- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 16 May 2016 18:27
- Hits: 1651
บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Market View : ลงซื้อ / ขึ้นขาย
Stock of the town : PERM TMC-W1
หุ้นแนะนำพิเศษ : HMPRO
หุ้นมีข่าว : BEM LH TPBI SCN
เนื่องจากบทวิเคราะห์ฉบับวันที่ 12 พ.ค. 59 เรื่อง "IOD ประกาศตัด 7 บริษัทที่ผู้บริหารถูกก.ล.ต.ปรับออกจากการประเมิน CGR" โดยระบุชื่อ CMC ซึ่งเป็นการระบุชื่อย่อหุ้นผิด ทั้งนี้ ผู้บริหารของ CMC หรือบริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) ไม่ได้กระทำความผิดดังกล่าวแต่อย่างใด ฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็กจึงประกาศขออภัยในความผิดพลาดมา ณ ที่นี้
SET วันก่อนอ่อนตัวลงจากความกังวล Fund Flow ที่ไหลออกหลังจากเงินบาทอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามมีแรงซื้อในกลุ่มที่ได้เข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่ ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,394.69 จุด (-4.62 จุด) Vol. 5 หมื่นลบ. โดย Foreign Net +4,116 ลบ. , Net TFEX -4,736 สัญญา
(มี Big lot หุ้น Cpall คาดขายให้ต่างชาติมูลค่า 4786 ล้านบาท ดังนั้น ต่างชาติน่าจะเป็น Net Sell ประมาณ 670 ล้านบาท)
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
- ราคาน้ำมันปรับตัวลงล่าสุด 46.3 USD/Barrel หลังจากมีรายงานว่า แคนาดาเริ่มกลับมาผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง
- ตลาดหุ้น DJ -185.18 จุด จากแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมถึงตัวเลขค้าปลีกในเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 1.3% แข็งแกร่งสุดในรอบ 1 ปี ทำให้มีความกังวลว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.
- ทริสประเมินธุรกิจแบงก์ปีนี้ยังมีแนวโน้มการชะลอตัวของสินเชื่อ-กำไรตามภาวะเศรษฐกิจ คาดทั้งปีสินเชื่อโตแค่ 3-5% ห่วงยอดสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันเพิ่มในต่างจังหวัดกระทบเอ็นพีแอล ด้านเช่าซื้อรถทรงตัว
- เงินบาทอ่อนค่าลงล่าสุด 35.4 Bath/USD กดดันต่อ Fund Flow
+/- จีนประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. +10.1% YoY (ชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่มีการขยายตัว 10.5%) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. +6% YoY (ชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 6.8%) ส่วนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ขยายตัวขึ้น 7.2%
ภาวะตลาดหุ้นไทยมีแรงหนุนจากการประกาศงบกำไร Q1/59 อย่างไรก็ตามความกังวล Fund Flow ต่างชาติไหลออกหลังจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงรวมถึงการ Net Sell หุ้นต่อเนื่องเป็นแรงกดดัน ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,385 - 1,410 จุด
** 16 พ.ค. ครบกำหนดส่งงบการเงิน Q1/59 ของบริษัทฯ
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำซื้อเก็งกำไรเป็นรอบแบบ Selective Buy
- กลุ่มเหล็ก ราคาเหล็กรีดร้อน +56% YTD ล่าสุด 570 USD/Ton (ทั้งนี้ TSTH BSBM SAM CSP PERM ประกาศงบพลิกมีกำไร)
- กลุ่มที่ได้เข้าคำนวณ MSCI Global Standard Index รอบใหม่ ROBINS EGCO MSCI และ Global Small Cap index DNA GL S
หุ้นแนะนำพิเศษ
HMPRO ราคาปิด 8.55 บาท ราคาพื้นฐาน 8.80 บาท
- ปี 59 บริษัทมีแผนขยายสาขาใหม่เพิ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 9-10 สาขา แบ่งเป็นสาขาโฮมโปร 5 สาขารวมเป็น 80 สาขา สาขาเมกาโฮม 3-4 สาขาเพื่อเพิ่มเป็น 10-11 สาขา และสาขาในมาเลเซีย เพิ่มอีก 1 สาขา รวมเป็น 2 สาขาภายในปลายปี
- คาดการณ์รายได้ปี 59 ราว 5.8 หมื่นล้านบาทซึ่งเติบโต 12% กำไรสุทธิปี 59 ที่ราว 3.8 พันล้านบาทซึ่งเติบโต 10%
- จากอัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับดีขึ้นจากสาขาเมกาโฮมที่ปรับดีขึ้นจนล้างขาดทุนสะสมได้หมด
หุ้นมีข่าว
- ประเด็นบวก BEM (ราคาปิด 6.35 ราคาเหมาะสม 5.70) มีโอกาสชนะเรียบทุกคดีค่าผ่านทางด่วน หลังอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้กทพ.จ่ายชดเชยคดีค่าผ่านทางปี 46 แล้ว ชี้ใช้วิธีต่อสัมปทานแลกค่าเสียหายคุ้มกว่า ส่วนไตรมาส 1/59 กำไร 702 ล้านบาท โต 21% (ที่มา:ข่าวหุ้น)
- LH (ราคาปิด 8.50 ซื้อ ราคาเหมาะสม 10.30) 1Q59 มีกำไรสุทธิ 1,996 ล้านบาทสูงที่สุดในกลุ่ม เพิ่มขึ้น 48%YoY แต่ลดลง 41%QoQ โดยคิดเป็น 27% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ราว 7.5 พันล้านบาท ปลาย 1Q59 มียอดขายรอโอน (backlog) จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาทซึ่งจะโอนภายในปีนี้ราว 7.8 พันล้านบาททำให้ประมาณการรายได้ทั้งปีที่ 2.7 หมื่นล้านบาทมี backlog รองรับแล้ว 54% ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการกำไรและราคาเหมาะสมตามเดิม
- TPBI (ราคาปิด 18.30 ราคาเหมาะสม 19.40) รายงานกำไรไตรมาส 1/59 ที่ 94.4 ล้านบาทเติบโต 33%YoY
- SCN (ราคาปิด 7.70 ราคาเหมาะสม 7.70) รายงานกำไรไตรมาส 1/59 ที่ 82 ล้านบาทเติบโต 22%YoY
- บอร์ด HYDRO มีมติขายหุ้นทั้งหมดใน"ยูเอซี ไฮโดรเท็ค"ให้กับ UAC
- EVER ให้บ.ย่อยขายหุ้นทั้งหมด 30% ใน RIH ซึ่งทำธุรกิจโรงพยาบาล,รับรู้กำไร 30 ลบ.
- NWR เซ็นสัญญารับงานก่อสร้าง 2 โครงการ มูลค่ารวม 484.90 ลบ. (ที่มา: InfoQuest )
- BWG แนวรับ 1.66-1.64 บาท แนวต้าน 1.68-1.71 , 1.81-1.85 บาท
ระดับราคาสามารถดีดกลับขึ้นทำ New high ในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากหลุดลงไปทำ New low ต่อเนื่อง แต่ครั้งนี้ดีดกลับขึ้นมาแรงติดต่อกัน 2 วันและมีวอลุ่มสูงมาก ทำให้ MACD มีโอกาสดีดกลับขึ้นมายืนเหนือศูนย์ได้อีกครั้ง ดังนั้นวันนี้หากระดับราคาไม่ถอยกลับลงมาหรือปิดต่ำกว่าแถวๆ 1.66-1.64 บาทอีก จึงจะมีลุ้นดีดกลับผ่าน 1.68-1.71 บาท ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิมในรอบเดือนกว่าแถวๆ 1.81-1.85 บาทต่อไป
- IVL แนวรับ 31.50 , 30.50 บาท แนวต้าน 35.25 บาท
ระดับราคาดีดกลับขึ้นมาแรงต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน ท่ามกลางวอลุ่มซื้อขายที่หนาแน่นมาก ทำให้ระดับราคาดีดกลับขึ้นทำ New high ได้เรื่อยๆ หากวันนี้ระดับราคาถอยกลับลงมาแถวๆ 31.50 บาท น่าซื้อเพิ่ม หรือเต็มที่ไม่หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันแถวๆ 30.50 บาทซะก่อน ระดับราคายังมีโอกาสดีดกลับขึ้นทำ New high ทะลุเส้น BollingerTop ขึ้นไปแถวๆ 35.25 บาทต่อไป
- WIIK แนวรับ 2.90-2.88 บาท แนวต้าน 2.98-3.00 , 3.06-3.12 บาท
ระดับราคายัง สามารถประคองตัวดีดกลับขึ้นมาได้ในระดับสูง หลังจากไม่หลุดลงไปต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันจากแรงขายทำกำไรเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ MACD ผ่านขึ้นยืนเหนือศูนย์ได้อีกครั้ง ประกอบกับเกิดสัญญาณ Golden cross ไปแล้ว หากวันนี้ระดับราคาไม่ถอยกลับลงมาหรือปิดต่ำกว่า 2.90-2.88 บาทซะก่อน ระดับราคาจึงจะมีลุ้นดีดกลับผ่าน 2.98-3.00 บาท ก่อนผ่านขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมแถวๆ 3.06-3.12 บาทต่อไป
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -185.18 จุด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,535.32 จุด ร่วงลง 185.18 จุด หรือ -1.05% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,717.68 จุด ลดลง 19.65 จุด หรือ -0.41% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,046.61 จุด ลดลง 17.50 จุด หรือ -0.85% หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่พุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 1 ปี โดยนักลงทุนกังวลว่าข้อมูลดังกล่าวจะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน ซึ่งได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงด้วย
ตลาดน้ำมัน NYMEX -0.49 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 49 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 46.21 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่า แคนาดาเริ่มกลับมาผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังจากที่แหล่งผลิตน้ำมันในฟอร์ท แมคเมอร์เรย์ของแคนาดาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟป่าในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดบวกติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้
ปัจจัยบวก
(+) สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถยนต์
(+) สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน โดยดีดตัวขึ้นตามราคาพลังงาน หลังจากขยับลง 0.1% ในเดือนมี.ค.
(+) เยอรมนีเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 0.7% ซึ่งขยายตัวรวดเร็วกว่าช่วงไตรมาส 4/2558 ที่มีการขยายตัวเพียง 0.3%
(+) ผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซ ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลกรีซจะสามารถทำข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 พ.ค.นี้
ปัจจัยลบ
(-) ยูโรสแตท เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัว 0.5% ในไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 0.6% อยู่เล็กน้อย โดยมีสาเหตุมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแรงลง
(-) จีนเปิดเผย ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ขยายตัว 6% เทียบเป็นรายปี โดยตัวเลขดังกล่าวชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่ขยายตัวแข็งแกร่งถึง 6.8% ส่วนยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 10.1% เทียบเป็นรายปี แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่มีการขยายตัว 10.5% นอกจากนี้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ขยายตัว 10.5% ซึ่งชะลอลงเทียบกับช่วงไตรมาสแรกปีนี้ที่ขยายตัว 10.7%
(-) องค์การสหประชาชาติ (UN) ออกรายงานคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะยังคงมีอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอในปีนี้ โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะขยายตัวเพียง 2.4% ในปี 2559 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวเท่ากับในปี 2558 โดยตัวเลขดังกล่าวลดลง 0.5% จากประมาณการครั้งก่อนของ UN เมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา
(-) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังจากไตรมาส 1/59 ที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.64% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 2.55% ขณะที่สินเชื่อในปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่เกิน 4.5% สอดคล้องกับคาดการณ์ของธนาคารพาณิชย์ จากไตรมาส 1/59 ขยายตัว 3.3%
(-) ธปท.เผย ผลจากการชะลอตัวเศรษฐกิจไทยส่งผลให้ธุรกรรมเช็คไม่คึกคักในทุกพื้นที่ปริมาณและมูลค่าเช็คลดลง เช็คทุกช่วงมูลค่าทั้งปริมาณและมูลค่าหดตัว พบเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดหดตัวมากที่สุด รวมถึงมูลค่าเช็คคืนรวมและเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บก็เพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
- เดือนพ.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจเตรียมเสนอที่ประชุมครม. พิจารณาการออกกฎหมายพิเศษสำหรับควบคุมการปล่อยเงินกู้นอกระบบ โดยจะมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยเงินกู้นอกระบบ
- 16 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 1/59
- 16 พ.ค. กำหนดวันสุดท้ายของบจ.ในการส่งงบการเงิน 1Q59
- 19 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ-เปิดยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวครั้งที่ 3/2559 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน
- สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม / ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- 23 พ.ค. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เริ่มจัดส่งร่างรธน.
- 26 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
- 27 พ.ค. กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz รอบใหม่ กำหนดราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
- 31 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
- 20-21 มิ.ย. ยื่นซองประมูลสุวรรณภูมิเฟส 2
- 6 ส.ค. รถไฟฟาสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เปิดให้บริการ
- 7 ส.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (คสช.ต้องเตรียมหาทางออกหากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ โดยจะหยิบรธน.ปี 40 หรือ 50 ฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ไม่ได้)
ผลของประชามติมีแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ
1) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ ลำดับต่อไปคือปรับแก้บทเฉพาะกาลในร่างรธน.ให้สอดคล้องคำถามพ่วงประชามติ
2) ร่างรธน.และคำถามพ่วงประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบทั้งคู่ก็ต้องตกไป ทำให้กรธ.พ้นสภาพต้องหาผู้ดำเนินการร่างใหม่
3) หากร่างรธน.ไม่ผ่านแต่คำถามพ่วงฯผ่าน ผู้ร่างรธน.คนต่อไปต้องคำนึงถึงเสียงของประชาชนจากการลงประชามติครั้งนี้ด้วย
ต่างประเทศ
- 16 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนพ.ค./ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
- 17 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน-การอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย./ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย./อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเม.ย./ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.
- อียูเปิดเผยดุลการค้าเดือนมี.ค.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.
- 18 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์
- อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.
- จีนเปิดเผย ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย.
- ญี่ปุ่นเปิดเผยประมาณการ GDP Q1/59/การผลิตภาคอุตสาหกรรมมี.ค.
- 19 พ.ค. (ช่วงเช้า) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมของวันที่ 26-27 เม.ย./ สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์/ดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนเม.ย.จากเฟดชิคาโก
- ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนมี.ค.
- 14 - 15 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ตลาดให้น้ำหนักของโอกาสที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. เพียง 13%
- 23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติ (Brexit) ว่า "อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่" ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดการเงินโลก ทั้งนี้ S&P สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าชาวอังกฤษจะลงประชามติเห็นชอบต่อการอยู่ใน EU ด้วยคะแนนเสียงที่ชนะอย่างฉิวเฉียด และเตือนว่าความเสี่ยงในการถอนตัวออกจาก EU จะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือของอังกฤษ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจาก EU กล่าวว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 10 ปี หลังออกจาก EU จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าอยู่ใน EU ต่อไปในสัดส่วน 4% เนื่องจากอานิสงส์ต่างๆจากอัตราภาษีที่ลดลงสำหรับการนำเข้าจากนอก EU
- 8 พ.ย. กำหนดเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์