- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 04 July 2016 17:47
- Hits: 1367
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ fund Flow กลับเข้าเอเชียอีกครั้ง แต่น่าจะเข้าไทยน้อย เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงสุดในภูมิภาค และดัชนี 1,445 จุด น่าจะผ่านยาก (P/E 16.3 เท่า น่าจะสูงกว่าเพื่อนบ้าน) จึงยังให้เน้น Domestic Play ซึ่งมีความผันผวนน้อย, P/E ต่ำ และปันผลสูง (TCAP, RATCH, ASK, TK) Top picks เลือก RATCH(FV@B60) และ ASK(FV@B23)
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐขัดแย้ง หนุนชะลอการขึ้นดอกเบี้ยเป็นปีหน้า
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐยังมีความขัดแย้งกัน ระหว่างภาคการผลิตและครัวเรือน และ หากพิจารณาภาคการผลิตก็ยังขัดแย้งกันเอง กล่าวคือ ดัชนีภาคการผลิต นำโดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ของ ISM เดือน มิ.ย. ฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้น 3.7%mom อยู่ที่ 53.2 จุด และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2558) แต่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของ มาร์กิต ในเดือนเดียวกัน กลับ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเช่นเดียวกับดัชนีภาคการผลิตอื่น ๆ ยังชะลอตัว อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน(Durable Good) ในเดือนเดียวกัน ติดลบ 2.2% หลังจากที่ขยายตัว 3.3% ในเดือน พ.ค. (ลดลงจากยอดสั่งซื้อเครื่องบิน ลดลง 34%)
ส่วนดัชนีภาคครัวเรือนล่าสุด เริ่มส่งสัญญานชะลอตัว อาทิ รายได้ภาคครัวเรือน (Personal Income) การใช้จ่ายของครัวเรือน (Personal spending) ที่เพิ่มขึ้น ในอัตราต่ำสุดตั้งแต่ ต.ค. 2558 โดยภาพรวมทำให้ เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ เพื่อลดผลกระทบ Brexit ซึ่งน่าจะกดดัน Dollar Index กลับมามีทิศทางอ่อนค่า
สอดคล้องกับธนาคารกลางในฝั่งเอเซีย ที่ยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง อาทิ ล่าสุด ธนาคารกลางไต้หวัน(CBC) ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.125% มาอยู่ที่ 1.375% (ลดครั้งที่ 2 ตั้งแต่ต้นปี 2559) และ ธนาคารกลางอินโดนีเซียที่ก่อนหน้านี้ได้ลดดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้งในปีนี้ ล่าสุดอยู่ที่ 6.5% และ ธนาคารแห่งประเทศ โดย กนง. น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ในการประชุม กนง. รอบถัดไป 3 ส.ค. นี้ และน่าจะยืนต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2559 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวล่าช้าแล้ว เงินเฟ้อในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นต่เนื่องเป็นเดือนที่ 3 ดังจะกล่าวในย่อหน้าถัดไป
เงินเฟ้อไทยกระเตื้องขึ้น แต่คาดยังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2559
เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น ล่าสุดในเดือน มิ.ย. พบว่าเพิ่มขึ้น 0.38% yoy สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (แต่เฉลี่ย 6M59 ติดลบ 0.09% ) ปัจจัยหลักจากราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มขึ้น อาทิ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่ม 3.03% และผักผลไม้เพิ่ม 12.31% อันเป็นผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ยังมีอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นดังกล่าวเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัว อาทิ ราคาผักสดที่ลดลง 6.18% และ ผลไม้ลดลง 0.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามระดับราคาน้ำมันโลก
โดยภาพรวมคาดว่าเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่เริ่มทรงตัวในระดับสูงใกล้ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล ทำให้ ASPS ปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปีนี้ขึ้นมาเป็น 0.8% จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ ซึ่งยังเป็นระดับที่สนับสนุนให้ กนง. ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้
CPF, TU ได้ sentiment เชิงบวก หลังสหรัฐลดปัญหาค้ามนุษย์ไทยลง 1 ขั้น
ล่าสุด ทางการสหรัฐฯ ได้ปรับสถานะปัญหาการค้ามนุษย์ (TIP report) ของไทยประจำปี 2559 จากระดับ Tier 3 ขึ้นสู่ Tier 2 คือเฝ้าระวัง (Tier 2 – watchlist หรือเทียบกับเท่า 2.5) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับจีน, มาเลเซีย, ลาว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าบางประเทศ ที่อยู่กลุ่มที่ได้ Tier 2 (ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่มีความพยายามในการปฏิบัติตามเกณฑ์) คือ กัมพูชา, อินโดนีเซีย, อินเดีย , เวียดนาม ญี่ปุ่น เนปาล และ บังคลาเทศ แต่อย่างไรก็ตาม แสดงถึงพัฒนาการเชิงบวกในแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ดีขึ้น
ระยะสั้นเชื่อว่าน่าจะช่วยหนุนภาพลักษณ์ของไทยในเรื่องการใช้แรงงานให้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น Sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มส่งออกอาหารทะเล ทั้ง CFRESH, CPF(FV@B35) และ TU(FV@B25) เนื่องจากจะทำให้การกีดกันทางการค้าสินค้าประมงไทยน่าจะลดลง และน่าจะส่งผลบวกสืบเนื่องต่อในเรื่องของ IUU ที่ EU จะเข้ามาประเมินสถานะใบเหลืองของอุตสาหกรรมประมงไทยในเร็วๆ นี้ อย่างไรกตามทั้ง CPF และ TU ได้เปิดเผยมาตลอดว่าได้ทำถูกกฎหมายสากล ประเด็นนี้จึงน่าจะดีต่ออุตสาหกรรมส่งออกอาหารของไทยในระยะยาว
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาโครงสร้างรายได้การส่งออกพบว่า CPF มีความเสี่ยงน้อยกว่า TU กล่าวคือ CPF มีรายได้จากการส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ และยุโรปราว 3.5 พันล้านบาท รวมกันคิดเป็นเพียง 0.8% ของรายได้รวม ขณะที่ TU มีรายได้จากการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหรัฐฯ และยุโรป 23% ของรายได้รวม หรือราว 2.9 หมื่นล้านบาท TU จึงอาาจได้รับผลกระทบจากการที่ UK แยกตัวออกจาก EU เนื่องจากโครงสร้างยุโร + เงินปอนด์ รวม 30% ขณะที่ต้นทุนเป็นสกุลเงินยูโรราว 15% จึงยังมี Gap ระหว่างรายได้-ต้นทุนทุนยุโร แม้จะมีหนี้สินเป็นเงินยูโรราว 3% ของหนี้สินทั้งหมดก็ตาม แม้ TU ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงของสกุลเงินต่างประเทศในปี 2559 ไว้เกือบทั้งหมดแล้ว แต่ความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าเงินต่างประเทศที่ผันผวนจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป จึงยังชอบ CPF ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า ส่วน TU แนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
แม้ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นเอเชีย แต่ไทยน่าจะได้อนิสงค์น้อย
ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอย่างหนาแน่น ทั้งในวันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าทั้ง 2 วันรวมกันสูงถึง 1.8 พันล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 697 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 598 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 207 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9), ฟิลิปปินส์ 109 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นไทย แม้วันศุกร์ที่ผ่านมาจะหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุดธนาคารกลางปี แต่ในวันพฤหัสบดีต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิถึง 195 ล้านเหรียญ หรือ 6.9 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อ Big Lot หุ้น CPALL มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท หากตัดส่วนนี้ออกต่างชาติซื้อสุทธิราว 2 พันล้านบาท ซึ่งสวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 603 ล้านบาท
ส่วนภาพรวมในเดือน มิ.ย. พบว่าต่างชาติยังคงซื้อสุทธิสะสมหุ้นในภูมิภาคเอเชีย (5 ประเทศ)ราว 3.7 พันล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ตามลำดับ รายละเอียดดังปรากฏในตารางข้างท้าย
ส่วนแนวโน้มเดือน ก.ค. นี้ คาดว่าแรงซื้อของต่างชาติในตลาดหุ้นภูมิภาคยังมีอยู่ ด้วยความ หวังว่าธนาคารกลางโลกจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจาก Brexit อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติในอดีต ที่ต่างชาติมักซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือน ก.ค. ถึง 8 ใน 10 ปี ด้วย ความน่าจะเป็นสูงถึง 70% (ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.84%) แต่อย่างไรก็ตามดัชนีหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 12% ซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ทำให้เชื่อว่าต่างชาติน่าจะหันมาสนใจและให้น้ำหนักการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าไทย
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
SET มี upside จำกัด เน้น Domestic Play : RATCH, TCAP, ASK
เชื่อว่า SET ที่ 1445 จุด เป็นแนวต้านที่มีนัยสำคัญ นอกจากเป็นระดับที่มีค่า Ex. P/E 16.3 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน แล้ว นับจากต้นปี 2559 จนปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังให้ผลตอบแทนสูงสุดในภูมิภาค เป็นรองเพียง ฟิลิปปินส์ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าไทยเล็กน้อยคือ ราว 13% โดย ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12.2% ขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านให้ผลตอบแทนน้อยกว่าทุกประเทศ คือ อินโดนีเซียให้ผลตอบแทน 8% ไต้หวัน 5% ส่วน สิงค์โป และ มาเลเซีย ติดลบ 1% และ 3 % ตามลำดับ ดังนั้นจึงยังคงกดยุทธ์การลงทุนเดิม คือ ให้เน้นหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจภายนอก ใน 3 กลุ่มหลัก เช่นเดิมคือ
ผันผวนน้อย, P/E ต่ำ และ dividend yield สูง หรือมีกระแสเงินสดมั่นคง พร้อมเงินปันผลสูงต่อเนื่อง อาทิ RATCH (FV@B60), TCAP ([email protected]) และ ASK ([email protected]) เป็นต้น
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ อาทิ ความคืบหน้างานก่อสร้าง และการให้เงินช่วยเหลือภาคเกษตร เช่น CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20), S11 ([email protected])
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีกระแสเงินสดมั่นคง พร้อมจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ (ได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคล) ยังชอบ CPNRF และ TFUND
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์