- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 22 July 2014 15:17
- Hits: 2026
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดน่าจะซึมซับและขายรับงบสถาบันการเงินงวด 2Q57 แนะขายหุ้น KKP กำไรงวด 2Q57 ต่ำกว่าคาด ขณะที่เงินบาทแข็งค่า กดดันความสามารถทำกำไรในหุ้นส่งออก (KCE, DELTA, HANA ราคาหุ้นมี upside จำกัด) แต่แนะนำให้ลงทุนหุ้น Consumer Finance ที่สัญญาณฟื้นตัวชัดเจนคือ SINGER(FV@B25) เป็นหุ้น Growth stock
โปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญชั่วคราววันนี้ … เดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 2
ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่าเวลา 17:00 น. วันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หลังจากที่ รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีผลบังคับใช้ การดำเนินการในโรดแมพ ระยะที่ 2 ของ คสช. ก็ถือว่าได้เริ่มต้นขึ้น โดยหลังจากนี้จะมีการแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะมีการจัดตั้ง รัฐบาล, สภาปฎิรูปฯ และ คณะทำงานในการร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่คล้าย สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ในอดีต แต่จะมีจำนวนสมาชิกไม่มาก) ในระยะนี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อปฎิรูปประเทศไทย และเตรีมความพร้อมไปสู่การเลือกตั้ง ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ทั้งนี้องค์กรแรกที่จะถูกจัดตั้งขึ้นมาได้แก่ สนช. ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือน ก.ค.2557 นี้ ส่วนการจัดตั้งรัฐบาล ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ว่าต้องดำเนินการผ่านกลไกของ สนช. หรือ คสช. ส่วนอีกภาระกิจหนึ่งที่สำคัญของ สนช. ได้แก่การเร่งดำเนินการออกกฎหมาย ซึ่งหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า มีกฎหมายเร่งด่วนที่ต้องพิจารณา 42 ฉบับ แยกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น, การบรรทเทาความเดือนร้อนให้ประชาชน, กฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ-การลงทุน และแรงงาน
การก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าน่าจะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้ดีขึ้น แต่จากนี้ไปจะต้องติดตามในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล, ความคืบหน้าในการดำเนินการ ตลอดจนผลของการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นมาของ SET Index นับจากจุดต่ำสุดหลังการเกิดรัฐประหารประมาณ 10% ถือว่าได้สะท้อนภาพความคาดหวังเชิงบวกไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ จากนี้ไป SET Index น่าจะเคลื่อนไหวไปตามผลการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
เงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้อย่างหนัก หนุนเงินบาทแข็งค่า
วานนี้แม้ว่า เงินทุนยังคงไหลเข้าภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 7 แต่ยอดซื้อกลับลดลง 61% เหลือเพียง 86 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น โดยที่มีการสลับขายสุทธิออกมาในบางประเทศ กล่าวคือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ราว 18 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าขายสุทธิเพียง 1 ล้านเหรียญฯ) ตามมาด้วย ไต้หวัน และ อินโดนีเซีย ที่สลับมาขายสุทธิใกล้เคียงกัน ราว 2.1 และ 2.0 ล้านเหรียญฯ ตามลำดับ สวนทางกับเกาหลีใต้ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ราว 90 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 22% จากวันก่อนหน้า) และสุดท้ายคือไทยที่ยังคงซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10 ราว 17 ล้านเหรียญฯ (558 ล้านบาท, ลดลง 30% จากวันก่อนหน้า)
เป็นที่สังเกตว่าในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติได้ชะลอการซื้อ และเลือกขายบางประเทศ เช่น เช่นฟิลิปปินส์ และ ไต้หวัน แต่ยังคงเลือกซื้อบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย (ที่มีการเลือกตั้ง), เกาหลีใต้ (ซื้อต่อเนื่อง) และ ไทย ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ถูกขายสุทธิออกมาอย่างหนักในช่วงก่อนหน้า (ตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบัน พบว่าต่างชาติยังมียอดขายสุทธิ 2.4 หมื่นล้านบาท) ขณะที่ในตลาดตราสารหนี้ของไทย นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ ราว 1.0 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 17 รวม 1.2 แสนล้านบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมาก อยู่ที่ 31.9 บาทต่อเหรียญฯ ซึ่งอาจจะเป็นระดับที่กระทบต่อภาคส่งออกในงวด 2H57
หุ้นส่งออกกระทบจากเงินบาทแข็งค่า แนะลดหุ้น KCE, HANA, DELTA
ผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเซีย หนุนให้ทุกสกุลอยู่ในทิศทางแข็งค่า โดยนับจากช่วง 30 มิ.ย. จนถึงวานนี้พบว่าค่าเงินบาท แข็งค่าลำดับสอง 1.66% (เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติตั้งแต่เดือน มิ.ย. ต่อเนื่องถึง ก.ค. เทียบกับเดือน พ.ค. เงินทุนไหลออก) รองจากค่าเงินรูเปียห์ของอินโด แข็งค่าที่สุด 2.55% (หลังจากมีความชัดเจนของผลการเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเป็นไปตามที่คาด) ตามมาด้วยค่าเงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่า 1.3% และเงินเปโซ ของฟิลิปปินส์แข็งค่า 0.49% ซึ่งการแข็งค่าของเงินเอเซียนับว่าสอดคล้องกับ Dollar Index ที่มีแนวโน้มแข็งค่าเช่นกัน แต่ในอัตราราว 0.66% เนื่องจากประเทศคู่ค้าหลักๆ 6 สกุล (โดย weight สกุลยูโรมากสุด
และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ 3 โดยแข็งค่าขึ้น 2.5% ตามหลังเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ที่แข็งค่าขึ้น 5.2% และ เงินริงกิตของมาเลเซียที่ 3.35% และ ฟิลิปปินส์ 2.2% ขณะที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าสมมติฐานของ ASP ที่กำหนดไว้ที่ระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ (หากจะให้ได้ใกล้สมมติฐานค่าเงินบาทต้องเฉลี่ยเกินกว่า 33.5 บาทต่อดอลลาร์ในช่วง 2H57) ซึ่งหากสถานการณ์นี้ยังคงอยู่น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ที่มีรายได้หลักในรูปสกุลดอลลาร์ ขณะที่มีต้นทุนเป็นเงินบาทสูง โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนอิเล็คโทนิกส์ (ทุกๆ 1 บาทของเงินบาทที่แข็งค่า จะทำให้กำไรสุทธิลดลงจากเดิมเฉลี่ย 5.4%) เรียงลำดับที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ HANA(FV@B40) -6.2%, DELTA([email protected]) -5.7%, KCE([email protected]) -5.5%, SVI([email protected]) -5.2% และ SMT([email protected])-4.9% รองลงมาคือกลุ่มอาหารและเกษตร (ทุกๆ 1 บาทของเงินบาทที่แข็งค่า จะทำให้กำไรสุทธิลดลงจากเดิมเฉลี่ย 3.8%) เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ STA([email protected]) -6.7%, KSL([email protected]) -5.7%, CPF(FV@B28) -3.2%, TUF(FV@B76) -3.3% และ GFPT([email protected]) -2.9% เป็นต้น ในสถานการณ์นี้จึงแนะนำให้แนะนำขายหุ้นเป็นรายตัวที่ราคาเกิน Fair Value เช่น KCE ตามมาด้วยหุ้นที่มี upside จำกัด เช่น HANA, DELTA, ตามมาด้วย STA, KSL
ปรับลดคำแนะนำ KKP หลังปัญหาหนี้เสียสูงเกินคาด
แม้ผลประกอบการหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะออกมาดีกว่าคาด โดยมีกำไรสุทธิ 5.04 หมื่นล้านบาท เติบโต 3.5% yoy และ 3.5%qoq ดีกว่าที่เดิมคาดว่าจะทรงตัวเท่านั้น ทั้งนี้เป็นผลจากเม็ดเงินที่ใช้ในตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญลดลงราว 28.7%qoq นำโดย TMB ลดลงมากสุด 91%qoq ตามมาด้วย TCAP -67.9% KKP -56.2% BBL-31%qoq และ BAY -28%qoq ตรงกันข้ามกับบาง แห่งที่มีการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นคือ LHBANK(+76.5%), TISCO(51.2%) และ KTB(29.4%) ขณะที่การปล่อยสินเชื่อทรงตัว และ เช่นเดียวกับ NIM ที่ทรงตัวในระดับ 3% ใกล้เคียงกับหลายงวดก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสถานการณ์ต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อในงวด 2H57 ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ยกเว้นผลประกอบการรายตัวในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ย่อยที่ออกมาต่ำคาด คือ KKP ([email protected]) โดยเป็นผลจากรายได้ที่ชะลอตัว และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการบันทึกขาดทุนจากปรับลดมูลค่าสินทรัพย์รอการขายสินทรัพย์ และขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รวม 546 ล้านบาท ซึ่งหลัก ๆ เป็นผลจากธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และการปล่อยสินเชื่อบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ นักวิเคราะห์ ASP ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิในปี 2557 ลงราว 32.7% และ ลดอีก 23% ในปี 2558 พร้อมกับปรับลดมูลค่าหุ้นลงจากเดิม 18% และปรับคำนำจากเดิมซื้อเป็นขาย และแนะนำให้ switch ไปยังหุ้น Consumer finance ที่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีมากในงวด 2H57 โดยเฉพาะ SINGER(FV@B25)
Switch จาก KKP มา SINGER
แม้นักวิเคราะห์ ASP ได้ทำการคาดการณ์ผลการดำเนินงานงวด 2Q57 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.5%qoq เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่คาดว่ามีแนวโน้มที่สดใสในงวด 2H57 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ร้านค้า (ตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือ และตู้เติมน้ำมันแบบหยอดเหรียญ) ขณะที่ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพสินทรัพย์ต่ำ (ไม่เกิน 6% ของสินเชื่อรวม) และเนื่องจากกำไรสุทธิ 1H57 คิดเป็น 59% ของประมาณการเดิม ฝ่ายวิจัยจึงได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2557-58 อีก 28.7% และ 29.4% จากเดิม ตามลำดับ ภายหลังปรับเพิ่มประมาณการ แนวโน้มกำไรสุทธิใหม่ปี 2557-58 จะเติบโต 40.3% yoy และ 13.4% yoy ปรับมูลค่าเหมาะสมขึ้นจากเดิม 19.95 บาท มาที่ 25 บาท ROE และ Div. Yield ปี 2557 ที่ 29% และ 3.1% ตามลำดับ ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ จากเดิม ถือ
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล