WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AIRA copyบล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ทิศทางตลาด
  ผันผวน? แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่คาดภาพรวมตลาดยังคงถูกกดดันจากประเด็นต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุดประธานเฟดส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หากเศรษฐกิจเติบโตตามเป้าหมาย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในทิศทางที่ดี อาจทำให้เฟดพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยการประชุมเฟดมีขึ้น 14 – 15/6/59
  โดยยังแนะติดตามค่าเงินสหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งส่งผล (-) ต่อราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม (+) ต่อกลุ่มส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาท เช่น กลุ่มอาหารและกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
และคาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันซึ่งยังอยู่ในระดับใกล้ 50USD ซึ่งคาดยังส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน เช่น PTT และ PTTEP เป็นต้น
  ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ คาดน้ำหนักจาก Fund Flow เป็นบวกมากขึ้นภายใต้แรงซื้อสุทธิของต่างชาติต่อเนื่อง ล่าสุดอีกกว่า 1,600 ล้านบาท ส่งผลให้ YTD เพิ่มขึ้นเป็นซื้อสุทธิสะสมกว่า 18,000 ล้านบาท
  ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย คาดดีขึ้นตามลำดับ ล่าสุดกระทรวงการคลังคาด GDP – 2Q/59 เติบโตมากกว่า 3.2% และคาดสูงสุดใน 3Q/59 ที่ 4.0% จากการลงทุนภาครัฐ และคาดทั้งปี’59 เติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.3% ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมตลาดบ้าง แนะติดตามหุ้นกลุ่ม Domestic Play เช่น ค้าปลีก และรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น


และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มอาหาร การส่งออกได้รับประโยชน์จากแนวโน้มค่าเงินบาทอ่อน เช่น CPF, TKN และ TWPC
  (2) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
  (3) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น EPG
  (4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานในมือที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น SEAFCO และ SYNTEC
  (5) กลุ่มพลังงาน ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของค่าการกลั่น เช่น IRPC และ TOP

SET SET50 SET100

1,424.28 +0.16 911.11 -0.80 2,033.74 +0.56

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
  (-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJIA -86.02, NASDAQ +14.55, S&P -2.10, FTSE -40.00, CAC -70.49 และ DAX -23.78
หลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดแข็งแกร่ง โดย (1) การใช้จ่ายผู้บริโภค – เม.ย. เพิ่มขึ้น 1.0% ซึ่งเป็นการปรับตัวแข็งแกร่งสุดนับแต่เดือนส.ค.’52 และสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% (2) ด้านดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ – มี.ค. เพิ่มขึ้น 5.4% สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.2% และ (3) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของเฟด – เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.2%MoM ดีขึ้นจาก 0.1% เมื่อมี.ค.
  ....ซึ่งตัวเลขดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วขึ้น หลังประธานเฟด กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ถ้าหากเศรษฐกิจมีการขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง
  ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยลบเพิ่มจากตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้นในกลุ่มยูโรโซน – พ.ค. อยู่ที่ -0.1% ดีขึ้นจากระดับ -0.2% เมื่อเม.ย. แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่ายูโรโซนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. -US$0.23 อยู่ที่ US$49.10 ต่อบาร์เรล ภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด จาก (1) แคนาดาเริ่มกลับมาผลิตน้ำมันดิบ หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟป่า ส่งผลให้การผลิตน้ำมัน ประมาณ 0.9 - 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดลง และ (2) อิรักจะส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านบาร์เรลในเดือนหน้า และตั้งเป้าจะส่งออกน้ำมันจากสถานีตอนใต้ของประเทศสู่ระดับ 3.47 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนมิ.ย.
  ขณะที่อยู่ระหว่างติดตาม (1) อิหร่านวางแผน เพิ่มการส่งออกน้ำมันให้ได้ถึง 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในช่วงฤดูร้อนนี้ จากปัจจุบันที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ (2) การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 2/6/59 เพื่อหาสัญญาณการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.55 1.83 3.35

ที่มา: www.set.or.th

มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 67,210.28
สถาบัน -782.87
บัญชีหลักทรัพย์ 1,164.91
ต่างประเทศ 1,607.89
ในประเทศ -1,989.94

  นอกจากนี้อยู่ระหว่างติดตาม (1)  อิหร่านวางแผน เพิ่มการส่งออกน้ำมันให้ได้ถึง 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในช่วงฤดูร้อนนี้ จากปัจจุบันที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ (2) การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 2/6/59 เพื่อหาสัญญาณการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.8 อยู่ที่ US$ 1,217.5 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร หลังราคาทองคำลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
  (+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +1,608 ล้านบาท สะสม YTD +18,115  ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 1 – 3 มิ.ย.  2559     
1/6/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค.
   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.
   ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย.
   ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
   สต็อกน้ำมัน

2/6/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
   ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนพ.ค.

3/6/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.
   ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย.
   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.
   ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนเม.ย.
   ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค.
  (6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง จากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
  (7) กลุ่มการแพทย์ ที่มีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง เช่น BDMS
  (8) หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT, ERW) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยล่าสุดสภาพัฒน์ฯ ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี’59 อยู่ที่ 33 ล้านคน จากเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%  
  (9) กลุ่มการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT, BA และ BEM

  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 1.83% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) 
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.07 อยู่ที่ 14.19
  หุ้นแนะนำ :  EGCO
 นักวิเคราะห์ : จิตรลดา  เลขาพันธ์  โทร.02-684-8788

 

 

loading...

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!