WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
       ภายในเดือน มิ.ย. คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าของการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล มูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะสร้างกระแสเชิงบวกกับหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เลือก SEAFCO (FV@B 15.75) เป็น Top Picks พร้อมกับ BDMS (FV@B 25) ที่ Upside เริ่มเปิดขึ้นมาอีกครั้ง ส่วน SET น่าจะยังอยู่ที่บริเวณ 1400 จุด และมีลักษณะผันผวน

โครงการลงทุนภาครัฐเริ่มขยับ หนุนหุ้นรับเหมาขนาดใหญ่-กลาง
     เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขัดเจนขึ้น หลังจากสภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growth งวด1Q59 ขยายตัว 3.2%yoy (สูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส) ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดย ASPS ยังให้น้ำหนักต่อแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐว่าจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วง 2H59 ต่อเนื่อง โดยจากการรวบรวมโครงการลงทุนซึ่งน่าจะเห็นความคืบหน้ามากที่สุด และเป็นโครงการที่ครม.อนุมัติแล้วในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าการประมูลในช่วง มิ.ย.2559 รวมทั้งหมด 7 โครงการ มูลค่ารวม 2.89 แสนล้านบาท โดยมี 3 โครงการ ที่มีโอกาสเห็นการก่อสร้างภายในปี 2559 อาทิ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 , รถไฟทางคู่(เส้นประจวบ-ชุมพร) และมอเตอเวย์(บางปะอิน-นครศรีธรรมราช) นอกจากนี้ยังมีโครงการลงทุนที่เตรียมเสนอให้ครม. พิจารณา อีก 3 โครงการ มูลค่ารวม 7.49 หมื่นล้านบาท
       หากการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามแผน เชื่อว่าจะทำให้เกิดกระแสเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง สำหรับตัวเลือกการลงทุนอาจแยกเป็น 2 ประเภทหลัก
      บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ น่าจะอยู่ในสถานะที่เข้าประมูลรับงานโดยตครงจากภาครัฐ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งคุณสมบัติและการเงิน โดยตัวเลือกที่ดีที่สุด คือ CK และ UNIQ เนื่องจาก CK(BUY :[email protected]) ถือเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ มีความพร้อมและประสบการณ์ทำงานสูง โดยเฉพาะงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ CK เป็นบริษัทก่อสร้างไทย ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่หลากหลายปัจจุบันหุ้นยังมี Upside ราว 27.53% พร้อมคาดหวัง Dividend ได้อีก 2.24% และ UNIQ (BUY : [email protected]) มีความพร้อมด้านการเงิน อุปกรณ์เครื่องจักร รวมถึง Track record ในการทำงานโครงการใหญ่ภาครัฐ และมีจุดยืนชัดเจนที่จะมุ่งเน้นรับงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่มี Gross Margin สูงเป็นอันดับต้นๆ โดยยังมี Upside อีก 20%
       บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดกลาง-เล็ก เด่นที่สุดคือ SEAFCO (BUY: FV@ B10.45) ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเสาเข็ม ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 30% และมีเครื่องจักรมากเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีเครื่องทำเสาเข็มเจาะ 42 ชุด และเครื่องทำกำแพงกันดิน 29 ชุด ซึ่งงานประมูลภาครัฐในปีนี้ หลายโครงการมีส่วนต้องใช้เสาเข็มและกำแพงกันดินจำนวนมาก ทั้งอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 และรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งมีสถานีใต้ดินมากถึง 10 สถานี มี Upside อีก 20.5% พร้อมคาดหวัง Dividend yield 3.59%

ตัวเลขเศรษฐกิจดี แต่ สร้างความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed
      ขณะที่ประเด็นต่างประเทศ วานนี้มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐ ในส่วนภาคการบริโภคยังคงการขยายตัว กล่าวคือ ยอดเริ่มสร้างบ้าน (Housing Starts เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดมาอยู่ที่ระดับ 1.17 ล้านหลัง จาก 1.08 ล้านหลังในเดือน มี.ค. เช่นเดียวกันกับยอดขออนุญาตสร้างอาคาร (Building Permits) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.12 ล้านหลัง จาก 1.09 ล้านหลังในเดือน มี.ค. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือนเม.ย. ปรับเพิ่มขึ้นเท่ากับตลาดคาดที่ 1.1%yoy (หลังจากก่อนหน้านี้เงินเฟ้อลดลง 3 เดือนติด) ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าอาหาร และราคาน้ำมัน จากตัวเลขดัชนีชี้นำที่ดีขึ้นทำให้กระแสการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed กลับมา สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg คาดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของFed ในรอบ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 14% (เดิม 4%) อย่างไรก็ตามยังคงให้น้ำหนักโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยไปในช่วง 4Q59 สูงสุดอีกครั้งซึ่งสอดคล้องกับ ASPS ที่คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วสุดคือปลายปี

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นขาขึ้น ปล่อยให้กำไรเดินหน้า และเข้าหาหุ้นที่ยัง Laggard
       ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น อาทิ ราคาน้ำมัน หลังวานนี้ราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 49.28 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ขึ้นทำระดับสูงสุดของปี เช่นเดียวกับน้ำมันดิบดูไบที่สามารถขึ้นไปยืนเหนือระดับ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับสมมุติฐานเฉลี่ยน้ำมันปี 2559 ของ ASPS ปัจจัยหลักจากปัญหาในแหล่งผลิต ทั้งในแคนาดาจากเหตุการณ์ไฟไหม้แหล่งผลิต Oil Sand ขนาดใหญ่ และการโจมตีท่อส่งน้ำมันในประเทศไนจีเรีย รวมถึงปัญหาการเมืองในเวเนซุเอล่า กดดันให้ปริมาณ Supply ในตลาดโลกลดลง ผ่อนคลายปัญหา Over supply หนุนให้ราคาน้ำมันผลักดันหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้ง PTT(FV@B330) และ PTTEP(FV@B80) ปรับตัวขึ้นมามาก จนเหลือ Upside เพียง 5.7% และ 2.5% ในช่วงสั้นจึงยังคงแนะนำให้ถือต่อ เพื่อรอหาจังหวะขายเพื่อทำกำไร และ Switch เข้าหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่ยังคง Laggard อย่าง KSL([email protected]) จากแนวโน้มราคาน้ำตาลที่ยังคงขยับขึ้น หลังปัญหาการเมืองในบราซิลยังผลักดันให้ค่าเงินเรียลบราซิล แข็งค่า (แข็งค่าแล้ว 12.08% ytd ) ผนวกกับปัญหาภัยแล้งในทวีปเอเชียที่ยังคงมีอยู่ กระทบต่อผลผลิตน้ำตาลทรายที่ออกสู่ตลาดให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำตาลกลับมาขาดดุลในปีนี้และต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า จึงคาดว่าจะสามารถเห็นราคาน้ำตาลขึ้นยืนเหนือ 17 เซ็นต์/ปอนด์ ได้ แม้จะระยะสั้นจะยังคงมีความผันผวนอยู่มาก
ขณะที่วานนี้ ราคากากถั่วเหลืองขึ้นทำระดับสูงสุดอีกครั้ง ในรอบ 1 ปี 11 เดือน (369.10 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) จากปัญหา Supply ที่เริ่มกลับมาขาดดุลจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในประเทศบราซิล และปัญหาน้ำท่วมในประเทศอาเจนติน่า ทำให้ผลผลิตถั่งเหลืองออกสู่ตลาดลดลง หนุนให้ราคากากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น สร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับ TVO([email protected]) อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาเร็ว สะท้อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว จนทำให้ Upside เหลือเพียง 10.65% กลยุทธ์ จึงยังคงแนะนำให้ถือต่อ เพื่อรอจังหวะขายเพื่อทำกำไร และ Switch เข้า KSL([email protected]) ที่ยังคง Laggard ในกลุ่มสินค้าโภคภัฑณ์และ Laggard กว่าราคาน้ำตาล (KSL ขึ้น 7.23% VS น้ำตาล 14.89% ytd )

ธ.พ., สื่อสาร ลงหนักเกินไป น่าเป็นโอกาสในการเข้าสะสม
       ย้อนหลังกลับไปเมื่อเดือน เม.ย. เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 SET Index ปรับลดลงทันทีในช่วงก่อนสงกรานต์ ก่อนที่จะฟื้นตัว rebound กลับได้หลังผ่านพ้นช่วงเทศกาล อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงเวลาเดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน SET ค่อนข้างทรงตัว แต่กลุ่มฯ ที่มี Market Cap ใหญ่ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ (ขนาด Market Cap ราว 14% ของ SET) และกลุ่ม ICT (ขนาด Market Cap ราว 8.9% ของ SET) กลับ underperform กว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ธ.พ. ลดลงถึง 7.7% ส่วนกลุ่ม ICT ลดลงหนักกว่าถึง 8.5%
       แม้การปรับลดลงของดัชนีกลุ่ม เป็นผลมาจากการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มฯ งวด 1Q59 ที่ออกมาไม่สดใส โดยกลุ่ม ธ.พ. นั้น ต้องมีการปรับประมาณกำไรสุทธิปีนี้ลง ส่งผลให้ปีนี้ไม่เติบโตจากปีที่แล้ว แต่หากประเมินกันในเชิง Valuation พบว่า กลุ่ม ธ.พ. มีระดับ PER ที่ต่ำเพียง 9.8 เท่า ขณะที่ PBV ก็เพียง 1.07 เท่าเท่านั้น ฝ่ายวิจัยแนะนำ KBANK(FV@B190)
      ขณะที่กลุ่ม ICT แม้ระดับ PER ที่ 21 เท่า ขณะที่ PBV 3.55 เท่า และผลการดำเนินงานปีนี้จะหดตัวจากปีที่แล้วอย่างมีนัยฯ แต่เชื่อว่าจุดต่ำสุดของกลุ่ม ICT กำลังจะผ่านไป จากความชัดเจนของการประมูลคลื่น 900 MHz แรงกดดันจากความไม่แน่นอนเรื่องคลื่นความถี่ 900 MHz คลี่คลายลงไปตามลำดับ หลังจากที่ TRUE ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ค. นี้ โดยก่อนหน้านี้ DTAC ก็ได้ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลไปแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ ADVANC ซึ่งน่าจะเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่จะเข้าประมูล จึงแนะนำสะสม ADVANC(FV@B189)

ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคพร้อมกันทั้ง 5 ประเทศ
     วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 ด้วยมูลค่าราว 225 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ คือไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 18 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิราว 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ขายสุทธิราว 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 5 แสนเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 18 ล้านเหรียญ หรือ 651 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิสูงถึง 3.5 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 7.1 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 2.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดขานสุทธิสะสมรวมถึง 1.9 หมื่นล้าน) โดยทั้งแรงขายหุ้นและตราสารหนี้น่าจะเป็นสาเหตหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง อยู่บริเวณ 35.59 บาท/ดอลลาร์

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!