WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBS copyบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

ยังวิตกปัจจัยภายนอก...เน้นหุ้น Domestic ไปก่อน
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
     ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ ปิดตลาด +6.24 จุดที่ 1428.10 โดยมีแรงซื้อกลับเข้ามาในกลุ่มแบงค์ สื่อสาร และหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำของเรา ที่มองว่าการอ่อนตัวของตลาดเกิดจากปัจจัย Global จึงเป็นจังหวะซื้อเก็งกำไร/ทยอยซื้อสะสมหุ้น Domestic ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจำกัด และยังมีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตดีทั้งในปี 59-60 นักลงทุนรายย่อยนำซื้อสุทธิต่อ ขณะที่สถาบันในประเทศขายสุทธิอีก 911 ล้านบาท ด้านต่างชาติและพอร์ตบล.ขายสุทธิเล็กน้อย
      นักลงทุนต่างรอฟังถ้อยแถลงหลังการประชุมเฟด (สิ้นสุด 15 มิ.ย.) อย่างใจจดจ่อ แต่การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐ (ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นเป็น 94.9 จากระดับต่ำสุดใน 4 วันทำการก่อนที่ 93.4) แม้เชื่อว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ สะท้อนถึงกระแสคาดการณ์ว่าเฟดจะมีมุมมองทางบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ นำไปสู่ความเป็นไปได้ที่มากขึ้นว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยก่อน 2 เดือนสุดท้ายของปี และมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ DBS Group Research ที่ออกไปเมื่อสัปดาห์ก่อน
      สำหรับ การประชุมบีโอเจ (15-16 มิ.ย.) ประเมินกันว่าจะคงนโยบายการเงินผ่อนคลายไว้ที่เดิมก่อน (อัตราดอกเบี้ย -0.1% และเพิ่มฐานเงิน 80 ล้านล้านเยนต่อปี) ส่วนประเด็นเรื่อง Brexit ของอังกฤษยังมีน้ำหนักในทางลบต่อตลาดเงินและตลาดทุนต่อ โดยอังกฤษจะทำประชามติ 23 มิ.ย.59 ปัจจัยที่จับตา คือ ความเคลื่อนไหวของสหภาพยุโปรและรัฐบาลอังกฤษว่าจะไม้เด็ดที่จะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนอังกฤษโหวตไม่ถอนตัวจาก EU หรือไม่ (ถ้ามีก็น่าจะออกมาในปลายสัปดาห์นี้-ต้นสัปดาห์หน้า) กลยุทธ์ : ช่วงนี้เน้นหุ้นอิงอุปสงค์ในประเทศ & CLMV+I ไปก่อน จนกว่าปัจจัยภายนอกจะมีความชัดเจนมากขึ้น หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น BBL
       การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นบวกเล็กๆ การรีบาวด์ต่อมีแนวต้านระยะสั้น 1430-1440, 1450 จุด แนวตัดขาดทุน คือ ค่าลบ แนวรับให้ไว้ที่ 1380, 1360-1350 จุด กลยุทธ์ ซื้อเก็งกำไร/ถือต่อเน้นเป็นค่าบวก หากอ่อนตัวต่อให้รอซื้อที่แนวรับ
การ SCAN หุ้นที่มีสัญญาณทางเทคนิคดีและมีโอกาสปรับขึ้น พบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ BWG, TCMC ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ EASTW, BCH, KBS, GLOBAL, BJC, CHG, TMT หุ้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ RML, FSMART, CBG หุ้นที่หลุด List เป็น RATCH, AP, PLAT

Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ : ยอดค้าปลีกและยอดขายภาคธุรกิจเติบโตดีกว่าคาด
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่ายอดค้าปลีกเดือนพ.ค. +0.5%MoM ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 2 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.3% โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่ง ด้านสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนเม.ย. +0.1%MoM ขณะที่ยอดขายในภาคธุรกิจ +0.9%MoM ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.57

+ สหรัฐ : ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น สะท้อนกระแสคาดการณ์ว่าเฟดยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นเป็น 94.9 จากระดับต่ำสุดใน 4 วันทำการก่อนที่ 93.4) แม้เชื่อว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ สะท้อนถึงกระแสคาดการณ์ว่าเฟดจะมีมุมมองทางบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และจะนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่มากขึ้นว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยก่อน 2 เดือนสุดท้ายของปี รวมถึงมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ DBS Group Research ที่ออกไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

+ จีน & ตลาดหุ้นเอเชีย : MSCI เลื่อนการนำ A-Share เข้าคำนวณใน MSCI Emerging Markets Index
MSCI ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ประกาศเลื่อนการนำหุ้นจีนจากตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้น ซึ่งเป็นตลาดจดทะเบียนหุ้น A-share เข้ารวมในการคำนวณดัชนี MSCI Emerging Markets Index โดย MSCI เปิดเผยในรายงาน "2016 Market Classification Review" ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทางการจีนพยายามปรับปรุงการเข้าถึงหุ้น A-share สำหรับนักลงทุนทั่วโลก แต่ MSCI ต้องการให้จีนยกระดับการเข้าถึงตลาดหุ้น A-share ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะตัดสินใจนำหุ้นจีนเข้ารวมใน MSCI Emerging Markets Index ต่อไป โดย MSCI ยืนยันว่าจะยังคงนำข้อเสนอการรวมหุ้น A-share ของจีนมาพิจารณาในรายงาน "2017 Market Classification Review" และจะไม่ยกเลิกการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว หากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความคืบหน้าในด้านบวกก่อนที่จะถึงเดือนมิ.ย.60

- ตลาดหุ้นและตลาดเงินยุโรป : กังวล Brexit
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบติดต่อกันแล้ว 5 วันทำการ เพราะวิตกกังวลว่าอังกฤษจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิก EU (Brexit) โดยประชาชนอังกฤษจะลงมติในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ผู้เชี่ยวชาญในตลาดเงินและตลาดทุนประเมินว่า ถ้าผลประชามติออกมาว่าอังกฤษจะออกจาก EU จะทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินปอนด์ & ยูโรอ่อนร่วงลงแรง ทั้งนี้ Bond Yield 10 ปีของเยอรมนีร่วงลงไปต่ำกว่า 0% ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ บ่งชี้ว่านักลงทุนกังวลเรื่องนี้มาก และขาดความเชื่อมั่นต่อธนาคารกลางยุโรป

-/+ ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบ แต่น้อยลง
ตลาดจับตาผลประชุมเฟดที่จะสิ้นสุดวันนี้ (15 มิ.ย.) และกังวลว่าชาวอังกฤษอาจจะลงประชามติสนับสนุนการแยกตัวออกจากสภาพยุโรป (Brexit) ซึ่งจะมีการโหวตวันที่ 23 มิ.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีช่วยลดค่าลบของตลาด ปิดตลาดดัชนี DJIA ลดลง 57.66 จุด ดัชนี NASDAQ ปิดลดลง 4.89 จุด และดัชนี S&P500 ปิดลดลง 3.74 จุด ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกัน 4 วันทำการ ปัจจัยติดตาม คือ ผลประชุมเฟด & ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะรายงานวันนี้ ได้แก่ ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.

+ ราคาน้ำมันดิบอ่อนต่อ...แต่ไม่แรงเพราะ IEA ประเมินภาวะน้ำมันโลกจะเข้าสู่สมดุลใน 2H59
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 39 เซนต์ หรือ -0.8% ปิด 48.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 52 เซนต์ หรือ -1% ปิดที่ 49.83 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้ตลาดน้ำมันมีปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ และความกังวลเรื่องอุปทานล้นเกินที่กลับมามีน้ำหนักมากขึ้นหลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง
แต่...ราคาน้ำมันดิบไม่ได้ลดลงแรง เพราะสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุในรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือนมิ.ย.59 ว่าภาวะตลาดน้ำมันโลกจะเข้าสู่จุดสมดุลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยอุปสงค์น้ำมันโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 8 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2556

+ ราคาทองคำขยับขึ้นเล็กน้อย…ระหว่างรอผลประชุมเฟด & ความชัดเจนเรื่อง Brexit
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.20 ดอลลาร์ หรือ +0.09% ปิดที่ 1,288.10 ดอลลาร์/ออนซ์

ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
ไทย : แก้ไขพ.ร.บ.หนี้สาธารณะแต่ยืนยันหนี้ยังเท่าเดิมที่ 44% ของจีดีพี
ครม.เห็นชอบการแก้ไขร่างพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะของประเทศมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนในการกำกับดูแลหนี้ของหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น และยืนยันว่าหนี้สาธารณะยังมีเท่าเดิมที่ 44% ของจีดีพี หรือ 6 ล้านล้านบาท ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยแต่อย่างใด

+ BBL (ราคาปิด 164 บาท, ราคาพื้นฐาน 202 บาท) : การเติบโตสินเชื่อ 2H59 ดีขึ้น หนุนโดยโครงการลงทุนรัฐ
ธนาคารประเมินว่าถ้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐเดินหน้ามากขึ้นใน 2H59 จะทำให้สินเชื่อเติบโตเร่งตัวขึ้นได้ (ในไตรมาส 1/59 สินเชื่อ BBL ขยายตัว 0.3%QoQ และ 5.7%YoY โดยมาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก และสินเชื่อระหว่างะนาคารหรืออินเตอร์แบงค์) และมีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อในปีนี้อาจเติบโตได้มากกว่า 3% ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมยังขยายตัวดีแต่อาจไม่หวือหวามาก เนื่องจากธุรกรรมทางการเงินลดลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและการส่งออก ธนาคารเร่งพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกส์แบงกิ้งเพื่อรองรับแนวโน้มอนาคตที่จะเป็นไปในแนวทางนี้มากขึ้น ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ณ สิ้นมี.ค.59 ธนาคารมี NPL Ratio 2.9% และมี NPL Coverage Ratio 174.4% ซึ่งเป็นระดับที่สูงมาก เงินกองทุนแข็งแกร่ง โดยมี CAR 17.7% โดยเป็น CET 1 Ratio และ Tier-1 Ratio เท่ากับ 15.7% ขณะที่เกณฑ์ของธปท.ให้มีขั้นต่ำตาม Basel III ที่ 9.125%, 6.625% และ 5.125% ตามลำดับ
Valuation จูงใจ ณ ราคาปัจจุบันที่ 164 บาท ซื้อขายที่ Forward P/BV ปี 59 ต่ำเพียง 0.8 เท่า (เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ 1.1 เท่า) และคาดว่าจะให้ Dividend Yield 4.3% แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 202 บาท

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!