- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 01 June 2016 17:33
- Hits: 659
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ดัชนีมี upside จำกัด แต่น่าจะเห็นการสลับหมุนเวียนจากหุ้นที่ชนะตลาดฯ ในช่วงที่ผ่านมา (PETRO, ENERG, COMM, TRANS) มายังหุ้น Laggard โดยเฉพาะหุ้นที่ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าในการลงทุนภาครัฐ ยังเลือก CK(FV@B36), UNIQ (FV@B20) เป็น Top picks และให้ลงทุนระยะสั้น SEAFCO([email protected])
รัฐกระตุ้นการลงทุนเอกชนเพิ่ม ช่วยหนุน GDP Growth เติบโตเกิน 3%
ผลการประชุม ครม.วานนี้ ยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง หลังจากที่ได้ทำผ่านตัว C หรือ การบริโภคภาคครัวเรือน โดยให้เพิ่มเติมคือ 1) ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ผลิตข้าว ผ่านโครงการช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว สินเชื่อกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ เป็นต้น วงเงินรวม 3 พันล้านบาท และ 2) ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (I) โดยขยายเวลาสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ ออกไปแบบไม่มีกำหนด สำหรับเอกชนที่ลงทุนในเครื่องจักรและอาคารถาวรในประเทศไทย ที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2559 จากเดิมสิทธิยกเว้นภาษีฯ ได้ไม่เกิน 31 ธ.ค. 59)
ขณะที่ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ต่อเนื่องถึงสิ้นปี 2559 จนถึงปี 2560 คาดว่ายังมาจาก การลงทุนภาครัฐ ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่คาดว่าจะมีการประมูล เดือน มิ.ย.นี้ รวม 7 โครงการ มูลค่ารวม 2.89 แสนล้านบาท โดยเฉพาะ รถไฟฟ้า 3 เส้นทางคือ สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) มูลค่ารวมราว 2 แสนล้านบาท ตามมาด้วยรถไฟรางคู่ (สายประจวบฯ-ชุมพร) มอเตอร์เวย์ และสุวรรณภูมิเฟส 2
โดยรวมทำให้ ASPS ยังคาด GDP Growth ปีนี้ ที่ 3.5% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่ Consensus ในตลาดคาดเฉลี่ยที่ 3% ทั้งนี้ให้น้ำหนักต่อมาตรการกระตุ้นการบริโภค (C) จากมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องจากปลายปี 2558 และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 2H59 อย่างไรก็ตามหากล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่คาด มีโอกาสที่จะปรับลดประมาณการลงได้
ภาคครัวเรือนสหรัฐยังดีขึ้นตามตลาดแรงงาน VS ยุโรปยังเผชิญเงินเฟ้อลดลง
การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกยังแสดงความขัดแย้งกันอยู่ โดยวานนี้กลุ่มยูโรโซนรายงานเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. ยังคงอยู่ในแดนลบราว 0.1% แม้ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ติดลบ 0.2% แต่นั่นเป็นเพราะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นในเดือนที่ผ่านมา แต่ยังถือว่า ต่ำกว่าระดับเป้าหมายมากที่ 2% จึงทำให้คาดว่าการประชุม ECB ในวันพรุ่งนี้ 2 มิ.ย. จะยังคงมุ่งใช้นโยบายผ่อนคลาย ทั้งการเข้าซื้อพันธบัตรระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน และการลดอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำกว่า 0 (ดอกเบี้ยที่ฝากกับ ECB ติดลบ 0.4%) ต่อไป
ขณะที่ฝั่งสหรัฐ การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคครัวเรือนล่าสุดยังปรับตัวดีขึ้น กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายส่วนบุค (Personal Spending) เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด มาอยู่ที่ระดับ 1% (สูงสุดในรอบ 6 ปี) สอดคล้องกับ รายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น 0.4% คงที่จากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งภาคครัวเรือนที่ดีขึ้น สอดคล้องกับภาคแรงงาน แต่สวนทางกับภาคการผลิตที่ยังฟื้นตัวอย่างล่าช้า สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิต (Markit) เดือนล่าสุดยังหดตัว 0.4% mom แม้จะเห็นยอดซื้อสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นแต่เมื่อหักสินค้าเพื่อการลงทุนระยะยาวอย่างเครื่องบินแล้วนั้น ยังคงพบว่าหดตัวอยู่
ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการประชุม Fed รอบ 14-15 มิ.ย. น่าจะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย แต่อาจปรับขึ้นในครั้งต่อๆ ไป ระยะสั้นจึงคาดว่า Dollar Index น่าจะเริ่มย่อตัว หลังจากที่แข็งค่าในช่วงหลายวันก่อนหน้า ซึ่งน่าจะเป็นหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ให้ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง หลังปรับฐานตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดิบทรงตัว ผลประชุม OPEC 2 มิ.ย. ไม่น่าจะมีอะไรใหม่
หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบโลกล่วงหน้าแตะ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกนับจากเดือน ต.ค. 2558 หรือในรอบ 8 เดือน แต่คาดว่าหลังจากนี้น่าจะทรงตัว หรืออ่อนตัว หากผลการประชุมของผู้นำ OPEC ในวันที่ 2 มิ.ย. หรือพรุ่งนี้ที่กรุงเวียนนา ไม่มีความคืบหน้า ในการกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มฯ ซึ่งตลาดประเมินว่าประเด็นหลัก ยังอยู่ที่ ซาอุดิอาระเบีย ต้องการกีดกันคู่แข่งขัน โดยเฉพาะผู้ผลิตน้ำมันที่ต้นทุนสูงอย่าง shale oil/shale gas ในกลุ่มอเมริกาเหนือ (แคนาดาและสหรัฐ) ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่กลับมากดดันให้ราคาน้ำมันดิบโลก มีแนวโน้มอ่อนตัวอีกครั้งได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นมาจนถึง 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล ได้นั้นเป็นผลจากปริมาณผลิตที่ลดลงกว่าแผนการผลิตของทุกประเทศ เช่น กรณีไฟไหม้ที่แคนาดา (น่าจะกลับมาผลิตได้เร็ว ๆ นี้) และปัญหาการสู้รบในตะวันออก ทั้งที่ไนจีเรีย และลิเบีย ทำให้การผลิตน้ำมันที่ในไนจีเรีย ต่ำสุดในรอบ 20 ปี และในลิเบีย โดยรวมทำให้ความกังวลต่อปัญหา oversupply ลดลง อย่างไรก็ตามในสถานการณ์หลังจากนี้ แม้ OPEC ไม่มีข้อสรุปในเรื่องจำกัดการผลิต แต่ปัญหาด้าน supply ยังมีอยู่ในบางพื้นที่โดยเฉพาะตะวันออกกลาง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมันที่มีสัญญาณที่ดีขึ้น จากสหรัฐ หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคครัวเรือนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง น่าจะหนุนการใช้น้ำมัน ซึ่งทั้งด้าน supply และ demand ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทำให้ oversupply ยังค่อย ๆ ลดลง และน่าจะใกล้สมดุลได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนน้ำมันดิบโลกให้ฟื้นตัวเหนือ 50 เหรียญฯ และมีโอกาสขึ้นไปแตะ 55-60 เหรียญฯ ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
Fund Flow เริ่มชะลอตัว และน่าจะซื้อสลับ-ขายในเดือน มิ.ย. เหมือนทุกปี
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่มูลค่ารวมลดลงเหลือ 260 ล้านเหรียญ โดยยังซื้อเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเกาหลีใต้ ขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วันทำการ) ประเทศที่ยังซื้อสุทธินำโดย ไต้หวัน 170 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5) ตามด้วยฟิลิปปินส์ 49 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อ 5 วันทำการ) อินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8) และไทยสุทธิถึง 45 ล้านเหรียญ หรือราว 1.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันขายสุทธิออกมาราว 783 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 4 วันทำการ) ขณะที่พอร์ตโบรกเกอร์ วานนี้ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่าเกือบ 1.2 พันล้านบาท
สรุปเดือน พ.ค. ปรากฏการณ์ Sell in May ยังคงเกิดขึ้น โดยต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาครวม 1,589 ล้านเหรียญ แต่เป็นการขายสุทธิไต้หวันสูงสุด รองลงมาคือ อินโดนีเซีย ส่วนที่เหลือซื้อสุทธิทุกประเทศ โดยตลาดหุ้นไทยซื้อสุทธิ 132 ล้านเหรียญ และมียอดซื้อสะสมสุทธิ 5 เดือน 1,032 ล้านเหรียญ นับว่าสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ซื้อสุทธิไปเพียง 658 และ 641 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มในเดือน มิ.ย. คาดว่าแรงซื้อต่างชาติน่าจะลดลง สะท้อนจากสถิติในอดีต 10 ปี ย้อนหลัง พบว่า ต่างชาติมักจะขายสุทธิ ด้วยความน่าจะเป็น 60% (ขณะที่ซื้อสุทธิเพียง 40%)
กลยุทธ์การให้น้ำหนักหุ้น Domestic มากขึ้น : CK, SEAFCO, UNIQ, KCE, WORK
เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา SET Index ปรับขึ้นเล็กน้อยราว 1.4% โดยมีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลอดเดือนราว 4.7 พันล้านบาท ถือว่าช่วยประคองดัชนี อย่างไรก็ตาม ระดับดัชนีปัจจุบัน 1,424.28 จุด พบว่า มีค่า Expected P/E ที่ราว 16.1 เท่า ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ ณ สิ้นปีที่ 16.23 เท่า เทียบเท่าดัชนีเป้าหมาย 1,440 จุด จึงเชื่อว่า ณ SET Index ปัจจุบันมี upside ที่จำกัด กลยุทธ์การลงทุนจึงให้สลับจากหุ้นในกลุ่มที่ outperform ตลาด เช่น PETRO, ENERG, COMM, TRANS เป็นต้น มายังกลุ่มที่ underperform ตลาด ซึ่งมีประเด็นสนับสนุนเชิงบวก หรือมีแนวโน้มการเติบโตของผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และราคาหุ้นยัง laggard เมื่อเทียบกับ SET คือ
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโครงการก่อสร้างภาครัฐ : คาดว่าจะเริ่มเห็นการประมูลรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ในช่วงเดือน มิ.ย. นี้ และต่อเนื่องตลอด 2H59 นี้ เป็น sentiment เชิงบวกต่อผู้รับเหมาฯ ขนาดใหญ่ คือ CK (FV@B36), UNIQ (FV@B20) และผู้รับเหมาขนาดกลาง-เล็ก SEAFCO ([email protected]) นอกจากนี้ ยังน่าจะส่งผลดีต่อความต้องการใช้ปูนซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง ให้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ยังคงแนะนำ SCC (FV@595)
หุ้นที่เติบโตได้ท่ามกลางเศรษฐกิจซบเซา : เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดน้อยลง รวมทั้งธุรกิจสื่อ-โมษณาก็ชะลอตัวลงตามเช่นกัน ยกเว้น WORK (FV@B45) ที่เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ รวมทั้งกำไรทั้งปีมีแนวโน้มสดใสจากการปรับขึ้นค่าโฆษณาในทุกไตรมาสตามส่วนแบ่งผู้ชมมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง และมีโอกาสได้กำไรเพิ่มเติมจากการ waive ค่าธรรมเนียมฯ หนุนการเติบโตในปีนี้กว่าเท่าตัวจากปีที่แล้ว
หุ้นที่ได้ประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยระดับต่ำ : ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ เป็นอีกธุรกิจที่เติบโตได้สวนเศรษฐกิจ ทั้งยังได้ปัจจัยหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ TK (FV@B12) และ S11 ([email protected]) ที่ยัง laggard เมื่อเทียบกับหุ้นเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายอื่นๆ และ ASK (FV@B23) แรงขับเคลื่อนหลักมาจากความต้องการใช้รถบรรทุกที่จะทยอยสูงขึ้นช่วงปลายปี ทั้งยังคาดหวัง Dividend Yield ได้ถึง 8% ต่อปี
หุ้น laggard ที่จะเข้าสู่ช่วง High Season : โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่จะกลับมาดีขึ้น โดย TU (FV@B25) คาดงวด 2Q59 จะกลับมาเติบโตถึง 35.8% qoq และ 18.3% yoy จากการเข้าช่วง high season ของธุรกิจอาหารทะเลในต่างประเทศ และคาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2559-60 จะเติบโตถึง 21.9% yoy และ 8.6% yoy ตามลำดับ ขณะที่ KCE (FV@B100) คาด 2Q59 ต่อเนื่อง 3Q59 จะเติบโตได้แข็งแกร่งได้ดีกว่าอุตสาหกรรม และน่าจะทำ new high ได้ต่อเนื่องรายไตรมาส
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์