WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

    SET ฟื้นตัว ตามการสลับขึ้นหุ้น Bank/ICT และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งได้แรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า เชื่อ Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยเป็นปลายปี ตราบที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่มั่นคง แนะสะสมหุ้นที่มี upside (TU, PTT, WORK) Top picks เลือก PTT(FV@B330) และ ADVANC(FV@B189) Laggard มี upside15% และ Div Yield 6.23%

ตลาดผ่อนคลาย FED ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
     ตลาดหุ้นทั่วโลกลดความหวังต่อการที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ เร็วขึ้น หลังจากวานนี้ประธาน Fed เจเน็ต เยลเลน ได้แถลงมุมมองเศรษฐกิจ ที่ฟิลาเดลเฟีย ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญคือ ยังมีมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แม้ตัวเลขการจ้างงาน(Nonfarm payrolls) ที่ออกมาเมื่อวันศุกร์จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด แต่ก็ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงยังให้น้ำหนักต่อการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ที่จะมีการทำประชามติ 23 มิ.ย. (โพลสำรวจล่าสุด 5 มิ.ย.ของ Financial Times พบว่า ประชาชน 45% อยากอยู่ต่อ ขณะเสียงส่วนใหญ่อีก 43% อยากออก)

      การที่ประธาน Fed มีท่าทีผ่อนคลายลง เมื่อเทียบกับรอบ 27 พ.ค. ที่ส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ทำให้ผลสำรวจทิศทางดอกเบี้ย หรือ Fed Fund Futures โดย Bloomberg ลดน้อยลง กล่าวคือ โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 14-15 มิ.ย. เหลือ 2% จาก 22% และรอบถัดไปคือ ก.ค. ลดอยู่ที่ 21% จากเดิม 27% โดยตลาดกลับมาเพิ่มน้ำหนักในช่วง 4Q59 มากขึ้น คือรอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 42% จาก 35% รอบ พ.ย. เพิ่มขึ้น 50% จาก 37.9% และ ธ.ค. เพิ่มขึ้น 61% จาก 52% ซึ่งสอดคล้องกับ ASPS ที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุด ในช่วง 4Q59
ผลกระทบโดยรวมกดดัน Dollar index ยังมีทิศทางอ่อนค่า ล่าสุด อยู่ที่ 93.94 จุด และกดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียมีทิศทางแข็งค่า นำโดยค่าเงินรูเปีย อินโดนีเซียแข็งค่าราวสูงสุด 2% ตามมาด้วยค่าเงินริงกิตมาเลเซีย แข็งค่าราว 1.6% เงินบาท แข็งค่าราว 1% เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าน้อยสุด 0.65% ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนุน fund flow เข้า Asia ต่อเนื่อง

กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียอย่างต่อเนื่อง
      วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้หยุดทำการเนื่องจากเป็นวัน Memorial Day ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือยังคงเปิดทำการเป็นปกติ พบว่ากระแสงเงินทุนยังคงไหลเข้ามาในตลาดหุ้นเอเชียต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 240 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 4 ประเทศ นำโดยไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 168 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 40 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 12) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) รวมทั้งไทยที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 22 ล้านเหรียญ หรือกว่า 759 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันที่ซื้อสุทธิ 379 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3)
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3.8 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 1.2 หมื่นล้านบาท

ดอลล่าร์อ่อนค่าหนุนน้ำมัน/ทองคำ/น้ำตาล บวก PTT, PTTEP, KSL
      แรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่า ส่งผลบวกต่อสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะราคาทองคำที่ดีดตัวกลับมาเพิ่มขึ้น 3% mtd ล่าสุด 1245.57 เหรียญต่อออนซ์ คาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นแตะ 1,300 เหรียญฯต่อออนซ์ หากดอลลาร์ยังคงมีทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง
  ขณะที่ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ล่าสุด 50.55 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง นับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี เช่นเดียวกับน้ำมันดูไบที่สามารถยืนเหนือ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรลต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า ประกอบกับมีแรงซื้อเก็งกำไรในสัญญาล่วงหน้าและออปชั่นน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าปัญหา Oversupply จะยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่เริ่มผ่อนคลายลงหลัง Demand ทางภูมิภาคเอเชียเริ่มฟื้นตัว ขณะที่ Supply ในฝั่งสหรัฐยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ราคาน้ำมันปีนี้จะสามารถปรับตัวเคลื่อนไหวกรอบ 50-60 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้ ซึ่งอาจจะทำให้นักวิเคราะห์ในตลาดโดยรวมอาจจะต้องปรับสมมติฐานน้ำมันดิบดูไบขึ้นจากปัจจุบันที่กำหนดไว้ต่ำกว่า 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล รายละเอียดดังที่กล่าวไว้ใน market talk วานนี้ จึงยังแนะนำสะสมหุ้น PTT และ PTTEP แต่ชอบ PTT ที่มี upside มากกว่า


ตามด้วยราคาสินค้าโภคัณฑ์อื่นๆ ที่มีการทำ New high คือ น้ำตาล ล่าสุด 18.78 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้น 28.28% ytd จากปัญหาผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ (ขาดดุล) จากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภัยแล้งในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทยและอินเดีย ทำให้ปริมาณน้ำตาลออกสู่ตลาดลดลง โดย International Sugar Organization คาดการณ์น้ำตาลทั่วโลกปีนี้จะขาดดุลราว 5.02 ล้านตัน ส่งผลดีต่อ KSL([email protected]) แต่เนื่องจากปัญหาภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลด้วยเช่นกันหักล้างปัจจัยบวกจากราคาขายที่สูงขึ้นบางส่วน จึงอาจทำให้ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นจะยังไม่ส่งผลบวกต่อกำไรได้เต็มที่ในปีนี้ แต่คาดว่าผลกำไรจะดีขึ้นในปี 2560 แนะนำทยอยสะสม


เช่นเดียวกับ ราคากากถั่วเหลือง ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น ปรับขึ้น 50.5% ytd อยู่ที่ 411.70 เหรียญ/ตัน จากสภาพอากาศแห้งแล้งในประเทศบราซิล และปัญหาน้ำท่วมในประเทศอาร์เจนตินาซึ่งเป็นปัจจัยระยะสั้น กดดันปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองออกสู่ตลาดลดลงอย่างน้อย 5 ล้านตัน ทำให้แนวโน้มถั่วเหลืองส่งออกสู่ตลาดจะขาดดุลราว 3.8 ล้านตัน ส่งผลบวกต่อ TVO([email protected]) แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปเต็มมูลค่าแล้วจึงแนะนำให้เลือกลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ Laggard กว่า


และ ราคายางพารา ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยราว 1.46% จากวันก่อนหน้า หลังจากลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังถือพบว่าปรับตัวขึ้นราว 29.78% ytd ล่าสุดที่ 1,525 เหรียญฯ/ตัน และ ยางแท่งปรับขึ้น 10% ytd มาอยู่ที่ 1,295 เหรียญฯ/ตัน ดีต่อ STA แต่ราคาหุ้นขึ้นมาเร็ว และตอบสนองต่อราคายางฯ ดังกล่าวแล้ว ระยะสั้นให้ switch จาก STA ไปลงทุนหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ Laggard กว่า
แนะนำขายหุ้นที่เกินมูลค่าหุ้น/upside น้อย มายังหุ้น upside สูง : TCAP, WORK, HANA
ดัชนียังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะมีค่า Expected P/E 16.3 เท่า อิง EPS ตลาดปี 2559 ที่หุ้นละ 88.66 บาท (หลังจากมีการปรับประมาณครั้งหลังสุดเมื่อกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา) โดยแรงหนุนของกระแสเงินต่างชาติ เป็นที่สังเกตว่าการฟื้นตัวของ SET Index ในช่วงปลายเดือน พ.ค. เป็นต้นมาสลับจากหุ้นพลังงานและปิโตรเคมีมายังหุ้น market cap ขนาดใหญ คือ ICT และ ธนาคารพาณิชย์ ที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด
โดยรวมนับจากต้นปีถึงปัจจุบันพบว่าดัชนีหุ้นไทยให้ผลตอบแทน 12.1% (ytd) ซึ่งนับว่าสูงสุดในภูมิภาค โดยมี ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซียให้ผลตอบแทนเป็นบวก 9.3% และ 6.6% ตามลำดับ ที่เหลือส่วนใหญ่ติดลบ เช่น จีน -17.0% ญี่ปุ่น -12.9% และ มาเลเซีย -2.6%
  และหากพิจารณาผลตอบแทนตลาดตลาดหุ้นไทย เป็นรายกลุ่ม จะพบว่า หุ้นที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาด (outperform) จะเป็นกลุ่ม Global Plays เป็นหลัก ได้แก่ พลังงาน (PTTEP 42%, PTT 26%, CKP 24%) , ปิโตรเคมี (IVL 58%, PTTGC 25%), ส่งออกอาหาร (CPF 64%, TVO 37%, OISHI 33%, TU 28%) รวมทั้งกลุ่มค้าปลีก (ROBINS 36%, HMPRO 32%, CPALL 26%, BEAUTY 24%) ตรงกันข้ามหุ้น Domestic Plays ยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาด และหากพิจารณารายหุ้นพบว่า ยังมีอีกหลายบริษัทมี upside เหลือจำนวนมาก จึงแนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มที่ laggard ยังขึ้นน้อยกว่าตลาด โดยเชื่อว่าราคาหุ้นจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงถัดไป และให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนน้อย หรือราคาหุ้นที่เกินมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว ยกเว้นหุ้นน้ำมันที่คาดว่ามีโอกาสสูงที่จะมีการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบขึ้นดังกล่าวข้างต้น
  รับเหมาฯ ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน -4.2%ytd โดย UNIQ (FV@B20) และ CK (FV@B36) ราคาหุ้นลดลง -21.4%ytd และ -5.2%ytd ตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยหนุน คือ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ที่น่าจะเปิดประมูลกันในช่วงเดือน มิ.ย. ส่วน upside ราว 15.6% และ 31% ตามลำดับ


สื่อบันเทิง ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน -4.1%ytd ขณะที่หุ้น WORK (FV@B45) กลับลดลง -6.9% สวนทางกับแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ปีนี้น่าจะเติบโตได้เกิน 100% ส่วน upside ราว 11%
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน -3.4%ytd ราคาหุ้น HANA (FV@B42) ลดลงถึง -16.1%ytd โดยในแง่ปัจจัยพื้นฐานนั้น เชื่อว่า 2H59 กำไรจะกลับมาฟื้นตัวหลังเข้าสู่ช่วง High Season คาดกำไรสุทธิปี 2559 เติบโต 18.0% yoy ราคาปัจจุบันมี upside เกือบ 40%
ท่องเที่ยว-โรงแรม - ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน -3.2%ytd ราคาหุ้น CENTEL (FV@B46) ลดลง -7.4%ytd CENTEL มีปัจจัยบวกจากแผนการลงทุนโรงแรมและอาหารใหม่ในอนาคต คาดกำไรปกติปี 2559 เติบโต 12% yoy ราคาหุ้นมี upside 13%
วัสดุก่อสร้าง ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน 1% ขณะที่ SCC (FV@B595) ปรับขึ้นได้น้อยกว่าตลาดเพียง 5.6%ytd ในแง่ของผลการดำเนินงานนั้น ธุรกิจปิโตรเคมียังคงโดดเด่น ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง น่าจะได้แรงกระตุ้นจากโครงการก่อสร้างภาครัฐช่วงครึ่งปีหลัง คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโตราว 8.4%yoy โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี upside ราว 23%
ICT ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันน้อยกว่าตลาดที่ 9.6% ส่วนหุ้นที่ยัง underperform คือ THCOM (FV@B41) ตั้งแต่ต้นปีราคาลดลง 6.9% ขณะที่ผลการดำเนินงานจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ 3Q59 หลังเปิดให้บริการดาวเทียมไทยคม 8 คาดปีนี้เติบโตกว่า 31%yoy ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบัน upside เปิดกว้างถึง 52% ตามด้วย ADVANC (FV@B189) ราคาหุ้นที่ลดลงหนักสะท้อนแนวโน้มกำไรลดลงแล้ว ขณะที่ศักยภาพการแข่งขันยังครองความเป็นเบอร์ 1 ไปได้อีกนาน และ ราคาหุ้นมี upside 14.6% รวมทั้งหุ้นแม่ INTUCH (FV@B75) ได้อานิสงส์ตามบริษัทลูก อีกทั้ง Div Yield ในปีนี้ยังสูงถึง 8% ราคาหุ้นมี upside 33%
ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์นั้น เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ จนทำให้มี upside เหลือน้อย แต่ ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก พบว่ายัง underperform ได้แก่


TCAP ([email protected]) ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันลดลง -6.2%ytd คาดกำไร 2Q59 ยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง โดยจะเห็นสัญญาณบวกของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงปลายปี ภาพรวมกำไรสุทธิปี 2559 จะเติบโตถึง 20.5%yoy ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside ถึง 35%
TISCO (FV@B50) ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเพียง 6% คาดว่าผลการดำเนินงานจะถูกขับเคลื่อนด้วยการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วง 2H59 พร้อมกับสินเชื่อรายย่อยอื่นๆ โดยเฉพาะสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมถึงสินเชื่อ SME ภาพรวมกำไรปี 2559 จะกลับมาเติบโตในรอบ 4 ปีกว่า 8.2% yoy ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside ราว 11%


ผลตอบแทนพอร์ตของทีมวิจัย ASPS สูง 22.2%ytd ชนะ Active Fund
จากการสำรวจข้อมูลผลตอบแทนของกองทุนในประเทศ นับจากต้นปี 2559 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ที่เป็นกองประเภท Passive Fund (ลงทุนล้อตามตลาด) ให้ผลดำเนินงานที่ดีกว่า ประเภท Active Fund (ผู้จัดการกองทุนพยายามเลือกหุ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทชนะตลาด) โดยกอง passive ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ EFOOD สูงถึง 28.8% ส่วนที่กอง Active Fund กลับให้ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด โดยกองที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ SCBDA ราว 14.7% แต่ติดอันดับ 25 ของกองทุนหุ้นทั้งหมด (ดังภาพข้างล่าง)


แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากพอร์ตจำลองที่บริหารโดยทีมวิจัย ASPS พบว่า ให้ผลตอบแทนสุทธิเป็นบวกถึง 22.2% ซึ่งสามารถชนะตลาดที่ให้ผลตอบแทนราว 12.1% นอกจากนี้หากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของกองทุนหุ้นภายในประเทศ พบว่า พอร์ตจำลองของ ASPS มีผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับกองทุนหุ้นประเภท Active Fund ทั้งหมด และยังสูงสุดเป็นอันดับ 8 ของกองทุนหุ้นที่ลงทุนภายในประเทศทั้งหมด 251 กอง (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิ.ย. 2559) ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
ดังนั้นหากท่านเป็นลูกค้าของ ASPS มีการติดตามบทวิเคราะห์ รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ และหวังว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นในช่วงที่เหลือปี 2559

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!