- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 July 2014 17:33
- Hits: 2182
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เข้าสู่การทำ Preview Earnings หุ้นภาคการผลิต เริ่มจาก SCC งบงวด 2Q57 อาจจะไม่สดใสนัก อาจมีแรงขายระยะสั้นต่อ กลยุทธ์ยังเลือกรายหุ้นที่มีกำไรโดดเด่นในงวด 2Q57 มี P/E ต่ำ และ Div Yield สูง โดยเลือก BECL(FV@B45) เป็น Top pick
ตลาดหุ้นสหรัฐได้รับ Sentiment เชิงบวก หุ้นรายตัวที่กำไรดีงวด 2Q57
สหรัฐ : ตลาดหุ้นโลกติดตามการรายงานผลประกอบการงวด 2Q57 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น S&P 500 ของสหรัฐ ซึ่งตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการรายงานงบของกลุ่มสถาบันการเงิน โดยผลที่ออกมาอยู่ในแนวโน้มที่ดีกว่าที่คาดไว้ เริ่มตั้งแต่ Citigroup แม้กำไรจะอ่อนตัวเล็กน้อย -0.8%yoy แต่ดีกว่าคาดถึง 17.5% ตามมาด้วย JP Morgan กำไรดีกว่าคาดถึง 21.7% เติบโต 3.3%yoy และ 24.2%qoq Goldman Sachs กำไรดีกว่าคาดถึง 32.7% เติบโต 10.8%yoy และ 2%qoq Bank of America กำไรดีกว่าคาดถึง 40.9% เติบโต 28.1%yoy และ 20.6%qoq
ขณะที่กลุ่มสื่อสาร-เทคโนโลยี มีลักษณะกระจัดกระจาย กล่าวคือ Intel กำไรดีกว่าคาด 5% เติบโต 40%yoy และ 36.6%qoq สวนทางกับ Yahoo กำไรแย่กว่าคาด -2.38% หดตัว 6.5%yoy และ -3.3%qoq เช่นเดียวกับ eBay กำไรแย่กว่าคาดถึง -22% แต่ทรงตัวเมื่อเทียบเป็น qoq โดยรวมตลาดหุ้น S&P 500 รายงานงบออกมาเกินกว่า 40 บริษัท มีราว 10% ที่กำไรดีขึ้น yoy และแนวโน้มของผลประการหลายแห่งที่ดีกว่าคาด ทำให้นักวิเคราะห์ต่างพากันปรับคาดการณ์กำไรงวด 2Q57 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น S&P 500 ว่าจะขยายตัวถึง 4.6% จากเดิม 3.2% ซึ่งถือว่าเป็น sentiment เชิงบวกต่อหุ้นรายตัว
ตลาดหุ้นไทย น่าจะให้ความสำคัญกับหุ้นรายตัวที่กำไรเด่นงวด 2Q57
ช่วงนี้ถือว่าเป็นฤดูกาลรายงานงบงวด 2Q57 โดยตลาดหุ้นไทยได้มีการทยอยประกาศงบของธนาคารพาณิชย์ไปแล้วบางแห่ง คือ TISCO([email protected]) (ไม่สดใสนัก แต่คาดว่าจะดีขึ้นในงวด 2H57) ตามมาด้วย TMB([email protected]) ที่นักวิเคราะห์ ASP ค่อนข้างชอบมาก หลังจากผู้บริหารให้มุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานในงวด 2H57 น่าจะทำได้ดีขึ้นต่อเนื่องจาก 1H57 และที่สำคัญกำหนด ROE ไว้ที่ 14% ซึ่งดีกว่างวด 1Q57 ที่ทำได้ 11% และราว 13% อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับเพิ่ม Fair Value จากเดิม 2.62 บาท เป็น 2.9 บาท ในช่วงทำ Preview Earnings ไป ราคาหุ้นปัจจุบันจึงมี upside เหลือเพียง 7% นักลงทุนที่เข้าลงทุนที่ราคานี้อาจจะต้องระมัดระวัง แรงขายทำกำไรระยะสั้นได้
มาทางด้านหุ้นที่มิใช่ธนาคารขณะนี้ นักวิเคราะห์ ASP ได้เริ่มทยอยทำ Preview Earnings แล้ว เริ่มจาก BECL(FV@B45) ผลกำไรมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง ถือเป็นหุ้นพื้นฐานที่ดีมีเงินปันผลสูง ซึ่งได้รายงานไปเมื่อ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา และวานนี้ได้ออกบทวิเคราะห์ TTW(FVB13.3) คาดว่าแนวโน้มกำไรในงวด 2Q57 ยังทรงตัวเมื่อเทียบกับงวด 1Q57 แต่กลับเพิ่มขึ้น 37% จากงวด 2Q56 (yoy) เพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5%yoy เกิดจากการปรับขึ้นราคาค่าน้ำเป็นหลัก โดยที่ยอดขายน้ำยังคงทรงตัวจากงวดก่อนหน้า ขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานลดลง (ต้นทุนสารเคมีลดลง หักล้างต้นทุนค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น) รวมถึงยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี โดยรวมหนุนให้ Gross margin และ Net margin รักษาระดับไว้ที่ 70.5% และ 53.9% ตามลำดับ แม้จะลดลงจากงวดก่อนหน้าเล็กน้อย
แต่ดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากน้ำประปา เป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ และปริมาณการใช้น้ำจะเติบโตตามจำนวนประชากร ในพื้นที่ที่ให้บริการ ทำให้การเติบโตค่อยเป็นค่อยไปอย่างมั่นคง แต่อย่างไรก็ตาม TTW มีจุดเด่นอยู่ที่เงินปันผลสูง 5.6% จึงเป็นหุ้นลงทุนที่เหมาะสมสำหรับลงทุน เพื่อรับปันผล และหากพิจารณาราคาตลาด ยังมี upside 18.8% จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
และวันนี้เป็นคิวของ SCC(FV@B500) นักวิเคราะห์ ASP ได้ประเมินกำไรในงวด 2Q57 ไม่ค่อยสดใสนักคือกำไรเพียง 8,178 ล้านบาท ลดลง 2%qoq และลดลง 18%yoy ทั้งนี้เกิดจากการชะลอตัวลงของธุรกิจหลัก ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาทางการเมืองในประเทศ เริ่มจากธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เกิดจากงานก่อสร้างภาคเอกชนที่ชะลอตัว สะท้อนงานใหม่ยังไม่เกิดขึ้น ขณะที่ backlog เดิมที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป และที่สำคัญการก่อสร้างล่าสุด เกิดสะดุด นอกเหนือจากวันหยุดยาวติดต่อกันหลายครั้ง เพราะมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในช่วงสั้น จากการที่ คสช.เข้าจัดระเบียนคนงานต่างด้าว ตามมาด้วยธุรกิจปิโตรเคมี ที่อาจจะไม่ดีอย่างที่ตลาดคาด เพราะธุรกิจปิโตรเคมีที่ SCC ถือหุ้น 100% (ระยองโอเลฟินส์) เป็นธุรกิจขั้นปลาย ซึ่งยังฟื้นตัวล่าช้า สะท้อนจาก Spread ระหว่าง HDPE-Naptha ที่ยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 1Q57 (ราคาผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย PTA, PVC ยังอ่อนตัว) ขณะที่ปิโตรเคมีขั้นต้นมีการฟื้นตัวที่แรงกว่า (เอทิลน และ โพรพิลีน ผลิตและป้อนโรงงานขั้นปลาย) แต่ SCC ถือหุ้นเพียง 2 ใน 3 ทำให้ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการกำไรของ SCC ลงจากเดิม 14% พร้อมกับ ปรับ Fair Value ลงจากเดิมลง 4% แต่ยังแนะนำซื้อ เนื่องจากเป็นหุ้นเด่นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นตัวแทนใน AEC (ติดตามอ่านใน Equity Talk วันนี้)
เงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้อย่างหนัก หนุนเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 32% เหลือราว 301 ล้านเหรียญฯ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิในทุกประเทศเช่นเดิม เริ่มจากเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 5 ราว 147 ล้านเหรียญฯ แต่ลดลงจากวันก่อนหน้า 46% ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 7 วัน ราว 74 ล้านเหรียญฯ แต่ยอดซื้อกลับเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว) ตามด้วยทยซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ราว 41 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 17%) ใกล้เคียงกับไต้หวันที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 39 ล้านเหรียญฯ ลดลง 59% ขณะที่ตลาดในฟิลิปปินส์ปิดทำการ
เป็นที่สังเกตว่า นอกจากนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องถึง 11 จาก 12 วันหลังสุด รวมกว่า 1.8 หมื่นล้านบาทแล้ว ยังเข้าซื้อตลาดตราสารหนี้ไทยอย่างหนักเช่นกัน โดยวานนี้เป็นการซื้อสุทธิเพิ่มเติมอีก 1.05 หมื่นล้านบาท นับว่าซื้อติดต่อกันเป็นวันที่ 14 รวมกว่า 9.2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 32.11 บาทต่อเหรียญฯ ซึ่งเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 5 เดือน ซึ่งแม้เป็นสัญญานบวกต่อการไหลเข้าของ Fund Flow แต่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อหุ้นส่งออก
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล