- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 06 July 2016 15:24
- Hits: 587
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความกังวลต่อวิกฤติเศรษฐกิจโลก จากผลกระทบ Brexit มีน้ำหนักขึ้น สะท้อนค่าเงินปอนด์ และยูโร อ่อนค่าต่อเนื่อง เทียบดอลลาร์ กดดันน้ำมัน กลยุทธ์ให้เน้นถือหุ้น Domestic Play ผันผวนน้อย P/E ต่ำ+ปันผลสูง (TCAP, RATCH, ASK, S11) หรือได้ประโยชน์มาตรการรัฐ (CK) Top picks คือ ASK(FV@B23) และ UNIQ(FV@B20)
ความกังวลต่อวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบ Brexit มีน้ำหนักมากขึ้น
ความกังวลต่อเศรษฐกิจ ต่อผลกระทบของ Brexit กลับมามีน้ำหนักกดดันตลาดมากขึ้น ทำให้วานนี้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ก่อนการประชุม BOE ซึ่งกำหนด 14 ก.ค. นี้ แต่เป็นการดำเนินการผ่านการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือ ปรับลดการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Countercyclical Capital Buffer Rate) ลงเหลือ 0% จากเดิม 0.5% มีผลถึง มิ.ย. 2560 ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความยืดหยุ่นในการปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น 1.5 แสนล้านปอนด์ แต่ทั้งนี้ขึ้นกับบรรยากาศการลงทุนด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ภายใต้ Basel IIl ที่เริ่มใช้ปีนี้ ได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก ต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงและเงินกองทุน เพิ่มเติมจาก Basel II กล่าวคือ ด้านความเสี่ยงมี 3 เรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาคือ 1) การปล่อยสินเชื่อ (Credit Risk ลูกค้าผิดชำระหนี้) ซึ่ง Basel II ให้น้ำหนักเฉพาะประเด็นนี้ 2) ด้านปฏิบัติงาน (Operation Risk กรณีเกิดทุจริต) และ 2) ปัจจัยตลาด (Market Risk เช่น ความผันผวนดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน) ซึ่งมีผลต่อการตั้งสำรองฯ กระทบค่าใช้จ่ายงบกำไรขาดทุน
และด้านเงินกองทุน (มีผลต่อการขยายสินเชื่อ) ในปี 2562 กำหนดให้ธนาคารฯ ทุกแห่งต้องเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 (1st Tier) ต่อสินทรัพย์เสี่ยง เป็น 11% จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ที่ 6% เงินกองทุนส่วนเพิ่มอีก 5% แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก 2.5% เป็นการดำรงเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤติ (Conservation buffer) ซึ่งกำหนดให้เพิ่มขึ้นเท่าๆ กันทุกปีๆ ละ 0.625% นับจาก 1 ม.ค. 2559-1ม.ค. 2562 และส่วนที่สองอีก 2.5% เป็นการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มในภาวะที่สินเชื่อมีการเติบโตมากเกินควร (Countercyclical buffer) ซึ่งส่วนนี้เปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มในปีส่วนสุดท้ายครั้งเดียว หรือ ทยอยเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสม
ในกรณีของอังกฤษเข้าใจว่าในปีแรกได้กำหนดให้เพิ่ม Countercyclical buffer 0.5% ส่วนปีที่เหลือมิได้มีการเปิดเผย แต่เมื่อเลื่อนการใช้ก็จะต้องเพิ่มให้ครบ 2.5% ภายในปี 2562 แต่เนื่องจากกังวลต่อเศรษฐกิจในประเทศจึงชะลอการใช้ ซึ่งตามเกณฑ์ Basel III เปิดช่องให้ทำได้เพื่อลดแรงกดดันต่อระบบเศรษฐกิจหลังจาก Brexit
ส่วนธ.พ. ไทย ปัจจุบันต้องใช้เกณฑ์ Basel III เช่นกัน แต่ ธปท ยังมิได้กำหนดในรายละเอียดอย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเงินกองทุนแต่ละแห่งปัจจุบันถือว่าเกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 11% เกือบทุกแห่ง จึงไม่น่ากังวล แต่เนื่องจากราคาหุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ขึ้นจนเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2559 จึงเป็นประเด็นที่จะทำให้หุ้นถูกขายทำกำไรระยะสั้นได้
ดอลลาร์แข็งค่ากดดันหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน
ผลกระทบของ Brexit ต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินยังคงมีอยู่ ล่าสุดพบว่า เงินปอนด์ต่อดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยลดลงต่ำสุดที่ 1.2964 เหรียญดอลลาร์ต่อปอนด์ หรือลดลง 13.5% นับจากจุดสูงสุดเมื่อ 24 มิ.ย. 2559 เป็นการอ่อนค่ามากสุดในรอบ 31 ปี และในลักษณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเงินยูโร พบว่าเงินปอนด์อ่อนค่า 4.9% ในช่วงเดียวกัน โดยทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่เงินยูโร มีแนวโน้มอ่อนค่าในทิศทางเดียวกับเงินปอนด์ แต่อ่อนค่าในอัตราที่น้อยกว่า คือ อ่อนค่าราว 3.38% ในช่วงเดียวกัน ซึ่งมีน้ำหนักหักล้าง ปัจจัยบวกที่เชื่อว่า Fed น่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไปถึงสิ้นปีนี้ จากผลกระทบดังกล่าว คาดจะกดดันสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน
ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบ Brent กลับมาอยู่ระดับต่ำกว่า 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง ซึ่งทำให้คาดว่าโอกาสขยับขึ้นจากนี้จะจำกัด คาดเนื่องจาก Demand โลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งทำให้เชื่อว่าคาดการณ์น้ำมันจะกลับมาสมดุลภายใน 2Q60 อาจต้องเลื่อนออกไป แต่ตลาดยังมองแนวโน้มน้ำมันดิบปี 2560 ที่ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งยังคงเป็นไปตาม ASPS คาด จึงแนะนำซื้อ PTT(FV@B342) เมื่อราคาอ่อนตัว
เช่นเดียวกับ กากถั่วเหลือ
ที่ปรับตัวลดลง กว่า 8% นับจากระดับสูงสุด (10 มิ.ย.) ซึ่งเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้น TVO(FV@B 31.26) ประกอบกับราคาเกินมูลค่าพื้นฐานไปมากแล้ว จึงแนะนำขายทำกำไร ยกเว้น ราคาน้ำตาลแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากดอลลาร์แข็งค่า แต่ปัญหาขาดแคลน Supply ในประเทศอินเดียและประเทศในแทบเอเชียมีน้ำหนักมากกว่า ทำให้ราคาน้ำตาลปรับตัวขึ้นกว่า 4.7% wow ส่งผลดีต่อ KSL([email protected]) แต่เนื่องจาก Upside เหลือเพียง 6% จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ยังให้ Switch หุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่เข้าหุ้นสถาบันการเงินขนาดกลาง-เล็ก : TCAP, S11, ASK
ดังที่ได้นำเสนอไปวานนี้ว่า แนวโน้มของผลประกอบการงวด 2Q59 ของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ไม่ค่อยสดใส เริ่มจาก KBANK (FV@B175) คาด 2Q59 เติบโต 0.8%qoq แต่หดตัว 15.3%yoy ธุรกิจหลักยังอ่อนตัว โดยเฉพาะ NIM ที่หดตัวลง แต่ถูกชดเชยด้วยการลดลงค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ หรือ credit cost แต่ NPL ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกในงวดนี้ ส่วน 3Q59 คาดยังทรงตัว qoq โดยนักวิเคราะห์ได้ปรับประมาณการกำไรฯ ปีหน้าลง 4.8% สะท้อนผลจากการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม ตามด้วย SCB (FV@B130) คาด 2Q59 เติบโต 11.7%qoq แต่หดตัว 10.9%yoy โดยธุรกิจหลักของธนาคารฯ ยังค่อนข้างทรงตัว NIM หดตัวลงมาก แต่ NPL ลดลง สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิ 3Q59 คาดว่ายังทรงตัว นักวิเคราะห์ได้ปรับประมาณการกำไรฯ ปีหน้าลง 8% ผลจากการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมเช่นกัน
เช่นเดียวกับ KTB ([email protected]) คาด 2Q59 กำไรสุทธิลดลง 4%qoq และ 14%yoy เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ NPL ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นที่ราว 3.8% ของสินเชื่อรวม ขณะที่ภาพรวมสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ยังแผ่วตัวมาก ตามยอดสินเชื่อที่ไม่เติบโต ส่วน งวด 3Q59 มีโอกาสฟื้นตัวจากงวด 2Q59 จากแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ประเมินว่าจะเบาตัวลง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการผลการดำเนินงานปี 2559-60 ลง 5.2% yoy และ 6.1% yoy สะท้อนผลกระทบลดค่ารรมเนียมฯ ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิ ปี 2559 ลดลง 1.0% yoy ส่วนปี 2560 คาดว่าจะเติบโต 11.5% yoy ผลจากสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ยังคงแนะนำให้ switch ตามเดิม
ตรงข้ามกับ ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก คาดว่าผลการดำเนินงานมีแนวโน้มที่ดีสวนทาง ธ.พ. ใหญ่ เริ่มจาก TCAP ([email protected]) คาด 2Q59 เติบโตถึง 11.5% qoq และ 8.1% yoy (สูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส) จากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และ NPL ที่ลดลงสอดคล้องกับภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น คาดงวด 3Q59 น่าจะเติบโตสูงขึ้นจากงวด 2Q59 โดยรวมคาดปีนี้เติบโต 20.5%yoy และ 13.6% ในปีหน้า ตามด้วย TISCO (FV@B50) คาด 2Q59 ทรงตัว qoq แต่เติบโต 26%yoy หลักๆ มาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและ NIM ตามการลดลงของต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย โดยรวมคาดผลการดำเนินงานปี 2559 เติบโต 8.2%yoy
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวขึ้นแรงในช่วงสัปดาห์นี้ ทำให้ราคาหุ้นหลาย ธ.พ. ปรับเพิ่มขึ้นทั้ง KBANK และ SCB จนเกิน Fair Vale หรือมี upside ที่จำกัดมากแม้จะปรับไปใช้ Fair Value ปีหน้าก็ตาม จึงแนะนำให้ขายหุ้นใหญ่ และ สลับไปยัง ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า คือ TCAP ([email protected]) และ KKP (FV@B47) ที่ปลอดกังวลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมฯ ใหม่ ส่วน TISCO (FV@B50) แนะนำทยอยซื้อเมื่ออ่อนตัว
รวมทั้งทางเลือกอื่น เช่น หุ้นสินเชื่อ-เช่าซื้อรายย่อย S11([email protected]), ASK (FV@B23) ที่ยัง laggard TK (FV@B12) upside น้อย แนะนำ ซื้อเมื่ออ่อนตัว ส่วน THANI ([email protected]) ถือว่าราคาหุ้นเกินพื้นฐาน แนะนำให้ switch มายัง ASK แทน
แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลง
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงหยุดทำการ และจะหยุดต่อเนื่องไปทั้งสัปดาห์ เนื่องจากเป็นวัน Lebaran day ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือ แม้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่แรงซื้อเริ่มชะลอตัวลง โดยมีมูลค่ารวมเพียง 40 ล้านเหรียญ และยังเป็นการสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไต้หวันราว 20 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 5 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศ แรงซื้อจากต่างชาติเริ่มลดน้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ประกอบด้วย ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิ 20 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 5 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5), และไทยซื้อสุทธิ 35 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 35 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิสูงถึง 2.9 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 3.7 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์