- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 04 May 2016 18:30
- Hits: 933
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET กำลังจะเริ่มลงต่อ แต่เป็นลงเพื่อขึ้นใหม่ จึงน่าทยอยซื้อลบ!!
กลยุทธ์ : FSS ยังคาดว่า SET จะอยู่ในช่วงแกว่งพักตัวลงต่อเนื่องอีกสักระยะ และอาจจะมีจังหวะรีบาวด์เป็นบวกสลับให้เห็น แต่ยังแนะนำให้เลือกหุ้นเข้าซื้อเฉพาะช่วงตลาดเป็นลบดีกว่า ซึ่งคาดว่าดัชนียังมีสิทธิปรับตัวลงไปใกล้ 1360 จุดหรือหลุดต่ำกว่าได้ด้วย จึงยังเน้นเป็นลักษณะค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบต่อไป อย่างไรก็ตามเราคาดว่าตลาดจะแกว่งพักตัวลงเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกลับไปแกว่งบวกต่อเนื่องเพื่อขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า 1432 จุดต่อไปในรอบหน้า ดังนั้นหลังจากเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงลบแล้ว แนะนำให้ถือสะสมไว้ก่อน เพื่อรอรอบบวกต่อไป
หุ้นเด่นทางเทคนิค : SIRI, BLA, GPSC(short)
แนวโน้ม : SET ขยับบวกขึ้นได้อีกเพียงเล็กน้อยในช่วงเช้าวานนี้ ก่อนที่จะเริ่มปรับพักตัวลงต่อเนื่องอีกครั้ง หลังจากยังไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ยังอ่อนแอลงอีก เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังมีรายงานว่าประเทศในตะวันออกกลางได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ปรับตัวลงกันพอควร รวมทั้งตัวเลข PMI ภาคการผลิตของจีนและอังกฤษที่ออกมาอ่อนแอ ทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งกดดันให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เปิดเป็นลบ ซึ่ง FSS คาดว่าจะกดดันให้ SET เข้าสู่ช่วงแกว่งตัวลงต่อได้อีกตามคาดเดิม ประกอบกับตลาดหุ้นไทยจะติดช่วงวันหยุดยาวตั้งแต่พรุ่งนี้ (5 พ.ค.) ไปจนสิ้นสัปดาห์ ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่ยังคงเปิดทำการ จึงน่าจะทำให้มีแรงขายลดความเสี่ยงจากประเด็นลบต่างๆ ที่กดดันตลาดในช่วงนี้อยู่ ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นทยอยซื้อในช่วงตลาดเป็นลบ โดยยังเน้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบ แบบไม่ต้องรีบร้อนเช่นเดิม
แนวรับ 1394-1390, 1386-1384, 1380-1375 จุด
แนวต้าน 1400-1405 , 1408-1412 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาค US$300 ล้าน ส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$385.7 ล้าน และอินโดนีเซีย US$48.9 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$121.4 ล้าน และไทย US$12.6 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนยังมีทิศทางไหลเข้าอยู่แต่อาจชะลอตัวลงโดยหุ้นกลุ่มพลังงานอาจถ่วงตลาดในวันนี้ตามราคาน้ำมันที่ร่วงลงและตลาดหุ้นหลายตลาดปิดทำการ
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 จากความกังวลปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลต่อรายได้ของประชาชนในภูมิภาค และการปรับลด GDP ขององค์กรต่างๆ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้นในเดือน เม.ย. สอดคล้องกับยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาเดิมของหุ้นในกลุ่มกลุ่มค้าปลีกที่ดีมากในเดือน ม.ค. แล้วแผ่วลงเรื่อยๆจนติดลบ Y-Y ในเดือน มี.ค. สำหรับราคาหุ้นในกลุ่มค้าปลีกปรับขึ้นมาแล้วระดับหนึ่งแต่หุ้นที่เราคิดว่ายังน่าสนใจได้แก่ BIG, BEAUTY, HMPRO
(+) HMPRO จากประชุมวานนี้พบว่า SSSG เดือ นเม.ย. ปรับขึ้นแรง +5% Y-Y ส่วน 2Q16 คาดว่าจะบวกได้ 3-5% Y-Y ส่วนหนึ่งจากฐานต่ำในปีก่อนและสาขาในกทม.โตดี แต่สาขาต่างจังหวัดยังติดลบอยู่โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ กำไร 2Q16 น่าจะทำได้ 950-1,000 ล้านบาท โต 10-15% Q-Q และ 15-20% Y-Y ปัจจุบัน HMPRO อยู่ระหว่างแตกไลน์ร้านค้าใหม่ประเภท Living (เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้าน) คาดเปิดสาขาแรกเดือน ต.ค. จากที่ก่อนหน้านี้เพิ่งเปิดร้าน Bike Shop เรายังคาดกำไรปีนี้ +13.4% Y-Y ยังคงราคาพื้นฐาน 10 บาท แนะนำซื้อ
(+) TISCO แม้ว่าจะเพิ่งผ่านการขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา (จ่ายปีละ 1 ครั้ง) แต่ที่ราคาหุ้นปัจจุบันก็เป็นระดับที่น่าซื้อลงทุนด้วยผลการดำเนินงานหลักที่มีแนวโน้มดี NPL เริ่มลดลง ความจำเป็นในการตั้งสำรองฯน้อยลง ราคารถมือสองในตลาดเริ่มฟื้นตัว เราคาดกำไรสุทธิ 2Q16 จะโดดเด่นกว่ากลุ่ม เบื้องต้นคาด 1.3 พันล้านบาท +5% Q-Q, +29% Y-Y จาก Spread ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE เพียง 7 เท่าและ PBV เพียง 1.1 เท่า ยังคงแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 52 บาท
(+) PF/REIT/IFF ที่น่าลงทุน ในภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวน อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ ทำให้การลงทุนใน Property Fund / REIT / Infrastructure fund ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นแต่ราคากองฯปรับขึ้นมาจนทำให้ Dividend yield ที่เคยให้เฉลี่ย 7-8% ลดลงเหลือเฉลี่ย 5-6% ในปัจจุบัน และราคาของกองทุนเหล่านั้นปรับตัวสูงกว่า NAV ไปแล้ว เมื่อเทียบราคากองที่ยัง discount NAV และ Dividend yield ที่สูงเกิน 6% เราแนะนำ DIF, HPF, LHPF, QHHR, QHPF, TIF1
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบจากค่าเงินเยนที่แข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหลังตัวเลข PMI ภาคการผลิตของจีนที่อ่อนแอกว่าคาด
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดลบแรงหลังผิดหวังกับผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มธนาคาร รวมถึงการร่วงลงของหุ้นในกลุ่มเหมืองและยานยนต์
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนลบเช่นกันตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใส
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นเร็วหลังจากแข็งค่ามาต่อเนื่องในสัปดาห์ก่อน ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00-35.20 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงลง 1.13 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 43.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดยตลาดกลับมากังวลเรื่องอุปทานที่ล้นตลาดอีกครั้งหลังมีรายงานว่าประเทศในตะวันออกกลางมีการเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมันดิบ
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 4.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,291.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่พุ่งขึ้นติดต่อกัน 6 วันทำการ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ FED ที่กล่าวว่าเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
3-5 พ.ค. - ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการ
4 พ.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (เม.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (เม.ย.)
5-6 พ.ค. - ตลาดหุ้นไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ปิดทำการ
5 พ.ค. - จีน: Caixin China PMI Composite (เม.ย.)
6 พ.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (เม.ย.)
8 พ.ค. - จีน: ดุลการค้า (เม.ย.)
9 พ.ค. - อินโดนีเซีย: 1Q16 GDP
10 พ.ค. - จีน: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.), ยอดสินเชื่อ (เม.ย.)
11 พ.ค. - ไทย: กนง.ประชุม
12 พ.ค. - ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
- ยูโรโซน: Industrial Production (มี.ค.)
13 พ.ค. - MSCI Semi-annual Index Review
- เกาหลีใต้: ธนาคารกลาง (BoK) ประชุม
- ฮ่องกง: 1Q16 GDP
- สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (เม.ย.)
- ยูโรโซน: 1Q16 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch