- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 24 May 2016 16:47
- Hits: 451
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
อาหารแช่แข็งส่งออก อาจรอดพันใบแดง เป็น sentiment เชิงบวกต่อ CPF, TU แต่ถือว่าหุ้นตอบรับระดับหนึ่งแล้ว ขณะสินค้าโภคภัณฑ์ปรับฐานช่วงสั้นยังกดดัน SET เคลื่อนไหว 1,375-1,385 จุด จึงแนะให้ถือหุ้นที่มีกำไรโดดเด่น & ราคาหุ้นยัง laggard คือ CK(FV@B36) หรือหุ้น Defensive วันนี้เลือก TU(FV@B25) เป็น Top pick
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกยังย้ำแย่ ทำให้โอกาส Fed ขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเป็นปลายปี
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิตในหลายประเทศทั่วโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว นำโดยวานนี้ ยุโรป มีการรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)ภาคการผลิตเบื้องต้น สำรวจโดย มาร์กิต เดือน พ.ค. หดตัว -0.4%mom อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เช่นเดียวกับ PMI ภาคการบริการ ในเดือนเดียวกันยังทรงตัวจากครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 53.1 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ตรงข้ามกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24% เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค.2559 และดีขึ้นมากจาก ติดลบ 7 จุด ในเดือนก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อล่าสุด ยังคงติดลบ 0.2% จึงทำให้เชื่อว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB) ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ในการประชุมครั้งถัดไป 2 มิ.ย. ผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% ดอกเบี้ยเงินฝากที่ฝากไว้กับ ECB ติดลบ 0.4% และมาตรการQE วงเงิน 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน คาดว่าจะดำเนินต่อเนื่องจนถึง มี.ค. 2560 (ระยะเวลาโครงการQE รวม 25 เดือน เริ่ม มี.ค.2558- มี.ค. 2560)
ขณะที่ สหรัฐ PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น สำรวจโดย มาร์กิต ในเดือนเดียวกัน หดตัว -0.4%mom อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ซึ่งเป็นผลมาจากภาคการผลิตลดลง ตามคำสั่งซื้อสินค้าที่ขยายตัวต่ำสุดในปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด แม้เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.1% หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องมา 3 เดือนก่อนหน้า แต่ยังห่างจากเป้าหมายที่ 2% ล้วนเป็นปัจจัยตอกย้ำให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 14-15 มิ.ย.ออกไปก่อน โดยมุมมองของ ASPS ยังให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 4Q59 เป็นต้นไป แม้รายงานการประชุม Fed Minute ในรอบ 26-27 เม.ย. ที่ผ่านมาจะทำให้ตลาดกับมากังวลต่อการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นส่งผลให้ค่าเงิน Dollar index มีทิศทางแข็งค่า แต่น่าจะเป็นเหตุการณ์ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แต่เป็นปัจจัยกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น
แม้ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่คงเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น
แม้วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้งราว 294 ล้านบาท หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 17 วันทำการ แต่ยังเป็นการซื้อและขายในบางประเทศ โดยเชื่อว่าเป็นเพียงการกลับมาซื้อช่วงสั้น เท่านั้น เนื่องจากนักลงทุนยังรอฟังการแถลงการณ์ของประธาน Fed ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการคาดหวังต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ
ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่ากลับมาซื้อสุทธิ 3 ประเทศ ไตหวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 276 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 17 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิราว 13 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยซื้อสุทธิราว 13 ล้านเหรียญ หรือ 451 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) ส่วนทียังขายสุทธิ 2 ตลาดคือ ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ ขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ และ 2 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศยังขายสุทธิราว 1.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 2.9 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 1.7 หมื่นล้านบาท
รัฐมั่นใจประมงไทย ไม่ได้ใบแดงจากยุโรปถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อ TU, CPF
หลังจากปี 2558 สินค้าเกษตรเผชิญปัญหามากมาย โดยเฉพาะการได้รับใบเหลืองเนื่องจากเรือประมงไทยเข้าข่ายกระทำผิดกฏหมายในเรื่องการใช้แรงงานไม่ถูกกฎหมาย รวมถึงขาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตาม เพื่อความปลอดภัยในการทำประมง จนขณะนี้เป็นเวลาครบหนึ่งปี จนนำไปสู่ความกังวลว่าประมงไทยอาจจะถูกใบแดง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกไปยังยุโรป
อย่างไรก็ตาม วานนี้ภาครัฐ ได้แถลงความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมกับมั่นไทยว่าการทำประมง จะไม่เข้าข่ายต้องได้รับใบแดงอย่างที่กังวลกัน แต่ยังต้องรอการประเมินผลการพิจารณาสถานะใบเหลืองจากคณะผู้แทนอียูอยู่ จะทราบผลภายใน ก.ค. 59 นี้ ซึ่งถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้น TU, CPF แม้ที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัทต่างแสดงความมั่นใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีแหล่งที่มาถูกหมายก็ตาม
ทั้งนี้ปัจจุบัน TU(FV@B25) ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งไปยุโรปราว 7% ของรายได้รวม (ที่เหลือ 50% เป็นการผลิตและจำหน่ายโดยโรงงานในยุโรป และสหรัฐ ส่วนนี้ไม่ได้รับผลกระทบ) ส่วน CPF(FV@B35) ที่มีรายได้จากการส่งออกกุ้งไปยุโรป 0.2% ของรายได้รวม ซึ่งถือว่าน้อยมาก จึงเชื่อว่าข่าวนี้น่าจะมีน้ำหนักบวกต่อ TU มากกว่า CPF
แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นทั้ง 2 ปรับตัวขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะ CPF ที่ปรับขึ้นกว่า 34.25% จากจุดต่ำสุดวันที่ 21 เดือน มี.ค. 2559 แต่ราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 20% ส่วน TU ราคาปรับตัวขึ้น 17.74% จากจุดต่ำสุดวันที่ 19 ก.พ. 2559 แต่ยังมี upside เหลือ 14% จึงแนะนำสะสมทั้ง 2 บริษัท
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์