- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 May 2016 17:30
- Hits: 1256
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
ระวัง Fed ขึ้นดอกเบี้ย
คาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบวันนี้ แนวโน้มเป็นบวกได้ หลังจากหุ้นสหรัฐปิดแข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ แต่นักลงทุนคงระมัดระวังด้วยความน่าจะเป็นของการที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยภายในประเทศวันนี้ส่วนใหญ่เป็นบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำไร บมจ.ในตลาดฟื้นตัวแรงในไตรมาสแรก โต 28.4% QoQ หรือเกือบ 1% YoY ในขณะที่ ททท.มองจำนวนนักท่องเที่ยวยังขยายตัวแรงในไตรมาส 3 แม้จะเป็นเวลาที่ปกติจะเป็นช่วงฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวชะลอ
หุ้นเด่นวันนี้ : SVI (ราคาปิด 4.92บาท, NR, Bloomberg consensus 5.78 บาท)
บมจ.เอสวีไอ มีแนวโน้มที่สดใสในปีต่อๆไปนี้หลังได้ซื้อกิจการยุโรป Siedel Elektronik ซึ่งเป็นบริษัท ODM (Original Design Manufacturer) การซื้อกิจการทำให้ SVI เข้าถึงตลาดอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงของยุโรปด้วยฐานการผลิตในออสเตรีย สโลวาเกียและฮังการี และฐานการตลาดในสแกนดิเนเวีย แม้การลงทุนอาจฉุดกำไรในตอนเริ่มต้นไปซักพัก แต่อัตรากำไรจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการผลิตใหญ่ถึงระดับหนึ่งด้วยยอดขายที่เพิ่มเข้ามาราว 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเริ่มตั้งแต่ ก.พ. 59 นอกจากนี้โรงการแก้ปัญหาคอขวดซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2/59 นี้น่าจะปลดล็อคกำลังผลิตของฐานการผลิตในไทย แม้อุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปจะอ่อนแอ ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ชั้นสูงที่ออกแบบเป็นพิเศษซึ่ง SVI มีความถนัดน่าจะยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งโดยเฉพาทางด้านยานยนต์ โทรคมนาคม ดาวเทียมและการแพทย์ SVI วางแผนที่จะตั้งฐานการผลิตในกัมพูชาปีนี้ซึ่งน่าจะช่วยลดต้นทุนแรงงานได้และยังให้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP จากการใช้กัมพูชาเป็นแหล่งส่งออกสู่ประเทศตะวันตก จากคาดการณ์เฉลี่ย กำไรปกติของ SVI น่าจะพุ่งขึ้น 54% ปีนี้และ 17% ใน 2560 Price Pattern ของ SVI ยังคงมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิด Monthly Buy Signal โดย Price Pattern ของ SVI ที่ผ่านมานั้นอยู่ในช่วงของการปรับฐาน ปัจจุบัน ได้กลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่แล้ว แต่คาดว่ายังต้องแกว่งตัวอีกสักพักเพื่อรอการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ คาดว่าจะไปทดสอบที่ 5.20 บาท โดย SVI มีจุด Stop Loss ระยะสั้นรอบนี้อยู่ที่ 4.84 บาท (แนวต้าน: 4.94, 4.98, 5.05; แนวรับ: 4.88, 4.84, 4.78)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ททท. คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแกร่งในไตรมาส 3 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3/59 แม้จะเป็นช่วงโลว์ซีซั่น อ้างอิงจากตัวเลขจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าและการสำรวจผู้ขายแพ็คเกจแก่กรุ๊ปทัวร์ จำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 13.4% YoY เป็น 8.2 ล้านคน ในไตรมาส 3 และรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่ม 17% เป็น 4.13 แสนลบ. นำโดยนักท่องเที่ยวชาวจีน ททท. ยังกำลังพิจารณาเป้าหมายนักท่องเที่ยวทั้งปีหลังเห็นการเติบโตค่อนข้างสูงในไตรมาสแรกและอาจมีการปรับตัวเลขคาดการณ์อีกครั้งในเดือน ก.ค. (Bangkok Post)
คาดหวังราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะผลกระทบจากภาวะภัยแล้งต่อผลผลิตข้างของโลกและในประเทศ ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกดดันราคาข้าวได้ อาทิ การชลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งอาจกระทบต่ออำนาจซื้อของบางประเทศที่นำเข้าสินค้าข้าว (The Nation)
ระบบภาษีใหม่เพื่อกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติ รมว.กระทรวงการคลังมีแผนปรับระบบการจัดเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลสำหรับคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศและชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยเพื่อสร้างความเท่าเทียมและดึงดูดให้มีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยในรายละเอียด (Bangkok Post)
ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเริ่มฟื้นในไตรมาส 1/59 ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/59 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 28.43% QoQ และ 0.96% YoY มาอยู่ที่ 233 แสนล้านบาท ขณะที่ยอดขายลดลง 6.17% YoY มาอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มียอดขายในไตรมาส 1/59 อยู่ที่ 31 หมื่นลบ.ลดลง 0.14% YoY ขณะที่กำไรสุทธิลดลง 19.5% YoY มาอยู่ที่ 1.78 พันลบ. (SET)
ต่างประเทศ
นักลงทุนซึมซับข่าวความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอันแข็งแกร่งยังคงเผยแพร่อย่างต่อเนื่องท่ามกลางสัญญาณว่าเฟดใกล้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง รายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายเฟด (FOMC) แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารเฟดส่วนมากมองว่าเป็นการเหมาะสมหากจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. หากมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2/59 ขยายตัวดีขึ้น เทรดเดอร์ในตอนนี้มองว่ามีโอกาส 30% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. จากข้อมูลของ CME Fedwatch ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันอังคารก่อน(Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐแตะระดับสูงสุดเทียบกับเงินเยนในรอบกว่า 3 สัปดาห์เมื่อวันศุกร์ จากการคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงฤดูร้อนนี้ ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเทียบกับเงินยูโรหลังจากการขายทำกำไรแล้ว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐล่าสุดปรับตัวขึ้น 0.04% อยู่ที่ 95.332 จุด ทั้งนี้ ดัชนีฯ ได้ปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ที่ 0.8% (Reuters)
ผลตอบแทนพันธบัตรเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนหันมาลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงมากกว่า แต่พันธบัตรมีผลการดำเนินงานรายสัปดาห์ตกต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือนเนื่องจากมีความกังวลว่าเฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด โดยเมื่อวันศุกร์ ราคาพันธบัตรอ้างอิงอายุ 10 ปีไม่เปลี่ยนแปลงและผลตอบแทนอยู่ที่ 1.85% ส่วนราคาพันธบัตรอายุ 2 ปีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยและผลตอบแทนอยู่ที่ 0.89% (Reuters)
สหรัฐ :
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีนำโดยหุ้นแอพพลายด์ แมททีเรียลส์ หลังคาดว่าจะมีกำไรแข็งแกร่ง ดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ส่วนดัชนี Nasdaq ปรับตัวเพิ่มหลังลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ (Reuters)
ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนเม.ย. บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวในไตรมาส 2/59 สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) รายงานเมื่อวันศุกร์ว่ายอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบรายเดือน อยู่ที่ 5.45 ล้านยูนิต ส่วนยอดขายบ้านมือสองในเดือนมี.ค. มีการปรับตัวเลขเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 5.36 ล้านยูนิตจากก่อนหน้าที่มีการรายงานตัวเลขอยู่ที่ 5.33 ล้านยูนิต นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านมือสองจะเพิ่มขึ้น 5.40 ล้านยูนิต ทั้งนี้ ยอดขายบ้านฯ เพิ่มขึ้น 6.0% YoY (Reuters)
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐลดลงจากที่สูงสุดในรอบ 14 เดือนในสัปดาห์ก่อน มีสัญญาณล่าสุดว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังกลับมาเร่งเติบโตหลังจากที่ทรุดลงในไตรมาส 1/59 ตัวเลขเบื้องต้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐลดลง 16,000 รายอยู่ที่ 278,000 ราย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 พ.ค. ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับแต่เดือนก.พ. และเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการดังกล่าวในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าที่ระดับ 300,000 รายซึ่งหมายถึงตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง ติดต่อกัน 63 สัปดาห์แล้ว ยาวนานที่สุดนับแต่ปีค.ศ. 1973 (Reuters)
กิจกรรมภาคการผลิตในย่านมิดแอตแลนติกหดตัวต่อในเดือนพ.ค. ถึงแม้ว่าผู้ผลิตยังคงคาดว่าจะมียอดการผลิตเพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ตาม เฟดสาขาฟิลาเดเฟียระบุว่าดัชนีภาวะธุรกิจลดลงอยู่ที่ -1.8 ในเดือนพ.ค. เทียบกับ -1.6 ในเดือนเม.ย. โดยดัชนีดังกล่าวได้มีตัวเลขติดลบ 8 ใน 9 เดือนที่ผ่านมา (Reuters)
ยุโรป :
หุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นในวันศุกร์ นำโดยกลุ่มการเงินและเหมืองแร่ ซึ่งปรับตัวขึ้นมาเพราะราคาโลหะที่รีบาวด์ขึ้น จากสัญญาณที่ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของจีนฟื้นตัว ราคาทองแดงเป็นตัวหนุน (Reuters)
เอเชีย :
ญี่ปุ่นล้มเหลวในการจะได้รับความยินยอมจากสมาชิกที่ประชุม G7 ในการดำเนินเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน สหรัฐฯออกคำเตือนไปยังญี่ปุ่นเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาถึงความต่างของอัตราแลกเปลี่ยนสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นไม่ได้รับการรับรองจากสมาชิกในกลุ่ม G7 ให้ดำเนินการแทรกแซงค่าเงินเยนที่เพิ่มขึ้นเพียงด้านเดียว (Reuters)
การส่งออกญี่ปุ่นลดลงในเดือนเมษายน มากที่สุดในสามเดือน จากค่าเงินเยนที่แข็งและความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีนและตลาดเกิดใหม่ โดยยอดส่งออกลดลง 10.1% YoY ในเดือนเมษายน สอดคล้องกับนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ที่ 10% และแย่กว่าเดือนมีนาคมที่ลดลง 6.8% นับเป็นเดือนที่ 7 ที่ชะลอตัวติดต่อกัน ทั้งนี้เดือนที่แล้วได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวกระทบห่วงโซ่อุปทานของศูนย์กลางการผลิตทางตอนใต้ของคุมาโมโต้ ที่มีผลต่อการส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ(Reuters)
สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์จีน ณ สิ้นไตรมาส 1/59 เท่ากับ 1.39 ล้านล้านหยวน หรือ 212.37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.4% QoQ พรรคคอมมิวนิสต์เตือนถึงอันตรายของภาระหนี้จะกระทบการเจริญเติบโตในอนาคต ปล่อยสินเชื่อของธนาคารลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนเมษายน หลังจากขึ้นไปสูงในช่วงไตรมาส 1/59 ยอดให้กู้ยืมเงินใหม่ 555.6 พันล้านหยวน (85.21พันล้านเหรียญฯ) น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของยอดให้กู้ 1.37 ล้านล้านหยวนในเดือนมีนาคม (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในวันศุกร์ สาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าทำให้นักลงทุนขายทำกำไรการบวกเป็นสัปดาห์ที่สองและตลาดยังจับตาว่าการผลิตที่ชะงักจะลดอุปทานล้นเกินในตลาดที่ลดได้ยากหรือไม่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ลดลง 9 เซนต์ ปิดที่ 48.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 41 เซนต์ ปิดที่ 47.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (Reuters)
ราคาทองคำปรับลดลงในวันศุกร์ เป็นวันที่สามติดต่อกันและลดลงรายสัปดาห์มากสุดในรอบเกือบสองเดือนเพราะคาดกาณ์กันมากขึ้นว่าดอกเบี้ยสหรัฐจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนหน้าเลย ราคาทองคำตลาดจรลดลง 0.2% ไปปิดที่ 1,252.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำล่วงหน้าส่งสอบ มิ.ย. ลดลง 1.90 ดอลลาร์ ไปปิดที่ 1,252.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ (Reuters)
Thailand Research Department
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun (No.49234) Tel: 02 680 5094
Ms. Sukanya Leelarwerachai (No.68790) Tel: 02 680 5331