- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 04 May 2016 18:55
- Hits: 1029
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ทิศทางตลาด
ยังคงมีความผันผวน? โดยมีโอกาสปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากตัวเลขการผลิตทั้งจีนและอังกฤษ ที่แสดงถึงการหดตัวทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกว่าอาจมีแนวโน้มชะลอตัว รวมถึงภาวะอุปทานส่วนเกินน้ำมันในตลาดโลก หลังปริมาณผลิตในกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ยังเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน
ส่วนประเด็นในประเทศ ภาพรวมยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ คาดมูลค่าการซื้อขายอาจไม่มาก และอาจมีแรงขายออกมา เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงวันหยุดยาว อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกเข้ามาบ้างจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิจำนวน 439 ล้านบาท และคาด Fund Flow ยังมีโอกาสไหลกลับเข้ามาในภูมิภาค รวมถึงไทย ภายใต้ที่ธนาคารกลางหลายๆ แห่ง ยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ขณะที่อยู่ในช่วงของการประกาศผลการดำเนินงาน – 1Q/59 ที่คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องถึงกลางเดือน พ.ค.
โดยยังมีมุมมองที่ดีต่อการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการต่อเนื่องช่วง 2Q/59 – 3Q/59 ซึ่งล่าสุด ครม. เห็นชอบงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,200 ล้านบาท คาดประมูลในช่วง ส.ค. – ก.ย. นอกเหนือจากโครงการ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี) เป็นต้น ที่เห็นชอบไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษี (มีผลต่อภาษีในปี’60) เช่น เพิ่มค่าลดหย่อน จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น คาดช่วยเพิ่มอำนาจซื้อ และคาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มค้าปลีก
กลุ่มที่อยู่อาศัย เช่น PS และ LPN เป็นต้น ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการบ้านประชารัฐ รวมถึงการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร ที่คาดเป็นปัจจัยหนุนในระยะกลาง – ยาว
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJIA -140.25, NASDAQ -54.37, S&P -18.06, FTSE -56.30, CAC -70.77 และ DAX -196.50
จากปัจจัยกดดัน (1) ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังมีรายงานว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่าน ผลิตและส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน และ (2) ข้อมูลภาคการผลิตทั้งจีนและอังกฤษ – เม.ย. อยู่ที่ 49.4 และ 49.2 ตามลำดับ โดยอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงถึงการหดตัว และทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างรอตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร - เม.ย. ในวันศุกร์นี้ (6/5/59)
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยลบจากผลประกอบการของบริษัทรายใหญ่ในยุโรป ซึ่งรวมถึงเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ และลุฟท์ฮันซา ที่มีกำไรก่อนหักภาษีลดลง ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$1.13 อยู่ที่ US$43.65 ต่อบาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด โดย (1) มีรายงานว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่านและอิรัก ได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ (2) คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอีก และ (3) คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเบรนท์จากทะเลเหนือ ในเดือน
มิ.ย. อาจจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ขณะที่อยู่ระหว่างการประชุมรอบใหม่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก และนอกกลุ่มโอเปก) ในเดือนมิ.ย. เพื่อหารือในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
20.63 1.83 3.4
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 33,879.61
สถาบัน -722.37
บัญชีหลักทรัพย์ 65.21
ต่างประเทศ 438.9
ในประเทศ 218.26
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มการบินและสนามบิน เช่น AOT, BA, AAV
(2) กลุ่มพลังงาน PTT และ PTTEP ยังมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกิน
(3) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, TOP และ SPRC จะได้รับผลบวกจากค่าการกลั่นที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในช่วง 1Q/59 และคาดจะไม่มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมันจำนวนมากอีก
(4) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TPIPL
(5) หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT, CENTEL)
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่อง จากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.07 อยู่ที่ 1.80% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) 0.92 อยู่ที่ 15.60
หุ้นแนะนำ : TWPC
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788