- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 May 2016 17:25
- Hits: 468
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังต่ำกว่า 1,400 จุด หลังตอบรับงบ 1Q59 ตลาดให้น้ำหนักแถลงการณ์ ประธาน Fed ปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะมีผลต่อการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นหรือไม่ แต่ ASPS เชื่อจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดคือปลายปีนี้ กลยุทธ์เน้นรายหุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่น แต่ราคาหุ้นยัง laggard คือ CK(FV@B36) เริ่มรับรู้รายได้โครงการที่ไปลงทุนในต่างประเทศ
ตลาดหุ้นโลกแกว่งตัว โดยรอผลแถลงการณ์ของประธาน Fed ปลายสัปดาห์นี้
หลังจากมีการรายงานผลการประชุม Fed ในรอบ 26-27 เม.ย. ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed มีโอกาส ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปรอบ 14-15 มิ.ย. มีน้ำหนักมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ สะท้อนจาก Fed Fund Futures ที่สำรวจโดย Bloomberg พบว่า ตลาดให้น้ำหนักต่อโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยถึง 28% จากการสำรวจครั้งก่อนเพียง 4% (ต้นสัปดาห์ที่แล้ว) แต่ลดลงจาก 36% ในช่วงปลายสัปดาห์) ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของประธาน Fed หลายสาขาที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้ อย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้ 27 พ.ค. ติดตามแถลงการณ์ของประธาน Fed ต่อ ทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยฯ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อตลาดเงินและตลาดทุนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม มุมมองของ ASPS ยังเชื่อว่าการประชุมในรอบ 14-15 มิ.ย. Fed ยังคงดอกเบี้ยที่เดิม และน่าจะให้น้ำหนักต่อการขึ้นไปในรอบตั้งแต่ 4Q59 เป็นต้นไป เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐบางสัญญาณที่ชะลอตัว กล่าวคือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-farm payrolls) ที่เห็นสัญญาณเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ประกอบภาคการผลิตที่ยังฟื้นตัวล่าช้า อาทิ ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่และยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน หดตัวต่อเนื่อง 7 และ 3 เดือนติดต่อกันตามลำดับ ขณะที่เงินเฟ้อล่าสุด แม้เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.1% หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องมา 3 เดือนก่อนหน้า แต่ยังห่างจากเป้าหมาย
ต่างชาติขายหุ้นทั้งเอเชียเป็นวันที่ 17 กดดันตลาดหุ้นแกว่งตัว
วันศุกร์ที่ผ่านมา Fund Flow ยังคงขายสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 17 โดยขายสุทธิ รวม 83 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศคือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ถูกขายสุทธิราว 75 ล้านเหรียญ, 11 ล้านเหรียญ และ 6 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ยกเว้น อินโดนีเซียที่สลับมาซื้อสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ และ ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากวันวิสาขบูชา
กลับมาดูตลาดหุ้นวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคราว 366 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิอยุ่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 285 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซียและเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 51 ล้านเหรียญ และ 34 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ที่เหลืออีก 2 ประเทศ แม้จะถูกซื้อสุทธิ แต่เพียงเล็กน้อย คือ ฟิลิปปินส์ 8 หมื่นเหรียญ และไทย 4 ล้านเหรียญ (หรือ 131 ล้านบาท) ตามลำดับ สวนทางสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1.5 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 9.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2.2 หมื่นล้านบาท
ดัชนีหุ้นไทยหมดข่าว หลังสิ้นสุดการรายงานงบงวด 1Q59 ของ real sector
หลังตลาดประกาศงบงวด 1Q59 เสร็จสิ้นไป พบว่า ค่อนข้างน่าพอใจ กล่าวคือ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้กว่า 2.33 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.5% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2559 เพิ่มขึ้น 0.8%yoy และ 39.7%qoq โดยกลุ่มที่มีกำไรสุทธิ โดดเด่นในไตรมาสนี้ ได้แก่ กลุ่มเหล็ก ที่พลิกจากขาดทุนใน 1Q58 มาเป็นกำไร ตามด้วยกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มอสังหาฯ ตรงข้ามกับกลุ่มที่มีกำไรสุทธิลดลง ได้แก่ กลุ่มประกันฯ กลุ่มบันเทิง กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มชิ้นส่วนฯ ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ และ พลังงาน ซึ่งมีสัดส่วนกำไรรวมราว 42% ของกำไรสุทธิทั้งตลาด ผลประกอบการไม่ค่อยโดดเด่น ลดลง 8.8%yoy และ 1.5%yoy ตามลำดับ
โดยภาพรวม ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิตลาดปีนี้ไว้ที่ 8.4 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS 88.7 บาท ลดลงจากที่ประเมินไว้เมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่ 8.52 แสนล้านบาท หรือ EPS 90.25 บาท การปรับลดลงอย่างมีนัยฯ มาจาก การปรับลดประมาณการฯ ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก โดยภาพรวมปี 2559 กลุ่มฯ ที่คาดว่าแนวโน้มกำไรเติบโตโดดเด่นในปีนี้ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน เติบโต 254%yoy ตามแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันใกล้ระดับ 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล จึงไม่น่าจะมีการบันทึก stock loss และด้อยค่าสินทรัพย์จำนวนมากเหมือนในปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยกลุ่มรับเหมาฯ เติบโต 29%yoy ตามความคาดหวังโครงการก่อสร้างภาครัฐตั้งแต่ 2H59 เป็นต้นไป และ กลุ่มปิโตรเคมี เติบโต 21%yoy ได้แรงหนุนจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์
อย่างไรก็ตาม หากประเมินดัชนีเป้าหมาย กำหนดบน Market Earning Yield Gap 4.75% หรือบนระดับ PER เป้าหมายที่ 16.23 เท่า ได้เป้าดัชนี ณ สิ้นปีที่ 1438 จุด จึงทำให้ ณ ระดับ SET Index ปัจจุบันมี upside จำกัดเพียง 3.8% กลยุทธ์ จึงเน้นทยอยทำกำไรหุ้นที่เต็มมูลค่า หรือมี upside จำกัด และสลับไปหุ้นที่ยัง laggard มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งรองรับ จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
....ยกเว้นหุ้นโภคภัณฑ์ที่ยังฟื้นตัวและนำตลาด ในภาวะยังไม่มีปัจจัยใหม่หนุน
ในภาวะตลาดขาดปัจจัยหนุนยังคงมี ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แม้ปรับฐานระหว่างทาง โดยเฉพาะน้ำมัน น้ำตาล และกากถั่วเหลือง กล่าวคือ ราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงสามารถยืนเหนือ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 45.69 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับสมมุติฐานเฉลี่ยของ ASPS ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ขณะที่ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง WTI และ Brent ยังคงทรงตัวระดับ 48 เหรียฯญต่อบาร์เรล แม้ว่าจะมีการรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสิ้นสุดสัปดาห์ (13 พ.ค.) กลับมาเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล( VS คาดการณ์ลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล) เป็นเพราะปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลงมากกว่าตลาดคาด ทั้ง เบนซินลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล และดีเซลลดลง 3.2 ล้านบาร์เรล ถือว่ายังคงหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน ทั้ง PTT(@FV330 และ PTTEP(FV@B80) แม้จะมี Upside จำกัดราว 8.9% และ 6.6% ก็ตาม แต่หากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นแตะ 50 เหรียญฯ ก็มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มประมาณการกำไรและ Fair Value ปี 2559 อีกครั้ง
ตามมาด้วย กากถั่วเหลืองที่วานนี้ราคาขยับขึ้นมาทำระดับสูงสุดของปีที่ 392.70 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน โดยปรับตัวขึ้นกว่า 3.86% จากวันก่อนหน้า ยังได้ปัจจัยหนุนจากผลผลิตที่ลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในบราซิล และปัญหาน้ำท่วมในประเทศอาร์เจนติน่า เป็น Sentiment เชิงบวกให้กับ TVO([email protected]) แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาเร็ว จนทำให้ Upside เหลือเพียง 5.9% แนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
เช่นเดียวกับน้ำตาล ที่ยังมีปัญหา Supply ที่ลดลงจากภัยแล้งในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะแหล่งผลิตสำคัญในอินเดียและไทย ส่งผลให้คาดปริมาณน้ำตาลออกสู่ลดตลาดน้อยกว่าความต้องการราว 5.02 ล้านตัน ในปี 2559 ผนวกกับปัญหาการเมืองในบราซิลยังผลักดันให้ค่าเงินเรียลบราซิล แข็งค่า (แข็งค่าแล้ว 12.08% ytd ) หนุนให้ราคาน้ำตาลล่าสุดปรับตัวเหนือ 17 เซ็นต์/ปอนด์ ได้ (ล่าสุด 17.21 เซ็นต์/ปอนด์) ทำระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 6 เดือน สร้าง Sentiment เชิงบวกกับ KSL([email protected]) ที่มีสัดส่วนรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลเท่ากับ 70% ของรายได้ สวนทางกับราคาหุ้น KSL ที่ปรับตัวลดลง จึงแนะนำให้ Switch จาก TVO มายัง KSL
เลือก CK เป็น Top pick ราคาหุ้นสวนทางกำไรที่สดใส
หลังจากที่นักวิเคราะห์ ASPS ได้ข้อมูลใหม่เพิ่มเติม หลังจากเข้าร่วมประชุมกับผู้บริการ CK ล่าสุดในวันพฤหัสที่ผ่านมา ทำให้มีมุมมองเชิงบวกต่อ CK มากขึ้น โดยเฉพาะ การรับงานเพิ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาว มูลค่า 19,400 ล้านบาท ที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาเป็นทางการในเดือน มิ.ย ที่จะถึงนี้ ซึ่งที่ผ่านมา CK ได้ทำการก่อสร้างในส่วนของงานเพิ่มไปแล้วประมาณ 14,000 ล้านบาท แต่รับรู้รายได้ไปเพียง 2,000 ล้านบาท ทำให้เมื่อมีการเซ็นสัญญา CK จะสามารถรับรู้รายได้ส่วนที่เหลือได้ทันทีในงวด 2Q59 ประมาณ 12,000 ล้านบาท เพิ่มเติมจากรายได้ก่อสร้างปกติที่มีเข้ามา 8-9,000 ล้านบาท/ไตรมาส หรือ จะรับรู้มีรายได้ในงวด 2Q59 ถึง 20,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ CK จะได้รับเงินชดเชยดอกเบี้ยจ่ายจากโครงการไซยะบุรีอีกราว 800 ล้านบาท (เนื่องจากเป็นภาระของผุ้ว่างจ้าง แต่ CK จ่ายไปก่อน) ซึ่งจะสามารถนำมาหักกลบกับดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละไตรมาส ประมาณ 200 ล้านบาท/ไตรมาส ตั้งแต่ 1Q59 ไปจนถึง 4Q59 ASPS จึงได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปีนี้ขึ้นอีก 28% เป็น 2,204 ล้านบาท ส่งผลให้ Fair Value ที่ประเมินด้วยวิธี SOTP เพิ่มจาก 31.50 บาท เป็น 36.00 บาท ราคาหุ้นมี upside 46% จึงเลือกเป็น Top Pick ของกลุ่ม ฯ ขณะที่ ราคาหุ้น CK ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับแนวโน้มกำไรที่สุดใส จึงถือเป็นโอกาสสะสม เพื่อรอรับงบ 2Q59 ที่คาดว่าจะออกมาโดดเด่นอย่างมาก อีกทั้งยังมีประเด็นเสริมจากงานประมูลภาครัฐที่ทยอยออกมา ทั้งถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 ซึ่ง CK ถือเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีศักยภาพสูงและมีโอกาสที่จะได้รับงานเข้ามาเพิ่มเติมจำนวนมากในปีนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์