- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 19 May 2016 18:26
- Hits: 607
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หลังการเปิดเผย Fed Minutes ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลับมามีอิทธิพลอีกครั้ง อย่างไรก็ตามโอกาสการลงทุนยังมีอยู่เสมอ โดยฝ่ายวิจัยพบว่า มีหุ้นหลายบริษัทที่กำไร 1Q59 โตเกิน 40%YoY แต่ราคาหุ้นยังไม่ปรับขึ้น เช่น SEAFCO, WORK, SYNTEC, BA และ MTLS ซึ่งเมื่อประกอบกับกระแสเชิงบวกกับการลงทุนภาครัฐ เลือก SEAFCO (FV@B 11.75) เป็น Top Pick
แม้ Fed ไม่ปิดโอกาสขึ้นดอกเบี้ย มิ.ย. แต่ยังเชื่อว่าเร็วที่สุดน่าจะเป็นปลายปี 2559
จากการเปิดเผยรายงานการประชุม Fed minutes เมื่อวันที่ 26-27 เม.ย.ที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าคณะกรรมการ Fed เปิดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป 14-15 มิ.ย. นี้ โดยให้น้ำหนักต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวใน 2Q59 อย่างไรก็ตาม Fed ยังคงมีความกังวลต่อผลการทำประชามติของอังกฤษ (Brexit) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย. สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้นักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed มากขึ้น สะท้อนจาก Fed Fund Futures ใน Bloomberg ซึ่งแสดงความคิดเห็นของนักลงทุนต่อโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed โดยรอบการประชุม 14-15 มิ.ย.ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 34% จาก 19% (ก่อนที่ Fed minutes จะออกมา) รอบ ก.ค.ปรับเพิ่มอยู่ที่ 47% (เดิม 28%) รอบ ก.ย.ปรับเพิ่มอยู่ที่ 62% (เดิม 46%) รอบ พ.ย.ปรับเพิ่มอยู่ที่ 65% (เดิม 51%) โดยรอบที่นักลงทุนให้น้ำหนักมากที่สุดคือรอบ ธ.ค. ปรับเพิ่มอยู่ที่ 75% (เดิมคาด 64%) โดยยังต้องให้น้ำหนักวันที่ 27 พ.ค. ต่อการแถลงมุมมองเศรษฐกิจของประธาน Fed เจเน็ต เยลเลน อีกครั้งว่าจะมีทิศทางใด
อย่างไรก็ตาม มุมมองของ ASPS ยังเชื่อว่าการประชุมในรอบ 14-15 มิ.ย. Fed จะยังชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน โดยยังให้น้ำหนักการขึ้นไปในรอบตั้งแต่ 4Q59 เป็นต้นไป เพราะถึงแม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐบางสัญญาณมีลักษณะฟื้นตัว แต่ก็ยังมีสัญญาณชะลอตัวปรากฎในหลายส่วนเช่น แม้ยอดค้าปลีก (Retail sale ) เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 1.3% mom (สูงสุดตั้งแต่ มี.ค.58) จากที่ติดลบ 0.3% ในเดือน มี.ค. และอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด เพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.1% (หลังจากก่อนหน้านี้เงินเฟ้อลดลง 3 เดือนติด) แต่ยังขัดแย้งกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-farm Payrolls) ที่เห็นสัญญาณเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ประกอบตัวเลขในฝั่งภาคการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัว อาทิ ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่และยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน หดตัวต่อเนื่อง 7 และ 3 เดือนติดต่อกัน ตามลำดับเป็นต้น
ราคาหุ้นหลายบริษัทยังไม่สะท้อนผลการดำเนินงาน 1Q59 เป็นโอกาสสะสม
SET Index มีการปรับฐานแกว่งตัวเชิงลบตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือน เม.ย. จนถึงวานนี้ปรับลดไปแล้วราว 0.73% ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเริ่มต้นของการเผยแพร่รายงาน Earning Preview 1Q59 ของนักวิเคราะห์ โดยเริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งภาพรวมผลการดำเนินงานที่ไม่ค่อยน่าพอใจนัก จึงเป็นปัจจัยที่กดดันดัชนีให้ปรับลดลงดังกล่าว อย่งไรก็ตาม เมื่อการรายงานงบฯ เสร็จสิ้นลง ปรากฏว่า มีหลายบริษัทประกาศผลประกอบการที่แสดงถึงการเติบโตอย่างมีนัยฯ แต่กลับยังไม่สะท้อนในราคาหุ้น ฝ่ายวิจัยจึงเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่งดังกล่าว โดยได้คัดเลือกหุ้นที่ผลประกอบการ yoy เติบโตแรงกว่า 40% แต่ราคาหุ้นช่วงดังกล่าวยังไม่ปรับเพิ่มขึ้น ได้รายชื่อหุ้นดังด้านล่าง :
WORK (FV@B45) กำไรสุทธิ 1Q59 พลิกกลับมากำไรจาก 1Q58 ที่ขาดทุน แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบัน กลับลดลงถึง 11% ส่วนแนวโน้มผลประกอบการคาดว่า ค่าโฆษณาจะขยับขึ้นทุกไตรมาสหนุนกำไรทั้งปีสดใส ส่วนอุบัติเหตุเพลิงไหม้กระเช้าชิงช้าสวรรค์ภายในสวนสนุก Dinosaur Planet (WORK ถือหุ้น 30%) เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาไม่น่ามีผลกระทบเนื่องจากฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมในประมาณการ ทั้งยังมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการจากการ waive ค่าธรรมเนียมและลดค่าเช่าโครงข่ายฯ โดยประมาณการเดิมนั้นคาดปีนี้ WORK จะกำไรเติบโต 105%
SC ([email protected]) กำไรสุทธิ 1Q59 สูงกว่าคาด 7% โดยเติบโตถึง 1.94 เท่า yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบัน กลับลดลง 5.4% สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีจะยังมี momentum ของการเติบโตต่อเนื่อง จาก Backlog ที่สูงถึง 7.4 พันล้านบาท รวมทั้งความเป็นหุ้น Growth Stock ที่คาดกำไรจากการดำเนินงานปีนี้เติบโตกว่า 9% ทั้งยังให้ Dividend Yield สูงถึงกว่า 5.8%
SYNTEC (FV@4) กำไรสุทธิ 1Q59 สูงกว่าคาด เติบโตกว่า 1.3 เท่า yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลงราว 1.4% ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังโดดเด่น คาด 2Q59 ยังดีต่อเนื่อง Backlog รองรับยาวถึงปี 2560 ขณะที่ราคาเหล็กที่สูงขึ้นไม่กระทบต้นทุนเพราะผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นที่เป็นหุ้น Asset Play มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในรูปของ Capital Gain เมื่อมีการ Exit ด้วยการออกกอง REIT หรือการขายเงินลงทุนออกไปในอนาคต
ANAN ([email protected]) กำไรสุทธิ 1Q59 สูงกว่าคาด เติบโตกว่าเท่าตัว yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลงถึง 8.5% โดยคาด 2H59 เติบโตเด่น และสูงสุดในงวด 4Q59 จากการส่งมอบฯ คอนโดฯ JV โครงการแรก และเพิ่มมากขึ้นในปีถัดๆ ไป คาดปีนี้กำไรเติบโต 10.5%
SEAFCO ([email protected]) กำไรสุทธิ 1Q59 สูงกว่าคาด เติบโตกว่าเท่าตัว yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลง 1.5% ส่วนผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง เพราะมี 3 โครงการก่อสร้างใหญ่ของภาครัฐรอรับรู้รายได้ ส่งผลบวกเต็มที่ต่อ SEAFCO ในฐานะผู้นำเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมเสาเข็ม
MTLS ([email protected]) กำไรสุทธิ 1Q59 สูงกว่าคาด เติบโต 54.3% yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลง 1% โดยแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี ผลประกอบการจะยิ่งไต่ระดับทำ new high ขึ้นไปได้อีก จากการเติบโตของสินเชื่อ ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายและสำรองหนี้ฯ ที่มีแนวโน้มลดลง สมกับการเป็น Countercyclical stock เติบโตสวนทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
BA ([email protected]) กำไรสุทธิ 1Q59 เติบโต 45% yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลงกว่า 9.8% โดยแนวโน้มการเติบโต yoy ก้าวกระโดดในช่วงที่เหลือของปียังชัดเจน จากยอดจองที่นั่งล่วงหน้าเติบโตสูง อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ขยับขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยฯ และแนวโน้มต้นทุนน้ำมันเครื่องบินช่วงที่เหลือของปีที่คาดต่ำ ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปีนี้เติบโตสูงถึง 43.4%
PS (FV@B38) กำไรสุทธิ 1Q59 เติบโต 42% yoy แต่ราคาหุ้นนับตั้งแต่หลังสงกรานต์ 1 สัปดาห์ จนถึงปัจจุบันลดลง 2% โดยคาดแนวโน้มยอดโอนฯ และยอดขายจะดีขึ้นในไตรมาสต่อๆ ไปตามกำหนดการโอนฯ คอนโดฯ ใหม่ และแผนเปิดโครงการเพิ่ม โดยเฉพาะแนวราบที่มีระยะเวลาก่อสร้างถึงโอนฯ เร็ว คาดหนุนให้กำไรทั้งปีรักษาฐานสูงต่อเนื่อง ทั้งยังมีจุดเด่นที่เป็น Dividend Stock ให้ผลตอบแทนเงินปันผลสูงกว่า 7%
และเมื่อพิจารณาถึงคาดการณ์เติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้อย่างมีนัยฯ ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำสะสม SEAFCO, WORK, SYNTEC, BA และ MTLS
แรงขายหุ้นจากต่างชาติในเดือน พ.ค. กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 25 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 15) และเป็นการขายสุทธิจาก 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 68 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ที่ถูกขายสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ และ 1 แสนเหรียญ ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิราว 20 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 25 ล้านเหรียญ หรือ 903 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 523 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 7 วัน)
สังเกตได้ว่าแรงขายหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.1 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลง โดยหากพิจารณาค่าเงินของแต่ละประเทศในช่วงต้นเดือน พ.ค. จนถึงปัจจุบัน พบว่า ค่าเงินประเทศเกาหลีใต้อ่อนค่าสูงสุดราว 3.64% ตามมาด้วยไทย, อินโดนีเซีย และไต้หวัน อ่อนค่าลง 2.14%, 2.08% และ 1.46% ตามลำดับ ส่วนค่าเงินฟิลิปปินส์กลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยราว 0.68% หลังจากได้ประธานาธิบดีคนใหม่
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์