- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 27 June 2016 17:47
- Hits: 892
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
Brexit ป่วน
คาดหุ้นไทยปรับตัวลงวันนี้ตามตลาดหุ้นสหรัฐซึ่งร่วงหนักในวันศุกร์ และตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ หลังจากอังกฤษลงมติออกจากสหภาพยุโรปในสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าสินทรัพย์เสี่ยงยังจะถูกกดดันอย่างหนักต่อไปอีกอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า โปรดอ่านรายงาน “การลงทุนหลังการลงมติออกจาก EU” วันนี้ ปัจจัยภายในประเทศวันนี้ก็ล้วนเป็นลบ ส่งออกกลับมาเป็นติดลบอีกในเดือน พ.ค. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารวิตกปรากฎการณ์ลานิญญาจะนำมาซึ่งน้ำท่วมและฝนที่มากเกินไป สินเชื่อมีปัญหาใน SME ยังเพิ่มขึ้นอีก
หุ้นเด่นวันนี้ : BEM (Bt6.70; BUY; AWS 2016 TP Bt6.80)
บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นหุ้นที่เราเลือกในวันนี้ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างมีนัยยะสำคัญจากการที่รัฐบาลกำลังผลักดันโครงการขนาดใหญ่ทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับเป็นหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำเพียง 0.54 ซึ่งช่วยป้องกันในเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูงจากผลของการลงคะแนนเสียง Brexit ขณะที่ BEM มีโอกาสของการได้สัมปทานอีกมากจากการรออนุมัติให้ดำเนินงานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จากคณะกรรมการร่วมนโยบายภาครัฐและเอกชนของคณะรัฐมนตรี (Public-Private Policy Approval Committee: PPPAC) ซึ่งคาดว่าจะผ่านไปได้ ในขณะเดียวกัน แนวโน้มผลประกอบการบริษัทยังสดใสในปีนี้ จากการขับเคลื่อนของ: 1) การเพิ่มรายได้จากการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของ รถไฟฟ้าสายสีม่วงซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการ 12 ส.ค. 2559, 2)ทางด่วนศรีรัช คาดว่าจะเริ่มเปิดให้ดำเนินการได้ปลายปีนี้ และ 3) ทริสให้เรทติ้ง A ที่ให้สามารถลดต้นทุนการเงินลงเหลือ 4-5% จาก 6-7% จากปีก่อน เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่ม 12% ปีนี้ และเพิ่ม 38% ปี 2560 มองผิวเผินดูเหมือน BEM จะราคาแพง จากค่า PER ที่ 35.3 เท่า ปี 2559 และ 24.8 เท่า ปี 2560 อย่างไรก็ตาม กำไรที่แข็งแกร่งจะทำให้ค่า PEG ลดลงจาก 2.9 เท่าในปีนี้ เหลือ 0.7 เท่าในปีหน้า Price Pattern ของ BEM มีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างชัดเจน จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal โดยเมื่อพิจารณาจาก Price Pattern ของ BEM แล้ว คาดว่ายังจะได้เห็นการทำ New High อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า BEM มีเป้าหมายถัดไปของการทำ New High อยู่ที่ 7.20 บาท โดย BEM มีจุด Stop Loss ระยะสั้นในรอบนี้อยู่ที่ 6.25 บาท (Resistance: 6.75, 6.85, 7.00; Support: 6.65, 6.55, 6.40)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ส่งออกพ.ค. ร่วงต่อ ก.พาณิชย์รายงานยอดส่งออกข้าว พ.ค. ลดลง 4.4% เทียบปีก่อนเหลือ 1.76 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้น 0.5% เทียบปีก่อนสู่ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลการค้า 1.54 พันล้านดอลลาร์ นับว่าส่งออกร่วงติดต่อกันสองเดือนแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ผลผลิตเกษตรและน้ำมันราคาตกต่ำ ขณะที่ยอดส่งออก 5 เดือน ลดลง 1.9% เทียบปีก่อนเหลือ 8.69 หมื่นล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ก.พาณิชย์ยังคงเป้าการส่งออกเติบโตที่ 5% ปีนี้เหมือนเดิม (Bangkok Post)
สมาคผู้ผลิตอาหารกังวลถึงปรากฎการณ์ La Nina สมาคมผู้ผผลิตอาหารสำเร็จรูปแสดงความกังวลถึงปรากฎการณ์ La Nina ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในระดับที่มากกว่าปกติและจะส่งผลเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหาร สมาคมผู้ผผลิตอาหารคาดว่ายอดส่งออกปีนี้ยังเห็นการขยายตัวได้ราว 2.5% มาอยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท ฟื้นตัวจากการหดตัว 2% ในปีก่อนหน้า โดยได้ปัจจัยหนุนจจากการอ่อนค่าของเงินบาท (Bangkok Post)
สนช.ผ่านวาระแรกกม.ปิโตรเลียมท่ามกลางการคัดค้าน ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมทั้งสองฉบับในวาระที่ 1 แล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้านของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยเนื่องจากความไม่ชัดเจนในรายละเอียดของร่างฯ โดยที่ประชุมได้ลงมติในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม โดยเห็นชอบ 152 เสียง ไม่เห็นชอบ 5 เสียง ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มีมติเห็นชอบ 154 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง (Bangkok Post)
KTB (16.30 บ., ซื้อ, 59 AWS TP 20.00 บ.) มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 30% YoY ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารคุณวรภัค ธันยาวงษ์กล่าวว่าหนี้เสียในส่วนของ SME ยังคงเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ช้าลง และการตั้งสำรองดังกล่าวยังเป็นการป้องกันสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน (Bangkok Post) ความเห็น: เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 59 ไว้ที่ 2.92 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% YoY โดย KTB จะมีการจัดประชุมนักวิเคราะห์เพื่อพรีวิวผลประกอบการของไตรมาส 2/59 ในวันที่ 5 ก.ค.นี้
ต่างประเทศ
ชาวอังกฤษลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป (EU) 51.9% ต่อ 48.1% : ประชาชนส่วนมากในสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือลงคะแนนให้อยู่ใน EU ส่วนอังกฤษและเวลส์ลงคะแนนให้ออกจาก EU ซึ่งก่อให้เกิดคำถามเพิ่มขึ้นว่าในอนาคตประเทศเหล่านี้จะยังรวมเป็นสหราชอาณาจักรหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU (Brexit) ได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนเสียงนับล้านซึ่งรู้สึกว่าอังกฤษถูกทิ้งไว้เบื้องหลังจากกระแสโลกาภิวัฒน์และกล่าวโทษการที่ผู้คนอพยพเข้ามาใน EU เนื่องจากค่าแรงต่ำและบริการสาธารณะที่ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง (Reuters)
นางเจเน็ต เยลเลน ประธาน Fed มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ที่โปรตุเกสในวันพุธนี้ ซึ่งนักลงทุนต้องการทราบว่าเธอมองว่า Brexit จะมีผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยอย่างไร (Reuters)
ราคาพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ จากการซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นหลังจากผลการนับคะแนนการลงประชามติสรุปว่าอังกฤษจะออกจาก EU ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปีปิดปรับตัวขึ้น 1-14/32 ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.58% สูงกว่าระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.38% เมื่อเดือน ก.ค. 2012 ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.73% เมื่อวันพฤหัส (Reuters)
เงินปอนด์อ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันศุกร์ ฟื้นตัวเล็กน้อยหลังที่ร่วงลง 10% อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 31 ปี หลังจากผลการนับคะแนนการลงประชามติสรุปว่าอังกฤษจะออกจาก EU โดยมีแถลงการณ์ยืนยันจากธนาคารกลางต่าง ๆ เงินปอนด์ล่าสุดปรับตัวลง 8.1% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ระดับ 1.3662 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่การการที่สหรัฐใช้เงินดอลลาร์เป็น "อาวุธหนัก" เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นเซ็นข้อตกลงที่เรียกว่า "Plaza Accord" ในปี 1985 ที่ 1.3228 ดอลลาร์สหรัฐ เทรดเดอร์กล่าวว่าความเห็นของนาย Mark Carney ผู้ว่าธนาคารกลางอังกฤษที่ระบุว่าธนาคารกลางอังกฤษพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมช่วยให้ค่าเงินปอนด์ฟื้นตัว (Reuters)
สหรัฐ :
หุ้นในตลาดสหรัฐถูกเทขายหนักสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อวันศุกร์ หลังจากอังกฤษมีผลประชามติออกจาก EU ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่คาดคิด ตลาดหุ้นส่วนใหญ่เชื่อว่าฝ่ายที่ต้องการให้อังกฤษอยู่สหภาพยุโรปจะเป็นฝ่ายชนะ แต่เมื่อผลออกมาตรงกันข้าม หุ้นจึงถูกเทขายอย่างหนัก ดัชนี S&P500 มีผลตอบแทนขาดทุนในปีนี้และร่วงลงหนักสุดนับแต่เดือนส.ค. ปีก่อน หุ้นในกลุ่มการเงินนำตลาดลงโดยลดลง 5.4% ลดลงมากที่สุดนับแต่เดือนพ.ย. 54 (Reuters)
ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/59 ครั้งสุดท้ายมีกำหนดเผยแพร่พรุ่งนี้ ซึ่งมีประมาณการว่าเพิ่มขึ้น 1.0% เทียบกับก่อนหน้านี้ที่เพิ่มขึ้น 0.8% (Reuters)
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนพ.ค. ลดลง 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือลดลง 2.2% อยู่ที่ 230,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนเม.ย. (Reuters)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนอยู่ที่ 93.5 ในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่าที่ระดับ 94.7 ในเดือนพ.ค. และในเดือนมิ.ย. ปีที่แล้วที่ 96.1 ผู้บริโภคมองในแง่ดีลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ถึงแม้ไม่คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ช่วงถดถอยแต่ผู้บริโภคคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะชะลอตัว (University of Michigan)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการ Brexit ที่ส่งผลกระทบเชิงลบกับตลาดในวงกว้าง โดยค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 31 ปี ขณะที่แรงเทขายหุ้นในตลาดได้ส่งผลให้มูลค่าตลาดหุ้นในยุโรปหดหายไปถึง 6.5 แสนล้านยูโร (7.26 แสนล้านดอลลาร์) (Reuters)
เอเชีย :
ญี่ปุ่นจะใช้ขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินเยน: นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Shinzo Abe ให้แนวทางแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น Taro Aso ให้จับตาดูตลาดสกุลเงิน " ให้ใกล้ชิดมากกว่าที่เคย" และ ทำตามขั้นตอนที่จำเป็นจากผลของการออกเสียงลงคะแนนการที่สหราชอาณาจักรมีประชามติออกจากสหภาพยุโรป (Reuters)
ข้อมูล PMI ของจีนจะประกาศในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ (มีการคาดการณ์ การผลิตของ NBS ไว้ที่ 50.0 เทียบกับ เดือนพ.ค. ที่เกิดขึ้นจริง 50.1 เทียบกับที่ Caixin คาดการณ์ ในเดือน พ.ค.ที่ 49.2) (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันร่วง 5% ในวันศุกร์ หลังจากลงมติจริงพบว่าอังกฤษต้องการออกจาก EU ทำให้เกิดความกลัวเสี่ยงอย่างมากและเงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์สหรัฐที่ส่งผลจากการฟื้นตัวของตลาดน้ำมันโลก น้ำมันดิบเบรนท์ ลง 2.50 ดอลลาร์ (-4.9%) ปิดที่ 48.41 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยก่อนหน้านี้ร่วงไป 6% แตะ 47.54 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบสหรัฐลบ 2.47 ดอลลาร์ (-5.0%) ปิดที่ 47.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นการลดลงรายวันมากสุดนับแต่ ก.พ. (Reuters)
ราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้นถึง 8% ทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนหลังเกิดเหตุการณ์ Brexit ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย โดยราคาทองคำตลาดจรปรับตัวสูงขึ้น 4.9% มาอยู่ที่ 1,317.20 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ โดยในระหว่างวันได้สูงขึ้นถึงระดับ 1,358.20 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้าส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับตัวสูงขึ้น 4.7% มาอยู่ที่ 1,322.40 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ โดยในระหว่างวันได้สูงขึ้นถึงระดับ 1,362.60 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ (Reuters)
ราคาทองแดงและโลหะอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อวันศุกร์ปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลของสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมนับจากนี้หลังจาก UK ตัดสินในออกจาก EU รวมไปถึงแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ โดยราคาทองแดงในตลาด London Metal Exchange ปรับตัวลดลงมากถึง 4% ก่อนที่จะลดลงเพียงแค่ 1.7% มาอยู่ที่ 4,698 ดอลลาร์ฯ ต่อตัน (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun (No.49234) Tel: 02 680 5094