- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 09 May 2016 17:04
- Hits: 717
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET อาจดีดกลับแต่คาดกรอบบวกแคบ ก่อนลงต่อ ดังนั้นยังรอซื้อลบ!!
กลยุทธ์ : หลังจาก SET ปรับพักตัวลงมาแล้วเกือบ 50 จุดในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนติดหยุดยาว ทำให้มีลุ้นโอกาสรีบาวด์กลับไปแกว่งบวกได้บ้างในช่วงนี้ หลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกฟื้นตัว แต่ FSS ยังคาดว่าตลาดจะรีบาวด์ขึ้นได้แค่เพียงแคบๆ ในกรอบจำกัด และยังต้องระวังแรงขายกดดันให้ดัชนีปรับตัวลงอีกอยู่ ซึ่งคาดว่าตลาดยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงไปใกล้ 1360 จุดหรือหลุดต่ำกว่าได้ในช่วงถัดไป ดังนั้นเรายังแนะนำให้เลือกหุ้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบต่อไปเช่นเดิม แล้วเน้นถือสะสมต่อเนื่อง เพื่อรอรอบบวกครั้งใหม่ของ SET ในช่วงถัดไป
หุ้นเด่นทางเทคนิค : TU, TNP, IVL(buy back)
แนวโน้ม : SET กลับมาปรับตัวลงต่อเนื่องอีกครั้งในช่วงก่อนวันหยุดยาวท้ายสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ในช่วงวันหยุดตลาดหุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่ก็มีลักษณะแกว่งตัวผันผวนในกรอบจำกัด โดยยังไม่ได้มีทิศทางที่ชัดเจนแต่อย่างใด เพราะแม้ว่าจะยังมีแรงซื้อหนุนจากคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ แต่ก็มีแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ออกมาไม่ดีนัก ซึ่งล่าสุดตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้พอควร โดยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 7 เดือนด้วย ทำให้ FSS คาดว่า SET ยังมีลุ้นโอกาสแกว่งตัวลงต่อเนื่องได้อีก แม้ว่าเช้านี้ตลาดอาจจะยังมีแรงซื้อเก็งกำไรเข้ามาหนุนให้ดัชนีขยับเป็นบวกได้บ้าง หลังคืนวันศุกร์ตลาดหุ้นสหรัฐพลิกกลับมาปิดเป็นบวก และตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ยังมีลักษณะแกว่งทรงตัวในช่วงที่บ้านเราปิดทำการไป แต่เราคาดว่ากรอบบวกยังค่อนข้างจำกัด เนื่องจากยังขาดปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งเช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ก็เปิดขยับบวกอีกเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นทยอยซื้อในช่วงตลาดเป็นลบเช่นเดิม โดยเน้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบ แบบไม่ต้องรีบร้อนต่อไป
แนวรับ 1386-1384, 1380-1375 จุด
แนวต้าน 1393-1395 , 1398-1400 จุด
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคเป็นวันที่ 7 ติดต่อกัน US$444 ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$439 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเวียดนาม US$7.6 ล้าน ประเทศอื่นๆปิดทำการเนื่องในวันหยุดประจำชาติ แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกหลังจีนเปิดเผยตัวเลข PMI อ่อนแอกว่าคาดทำให้ตลาดกลับมากังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนอีกครั้งขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวลง
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) การจ้างงานสหรัฐอ่อนแอกว่าคาด การจ้างงานนอกภาคเอกชน เม.ย. +1.6 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าตลาดซึ่งคาด +2.02 แสนตำแหน่ง และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มเดือนละ 2.32 แสนตำแหน่ง (มีข่าวดีเพียงค่าจ้างแรงงานที่ดีกว่าคาด +2.5% Y-Y) ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจอ่อนแอ ส่วนราคาน้ำมันขยับขึ้นเล็กน้อยจากเหตุไฟป่าที่แคนาดา
(-) Sell in May เพิ่งเริ่ม ในปีที่ตลาดหุ้น 4 เดือนแรกให้ผลตอบแทนเป็นบวก จะตามมาด้วยการปรับลงเดือน พ.ค. สำหรับ SET Index 4 เดือนแรกปีนี้ +9% สูงสุดในภูมิภาค ต่างชาติซื้อ บาทแข็ง สวนทางเศรษฐกิจที่ทรงๆ กำไรบจ. 1Q16 ที่ไม่ดีเท่าที่ควร เราคาดกำไร -12% Y-Y แต่ +22% Q-Q ตามฤดูกาลและเพราะกลุ่มพลังงานมี stock loss น้อยลง กลุ่มที่มักจะ Outperform ตลาดเดือน พ.ค. คือโรงพยาบาล โรงแรม ไฟแนนซ์ ค้าปลีก กองทุนอสังหาฯ เรามองการพักฐานในเดือนนี้ป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐานรอบใหม่ แนะนำทยอยซื้อ CK, ERW, GL, PIMO, TISCO ส่วนนักลงทุนที่ขายไปแล้วต้องการพักเงิน แนะนำกองทุน TIF1, HPF, DIF, LHPF, TFUND และ QHPF
(0) ไฮไลท์สัปดาห์นี้อยู่ที่ผลประกอบการ บจ.ที่คาดว่าจะประกาศผลประกอบการวันนี้มี ADVANC, TOP, TU, BIG, LPN, TMT, CSL เราคิดว่า BIG มีโอกาสที่กำไรจะดีกว่าตลาดคาด (ตลาดคาด 200 ล้านบาท เราคาด 225 ล้านบาท) เรายังแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 4 บาท แต่หากมี Sell on fact จะเป็นโอกาสในการสะสมเพิ่มเพราะแนวโน้มผลประกอบการยังดีต่อในไตรมาสที่เหลือของปี ส่วน ADVANC เราคาดกำไร 1Q16 ไม่สดใส -25% Q-Q, -18% Y-Y แนวโน้มในไตรมาสที่เหลือก็ยังไม่ดีแต่สะท้อนในราคาหุ้นแล้ว ยังแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานหากชนะประมูลคลื่น 900MHz 27 พ.ค. นี้จะเท่ากับ 180 บาท แนะนำซื้อลงทุน
(0) มีความเป็นไปได้ที่กนง.อาจลดดอกเบี้ย ตลาดคาดกนง.คงดอกเบี้ย 1.5% ในการประชุม 11 พ.ค. นี้ แต่มีโอกาสที่กนง.อาจลดดอกเบี้ยตามทิศทางของเพื่อนบ้านในเอเชีย (อินโดนีเซีย อินเดีย และออสเตรเลีย) ที่ปรับลงไปก่อนหน้านี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นไม่ดีนัก ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐเริ่มทยอยสิ้นสุดลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าหลังเฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หากกนง.ลดดอกเบี้ยจริง ไม่กระทบในทางลบกับธนาคารเพราะลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปก่อนหน้าแล้ว แต่อาจเป็นโอกาสให้ธนาคารลดดอกเบี้ยเงินฝากและทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยดีขึ้นก็ได้
(-) MCOT แนวโน้มผลประกอบการอ่อนแอ คาดธุรกิจหลักพลิกเป็นขาดทุน 20 ล้านบาทใน 1Q16 จากรายได้โฆษณาทีวีที่ลดลงอีก -20% Q-Q, -30% Y-Y ทั้งจากปัจจัยฤดูกาล ตลาดโฆษณายังอ่อนแอ และการแข่งขันในธุรกิจทีวีจิตอลที่ยังรุนแรง เรามีแนวโน้มปรับประมาณการทั้งปีและราคาเป้าหมายลงอีกครั้ง จากปัจจุบันที่ประเมินไว้ 8.50 บาท ยังคงแนะนำขาย
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดในแดนบวกได้จากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาต่ำกว่าคาดทำให้นักลงทุนคาดว่า FED จะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย
(0) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ปิดผสมหลังผิดหวังกับตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดผสมท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นจากไฟไหม้แหล่งน้ำมันในแคนาดา รวมถึงการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันในซาอุดิอาระเบียซึ่งเหนือความคาดหมาย
(0) ค่าเงินบาทยังแกว่งทรงตัวออกข้างหลังจากอ่อนค่าพอสมควรเมื่อสัปดาห์ก่อน ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00-35.20 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.34 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 44.66 ดอลลาร์/บาร์เรล และพุ่งขึ้นต่อเช้านี้หลังมีรายงานว่าเกิดไฟไหม้ป่าเป็นวงกว้างในแหล่งทรายน้ำมันของแคนาดา
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. พุ่งขึ้น 21.70 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,294.00 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด ทำให้นักลงทุนคาดหวังว่า FED จะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นบวกต่อราคาทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
9 พ.ค. - อินโดนีเซีย: 1Q16 GDP
10 พ.ค. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.), ยอดสินเชื่อ (เม.ย.)
11 พ.ค. - ไทย: กนง.ประชุม
12 พ.ค. - ไทย: ASN เริ่มเทรด (ราคา IPO 6 บาท)
- ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
- ยูโรโซน: Industrial Production (มี.ค.)
- อังกฤษ: ธนาคารกลาง (BOE) ประชุม (ตลาดคาดคงดอกเบี้ย 0.5%)
13 พ.ค. - MSCI Semi-annual Index Review
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BoK) ประชุม
- ฮ่องกง: 1Q16 GDP
- ยูโรโซน: 1Q16 GDP
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (เม.ย.)
14 พ.ค. - จีน: ยอดค้าปลีก (เม.ย.), Industrial Production (เม.ย.)
16 พ.ค. - ไทย: 1Q16 GDP, เดทลายส่งงบฯช่วงเช้า
17 พ.ค. - ไทย: BM เริ่มเทรด (ราคา IPO 2.88 บาท)
- สหรัฐ: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.), Housing start & Building permit (เม.ย.)
18 พ.ค. - ญี่ปุ่น: 1Q16 GDP (ตลาดคาดฟื้น +0.5% จากไตรมาสก่อนที่ -1.1%)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch