 5% จากวันก่อนหน้าปิดตลาด 46.40 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับ น้ำมันดูไบ (Spot) ปิดตลาดต่ำกว่า 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 44.92 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ในระยะสั้นจึงแนะนำชะลอการลงทุนในหุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นที่อ้างอิงเศรษฐกิจโลกไปก่อน (Global)

คาดต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ไทยน่าจะได้รับอานิสงส์น้อย
 วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงหยุดทำการ (จะกลับมาเปิดให้ซื้อขายอีกครั้งในวันจันทร์ที่จะถึง) โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 304 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ ยกเว้นฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 15 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน น่าจะเป็นเพราะ P/E สูง 20 เท่า) ส่วนที่เหลือสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง หลังจากขายสุทธิไปในวันพุธที่ผ่านมา เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 201 ล้านเหรียญ ไต้หวัน 68 ล้านเหรียญ และไทยซื้อสุทธิราว 50 ล้านเหรียญ หรือ 1.8 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันไทยที่ซื้อสุทธิราว 1.3 พันล้านบาท
  และหากพิจารณาแรงซื้อขายหลังจากเหตุการณ์ Brexit หรือช่วง 7 วันทำการที่ผ่านมา พบว่า Fund Flow ได้ใหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคกว่า 2.0 พันล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ จนทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมหุ้นในภูมิภาคตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านเหรียญฯ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ คือ ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ไทย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ (ดังตารางด้านล่าง)
  ทั้งนี้หากกลับไปพิจารณาช่วงหลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤติหนี้สาธารณะในช่วงปี 2551-2552 พบว่า ตลาดหุ้นเอเชียเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. 2552 เป็นต้นมา หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลกออกมาอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันต่างชาติได้ซื้อหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันทุกเดือน จนถึงเดือน ม.ค. 53 ด้วยมูค่ากว่า 4.6 หมื่นล้านเหรียญ และเช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิติดต่อกันทุกเดือน ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. – ต.ค. 52 ด้วยมูลค่ากว่า 1.8 พันล้านเหรียญ จึงทำให้เชื่อว่าปัจจุบัน Fund Flow น่าจะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในภูมิภาคอีกซักระยะ แต่ตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับอานิสงส์น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องปรับตัวขึ้นมาสูงจนมีค่า PE ที่สูงเกือบ 16.4 เท่านับว่า แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นฟิลิปปินส์ที่มีค่า P/E สูงสุด 20 เท่า

ลดผลกระทบภายนอก หลบเข้าหุ้น Domestic : ADVANC, BJC, RATCH, ASK, TCAP
 เชื่อว่าสภาวะตลาดที่ถูกขับเคลื่อนด้วยกระแส Fund Flow ที่เกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน ระดับ P/E สูงถึงกว่า 16.4 เท่า บวกกับราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นลงรุนแรง ทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะผันผวน สถานการณ์เช่นนี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการ take profit ขายทำกำไรออกมา โดยเฉพาะในหุ้นที่ราคาปรับขึ้นไปจนเกิน Fair Value เช่น SCB, KTB, HMPRO, ROBINS, THAI, VGI, LANNA เป็นต้น จึงแนะนำให้สลับการลงทุนมายังหุ้นที่ laggard กว่าตลาด หรือยังมี upside สูง โดยเน้นในกลุ่ม Domestic Play เป็นหลัก อาทิ
  กลุ่มสื่อสาร – ในปีนี้กลุ่มฯ ให้ผลตอบแทนเพียง 9%ytd (เทียบกับ SET ให้ผลตอบแทน 13.1%ytd) โดยเชื่อว่าประเด็นลบต่างๆ น่าจะสะท้อนการปรับลงของราคาหุ้นไปมากเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะ ADVANC (FV@189) แม้จะมีภาระต้นทุนใบอนุญาต 4G แต่ด้วยความแข็งแกร่งของฐานะการเงิน ทำให้ยังครองความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้ต่อไป รวมทั้งยังคาดหวัง div.yield ในระดับสูงได้ และ INTUCH (FV@B74) บริษัทแม่ได้อานิสงส์ตามไปด้วย
  กลุ่มค้าปลีก – น่าจะยังได้ประโยชน์จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว แนะนำ BJC (FV@47) โดดเด่นจากการเข้าซื้อกิจการ BIGC หนุนให้ธุรกิจกลับมาเติบโตโดดเด่นอีกครั้ง แต่ในช่วงสั้น อาจมี sentiment เชิงลบต่อความมั่นใจของผู้ถือหุ้น จากที่มีการเปลี่ยนวิธีเพิ่มทุนแบบ PP (กระชั้นชิดเกินไป) มาเป็นการเพิ่มทุนแบบ RO รอบ 2 ทำให้ล่าช้าไปจากแผนเดิมราว 1 เดือน แต่ยังเชื่อว่า BJC จะสามารถเพิ่มทุนได้ตามเป้าหมาย (Fair Value ดังกล่าวได้รวมหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมดไปแล้ว) ขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น น่าจะได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินยูโรมาชดเชย ราคาหุ้นที่ลดลงจึงเป็นจังหวะเหมาะสมในการเข้าซื้อ

กลุ่มโรงพยาบาล – เหมาะกับการเป็นหุ้นหลบภัย เนื่องจากธุรกิจยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แนะนำ BDMS (FV@B25)
  รวมทั้ง กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง ยังเกาะประเด็นโครงการลงทุนภาครัฐไปได้ต่อ ยังชอบ CK (FV@B36) และ UNIQ (FV@B20) และ SCC (FV@B595) และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หนุนกลุ่มเช่าหุ้นสินเชื่อ-เช่าซื้อรายย่อย S11([email protected]), ASK (FV@B23) ที่ยัง laggard
  ขณะที่ กลุ่มส่งออกอาหาร น่าจะยังได้ sentient จากการที่ไทยถูกปรับขึ้นจาก Tier3 หนุน TU (FV@B25) และ CPF (FV@B35)
โดยสรุปแม้ยังมี Fund Flow ไหลเข้า เพราะความคาดหวังว่าธนาคารกลางโลกจะใช้นโยบายบการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องในช่วงที่เหลือ 6 เดือนหลังของปีนี้ แต่เชื่อว่าการเคลื่อนไหวของดัชนี จะสลับ และหมุนเวียนจากหุ้นแพง ไปยังหุ้นถูก จึงแนะนำให้ให้นักลงทุนทยอยปรับลดพอร์ตลงทุนในหุ้นที่ใกล้ หรือ เกินมูลค่าหุ้นพื้นฐานของปี 2559 และให้สลับไปซื้อหุ้นที่มี upside สูง โดยให้ เน้นหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังกล่าข้างต้น รวมถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังปรากฏในตารางถัดไป

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

 

 

adsoptimal100

 

 

  

loading...

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!