WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      SET ยังผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้น Domestic ขณะหุ้น GlobaL ยังคงหนุนตลาด ตามการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กลยุทธ์ให้เน้นลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์เด่น (TMT, PTT, IRPC, TVO, KSL) Top picks คือ TVO([email protected]) และ COM7(FV@B9) ซึ่งยังมีกำไรโดดเด่นท่ามกลางเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า

สินค้าโภคภัณฑ์ยังฟื้นตัวต่อ ตามแรงหนุน Dollar ที่ยังคงอ่อนค่า
        หลังจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) และญี่ปุ่น(BOJ) เสร็จสิ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (อ่านได้ที่ Market talk วันที่ 28-29 เม.ย.) ยังไม่มีประเด็นหนุนตลาดฯ ใหม่ สัปดาห์นี้จึงคงติดตามการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจกันไปตามสภาพ กล่าวคือ ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังไม่ฟื้นตัว กล่าวคือ PMI ภาคการผลิต ของ Markit เดือน เม.ย. ลดลง 1.4%mom มาอยู่ที่ระดับ 50.8 จุด (ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2) สอดคล้องกับการสำรวจของสถาบัน ISM ในเดือนเดียวกัน พบว่า PMI ภาคการผลิต ลดลง ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เช่นเดียวกับเงินเฟ้อฯ ล่าสุด ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.9%
      จากปัจจัยแวดล้อมของสหรัฐที่ยังไม่ฟื้นตัว น่าจะตอกย้ำ Fed จะไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยก่อน 3Q59 แต่น่าจะมีโอกาสมากขึ้นในช่วง 4Q59 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดัน Dollar Index อ่อนค่า ต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 92.5 จุด จึงคาดว่ายังมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 90 จุด ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น น้ำมันและทองคำ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ล่าสุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีทิศทางฟื้นตัวแรงต่อเนื่อง อาทิ
ยางพารา พบว่าปรับตัวขึ้นราว 55.7% ytd ล่าสุดที่ 1,830 เหรียญฯ/ตัน และ ยางแท่งปรับขึ้น 26.1% ytd มาอยู่ที่ 1,485 เหรียญฯ/ตัน ดีต่อ STA        แต่ราคาหุ้นขึ้นมาเร็ว และตอบสนองต่อราคายางฯ ดังกล่าวแล้ว ระยะสั้นให้ switch จาก STA มายัง KSL, TVO
กากถั่วเหลือง ปรับตัวขึ้นกว่า 27.4% ytd ซึ่งเป็นการปรับขึ้นกว่า 27.2% ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ล่าสุดอยู่ที่ 347 เหรียญต่อตัน เอื้อประโยชน์ต่อ TVO
      น้ำตาลทราย ล่าสุด 16.21 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้น 10.7% ytd ใกล้เคียงกับสมมติฐานที่นักวิเคราะห์ของ ASPS ประเมินไว้ที่ 15.5 เซ็นต์ต่อปอนด์ (มีโอกาสจะดีกว่าสมมติฐานได้) และมีแนวโน้มราคาปรับตัวขึ้นไปทดสอบ High เดิม ที่ 16.71 เซ็นต์ต่อปอนด์ ดีต่อ KSL ซึ่งเป็น Top pick ของกลุ่ม
เหล็ก พบว่าราคาสินแร่เหล็ก 62% Fe ที่ท่าเรือ Tianjin ล่าสุด อยู่ที่ 65.2 เหรียญต่อตัน (ล่าสุด ปรับตัวเพิ่ม 3.7%) จากวันทำการก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาสินแร่เหล็กปีนี้เพิ่มขึ้นแรงกว่า 50% ดีต่อ TMT ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานในปี 2559 โดดเด่นมาก
ดัชนีค่าระวางเรือเทกองหรือ BDI ยังคงปรับตัวขึ้น นับตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา หรือปรับตัวขึ้นกว่า 48.8% ytd ล่าสุดอยู่ที่ 703.2 จุด สูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2559 ยังคงหนุนหุ้นเดินเรือเทกอง ทั้ง TTA, PSL แต่เนื่องจากผลประกอบการยังขาดทุนต่อเนื่องในปี 2559-2560 จึงแนะนำให้ลงทุนระยะสั้นเท่านั้น

เงินเฟ้อไทยกลับเป็นบวกครั้งแรก...สินค้าอาหารเป็นตัวหนุน..
     เงินเฟ้อเดือน เม.ย. ของไทย กลับมาอยู่ในแดนบวกครั้งแรกในรอบ 16 เดือน แม้จะกระเตื้องเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.07% แต่ตลอด 4M59 เฉลี่ย ติดลบ 0.35% (ต่ำกว่า ASPS คาด 0.31%) โดยหลักมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 1.57% อาทิ ผักและผลไม้เพิ่ม 5.29% ผลจากภัยแล้งกดดันราคาให้ปรับตัวขึ้น และเนื้อสัตว์ ได้แก่ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 1.79% จากสภาพอากาศร้อนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรรายย่อยต้องเผชิญปัญหาสัตว์เติบโตช้า ทั้ง ไก่ และสุกร ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงชะลอตัว เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี โดยปรับตัวลดลง 11.20% แม้ว่าจะเห็นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังต่ำกว่าปีที่แล้วมาก (ในช่วงเดียวกัน 2558 อยู่ที่ 69 เหรียญฯต่อบาร์เรล VS 2559 อยู่ที่ 44 เหรียญฯต่อบาร์เรล)
      อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันดิบโลกมีโอกาสขึ้นไปแตะระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล ได้ภายในไตรมาส 2 ขณะที่การเรียกร้องการขึ้นค่าแรงเกิน 300 บาท (360 บาท) ซึ่งหากเกิดขึ้นได้ อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันแนวโน้มเงินเฟ้อให้ขยับขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปได้ที่ตลาดอาจจะต้องปรับเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อใหม่ หรือ เปลี่ยนมาเป็นบวก จากเดิมที่ติดลบ(สมมติฐาน ASPS ประเมินเงินเฟ้อตลอดปี 2559 ติดลบ 0.5%) จึงเป็นไปได้ที่ กนง.จะยังคงยืนดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 11 พ.ค. นี้

เดือน พ.ค. คาด Fund Flow เริ่มชะลอตัวลงและไหลออกได้ในระยะสั้น
       แม้วานนี้ทั้งตลาดหุ้นไทยและไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันแรงงาน แต่ตลาดหุ้นที่เหลือยังคงเปิดทำการป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 113 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้, อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ถูกขายสุทธิราว 74 ล้านเหรียญ, 38 ล้านเหรียญ และ 5 แสนเหรียญ ตามลำดับ
สรุปภาพรวมตลอดเดือน เม.ย. พบว่า Fund Flow ยังคงไหลเข้ามาในตลาดหุ้นในภูมิภาค แต่ด้วยแรงซื้อที่ชะลอตัวลง มีมูลค่าซื้อสุทธิราว 2.4 พันล้านเหรียญ ซึ่งน้อยกว่ายอดซื้อสุทธิในช่วงเดือน มี.ค. อยู่มาก (ช่วงเดือน มี.ค. มียอดซื้อสุทธิสูงถึง 9.4 พันล้านเหรียญ) และหากพิจารณาแรงซื้อหุ้นในเดือน เม.ย. ของแต่ละประเทศ พบว่า ตลาดหุ้นเกาหลีใต้, ไต้หวัน และอินโดนีเซียยังคงซื้อสุทธิสะสมราว 1.8 พันล้านเหรียญ, 727 ล้านเหรียญ และ 22 ล้านเหรียญ สวนทางกับตลาดหุ้นไทยและฟิลิปปนส์ที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิสะสมราว 159 ล้านเหรียญ, 34 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
ส่วนแนวโน้มเดือน พ.ค. คาดว่า ถ้า SET Index ยังไม่มีประเด็นบวกใหม่เข้ามาหนุน และน่าจะถูกกดดันจากหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. และ ICT ทำให้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยได้ในระยะสั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถิติ เดือน พ.ค. ย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ต่างชาติมักขายหุ้นไทยถึง 6 ใน 10 ปี โดยมียอดขายสุทธิเฉลี่ยสูงถึง 1.3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ SET ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบถึง 2.62% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

หุ้น Global ยังหนุนดัชนี ขณะที่หุ้น Domestic ยังแกว่งตัวลง
      คาดว่าระยะสั้นตลาดยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยังคงถูกกดันจากหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ โดยหากพิจารณาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มจะต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด สะท้อนจากล่าสุด เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันกับ WORK(FV@B45) ซึ่งเป็นผู้จัดการแสดงไดโนเสาร์ (WORK ถือหุ้น 30%) ในพื้นที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มสเฟียร์ (ของกลุ่มเดอะมอลล์) ทำให้ต้องหยุดการแสดงราวในส่วนของชิงช้าสวรรค์ราว 1-2 สัปดาห์ จากเดิมที่กำหนดจัดแสดงไว้ถึงปลายเดือน ม.ค. ปีหน้า (แต่ส่วนอื่นๆ ของสวนสนุกยังคงเปิดดำเนินการตามปกติ) อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะกระทบกับประมาณการกำไรในปีนี้ เนื่องจากนักวิเคราะห์ ASPS ยังไม่ได้รวมในประมาณการ ขณะที่ยังคาดกำไร 1Q59 เติบโตแรง 160%YoY และ 840%QoQ และคาดทั้งปีจะเติบโตถึง 105%YoY ทั้งยังมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปีนี้ อีกกว่า 50 ล้านบาทต่อปี จาก 2 กรณี ซึ่ง กสทช. อยู่ระหว่างพิจารณาอยู่ คือ 1. ขยายเวลาผ่อนผันหรือลดอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมธุรกิจทีวีดิจิทัลส่วนที่ส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาฯ 2% ของรายได้ และ 2. ให้มีการลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัลลงจากเดิมช่องระบบ SD ต้องเสียค่าเช่ากว่า 50 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น ราคาหุ้นอ่อนตัวจึงเป็นโอกาสสะสม


       ขณะที่เป็นช่วงการรายงานงบ 1Q59 ธนาคารพาณิชย์ ฯ เป็นกลุ่มแรกที่รายงานเสร็จสิ้น โดยรวมไม่ค่อยสดใส กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ใน Coverage ของ ASPS มีกำไรสุทธิรวม 4.75 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.2% YoY (เพิ่ม 9.4% QoQ)กดดันจาก NIM ลดลงมาอยู่ที่ 3.08% จาก 3.12% ใน 4Q58 และการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม 9.8%qoq มาที่ 3.96 หมื่นล้านบาท ตามที่ NPL ที่เพิ่ม และคาดผลกำไรยังชะลอตัวในงวด 2Q59 จากผลกระทบของปรับลดดอกเบี้ยสินเชื่อทุกประเภท โดยไม่ปรับลดด้านเงินฝาก ในเดือน เม.ย. และการตั้งสำรองฯ ที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับลดประมาณการของหุ้นรายลงเป็นรอบที่ 2 ในรอบ 4 เดือนแรกของปี (และยังปรับลดประมาณการ KBANK ลงอีก 8% สะท้อนการปรับ credit cost เพิ่ม) โดยรวมกำไรกลุ่มฯ ปีนี้ลดลง 1.34% จากปี 2558
ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่คาดว่าจะรายงานกำไรลดลงจากงวด 1Q58 คือ กลุ่มสื่อสาร (ICT)นักวิเคราะห์ ASAPS คาดกำไรงวด 1Q59 น่าจะลดลงกว่า 20% YoY จากการแข่งขันที่รุนแรง กดดันต้นทุนสูงขึ้น ทั้งภาระต้นทุนใบอนุญาตที่สูงขึ้น งบลงทุนโครงข่ายใหม่ที่เพิ่ม และการเพิ่มรายได้ยังจำกัด นักวิเคราะห์ ASPS จึงมีแนวโน้มปรับลดประมาณการกำไรฯ ปี 2560 เป็นต้นไปเพิ่มเติม หลังการประมูลคลื่น 900 Mhz ในเดือนนี้เสร็จสิ้น ส่วนปี 2559 คาดกำไรสุทธิกลุ่มฯ หดตัวถึงกว่า 40% จากปี 2558


        ขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คาดผลการดำเนนิงานทรงตัว ยกเว้น SCC รายงานกำไรสุทธิ 1.36 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%yoy และเป็นการยกฐานกำไรที่สูงขึ้น หลักๆ มาจากสายธุรกิจปิโตรเคมี (คิดเป็นกว่า 50% ของรายได้) ขณะที่ธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างยังทรงตัว ตามเศรษฐกิจในประเทศ จึงยังคาดหวังกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ภาครัฐจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใดในช่วง 2H59 ขณะที่บริษัทอื่นในกลุ่มส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานกำไรทรงตัวที่ระดับสูง แต่งวด 1Q59 ก็น่าจะเป็นจุดสูงสุดของปี


เช่นเดียวกับ กลุ่มโรงพยาบาล น่าจะทรงตัว โดยคาดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ กำไรงวด 1Q59 เติบโตไม่โดดเด่นนักเนื่องจากฐานกำไรที่ใหญ่ และยังอยู่นอกฤดูกาลด้วย กล่าวคือ BDMS คาดจะเติบโตราว 2%yoy จากจำนวนผู้ป่วย (Volume) เป็นหลัก ส่วน BH คาดชะลอตัวลง 2.2%yoy จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่ลดลง ส่วนงวด 2Q59 เป็นช่วง Low-season จึงคาดผลประกอบการทรงตัวเมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้า ยกเว้นโรงพยาบาลขนาดกลางอย่าง LPH ที่น่าจะเติบโตได้ถึงกว่า 1 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และน่าจะเติบโตต่อเนื่องถึงงวด 2Q59


      ยกเว้น กลุ่มพลังงาน คาด งวด 1Q59 น่าโดดเด่น จากราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว กล่าวคือจากระดับต่ำสุด 23 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรล มายืนใกล้ 40 เหรียญฯ ได้ก่อนสิ้นไตรมาส ซึ่งแม้จะทำให้ มี Stock Loss แต่มีแนวโน้มลดลงมากจากปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นน้ำมัน และ โรงกลั่น (PTT, PTTEP) ส่วนปิโตรเคมี คาดกำไรน่าจะทำได้เพียงทรงตัว เนื่องจาก spread โดยเฉพาะสายโอเลฟินส์ถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำในช่วงต้นไตรมาส ขณะที่กลุ่มอะโรเมติกส์ดีขึ้นเพราะได้รับอานิสงส์จากการ shutdown ของโรงงานในภูมิภาค


      โดยภาพรวมคาดว่า ผลประกอบการ 1Q59 น่าจะยังไม่โดดเด่นมาก จนมีน้ำหนักหนุนให้ SET Index ปรับขึ้นทะลุเกิน 1432-1435 จุดได้ หากไม่ได้แรงหนุนจาก Fund Flow ในเบื้องต้นหากอิงกำไรสุทธิของตลาดในปี 2559 หลังจากคำนึงถึงผลกระทบของการปรับลดประมาณกำไรของ ธนาคารพาณิชย์ข้างต้น จะอยู่ที่ 89.66 บาท (ลดลงจากประมาณการเดิม 90.25 บาท) ดัชนีตลาดจะมีค่า Expected P/E 15.659 เท่า ขณะที่เป้าหมายกำหนด Expected P/E 16.2 ดังที่ใช้ในในกลยุทธ์ “2nd Quater, Invest+” คาดว่าดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2559 จะลดลงมาอยู่ที่ 1,452.5 จุด (ลดลงจากเดิม 1,465 จุด) มี upside จำกัดเพียง 3.4% กลยุทธ์จึงต้องให้น้ำหนักต่อหุ้นรายกลุ่มและ รายบริษัท ฯ ซึ่งในสถานการณ์นี้น่าจะเน้นไปยังหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ (Global Play) ทั้ง PTT, PTTEP, IRPC, TVO, TMT, KSL เป็นต้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!