- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 03 June 2016 16:34
- Hits: 499
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ผลประชุม OPEC เหมือนเดิม แต่เงินดอลลาร์อ่อนค่า หนุนราคาน้ำมันและดัชนีช่วงสั้น กลยุทธ์แนะหุ้น laggard (UNIQ (FV@B20)/TU(FV@B25)) Top picks คือ WORK (FV@B45) จากส่วนแบ่งผู้ชมที่เพิ่มขึ้นหนุนค่าโฆษณา และกำไรดีขึ้น 2H59 และ KCE(FV@B100) มั่นใจเข้าคำนวณ SET50 และะให้ผลตอบแทนชนะตลาดราว 3-4%
ผลประชุม OPEC เหมือนเดิม ขณะราคาน้ำมัน ยังขึ้นลงตาม Supply ที่ลดลง
ผลการประชุมของกลุ่ม OPEC วานนี้ ยังคงไม่มีอะไรใหม่ แต่ยังคงเหมือนที่ผ่านมาคือ ยังเน้นกีดกันคู่แข่งขัน โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ำมันต้นทุนสูงอย่าง Shale oil/Shale gas อย่างไรก็ตามซาอุดิอาระเบีย(ผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1) ให้คำมั่นว่าจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อตลาด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าปัญหาที่เกิดในแหล่งผลิตหลายแหล่งยังคงมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง อาทิ ไนจีเรีย และ ลิเบีย และระบบไฟฟ้าขัดข้องในเวเนซุเอล่า ซึ่งอาจทำให้การผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC จะยังคงที่วันละ 32.5 ล้านบาร์เรล ตั้งแต่ปลายปี 2558 (แม้เพดานการผลิตถูกกำหนดที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันก็ตาม) ทั้งนี้แม้ทำให้ Oversupply ราว 1.5-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่จะช่วยลดแรงกดดันลงไปในระยะสั้น ๆ
ขณะที่วานนี้มีรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ (28 พ.ค.) พบว่าสต็อกน้ำมันดิบลดลง สวนทางตลาดที่คาด โดยรายงานจริงลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล เช่นเดียวกับน้ำมันดีเซล และ น้ำมันเบนซิน ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7) และลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล (จากที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน) ตามลำดับ น่าจะเป็นจากเข้าสู่ฤดูกาลขับขี่
นอกจากนี้ Dollar Index ที่เริ่มกลับมาอ่อนค่า (ล่าสุด 95.56 จุด) หนุนให้ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบวานนี้ บวกไป 2% ล่าสุดยืนเหนือระดับ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งคาดการณ์ว่าจะคงทรงตัวในระดับนี้ต่อไป ใกล้เคียงกับสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย ASPS ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล (แม้ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 35.49 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่คาดว่าในในช่วงที่เหลือของปีนี้ ราคาน้ำมันดิบดูไบน่าจะยกตัวขึ้นยืนเหนือระดับ 52 เหรียญฯต่อบาร์เรลได้) ขณะที่สมมติฐานน้ำมันดิบดูไบในปี 2560 อยู่ที่ 50 เหรียญฯ และเพิ่มเป็น 55 เหรียญฯ ในปี 2561 และ ยืนที่ 60 เหรียญฯ นับจากปี 2562 ซึ่งราคาหุ้นที่ย่อตัวจึงเป็นโอกาสสะสมหุ้น PTTEP(FV@B80) และ PTT(FV@B330)
เศรษฐกิจโลกยังทรงตัว สหรัฐยังฟื้นตัวเนื่อง ขณะที่ยุโรปทรงตัว
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวานนี้ เป็นไปที่ตลาดคาด กล่าวคือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% (ต่ำสุดในประวัติการณ์) (รวมถึงคงดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากกับ ECB ติดลบ 0.4%) และวงเงิน QE ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/ เดือนไปจนถึง มี.ค. 2560 พร้อมกับได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ปี 2559 เป็น 1.6% เพิ่มขึ้นจาก 1.4% ที่คาดการณ์ในเดือน มี.ค. (แต่ก็ใกล้เคียงกับที่ IMF คาดการณ์ล่าสุด 1.5%) และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2559 ที่ 0.2% จากระดับ 0.1% ที่คาดการณ์ในเดือน มี.ค. แม้ยังกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการลงประชามติของอังกฤษในประเด็นการถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) วันที่ 26 มิ.ย.
ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังส่งสัญญานฟื้นตัวล่าช้า สะท้อนจาก PMI ภาคการผลิต และยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังคงชะลอตัวติดต่อกัน 4 และ 2 เดือนตามลำดับ และเงินเฟ้อใน พ.ค. ยังคงติดลบ 0.1% ทำให้การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังคงจำเป็น
ส่วนทางด้านสหรัฐ ดัชนีชี้นำตลาดแรงงานยังคงขยายตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ ยอดการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐ (ADP Employment) เดือน พ.ค.เพิ่มขึ้น 4.2%mom มาอยู่ที่ระดับ 1.73 แสนราย (เพิ่มขึ้นครั้งแรก หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว 3 เดือนติด) เช่นเดียวกับยอดผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายในสัปดาห์ สิ้นสุด 28 พ.ค. ลดลง 1,000 ราย ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำ ให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ก็ตาม แต่เศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวทั้งยุโรปที่กล่าวข้างต้น ตามมาด้วย ญี่ปุ่น และ จีน น่าจะกดดันให้ยังคงดอกเบี้ยฯ ในการประชุม 14-15 มิ.ย. และ 26-27 ก.ค.
เศรษฐกิจไทย ยังคงฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านประเทศไทย การฟื้นตัวเศรษฐกิจยังค่อยเป็นค่อยไป แม้รัฐพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิตต่อเนื่อง สะท้อนจากล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) รายงานผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจ เดือน พ.ค. ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด แต่ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า กลับเริ่มมีความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น ทั้งนี้คาดว่าน่าจะมีแรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ เป็นหลัก โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยคาดว่าจะประกวดราคาตลอดเดือน มิ.ย. อาทิ รถไฟฟ้า สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เป็นต้น และมาตรการลดหย่อนภาษีที่ยืดระยะเวลาในการก่อสร้างโรงงานออกไป น่าจะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนภาคเอกชน
โดยรวมทำให้ ASPS ยังคง GDP Growth ปีนี้ ที่ 3.5% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่ Consensus ในตลาดคาด หากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 2H59 อย่างไรก็ตามหากล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่คาด มีโอกาสที่จะปรับลดประมาณการลงได้
กระแสเงินทุนยังไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 เข้าไปแล้ว นับเป็นการไหลเข้าอย่างต่อเนื่องของ Fund Flow นับตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ด้วยมูลค่ารวมกว่า 500 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ เริ่มจาก เกาหลีใต้ 325 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามด้วยไต้หวัน 111 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) อินโดนีเซีย ซื้อสุทธิ 33 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 10) ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิเล็กน้อย 5 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วันทำการ) รวมทั้งไทย นักลงทุนต่างชาติสลับกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 29 ล้านเหรียญ หรือกว่า 1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันวันนี้กลับมาซื้อสุทธิ 685 ล้านบาท ขณะที่พอร์ตโบรกเกอร์ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 แต่มูลค่าลดลงเหลือเพียง 27 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 716 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิอีกกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ส่วนค่าเงินบาทล่าสุดอยู่ที่ 35.61 บาท/เหรียญ
KCE จะเข้าคำนวณ SET50 คาดให้ผลตอบแทนเกิน 5% จนถึงสิ้นเดือนนี้
ตามที่ฝ่ายวิจัยได้ประเมินเบื้องต้นถึงรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50, SET100 ที่จะเริ่มใช้ช่วง 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2559 และได้นำในรายงาน Quantitative Analysis ตั้งแต่เดือน 25 พ.ค. ที่ผ่านมาแล้วนั้น ขณะนี้ได้คำนวณรอบสุดท้าย หลังจากได้ข้อมูลครบถ้วน (1 มิ.ย. 2558 - 31 พ.ค. 2559) จึงได้ทบทวนรายชื่อหุ้นที่มีโอกาสถูกนำเข้าและคัดออกจาก SET50, SET100 รอบ 2H59 อีกครั้ง พบว่า รายชื่อหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เนื่องจากหุ้นบางบริษัทอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข เช่น Free-float (ขึ้น-ลดลง ตาม Market Cap.) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายชื่อหุ้นดังกล่าวยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากผลลัพธ์สุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตลาดฯ เป็นสำคัญ แต่เบี้องต้นสรุปรายชื่อหุ้นได้ดังนี้
ผลการศึกษาในอดีต พบว่า หุ้นที่ถูกนำเข้า SET50 , SET100 มักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนวันเข้าคำนวณจริงเสมอ เนื่องจากกองทุนประเภท Index Fund จำเป็นต้องปรับพอร์ตการลงทุนตามหุ้นที่ถูกนำเข้าและคัดออก แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าหุ้นที่เข้า SET50 มักให้ผลตอบแทนสูง ก่อนนำเข้าคำนวณจริงราว 1 เดือน ราว 6.7% ด้วยความน่าจะเป็นกว่า 75% ขณะที่หุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET100 จะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า คือเฉลี่ยราว 1.4% และ ให้ผลตอบแทนก่อนวันเข้าคำนวณเพียง 1 สัปดาห์ ด้วยความน่าจะเป็นน้อยเพียง 52% รายละเอียดติดตาม Quantitative Analysis วันนี้
จึงเลือก KCE(FV@B100) เป็น Top pick เพราะนอกจากจะเข้าคำนวณ SET50 น่าจะให้ผลตอบแทนสูงก่อนคำนวณจริง (แต่ให้ขายทำกำไรในวันที่เข้าคำนวณ) ยังพบว่าเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มธุรกิจสดใส แนวโน้มทำกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และ ในปี 2559 น่าจะมี EPS Growth โดดเด่น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์