- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 21 June 2016 17:48
- Hits: 1020
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Dollar Index อ่อนตัวหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัว ยังเอื้อต่อหุ้นน้ำมันที่มี upside PTT, PTTEP และยังแนะนำสะสมหุ้นเติบโตเด่น WORK และหุ้นปันผลผันผวนน้อยกว่าตลาด TCAP, MCS ยังเลือก PTTEP(FV@B89) และ PTT(FV@B342) เป็น Top picks
ปัจจัยภายนอกยังมีอิทธิพลมากกว่า การประชุม กนง. ที่ยังยืนดอกเบี้ยฯ
คาดการว่าผลการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) ในวันพรุ่งนี้ 22 มิ.ย. ไม่น่าจะมีอะไรใหม่ กล่าวคือ ตลาดคาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ตามเดิม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว ประกอบกับที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางการคลัง ผ่านการกระตุ้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย SMEs สิทธิทางภาษี อาทิ อัดฉีดเงินกองทุนหมู่บ้านและตำบล โครงการบ้านประชารัฐ เป็นต้น และการเดินหน้าแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่เห็นความคืบหน้าในการประกวดราคาของโครงการ ในช่วงเดือน มิ.ย. อาทิ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เป็นต้น และในวันนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม. พิจารณาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก วงเงน 3.8 หมื่นล้านบาท
โดยเชื่อว่าตลาดน่าจะให้น้ำหนักต่อปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของ Brexit เพราะยิ่งใกล้วันลงประชามติ ในวันที่ 23 มิ.ย. นี้ ผลสำรวจประชาชนล่าสุด ประชาชนกลับให้ น้ำหนักต่อการอยู่ในสภาพยุโรปต่อ จาก 2 สัปดาห์ก่อนหน้ายังให้น้ำหนักต่อการออกมากกว่า อย่างไรก็ตามตราบที่ยังรอผลสรุปการคาดการณ์ของตลาดยังคงมีอยุ่ และยังคงกดดันตลาดเงินและตลาดทุน เพราะเชื่อว่ากระแสการออกจากยุโรป โดยน่าจะกดดันอังกฤษ ดังที่นำเสนอว่า อังกฤษ พึ่งพาการค้ากับสหภาพยุโรป สัดส่วนสูงถึง 50% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของอังกฤษ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปในสหภาพยุโรป คือ รถยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องยนต์เป็นหลัก และอังกฤษถือเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในการเข้าสู่กลุ่มยูโร ขณะที่อังกฤษยังเป็นศูนย์กลางทางด้านการเงินที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งของโลกมาตั้งสำนักงานใหญ่ในอังกฤษ อาทิ HSBC (อังกฤษมีรายได้จากภาคการเงินราว 12% ของเศรษฐกิจรวม) รายละเอียดติดตามอ่านใน Global Economic Outlook วันที่ 20 มิ.ย. 2559
ขณะที่ผลการสำรวจแนวโน้มดอกเบี้ยฯ ของสหรัฐ ล่าสุด พบว่าโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้จะลดลงเหลือเพียง 1 ครั้ง จากเดิม 2 ครั้ง สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg ล่าสุด พบว่า โอกาสการขึ้นรอบถัดไปคือ 26-27 ก.ค.เหลือเพียง 8% รอบ ก.ย.อยู่ที่ 30.1% รอบ พ.ย. อยู่ที่ 33% และน้ำหนักมากที่สุดคือ ปลายปีรอบ ธ.ค. ราว 46% ซึ่งจากการประชุมถึงสิ้นปีของ Fed มีอีก 4 ครั้ง โดยประมาณการดอกเบี้ย (Dot plot) สิ้นปีนี้อยู่ที่ 0.875% (แสดงถึงดอกเบี้ยนโยบายจะเพิ่มขึ้นได้อีก 0.375% )
โดยรวมการที่ค่าเงิน Dollar Index ยังมีทิศทางอ่อนค่าน่าจะช่วยหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ทองคำ เป็นต้น
Dollar อ่อนค่า หนุนสินค้าโภคภัณฑ์…ยกเว้นทองคำน่าจะปรับฐานช่วงสั้น
แนวโน้ม Dollar Index ยังมีทิศทางอ่อนค่า หลังผลการสำรวจประชามติฯล่าสุด ล่าสุด 93.61 จุด หรือลดลงกว่า 1% จากสัปดาห์ที่ผ่านมา หรืออ่อนค่า หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวขึ้น อาทิ น้ำมัน และทองคำ นอกจากนี้ ผลจากที่ตลาดคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในสัปดาห์นี้น่าจะลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (ตลาดคาดว่าจะลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล) ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้าวานนี้ปรับขึ้นแรง เริ่มจาก Brent ขึ้นไปยืนระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง ขณะที่น้ำมันดูไบ (Spot) ดีดตัวขึ้น 2.03 เหรียญฯต่อบาร์เรลจากวันก่อน (ล่าสุด 46.18 เหรียญฯต่อบาร์เรล) จึงยังแนะนำสะสม PTTEP(FV@B89) เมื่อราคาอ่อนตัว และ PTT(FV@B342)
และเช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นกว่า 7.29% นับตั้งแต่ต้นเดือน และทำระดับสูงสุดของปีที่ระดับ 1,298.65 เหรียญฯต่อออนซ์ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (มีการเปิดสถานะ Long ในทองคำตลาดล่วงหน้าทำเพิ่ม 29% mtd ขึ้นทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือน สิงหาคม 2554) แต่ ณ ระดับทองคำดังกล่าว อาจจะเป็นระดับที่อาจจะถูกขายทำกำไรระยะสั้น ๆ ได้ และเป็นไปได้ที่จะทำให้เงินไหลจากทองคำมายังสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เช่น หุ้น น้ำมัน และ soft commodities เป็นต้น
THCOM จะเผชิญต้นทุนเพิ่ม หากต้องไปใช้สัมปทานแทนใบอนุญาต
หลังจาวานนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2559-2560 ของ THCOM ลงเฉลี่ยปีละ 14% สะท้อนการที่ลูกค้ารายหนึ่ง คือ CTH ยกเลิการใช้ดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 ทรานสปอนเดอร์ (สร้างรายได้ปีละ 400 ล้านบาท) และ ต้องปรับมูลค่าพื้นฐานลง 22% ทำให้มูลค่าพื้นฐานใหม่ปีนี้ที่ 32 บาท รายละเอียดอ่านใน Equity Talk 20 มิ.ย. 2559 อย่างไรก็ตามการปรับลดประมาณการกำไรของ THCOM ดังกล่าว จะกระทบต่อ การบันทึกรายได้ของ INTUCH ในฐานะที่เป็นบริษัทแม่ และ ถือหุ้น THCOM ราว 41.4% ของทุนเรียกชำระแล้ว กล่าวคือ การปรับลดประมาณ THCOM ลงดังกล่าว จะทำให้กำไรสุทธิในปี 2559 และ 2560 ลดลงราวปีละ 1% ใกล้เคียงกัน และกระทบมูลค่าหุ้นเพียง 1 บาท เหลือ 74 บาท จึงยังแนะนำซื้อ เพื่อรับเงินปันผล 7.51% ขณะที่ราคาหุ้นยังมี P/E ต่ำเพียง 13.2 เท่า และ มี upside 40%
และวันนี้มีข่าวเพิ่มเติมคือ THCOM อาจเผชิญต้นทุนที่สูงขึ้น จากการที่รัฐมีโอกาศผลักดันให้ ดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 กลับมาอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัมปทานเดิม จากปัจจุบันที่ใช้ระบบใบอนุญาต ทั้งนี้ภายใต้ระบบสัมปทาน THCOM มีภาระต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐราว 20.5% ของรายได้ เช่นเดียวกับที่ดาวเทียมดวงอื่น ๆ ที่อยู่ใต้สัมปทานในปัจจุบัน คือ ไทยคม 4,5 และ 6 ขณะที่ต้นใบอนญาตที่ดาวเทียมดวง 7 และ 8 ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน (ดวง 7 ระหว่างปี 255-2575 และ ดวง 8 ระหว่างปี 2559-2575) มีค่าใบอนุญาตเพียง 5.25% ดังนั้นหากเกิดขึ้นจริงจะกระทบต่อประมาณการรายได้ และ กำไร นับจากนี้เป็นต้นไป รวมถึงกระทบต่อมูลค่าหุ้นภายหลังจากการปรับประมาณการลงแล้วดังกล่าวข้างต้นก็ตาม
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ ASPS ได้ศึกษาผลกระทบต่อประมาณการกำไรเบื้องต้นในปี 2560-61 คาดว่าจะลดลงราว 8.1% ต่อปี และจะกระทบมูลค่าพื้นฐานราว 2 บาท หรือ จะเหลือ 30 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า THCOM จะปฏิเสธข้อเสนอของรัฐฯ และมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในอนาคต เนื่องจากดาวเทียม 2 ดวงดังกล่าวมีการทำสัญญาผูกพันระหว่างภาครัฐฯและเอกชนให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตอยู่แล้ว ทั้งนี้ ยังต้องติดตามพัฒนาการต่อ
ความกังวลต่อ Brexit เริ่มผ่อนคลาย หนุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค
ความกังวลต่อ Brexit เริ่มผ่อนคลายลง ส่งผลให้วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกฟื้นตัวอีกครั้ง ขณะเดียวกันต่างชาติได้ซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 181 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียที่สลับมาขายสุทธิราว 68 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิราว 147 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 62 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน), ฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ และไทย 34 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 821 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิราว 5.3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 9.1 พันล้านบาท ซึ่งทั้งแรงซื้อหุ้นและตราสารหนี้ไทย ประกอบกับ Dollar Index ที่อ่อนค่า ส่งผลให้เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 35.20 บาท/เหรียญ
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ตลาดผันผวน เน้นหุ้นปันผลสูง และมี P/E ต่ำ
กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย และสลับมายังหุ้น หุ้นผันผวนน้อย แต่เงินปันผลสูง ดังปรากฏในตารางถัดไป
นอกจากนี้ยังแนะนำหุ้นปันผลสูง และ upside สูง คือ หุ้นที่มี Dividend Yield ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป มี upside ตั้งแต่ 14% ขึ้นไป และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์