- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 05 July 2016 16:59
- Hits: 841
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund Flow ยังคงไหลเข้าแต่เลือกซื้อหุ้น ธ.พ. ทำให้ดัชนีทะลุ 1,450 จุด แต่เป็นระดับ P/E ที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ดัชนีมีความผันผวนสูงมากขึ้น ยังให้สะสมหุ้น Domestic Play ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐ (CK) หรือ P/E ต่ำ +ปันผลสูง (TCAP, RATCH, ASK, S11) Top picks เลือก ASK(FV@B23) และ UNIQ(FV@B20)
ตลาดคาดว่าอังกฤษมีโอกาสลดดอกเบี้ยฯ ลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
หลังการลงประชามติออกจาก EU เชื่อว่าอังกฤษได้รับผลกระทบทางตรง โดยเฉพาะด้านการบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) ที่จะเผชิญกำแพงภาษีจากคู่ค้าหลักอย่าง EU (อังกฤษมีสัดส่วนนำเข้าจาก EU ราว 50% ของการนำเข้าทั้งหมด) นอกจากนั้นค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง (ล่าสุด 46.55 บาทต่อปอนด์) เป็นปัจจัยหลักลดทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงมูลค่าของสินทรัพย์ให้ลดลง อาทิ ที่ดินมูลค่าลดลงกว่า 7%
หากพิจารณาดัชนีชี้นำเศรษฐกิจระยะสั้นพบว่า ยังส่งสัญญาณชะลอตัว กล่าวคือ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและก่อสร้าง (Markit) ที่หดตัวกว่า 10% อยู่ระดับ 46 จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่ เม.ย. 2556 ซึ่งน่าจะกดดันให้รัฐบาลอังกฤษใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และการคลัง ทั้งนี้ล่าสุด รัฐมนตรีคลังเผยว่าตั้งเป้าลดภาษีนิติบุคคลจากระดับปัจจุบัน 20% เหลือ 15% ( 19% ภายในเดือน เม.ย 60 และ 17% ปี 2563 และลดลงเรื่อยๆจนถึง 15%) และผลสำรวจของ S&P คาดว่า BOE อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เหลือ 0% (หลังจากยืนระดับ 0.5% ยาวนานกว่า 7 ปี) คาดจะกดดันให้สหภาพฯยุโรปต้องปรับลดตาม ทั้งภาษีนิติบุคคลซึ่งปัจจุบันอยู่เฉลี่ยระดับ 25% และอาจต้องเพิ่งเติมวงเงินการทำ QE ต่อไป ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สร้าง Money Supply โลกในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า
ธปท. พร้อมลดดอกเบี้ยตามกระแสโลกแต่สวนทางกับสมมติฐานน้ำมันที่เพิ่ม
เมื่อวานนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ได้จัดประชุมเพื่อเปิดเผยแนวคิดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญคือ กนง. คงประมาณการ GDP Growth ปี 2559 ที่ระดับ 3.1% ตามเดิมจากรอบ มี.ค.59 แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนสมมุติฐานในรอบนี้
ปรับลดการส่งออกสินค้า(X) ลงเหลือ ติดลบ 2.5% จาก เดิมคาด 0% และ ปรับเพิ่ม 2 รายการ คือ การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มเป็น 3.1% จากเดิมคาด 2.4% และการบริโภคภาครัฐ(G) เพิ่มเป็น 3.5% จากเดิมคาด 3.1% โดยภาพรวมถือว่ายังต่ำกว่าที่ ASPS คาดทั้งปีที่ระดับ 3.5% สาเหตุหลักทีประมาณการของ ASPS สูงกว่ามาจากสมมติฐานของ ธปท คือ การบริโภคภาคครัวเรือน (C) ASPS คาดที่ 2.5% เทียบกับ ธปท 1.8%
แต่เป็นที่สังเกตว่า ธปท. ได้ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบ ปี 2559 ปรับเพิ่มเป็น 43.1 เหรียญ/บาร์เรล จากเดิมคาด 37.3 เหรียญ/บาร์เรล และปี 2560 เพิ่มเป็น 53 เหรียญ/บาร์เรล จากเดิมคาด 47 เหรียญ/บาร์เรล จึงเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อปีนี้ จากเดิมที่ ธปท. คาดว่าจะขยายตัว 0.6% (ASPS คาดเงินเฟ้อเฉลี่ยปีนี้ที่ระดับ 0.8%)
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ในปัจจุบันถือว่า ธปท. ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม (ยืนระดับนี้ตั้งแต่ เม.ย.58) อย่างไรก็ตาม เปิดโอกาสในการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม (Policy Space) ในยามจำเป็น อาทิ เศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า และหาก ธนาคารกลางโลก อาทิ Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ย และ ธนาคารกลางอื่น ๆ เช่น ECB, BOJ และ BOE ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ กดดันให้ Money Supply โลกเพิ่มขึ้น
โดยรวมฝ่ายวิจัยคาดว่า กนง. จะยังยืนดอกเบี้ยไปจนถึงปลายปีนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวในแดนบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รวมทั้งเศรษฐกิจในประเทศยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ อาทิเงินช่วยเหลือ เกษตรกร SMEs บ้านประชารัฐ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ มอเตอร์เวย์ ที่เปิดประมูลอย่างต่อเนื่อง
กำไรงวด 2Q59 ธ.พ. ใหญ่ย่ำแย่ Switch จาก SCB, BBL มาเข้า TCAP
เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลรายงานผลประกอบการงวด 2Q59 ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากการประเมินของ นักวิเคราะห์ ASPS ในเบื้องต้นคาดว่าผลกำไรน่าจะชะลอตัวลงจากงวดก่อนหน้า ซึ่งหลัก ๆ น่าจะมาจากหุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ ยกเว้นหุ้นธ.พ. ขนาดกลางและเล็ก ดังนี้ :
TCAP ([email protected]) คาด 2Q59 เติบโตถึง 11.5% qoq และ 8.1% yoy (สูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส) จากการตั้งสำรอง ฯ ที่ลดลง ตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากการฟื้นตัวของ SCILife (TCAP ถือหุ้น 51%) และ งวด 3Q59 คาดจะดีขึ้นต่อเนื่องจากงวด 2Q59 ภายใต้สถานการณ์สินเชื่อที่ฟื้นตัวดีขึ้น และ NIM จะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย โดยรวมคาดปีนี้เติบโต 20.5%yoy และ 13.6% ในปีหน้า ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside กว่า 30% div. yield สูงเกือบ 6% เป็นตัวเลือกที่ดีมาก เพราะกระทบน้อยจากดอกเบี้ยขาลง และการปรับลดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ใหม่
TISCO (FV@B50) คาด 2Q59 ทรงตัว qoq แต่เติบโต 26%yoy หลักๆ มาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและ NIM ตามการลดลงของต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย แม้สินเชื่อสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมจะอ่อนตัวลงก็ตาม ขณะที่ NPL ยังลดลงต่อเนื่องต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม โดยภาพรวมคาดผลการดำเนินงานปี 2559 เติบโต 8.2%yoy นำโดยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่จะโดดเด่นในช่วง 2H59 โดยมีจุดเด่น div. yield สูงกว่า 5% เป็นอีกทางเลือก ในช่วงตลาดผันผวน แต่ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside จำกัด จึงแนะนำทยอยซื้อเมื่ออ่อนตัว
KBANK (FV@B175) คาด 2Q59 เติบโตเล็กน้อย 0.8%qoq แต่หดตัว 15.3%yoy ธุรกิจหลักยังอ่อนตัว โดยเฉพาะ NIM ที่หดตัวลง แต่ถูกชดเชยด้วยการลดลงค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ หรือ credit cost แต่ NPL ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกในงวดนี้ และแนวโน้มกำไรสุทธิงวด 3Q59 ยังทรงตัวจากงวด 2Q59 โดยสินเชื่อน่าจะอ่อนตัวลง แต่ cost to income ratio น่าจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าช่วงฤดูกาลใช้จ่าย โดยภาพรวมคาดว่าการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมฯ ที่เกี่ยวกับ National e-Payment ยังไม่ส่งผลต่อผลประกอบการในปีนี้อย่างมีนัยฯ แต่จะมีผลต่อกำไรในปีหน้าลดลงราว 4.8% จึงปรับลดประมาณการฯ ปี 2560 ลง ทำให้ผลประกอบการในปีนี้ลดลง 7.5%yoy แต่ปีหน้าเติบโต 11.3%yoy ขณะทีราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว โดยจะปรับไปใช้ Fair value ปี 2560 ภายหลังประกาศงบการเงินงวด 3Q59 ที่ 192 บาท ซึ่งก็ยังมี upside ไม่มากนัก จึงเน้นเข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว
SCB (FV@B130) คาด 2Q59 เติบโต 11.7%qoq แต่หดตัว 10.9%yoy โดยธุรกิจหลักยังทรงตัว NIM หดตัวลงมาก แต่ NPL ยังลดลงต่อเนื่อง และ ผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย SCB Life ฟื้นตัวตาม ดอกเบี้ยตลาดที่กระเตื้องขึ้น ลดภาระการสำรอง ฯ ด้านสินทรัพย์ ส่วนแนวโน้มงวด 3Q59 คาดกำไร ทรงตัวจากงวด 2Q59 ภาพรวมคาดว่าการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมฯ ที่เกี่ยวกับ National e-Payment ยังไม่ส่งผลต่อผลประกอบการในปีนี้อย่างมีนัยฯ แต่จะมีผลต่อกำไรในปีหน้าลดลงราว 8% จึงปรับลดประมาณการฯ ปี 2560 ลง ทำให้ผลประกอบการในปีนี้ลดลง 10.6%yoy แต่ปีหน้าเติบโต 15.4%yoy ขณะทีราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว แม้จะขยับไปใช้ Fair Value ปีหน้าที่ราว 142 บาท ก็ยังไม่มี upside จึงแนะให้ switch ไปลงทุนใน TCAP ([email protected]) และ KKP (FV@B47) ที่เชื่อว่าจะกลับมา outperform ได้ดีกว่า
แนะ Switch จากหุ้นธนาคารขนาดใหญ่มายังหุ้น Consumer Finance : S11, ASK
วานนี้ พบราคาหุ้น ธ.พ. ในกลุ่มฯ ปรับตัวขึ้นกว่า 3-4% หลังจากที่แนวโน้มการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2560 น่าจะอยู่ที่เพียง 5% จากที่เคยประเมินไว้ในกรณี worst case ว่าต้องปรับลดถึง 10-12% ล่าสุด ยอดสินเชื่อเดือน พ.ค. 59 กลับมาเติบโตสูงสุดในรอบ 5M59 แต่ก็เป็นเพราะดีลใหญ่ของกลุ่ม บ.ทีซีซีฯ ที่เข้ามาซื้อ BIGC โดยรวมแล้ว สินเชื่อสุทธิในระยะ 5M59 เติบโตเพียง 0.41% จากสิ้นปี 2558 และต่ำมากเมื่อเทียบกับเป้าหมายทั้งปี 2559 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ 4.94% yoy เนื่องจากยังเป็นช่วงนอกฤดูกาลสินเชื่อ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวล่าช้า กดดันต่อสินเชื่อ SME และรายย่อย ซึ่งหากยอดสินเชื่อไม่มีความต่อเนื่องใน มิ.ย. 59 กลุ่ม ธ.พ. ก็อาจกลับไปทรงตัวอีกจนกว่าจะเห็นแรงขับเคลื่อนที่ชัดเจนจากโครงการลงทุนใหญ่ของภาครัฐ ประกอบกับปัจจัยกดดันจากผลกระทบเรื่องการปรับโครงสร้างธรรมเนียมฯ กระทบต่อ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทางเลือกลงทุนที่ดีในช่วงนี้จึงแนะนำให้สลับไปยัง ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า คือ TCAP, TISCO และ KKP
รวมทั้งทางเลือกอื่น เช่น หุ้นสินเชื่อ-เช่าซื้อรายย่อย S11 ([email protected]), ASK (FV@B23) ที่ยัง laggard ส่วน TK (FV@B12)) upside น้อย แนะนำ ซื้อเมื่ออ่อนตัว ส่วน THANI ([email protected]) ถือว่าราคาหุ้นเกินพื้นฐานแนะนำให้ switch มายัง ASK แทน
แม้ต่างชาติยังคงซื้อหุ้นทั้งภูมิภาค แต่น่าจะให้น้ำหนักหุ้นไทยน้อยกว่าเพื่อนบ้าน
วานนี้แม้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 407 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 4 ประเทศ นำโดยไต้หวันซื้อสุทธิราว 196 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 103 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ และไทยซื้อสุทธิ 97 ล้านเหรียญ หรือ 3.4 พันล้านบาท โดยหากพิจารณาจากมูลค่าซื้อขายใน NVDR พบว่า มีแรงซื้อขายเข้ามาหนาแน่นในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. โดยเฉพาะ KBANK ที่ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในตลาดฯถึง 1.3 พันล้านบาท ตามมาด้วย BBL และ SCB แม้มีมูลค่าการซื้อขายสูง แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียง 54 ล้านบาท และ 46 ล้านบาทเท่านั้น เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.2 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ดัชนีหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงสุดในภูมิภาคเฉลี่ย 12.9% ใกล้เคียงกับฟิลิปปินส์ 12.9% รองลงมาคือ , อินโดนีเซีย ให้ผลตอบแทน 8.2%, ไต้หวัน 5.1% และเกาหลีใต้ 1.7% ตามลำดับ นอกจากนี้หุ้นไทยยังถือว่าแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีค่า Expected PE 2559 ที่สูงถึง 16.4 เท่า แม้จะยังถูกกว่าตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่มีค่าเท่ากับ 20.0 เท่า แต่ก็สูงกว่าตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค ทั้งอินโดนีเซีย 16.0 เท่า, ไต้หวัน 13.9 เท่า และเกาหลีใต้ 11.1 เท่า จึงทำให้เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับอานิสงส์จากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้ามาน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
SET ทะลุ 1450 จุดยิ่งจำเป็นต้องปรับพอร์ต และเน้นถือหุ้นหลัก : RATCH, TCAP, ASK
SET ขึ้นทะลุ 1450 จุด โดยการเข้าซื้อหุ้น ธ.พ. เป็นหลัก โดยเฉพาะหุ้นใหญ่ 3 อย่าง SCB, KBANK, BBL และ ถือว่าเป็นระดับที่มีค่า Ex. P/E เกิน 16.4 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ประกอบกับ ดัชนีตลาดหุ้นไทยนับจากต้นปี 2559 จนปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังให้ผลตอบแทนสูงสุดในภูมิภาค ดังปรากฏในภาพข้างต้น ดังนั้นในภาวะที่ตลาดขับเคลื่อนด้วยหุ้นรายกลุ่มที่จำกัด จึงน่าจะเป็นจังหวะของการปรับลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นใหญ่อย่าง ธ.พ. ที่ราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงยังคงกดยุทธ์การลงทุนเดิม คือ ปรับลดพอร์ตหุ้นรายตัวที่ราคาเกินพื้นฐาน และ หันมาลงทุนเน้นหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจภายในเป็นหลักคือ
ผันผวนน้อย, P/E ต่ำ และ dividend yield สูง หรือมีกระแสเงินสดมั่นคง พร้อมเงินปันผลสูงต่อเนื่อง อาทิ RATCH (FV@B60), TCAP ([email protected]) และ ASK ([email protected]) เป็นต้น
ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ อาทิ ความคืบหน้างานก่อสร้าง และการให้เงินช่วยเหลือภาคเกษตร เช่น CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20), S11 ([email protected])
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีกระแสเงินสดมั่นคง พร้อมจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ (ได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคล) ยังชอบ CPNRF และ TFUND
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์