WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
    หุ้นขนาดกลาง-เล็ก น่าจะเป็นตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนชนะตลาดได้ดีในช่วงเวลานี้จากแรงหนุนของผลประกอบการงวด 1Q59 ที่โดดเด่นกว่าหุ้นขนาดใหญ่ ขณะที่ Fund Flow ที่แผ่วลง ก็มีส่วนทำให้ความสนใจกลับมาอยู่ที่หุ้นขนาดกลาง-เล็ก Top Picks วันนี้เลือก SEAFCO ([email protected]) และ RS (FV@B 14.80) ส่วนหุ้นในกลุ่มโภคภัณฑ์ที่เด่นที่สุดได้แก่ KSL (FV@B 4.82)

แม้ กนง. คงดอกเบี้ย แต่ EYG ยังเปิดกว้าง ดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดหุ้น
      ผลสรุปการประชุมธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT)วานนี้ เป็นไปตามที่คาด คือ กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ตามเดิม (ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 9) ซึ่งมีน้ำหนักต่อตลาดเท่ากับ (0) เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังให้น้ำหนักต่อการบริโภคภาคเอกชน(C) ที่ส่งสัญญาณชะลอตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และการลงทุนภาคเอกชนที่ยังต่ำอยู่ มุมมองของฝ่ายวิจัย คาดว่า กนง. น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ไปจนถึงปลายปี 2559 เนื่องจากขณะนี้มาตรการภาครัฐยังคงมีอยู่ อาทิ เงินกองทุนหมู่บ้าน(หมู่บ้านละ 5แสนบาท) , กองทุนตำบลๆละ 5 ล้านบาทที่ยังเบิกจ่ายไม่หมด และเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย เป็นต้น
ผลการประชุม กนง. ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ทำให้ Bond Yield 1 ปี ดีดตัวกลับขึ้นมาอยู่ที่บริเวณ 1.38% ผลดังกล่าวทำให้ Market Earning Yield Gap (ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้น กับ พันธบัตรอายุ 1 ปี) ของตลาดหุ้นไทยปรับลดลงเล็กน้อย โดยที่ Current Gap อยู่ที่ 4.11% ขณะที่ Gap ณ สิ้นปี 2559 ยังอยู่เหนือ 5% ซึ่งระดับดังกล่าว ฝ่ายวิจัยเห็นว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่มีโอกาสทำให้เม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ โดยหุ้นกลุ่มที่น่าจะเป็นเป้าหมายสำหรับเม็ดเงินลงทุนก้อนนี้อาจเป็นหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง อย่างเช่น Property Fund / REIT หรือหุ้นสามัญที่ให้ Dividend Yield เกิน 6.5% โดยหากใช้ ASP Smart ในการค้นหาหุ้นดังกล่าว ก็จะพบตัวที่น่าสนใจอย่างเช่น ASK, INTUCH, LPN, PS และ MCS เป็นต้น


   ขณะที่การประชุมของธนาคารกลางสำคัญต่างประเทศๆ ในวันนี้จะมี 2 แห่ง คือ ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ตลาดคาดยังดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามเดิม โดยเงินเฟ้อ ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 0.5% (เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5) แต่ประเด็นที่ยังมีน้ำหนัก คือ การทำประชามติในวันที่ 23 มิ.ย เพื่อหยั่งเสียงประชาชนให้อังกฤษออกจากการเป็นประเทศสมาชิกในยูโรหรือไม่ซึ่งถือว่ามีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของอังกฤษและกลุ่มยูโรโซน และประชุมธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยที่ 4% (ต่อเนื่องตั้งแต่ ก.ย. 2557)
โดยรวมนโยบายการเงินแบบผ่อยคลายยังมีความจำเป็นในธนาคารกลางทั่วโลก ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้น จนกว่าเศรษฐกิจโลกจะมีสัญญาณการฟื้นตัว

สินค้าโภคภัณฑ์กลับมาฟื้นตัว หนุน SET อีกครั้ง
      วานนี้มีรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ (5 พ.ค.) สต็อกน้ำมันดิบลดลงครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์ ลดลง 3.4 ล้านบาร์เรล VS ตลาดคาดการณ์เพิ่มขึ้น 7.14 แสนบาร์เรล เนื่องจากการกลับมาผลิตของโรงกลั่นหลังสิ้นสุดฤดูกาลซ่อมบำรุง สอดคล้องกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงเหลือ 8.80 ล้านบาร์เรลต่อวัน (จากเคยสูงสุดราว 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมัน ลดลงทำระดับต่ำสุด เหลือ 415 หลุม ทิศทางเดียวกับน้ำมันสำเร็จรูปที่ทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซินที่ปรับลดลง 1.6 และ 1.2 ล้านบาร์เรล จากปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปัญหาในแหล่งผลิตน้ำมัน ทั้งเหตุการณ์ไฟไหม้แหล่งผลิต oil sand ขนาดใหญ่ในแคนาดาสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และปัญหาการโจมตีในแหล่งผลิตน้ำมัน ของประเทศไนจีเรีย (ผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1 ในทวีปแอฟริกา) ทำให้ปริมาณผลิตน้ำมันดิบโดยรวมน่าจะหายไปจากตลาดราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน บวกกับ Dollar Index ที่เริ่มกลับมอ่อนค่า (ล่าสุด 93.83 จุด)
ซึ่งจากปัจจัยข้างต้น หนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลก อาทิ Brent ปรับตัวขึ้นกว่า 4.5% จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 47.62 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับน้ำมันดิบดูไบที่สามารถปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง (ล่าสุด 41.18 เหรียญฯต่อบาร์เรล) อย่างไรก็ตาม แม้ราคาน้ำมันดูไบจะปรับขึ้นแล้วกว่า 28% ytd แต่ราคาเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปียังคงอยู่ระดับ 33.68 เหรียญฯต่อบาร์เรล ห่างจากสมมุติฐานน้ำมันดิบที่ ASPS ประมาณการณ์ไว้ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงทำให้นักวิเคราะห์ยังคงประมาณการณ์กำไร และราคาหุ้นพื้นฐานเดิมไว้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน หุ้นในกลุ่มพลังงาน ทั้ง PTT(FV@B330) และ PTTEP(FV@B80) มี Upside ค่อนข้างจำกัดแล้ว


ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการทำ new high คือ กากถั่วเหลือง ปรับตัวขึ้นกว่า 32.8% ytd สูงสุดในรอบ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งเป็นการปรับขึ้นกว่า 31.92% ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ล่าสุดอยู่ที่ 362.80 เหรียญต่อตัน เอื้อประโยชน์ต่อ TVO([email protected]) แต่เนื่องจากราคาปรับตัวขึ้นแรงกว่า 20% ช่วง 1 เดือน ทำให้ราคาหุ้นมี upside จำกัด จึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
เช่นเดียวกับน้ำตาลทราย ล่าสุด 16.77 เซ็นต์ต่อปอนด์ ขึ้นไปทำระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี 4 เดือน หรือ เพิ่มขึ้นกว่า 14.55% ytd ใกล้เคียงกับสมมติฐานที่นักวิเคราะห์ของ ASPS ประเมินไว้ที่ 15.5 เซ็นต์ต่อปอนด์ (มีโอกาสจะดีกว่าสมมติฐานได้) ดีต่อ KSL([email protected])
ตามด้วยยางพารา พบว่าปรับตัวขึ้นราว 54.89% ytd ล่าสุดที่ 1,820 เหรียญฯ/ตัน และ ยางแท่งปรับขึ้น 25% ytd มาอยู่ที่ 1,468 เหรียญฯ/ตัน ดีต่อ STA([email protected]) แต่ราคาหุ้นขึ้นมาเต็มมูลค่าพื้นฐานแล้ว ระยะสั้นให้ switch จาก STA มายัง KSL
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ค่อนข้างปรับตัวขึ้นมาเร็ว ตอบสนองราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงทำราคาทุกตัว ให้มี Upside ค่อนข้างจำกัด มีเพียง KSL([email protected]) ที่ยังมี Upside ราว 26% ผนวกกับต้นสัปดาห์ ครม.ได้มีมติให้เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ประสบปัญหาจากภัยแล้ง ซึ่งสร้าง Sentiment เชิงบวกต่ออุตสาหกรรมอ้อยโดยรวม จึงแนะนำซื้อ KSL([email protected])
หุ้นไซส์กลาง-เล็ก น่าจะ outperform กว่า ยังชอบ RS, COM7
การรายงานงบ 1Q59 ของหุ้นในภาคการผลิต (Real Sector) ยังคงประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าสังเกตว่า การายงานงบฯ ของบริษัทขนาดใหญ่ ในงวด 1Q59 นี้ ออกมาไม่โดดเด่นเท่าที่ควร เริ่มจากกลุ่ม ธ.พ. ที่กำไรสุทธิกลุ่มฯ ต่ำกว่าคาด, กลุ่ม ICT ที่กำไรกลุ่มลดลง qoq อย่างมีนัยฯ, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ค่อนข้างทรงตัว มีเพียง SCC ที่ยังเติบโตได้ดี เหลืองเพียง กลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี ที่แนวโน้มกำไรฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนกลุ่มค้าปลีก วานนี้มีรายงานงบฯ ขอบ CPALL และ ROBINS ดังนี้
ROBINS (FV@B55) กำไรงวด 1Q59 เพิ่ม 12% yoy จากยอดขายสาขาเดิม และการเปิดสาขาใหม่ ประเมินกำไรช่วงที่เหลือยังเติบโต yoy ในทุกไตรมาส รวมทั้งการที่กลุ่มเซ็นทรัลซื้อบิ๊กซี เวียดนาม จะช่วยหนุน ROBINS ทางอ้อม โดยรวมคาดกำไรปีนี้จะเพิ่มขึ้นราว 13%yoy อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่ผ่านมาปรับขึ้นมามากและเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว จึงปรับลดคำแนะนำลงให้ “Switch” ไป COM7, BEAUTY หรือ CPALL
CPALL (FV@B53) รายงานกำไรดีกว่าคาด เพิ่ม 19% yoy และ 5%qoq เพิ่มขึ้นทั้งยอดขายสาขาเดิม และการเปิดสาขาใหม่ ส่วนงวด 2Q59 จะได้ปัจจัยหนุนจากสภาพอากาศร้อน รวมทั้งเทศกาลฟุตบอลยูโรหนุนยอดขายเครื่องดื่มและอาหาร และคาดกำไรช่วงที่เหลือของปียังเพิ่มขึ้น yoy ในทุกไตรมาส โดยรวมประเมินกำไรปีนี้เพิ่มขึ้น 15% ยังคงแนะนำ ซื้อ
ขณะที่ หุ้นขนาดกลาง – เล็ก กลับมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น อาทิ RS, COM7, BEAUTY หรือ TKN (ติดตามอ่านได้จาก Equity Talk วันนี้)
RS ([email protected]) รายงานกำไรดีกว่าคาด เติบโต 14.5%qoq และพลิกจากงวด 1Q58 ที่ขาดทุน กำไรหลักมาจากธุรกิจงานจัดอีเวนท์ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงาม รวมทั้งการลดต้นทุนรายการทีวีและการผลิต CD เพลง ขณะที่ช่วงครึ่งหลังของปี รายได้จากธุรกิจสื่อทีวีและวิทยุน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นตามเรทติ้ง แม้ธุรกิจงานจัดอีเวนท์ใหญ่จะลดลง แต่จะได้ธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงามที่เติบโตอย่างมีนัยฯ เข้ามาหนุนให้กำไรสุทธิปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว yoy และ 29%yoy ในปีถัดไป ยังแนะนำ ซื้อ
COM7 (FV@B9) รายงานกำไรดีกว่าคาด เติบโต 25%yoy (แต่ลดลงจาก 4Q58 ที่เป็นช่วง high season) กำไรหลักมาจากยอดขาย sim card เพิ่มขึ้น รวมทั้ง Margin เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับช่วงที่เหลือของปีโดยเฉพาะ 2H59 กำไรจะโดดเด่นจากแหล่งรายได้เสริมอื่นๆ ช่วยเพิ่มกำไรปีนี้เติบโตสูงสุดในกลุ่มค้าปลีกที่ 42% ยังแนะนำ ซื้อ
BEAUTY (FV@B7) รายงานกำไรสุทธิเติบโตถึง 70%yoy เพิ่มทั้งยอดขายและอัตราทำกำไร และคาดช่วงที่เหลือยังเติบโตต่อเนื่องทั้ง qoq และ yoy ทุกไตรมาส ฝ่ายวิจัยจึงปรับเพิ่มประมาณการฯ ปี 2559 – 60 ขึ้นปีละ 17% โดยคาดกำไรปีนี้จะเพิ่มขึ้น 39% และโตต่อเนื่องอีก 23% ในปีถัดไป ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”
โดยภาพรวม เชื่อว่าหุ้นขนาดกลาง-เล็ก น่าจะเป็นที่สนใจ และน่าจะ outperform ได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดที่เล็ก จึงอาจหนุนดัชนีและกระแส Fund Flow ได้ไม่มากนัก SET Index จึงน่าจะขยับขึ้นไปได้อย่างช้าๆ ก่อนที่จะรอแรงขับเคลื่อนหลักจากหุ้นใหญ่ และกระแสเงินในระยะถัดไป

ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่มีการสลับมาซื้อสุทธิบ้างในบางประเทศ
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่า 195 ล้านเหรียญ แต่เป็นการสลับมาซื้อสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 73 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิสูงถึง 40 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 1 ปีกว่า หลังจากได้ประธานาธิบดีคนใหม่ เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ถูกซื้อสุทธิ 8 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 287 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) และไทยถูกขายสุทธิราว 29 ล้านเหรียญ หรือ 1.0 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดขายสุทธิรวม 5.6 พันล้านบาท) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 436 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 5.6 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 862 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!