WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

       Dollar Index มีทิศทางแข็งค่า อาจจะกดดันสินค้าโภคภัณฑ์อีกครั้ง แนะให้ลดน้ำหนักหุ้นที่อิงโภคภัณฑ์ และมาเข้าหุ้นที่ยัง laggard โดยเฉพาะหุ้นก่อสร้าง ที่เริ่มเห็นการประมูลงานก่อสร้างภาครัฐ ที่ชัดเจนมากขึ้น Top picks CK(FV@B36) และ TU(FV@B25) เป็นหุ้นส่งออกที่มี EPS Growth สูงสุด

Dollar กลับมาแข็งค่า หลัง Fed ยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ย แต่ยังไม่ใช่ในเดือน มิ.ย.

      ขณะที่ตลาดหุ้นโลกกำลังรอฟังถ้อยแถลงของประธาน FED ต่อมุมมองของการขึ้นดอกเบี้ยปรากฏว่า นายก ชินโสะ อาเบะ ตัดสินใจเลื่อนการขึ้นภาษีขาย (Sale Tax) จาก 8% เป็น 10% จากเดิมคาดว่าจะขึ้น เม.ย. 2560 เป็น ต.ค. 2562 เนื่องจากช่วงเดือน เม.ย. ญี่ปุ่นประสบปัญหาแผ่นดินไหว ประกอบกับประสบปัญหาภาวะเงินฝืด ล่าสุด เดือน พ.ค. ยังคงติดลบ 0.4% (ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3) แม้ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) จะใช้มาตรการเงินแบบผ่อนคลายผ่าน QQE วงเงิน 80 ล้านล้านเยน /ปี และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ฝาก BOJ เป็นติดลบ 0.1% ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อเดือน ม.ค.59 ที่ผ่านมาก็ตาม
ส่วนถ้อยแถลงของ ประธาน Fed แสดงความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จึงน่าจะมีการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยการขึ้น ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่น่าจะขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ราคาน้ำมันในปัจจุบันเริ่มมีเสถียรภาพ และน่าจะผลักดันอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายได้ที่ 2%
      เป็นที่สังเกตว่าการแถลงของประธาน Fed ในครั้งนี้สอดคล้องจากรายงานการประชุม Fed minutes เมื่อวันที่ 26-27 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการ Fed แสดงความเห็นต่อ โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยมีน้ำหนักมากขึ้น ในการประชุมครั้งถัดไป 14-15 มิ.ย. นี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจในงวด 2Q59 ยังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg พบว่า โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในรอบ มิ.ย. ยังอยู่ที่เดิมคือ 30% โดยมุมมองของ ASPS ยังเชื่อว่า Fed จะยังชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 14-15 มิ.ย. ไปก่อน เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่
แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบระยะสั้นที่เห็นในขณะนี้ก็คือ Dollar index กลับมามีทิศทางแข็งค่าอีกรอบ โดยล่าสุด อยู่ที่ 95.90 จุด ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันสินค้าโภคภัณฑ์ อีกครั้ง โดยเฉพาะ ทองคำ ที่ปรับตัวลดลงแตะระดับ 1,206.40 ออนซ์ต่อดอลลาร์ ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ยกเว้น ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง Brent และ WTI ล่าสุด 49.51 และ 49.33 เหรียญฯต่อบาร์เรล คาดน่าจะเป็นผลจากสต็อกน้ำมันของสหรัฐล่าสุด ที่ลดมากกว่าคาด และปริมาณผลผลิตโลกที่ ลดลง ทั้งสหรัฐ (กำลังการผลิตล่าสุด 8.77 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน สะท้อนหลุมขุดเจาะน้ำมันล่าสุด ลดลงอีก 2 หลุม เหลือ 315 หลุม) และปัญหาไฟไหม้ที่แคนาดา ขณะที่ด้านฝั่ง Demand น่าจะมีสัญญานที่ดีขึ้น หากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามผลประชุมกลุ่ม OPEC ที่กรุงเวียนนา 2 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ จะยังคงกำลังการผลิตหรือไม่ ซึ่งน่าจะมีน้ำหนักต่อ ทิศทางราคาน้ำมันโลกอีกครั้ง

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทย
      วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 395 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 147 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 129 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 27 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน), ฟิลิปปินส์ 18 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และไทยที่ซื้อสุทธิถึง 74 ล้านเหรียญ หรือ 2.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 277 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน)
      ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิสูงถึง 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 5.8 พันล้านบาท

กลยุทธ์หันมาลงหุ้นรับเหมาฯ ขายทำกำไรหุ้นโภคภัณฑ์ จากดอลลาร์ที่แข็งค่ารอบใหม่
     นับจากต้นปี เป็นต้น จะเห็นว่า สินค้าโภคภัณฑ์ ฟื้นตัวกันถ้วนหน้า และมีส่วนผลักดันดัชนีหุ้นอย่างมาก เริ่มต้นที่ราคาน้ำมันดิบ จากจุดต่ำสุดบริเวณ 26 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. ล่าสุดขึ้นมาใกล้ 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นแรงมากถึง 92% ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน จึงหนุนให้หุ้นน้ำมันฟื้นตัว ทั้ง PTTEP และ PTT เพิ่มขึ้น 50 และ 35 % ตามลำดับ

 
      และ ยังหนุนให้กระแสกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งในส่วนของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงกลางเดือน ก.พ. ที่บริเวณ 12.7 เซ็นต์ต่อปอนด์ ล่าสุดอยู่ที่ 17.52 เซ็นต์ต่อปอนด์ หรือเพิ่มขึ้น 38% จากแนวโน้มผลผลิตน้ำตาลออกสู่ตลาดลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกในปี 2558/59 จะพลิกกลับมาเป็นขาดดุล อย่างไรก็ตามแม้จะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการกลุ่มน้ำตาลในไทย แต่เนื่องจากราคาขายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วกว่า 70% ในปีนี้จึงอาจไม่ได้รับผลบวกเต็มที่ แต่จะได้ประโยชน์ในปีหน้า อย่างไรก็ตามยังแนะนำ KSL ([email protected]) เนื่องจากราคาหุ้นยัง laggard


      ตามด้วย กากถั่วเหลือง ที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา จากบริเวณไม่ถึง 270 เหรียญต่อตัน ล่าสุดยืนเหนือ 400 เหรียญต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 50% บวกกับจากแนวโน้มผลผลิตถั่วเหลืองโลกในปี 2558/59 จะพลิกจากที่มีผลผลิตส่วนเกินกลับมาเป็นขาดดุล สะท้อนสภาพอากาศที่แห้งแล้งในประเทศบราซิล และปัญหาน้ำท่วมในประเทศอาร์เจนตินา บวกกับความต้องการใช้กากถั่วเหลืองในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ราคากากถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นส่งผลบวกต่อ TVO ([email protected]) เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์อิงกับราคาตลาดโลก และมีรายได้จากการขายกากถั่วเหลืองคิดเป็นสัดส่วน 60% ของรายได้รวม แต่เนื่องจากราคาหุ้นปัจจุบันเข้าใกล้ราคาเหมาะสมแล้ว มี upside จำกัด จึงแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว


ขณะที่ภาพรวมราคาเหล็กในตลาดโลก ในปีนี้ปรับขึ้นได้ราว 35% โดยราคาสินแร่เหล็กโลกเริ่มกลับมาอ่อนตัวอีกครั้งตั้งแต่เดือน พ.ค. หลังจากที่ช่วงก่อนหน้าปรับเพิ่มขึ้นตาม demand เหล็กที่เพิ่มขึ้นตามภาคก่อสร้างในจีน ขณะที่ปัญหา oversupply ยังคงมีอยู่ ในกรณีนี้ ส่งผลต่อผุ้ผลิตเหล็กต้นน้ำอย่าง TMT ที่ผลประกอบการ 2Q59 จะอ่อนตัวลงหลังจากผ่านจุดสูงสุดเมื่อ 1Q59 ไปแล้ว สะท้อนผ่านราคาหุ้นที่เริ่มปรับตัวลดลง ขณะที่ MCS ([email protected]) ไม่น่าจะได้รับผลกระทบต่อราคาเหล็กที่ปรับลดลง เนื่องจากสินค้าของบริษัทคือโครงสร้างเหล็ก ราคาไม่ผันผวนตามราคาเหล็กในตลาดโลก ปัจจัยหนุน คือ ยอดส่งออกเหล็กไปญี่ปุ่น ในงวด 2Q59 เพิ่มขึ้นสูง 30%QoQ ที่ระดับ 1.5 หมื่นตัน และยังได้อานิสงค์บวกจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าเทียบบาท เพิ่มขึ้น 4%QTD ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.5 บาท/เยน ซึ่งส่งผลดี เนื่องจากมีรายได้เกือบทั้งหมดอยู่ในรูปเงินเยน และยังมี Upside ราว 43% จึงยังแนะนำซื้อ


แนวโน้มจากนี้ คาดว่าน่าจะเริ่มเห็นการขายทำกำไรระยะสั้นในหุ้นโภคภัณฑ์ หลังจากที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง และ ชนะตลาดต่อเนื่องหลายเดือน และน่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงิน มายังหุ้นในประเทศที่อิงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล เนื่องจากการประมูลมีความชัดเจนมากขึ้นลำดับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประมูลเส้นทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งได้มีการแบ่งย่อยให้ผู้รับเหมาทั้งขนาดกลาง – ใหญ่ สามารถเข้าประมูลได้แล้ว ใน เดือน มิ.ย.2559 น่าจะเริ่มเห็นการประมูลงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ รถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) มูลค่ารวมราว 2 แสนล้านบาท ตามมาด้วย รถไฟรางคู่ (สายประจวบ-ชุมพร)และมอเตอร์เวย์) และ สุวรรณภูมิเฟส 2 เป็นต้น ซึ่งน่าจะดีต่อผู้รับเหมาทุกราย โดยชื่นชอบหุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ คือ CK(FV@B 36) มีความพร้อมและประสบการณ์ทำงานสูง โดยเฉพาะงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และ บนดิน (สีน้ำเงิน ม่วง และ เขียว) และราคาหุ้นยังมี Upside สูงราว 45.75% ตามมาด้วย UNIQ(FV@B20) มีประสบการณ์ ทั้งเส้นสี น้ำเงิน และ เขียว ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside สูงราว 22%


ขณะที่ผู้รับเหมาขนาดกลาง-เล็ก ชื่นชอบ SEAFCO (ซื้อ : FV@ B11.75) เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเสาเข็ม มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 30% และมีเครื่องจักรมากเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรม ซึ่งงานประมูลภาครัฐในปีนี้ หลายโครงการมีส่วนต้องใช้เสาเข็มและกำแพงกันดินจำนวนมาก ทั้งอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 และรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งมีสถานีใต้ดินมากถึง 10 สถานี มี Upside อีก 20.5% พร้อมคาดหวัง Dividend yield 3.59%

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

 

loading...

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!