WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน จากปัญหาในแหล่งผลิตและ Dollar ที่อ่อนค่า กลยุทธ์ยังแนะขายหุ้นแพง (TOP, PTTGC, SCB, ROBINS, HMRPO) มายังหุ้นที่มี upside (PTT, WORK, ADVANC) Top picks เลือก PTT(FV@B342) และ PTTEP(FV@B89) เพิ่ม Fair Value อีก 10 บาท โดยเพิ่มสมมุติฐานน้ำมัน 5 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2560

ดอกเบี้ยในประเทศยังคงต่ำต่อเนื่อง แม้ FED จะขึ้นดอกเบี้ยก็ตาม
      ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้เชื่อว่าแนวโน้มดอกเบี้ยโลกน่าจะทรงตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งอาจจะสวนทางกับ Fed ที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในตอนปลายปีนี้ แต่ถือว่าสถานการณ์นี้น่าจะบวกต่อตลาดหุ้น เนื่องจากนักลงทุนจำเป็นจะต้องบริหารและจัดการเงินลงทุนของตน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงคาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลออกจากการออม มายังตลาดหุ้นมากขึ้น
      ทั้งนี้ ล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบเศรษฐกิจไทย ปี 2559 ที่ 3% (สูงกว่าที่ World bank คาดการณ์เมื่อวานที่ 2.5%) และจะขยายตัว 3.2% ในปี 2560 พร้อมแนะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(BOT) ใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติม ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (หลังจาก BOT คงดอกเบี้ย 8 ครั้งติดต่อกัน) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
อย่างไรก็ตามในมุมมองของ ASPS เชื่อว่า BOT จะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ไปจนถึงสิ้นปี 2559 เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต่ำกว่านี้ก็ไม่น่าจะกระตุ้นกำลังซื้อได้มากขึ้น เนื่องจาก รัฐบาลก็ใช้กระสุนหลายนัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และ SMEs นับจากปลายปี 2558 เป็นต้นมา รวมถึงการกระตุ้นลงทุนเอกชนและภาครัฐ ถือว่ารัฐบาลได้กระตุ้นเศรษฐกิจมามากพอแล้ว
      นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยตอนปลายปีนี้เป็นต้น และการระดมเงินลงทุนในโครงการสาธารณูโภคน่าจะเป็นตัวดูดเงินออกจากระบบ รวมถึงเงินเฟ้อในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดังกล่าวข้างต้น (ล่าสุด เพิ่มในแดนบวกติดต่อกัน 2 เดือน อยู่ที่ระดับ 0.5%) และสถานการณ์ภัยแล้ง ล้วนไม่สนับสนุนให้ลดดอกเบี้ย

เพิ่มสมมติฐานน้ำมันขึ้น 5 เหรียญฯ นับจาก 2560 หนุน PTTEP, PTT
     ในที่สุดราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าก็ทะลุ 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล กล่าวคือ Brent ล่าสุดอยู่ที่ 52.51 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุด 47.42 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งจากปัจจัยหนุนหลักยังมาจากปัญหา Supply ที่ลดลง โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในแหล่งผลิตน้ำมันของโลก ล่าสุดที่มีการสู้รบในไนจีเรีย ซึ่งคาดกำลังผลิตหายไป 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ก่อนหน้านี้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้แหล่งผลิต Oil Sand ในแคนาดา) และกำลังผลิตน้ำมันในสหรัฐที่ลดลงกว่า 1 ล้านบาร์เรล (นับจากเดือน เม.ย.) ทำให้ปัญหา Oversupply ผ่อนคลาย ทั้งจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำมันโลกของ สำนักสารสนเทศด้านพลังงาน(EIA) คาดว่า Demand และ Supply น้ำมัน จะกลับมาสมดุลภายในไตรมาส 2 ของ ปี 2560 และ จะเริ่มขาดดุล ช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560
      และวานนี้ EIA รายงานสต็อกน้ำมันสหรัฐ สิ้นสุดสัปดาห์ (3 มิ.ย.) พบว่าลดลงมากกว่าตลาดคาด กล่าวคือลดลง 3.2 ล้านบาร์เรล (VS ตลาดคาด ลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล) ติดต่อกันสัปดาห์ที่ 3 เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง แม้สวนทางกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นก็ตาม (น้ำมันดีเซลและเบนซิน เพิ่มขึ้น 1.8 และ 1.01 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันในภาคครัวเรือนที่ชะลอตัว และการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น
     นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ ที่อ่อนค่าต่อเนื่องมากว่า 2% จากปลายเดือนที่ผ่านมา (Dollar Index ล่าสุด 93.82 จุด) ล้วนผลักดันราคาน้ำมันให้สามารถขึ้นไปเคลื่อนไหวในกรอบ 50 -60 เหรียญฯ ได้
      ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบขึ้นจากเดิม 5 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป กล่าวคือ ปรับเพิ่มเป็น 55 เหรียญฯต่อบาร์เรลในปี 2560, 60 เหรียญฯ ในปี 2561 และ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2562 และให้คงที่ ณ ระดับนี้ต่อไป โดยยังคงสมมติฐานที่ 45 เหรียญฯ ในปี 2559 ซึ่งมีผลทำให้ปรับเพิ่มประมาณการกำไร ปี 2560 และ 2561 ของ PTTEP และ PTTEP รวมถึงมูลค่าหุ้น เนื่องจากใช้วิธีการคำนวณแบบ DCF และยังให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่คือ
PTTEP(FV@B89) ปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% เป็น 2.57 หมื่นล้านบาท และ 3.11 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 และ 2561 ตามลำดับ ขณะที่ Fair Value เพิ่มจากเดิม 80 บาท เป็น 89 บาท หรือเพิ่มขึ้น 11%
     PTT(FV@B342) เนื่องจากถือหุ้น PTTEP 65.29% ของทุนเรียกชำระแลัว จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% เป็น 9.26 หมื่นล้านบาท และ 10.7 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 และ 2561 ตามลำดับ ขณะที่ Fair Value เพิ่มจากเดิม 330 บาท เป็น 342 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3%

แรงซื้อทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทย กดดันเงินบาทแข็งค่าต่อ
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อหุ้นในภูมิภาคราว 739 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 11 วันทำการ) โดยมีตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ถูกสลับมาขายสุทธิแต่เล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 395 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 269 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 42 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) และไทย 37 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.0 หมื่นล้านบาท) ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันที่สลับมาขายสุทธิสุทธิ 1.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 8.0 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 1.3 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดซื้อสะสมรวมสูงถึง 5.2 หมื่นล้านบาท) ซึ่งทั้งแรงซื้อหุ้นและตราสารหนี้ไทยที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง Dollar Index ที่กลับมาอ่อนค่า ยังคงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่บริเวณ 35.12 บาท/เหรียญ ซึ่งน่าจะกดดันหันส่งออกในระยะสั้น ๆ

แนะสะสมหุ้นที่ P/E & P/BV ต่ำ upside สูง : ASK, MCS, TISCO
     ในระยะนี้ SET Index น่าจะอยู่ในช่วงแกว่งตัว แม้จะมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้แต่ก็เชื่อว่า upside จำกัดมาก เนื่องจากระดับดัชนีปัจจุบันและค่า P/E ถือว่าเข้าใกล้สู่ดัชนีเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ กล่าวคือ ขณะนี้ Expected P/E 16.2 เท่า ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายไปแล้ว แต่คาดว่าอาจจะต้องปรับเพิ่มกำไรตลาดตามราคาน้ำมัน และ stock น้ำมันของหุ้นพลังงาน ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้
      อย่างไรก็ตาม ภาวะแกว่งตัวที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนหุ้น จากหุ้นที่ราคาสูง upside น้อย เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับขึ้นมามาก อาทิ กลุ่มปิโตรเคมี เช่น IVL เหลือ upside ไม่ถึง 4%, กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะโรงกลั่น เช่น TOP, BCP upside เหลือเพียง 6% และ 7% ตามลำดับ และอาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เพราะเท่ากับไปกดดันค่าการกลั่นลง รวมทั้งในงวด 3Q59 โรงกลั่นจะเข้าสู่นอกฤดูกาล ค่าการกลั่นมักจะลดลงด้วย
     ตามมาด้วย กลุ่มส่งออกอาหาร เช่น TVO ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว แต่คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นตามราคาถั่วเหลืองที่เป็นขาขึ้นตามสินค้าโภคภัณฑ์ และ กลุ่มค้าปลีก ROBINS, HMPRO ซึ่งราคาปัจจุบันล้วนเกิน Fair Value ไปแล้วเช่นกัน แนะนำให้ขายทำกำไรและ สลับไปเข้าหุ้นที่ยัง laggard ในกลุ่มอื่น ๆเช่น กลุ่ม ธนาคาร แนะนำไป TCAP, TISCO, KKP, ASK เป็นต้น
โดยสรุป จึงแนะนำให้ทยอยลดหุ้นที่ outperform ดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไร และสลับมายังหุ้นที่ laggard แต่มีพื้นฐานแข็งแกร่งรองรับ ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ คัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเด่น เช่น P/E ต่ำ P/BV ต่ำ นอกเหนือจากที่ฝ่ายวิจัยดูแล ได้ชุดหุ้นมาตามตารางด้านล่าง โดยฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ TASCO, ASK, TISCO และ SYNTEC

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!