- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 08 June 2016 17:36
- Hits: 566
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับฐาน และน่าจะลักษณะการสลับจากหุ้นแพง (TOP, PTTGC, SCB) มาหุ้นถูก แนะหุ้นที่ยังมี upside (TU, PTT, WORK, ADVANC) Top picks ยังเลือก PTT(FV@B330) และ TCAP ([email protected]) Laggard มี upside 35% P/E 6.7 เท่าและ Div Yield 4.5%
World Bank ปรับลด GDP โลกลง 0.5% อาจกดดันตลาดหุ้นโลกอีกครั้ง
ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวยังคงมีต่อเนื่อง ล่าสุดธนาคารโลก (World Bank) เผยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกประจำเดือน มิ.ย. กล่าวคือ ปรับลด GDP Growth โลก ปี 2559 ลง 0.5% เหลือ 2.4% (เทียบกับ IMFคาดที่ 3.2% ในรอบเม.ย.59) โดยหลักๆ ปรับลดประเทศพัฒนาแล้วทุกประเทศ นำโดยสหรัฐ และญี่ปุ่น ลงประเทศละ 0.8% เหลือ 1.9%และ 0.5% ตามลำดับ ตามมาด้วยยุโรป ปรับลดเพียง 0.1% เหลือ 1.6% ประเทศแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ปรับลด บราซิลและอาร์เจนติน่า ลง 1.5% และ 1.2% สู่ -4% และ -0.5% ตามลำดับ ขณะที่ประเทศแถบเอเซีย ยังคงจีน ไว้ที่ 6.7% ตามเดิม โดยปรับลดอินโดนีเซีย 0.2% เหลือ 5.1% ส่วนไทยปรับเพิ่ม 0.5% อยู่ที่ 2.5% (แต่ยังต่ำกว่าConsensus ในตลาดคาดที่ 3%)
จากปัจจัยข้างต้นคาดว่าจะกดดันตลาดหุ้นในช่วงสั้น และลดความความหวังต่อการที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ย ฯ เร็วขึ้น สะท้อนจาก Dollar index ยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่องล่าสุด อยู่ที่ 93.8 จุด กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียมีทิศทางแข็งค่า อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย บาท และเปโซ ฟิลิปปินส์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุน fund flow เข้าภูมิภาคต่อเนื่อง
สินค้าโภคภัณฑ์ยังคงฟื้นตัวต่อ ตราบที่ Dollar Index ยังอ่อนค่า
ดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า ล่าสุด Dollar Index อยู่ที่ 93.86 จุด อ่อนค่าราว 2% นับจากปลายเดือนที่ผ่าน หลังตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาด และถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธาน Fed ล่าสุดมีท่าทีผ่อนคลายลง ทำให้โอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ลดลง และให้น้ำหนักมากขึ้นในช่วง 4Q59 แทน
การอ่อนค่าของดอลลาร์ดังกล่าวหนุนราคาสินคาโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวขึ้น ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า WTI ปรับขึ้นเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้เป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน ประกอบกับคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในสัปดาห์นี้จะปรับลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลขการกำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐ ระหว่างเดือน เม.ย.- พ.ค. ลดลง 2.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ฝั่ง Demand เริ่มเห็นการฟื้นตัว สะท้อนจาก EIA ปรับประมาณการใช้น้ำมันของสหรัฐปี 2559 ขึ้น 8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 2.2 แสนบาร์เรลต่อวัน จึงเชื่อว่าปัญหา Oversupply น่าจะผ่อนคลายลง ทำให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2559 - 61 จากเดิมที่ 45, 50, 55 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล นับจากปี 2562 เป็นต้นไป โดย ทุกๆ 5 เหรียญฯ ที่ปรับขึ้น ทำให้ Fair Value ของ PTTEP เพิ่มขึ้นหุ้นละ 8-10 บาท และ PTT เพิ่มขึ้นหุ้นละ 6-7 บาท จึงยังแนะนำสะสม PTTEP(FV@B80) เมื่อราคาอ่อนตัว แต่ชอบ PTT(FV@B330) ที่มี Upside มากกว่า
เช่นเดียวกับ ราคาน้ำตาลที่วานนี้ปรับตัวขึ้น 2% อยู่ที่ 19.12 เซ็นต์ต่อปอนด์ จากวันก่อนขึ้นทำระดับสูงสุดของปี จากปัญหาขาดดุลน้ำตาล กับดอลลาร์อ่อนค่า ส่งผลดีต่อ KSL([email protected]) แต่เนื่องจากปัญหาภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลด้วยเช่นกันหักล้างปัจจัยบวกจากราคาขายที่สูงขึ้นบางส่วน จึงอาจทำให้ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นจะยังไม่ส่งผลบวกต่อกำไรได้เต็มที่ในปีนี้ แต่คาดว่าผลกำไรจะดีขึ้นในปี 2560 แนะนำทยอยสะสม
ภาษีที่ดินใหม่ สร้าง Sentiment เชิงลบต่อกลุ่มที่อยู่อาศัย แต่ไม่มาก
ที่ประชุม ครม. เห็นชอบในหลักการ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฯ ที่จะนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนฯ และภาษีบำรุงท้องถิ่น โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. จะแบ่งประเภทการใช้สอยที่ดิน และเพดานการจัดเก็บภาษีเป็น 4 กลุ่มคือ
ก) ที่ดิน เกษตรกรรม กำหนดเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.2% ของราคาประเมินโดยที่ดินมูลค่าต่ำไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น มูลค่า 50 – 100 ล้านบาท เสียอัตรา 0.05% และ มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เสียในอัตรา 0.10%
ข) บ้านพักอาศัย เพดานสูงสุดไว้ที่ 0.5% โดยบ้านหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น 50-100 ล้านบาท 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท 0.10% บ้านหลังที่ 2 จัดเก็บทุกระดับราคา โดยบ้านที่ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท เสียในอัตรา 0.03% และปรับสูงขึ้นตามช่วงราคาโดยบ้านราคา 50 – 100 ล้านบาท เสีย 0.25% และบ้านเกิน 100 ล้านบาทเสียในอัตรา 0.3%
ค) พาณิชยกรรม เพดานสูงสุด 2% มูลค่าน้อยกว่า 20 ล้านบาทเสีย 0.3% และปรับเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได กิน 3 พันล้านบาท เสีย 1.5%
ง) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 5% ที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ ปีที่ 1-3 อัตรา 1% ปีที่ 4-6 อัตรา 2% และ ปีที่ 7 ขึ้นไปเสีย 3%
สำหรับผลกระทบในแง่ของธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย อาจแยกเป็น 2 แง่มุมคือ
1. การจัดเก็บภาษีดังกล่าวทำให้ต้นทุนการถือครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้น แต่หากพิจารณาในส่วนของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันแล้วแทบทุกรายไม่มีนโยบายที่จะถือครองที่ดินเปล่าสะสมไว้ โดยรูปแบบปัจจุบันเป็นการจัดซื้อที่ดินมาแล้วพัฒนาทันทีภาระดังกล่าวจึงไม่น่าจะมากนัก แต่ในทางตรงข้าม สำหรับผู้ที่ถือครองที่ดิน แล้วไม่ได้ทำประโยชน์ อาจมีแรงจูงใจให้ขายที่ดินเปล่าออกมาง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
2. ในด้านของผู้ซื้อบ้าน อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ที่ซื้ออยู่อาศัยจริง ผู้ซื้อลงทุน และ ผู้ซื้อเก็งกำไร ในส่วนนี้เชื่อว่ากลุ่มผู้ซื้ออยู่อาศัยจริง ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากบ้านหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ขณะที่บ้านราคาสูงกว่า 50 ล้านบาท น่าจะเป็นส่วนน้อยของตลาด แต่สำหรับผู้ซื้อลงทุน หรือ ซื้อเก็งกำไร น่าจะเห็นการชะลอตัวลง เนื่องจากกลุ่มนี้น่าจะเป็นการซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ทำให้ต้องรับภาระภาษีตั้งแต่บาทแรก ตามอัตราที่กำหนดดังกล่าว
กลุ่มสินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด น่าจะเป็นคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีสัดส่วนการซื้อในฐานะเป็นบ้านหลังที่ 2 และการซื้อลงทุน รวมถึงเก็งกำไร โดยสรุปภาพรวมแล้ว เห็นว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินใหม่ ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2560 น่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ Sentiment ของหุ้นในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยแต่อยู่ในวงจำกัด
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยติดต่อกัน 4 วัน และสอดคล้องตลาดเพื่อนบ้าน
วานนี้ ต่างชาติยังคงซื้อหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 882 ล้านเหรียญ และ ซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดย ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคสูงถึง 494 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 237 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 47 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 13) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) รวมถึงไทยที่สุทธิราว 51 ล้านเหรียญ หรือ 1.8 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่ซื้อสุทธิ 170 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4)
และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3.2 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 1.2 หมื่นล้านบาท นอกเหนือจาก Dollar index อ่อนค่าแล้ว แรงซื้อทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทย ของต่างชาติ มีส่วนสำคัญ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 1.5% (นับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา) มาอยู่ที่ 35.22 บาท/เหรียญ
กลยุทธ์ แนะนำขายหุ้นแพง และซื้อหุ้นที่มี upside : TCAP, WORK, HANA, ADVANC
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงเล็กน้อย จากแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มปิโตรเคมี, ส่งออกอาหาร เนื่องจาก 2 กลุ่มนี้ตั้งแต่ต้นปีปรับเพิ่มขึ้นจน outperform มากกว่าตลาด ขณะที่กลุ่มอสังหาฯ ได้รับ sentiment เชิงลบหลังจากบ่ายวานนี้ ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังที่กล่าวในตอนต้น ส่วนกลุ่ม ICT ก็ถูก take profit ออกมาเช่นกัน ยกเว้นแต่กลุ่มพลังงานที่ยังสามารถยืนในแดนบวกได้ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ทะลุ 50 เหรียญ/บาร์เรลแล้ว อย่างไรก็ตาม ดัชนีหุ้นไทยยังให้ผลตอบแทนกว่า 12%ytd
หลังจากนี้เชื่อว่าน่าจะยังมีการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มที่ขึ้นไปมากกว่าตลาด หรือมี upside เหลือน้อย ยังมีอยู่ จึงแนะนำให้สลับมาลงหุ้นที่ laggard โดยต่มีปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกรองรับ และ มีระดับ P/E ต่ำ ราคาหุ้นมีความผันผวนน้อยกว่าตลาด (Beta ต่ำๆ )
หุ้นที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ ได้แก่
TASCO (FV@B39) ราคาหุ้นวานนี้เพิ่งฟื้นหลังจากทรงตัวมานาน สวนทางกับผลการดำเนินงานปีนี้ที่ยังคงสดใส กำไรสุทธิยังอยู่ในระดับสูงมาก ขณะที่ระดับ P/E ต่ำมากเพียง 8.5 เท่า ขณะที่ upside สูงถึง 34.5%
MCS ([email protected]) ราคาหุ้นค่อนข้างนิ่งมานานกว่า 7 เดือน ขณะที่ฝ่ายวิจัยยังมองเป็นหุ้นในอุดมคติในแง่พื้นฐาน ทั้งผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่อง, อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่อยู่ในระดับสูงกว่า 20% ระดับ P/E ที่ต่ำเพียง 8.5 เท่า และ Dividend Yield สูงถึง 6.5% ทั้งยังมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการในอนาคตสูง จากงานส่วนเพิ่ม และเงินเยนที่แข็งค่า
TCAP ([email protected]) คาดกำไร 2Q59 ยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง โดยจะเห็นสัญญาณบวกของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงปลายปี ภาพรวมกำไรสุทธิปี 2559 จะเติบโตถึง 20.5%yoy ขณะที่ราคาปัจจุบันยังคงซื้อขายกันต่ำกว่า BV ที่ราว 0.8 เท่า และ P/E ต่ำเพียง 7 เท่าเท่านั้น ทั้งยังคาดหวัง Dividend Yield ได้ถึง 4.5%
WORK (FV@B45) ผลการดำเนินงานเติบโตได้สวนทางเศรษฐกิจซบเซา คาดเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หนุนให้รายได้ค่าโฆษณาเติบโตอย่างมีนัยฯ คาดปีนี้ผลการดำเนินงานเติบโตเกินกว่าเท่าตัว ยังไม่รวมโอกาสในการปรับประมาณการกำไรฯ ที่จะเพิ่มขึ้นจากการ waive ค่าธรรมเนียม ขณะที่ระดับ P/E แม้จะค่อนข้างสูงราว 48 เท่าในปีนี้ แต่จะลดลงเหลือราว 35 เท่าในปีหน้าจากการเติบโตของผลการดำเนินงาน
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์