- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 29 April 2016 16:55
- Hits: 2304
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดขาดแรงหนุน หลัง BOJ ประชุมไม่มีอะไรใหม่ และการตัดลด GDP Growth ยังมีอยู่ กดดัน SET อ่อนตัวต่อ กลยุทธ์ยังแนะขายรายหุ้นที่ upside จำกัด แต่ให้ถือหุ้นโภคภัณฑ์/มีกำไรเด่น 1Q59 (TMT, PTT, WORK, IRPC, KCE, TVO) วันนี้ Top picks คือ TVO([email protected]) และ COM7(FV@B9) กำไรสดใสท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว
ตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยชี้นำ ระยะสั้นน่าจะปรับฐานต่อ
ในภาวะตลาดที่ยังขาดแรงหนุนระยะสั้น กล่าวคือ แนวโน้มกำไรตลาด ยังมีความเสี่ยงต่อการปรับลด จาก 2 กลุ่มหลักคือ ธ.พ. และกลุ่ม ICT ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังเติบโตช้ากว่าที่ประเมินไว้ ยังคงกดดันตลาดอยู่ในภาวะผันผวน ทั้งนี้อาจจะมีประเด็นบวกในเรื่องราคาสินค้า ทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังฟื้นตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมัน เหล็ก กากถั่วเหลือง น้ำตาล และ ยางพารา เป็นต้น ที่คาดว่ายังคงมีน้ำหนักช่วยประคองตลาด แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มพลังงานปัจจุบันเริ่มมี upside เหลือน้อยลงหลังจากที่ปรับตัวขึ้นมาแรงตลาดระยะ 1-2 เดือนที่ผ่านมา จึงอาจทำให้แรงขับดันตลาดที่มาจากหุ้นกลุ่มพลังงานต่อจากนี้อาจมีไม่มากนัก กลยุทธ์การลงทุนในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า จึงเน้นหนักไปที่หุ้นมีรายได้หลักเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ที่จะได้อานิสงส์จากการปรับเพิ่มของน้ำมันโลกดังกล่าวข้างต้น อาทิ
เหล็ก สินแร่เหล็ก Iron Ore (62% Fe CFR Tianjin port) แม้จะย่อตัวลงมาบ้าง แต่ยังเพิ่มขึ้นถึง 41%ytd จึงแนะนำซื้อ TMT ([email protected]) และ MCS ([email protected]) จากอานิสงส์การแข็งค่าของเงินเยน รวมทั้งเก็งกำไร BSBM ([email protected]) และ TSTH ([email protected])
กากถั่วเหลือง ราคากากถั่วเหลืองโลกวานนี้ปรับขึ้นอีก 1.5% ดีต่อ TVO (FV@B 31.26) เพราะช่วยหนุน Gross Profit Margin ประเมินว่า GPM ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 0.5% กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นถึง 6%
น้ำตาล ราคาน้ำตาลโลกล่าสุดอยู่ที่ 15.71 เซ็นต์/ปอนด์ สูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 15.50 เซ็นต์/ปอนด์ แนะนำ KSL ([email protected]) สัดส่วนรายได้จากน้ำตาลสูงถึง 70%
รวมทั้งราคายางพาราโลกยังฟื้นตัวได้ แต่แนะนำเพียงเก็งกำไร STA ([email protected])
ตลาดผิดหวัง หลังประชุม BOJ ยังไม่เพิ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
วานนี้ ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาผิดคาด สร้างความผิดหวังให้กับตลาด โดยยังคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเดิม กล่าวคือ คงวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร (QQE) ไว้ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยน/ต่อปี และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากกับธนาคารกลางไว้ที่ระดับติดลบ 0.1% ตามเดิม แต่ขยายกรอบระยะเวลาเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน เนื่องจาก BOJ ให้ความเห็นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบก่อนยังคงต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผล และยังเห็นว่าปริมาณเงินและนโยบายดอกเบี้ยติดลบ ดังกล่าวเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ส่งผลทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าต่อเนื่อง (ล่าสุด 108.07 เยนต่อดอลลาร์) ซึ่งคาดว่ากระทบต่อภาคส่งออก และน่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะถัดไป
ทั้งนี้ นอกเหนือจากที่ต้องเผชิญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศหลังประสบปัญหาแผ่นดินไหวในช่วงที่ผ่านมา และแผนการขึ้นภาษี (Sale Tax) ในต้นปีหน้ายังคงมีอยู่ จึงทำให้คาดการณ์ BOJ ยังมีความจำเป็นที่ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดแรงงานสหรัฐทรงตัวน่าจะหนุนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายปลายปี ขณะที่ สหรัฐ วานนี้มีการรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการครั้งแรก สิ้นสุด 23 เม.ย. เพิ่มขึ้น 9 พันราย สู่ระดับ 2.57 แสนราย (คิดเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลง 4.75 พันรายสู่ 2.56 แสนราย) สะท้อนภาคแรงงานที่ยังคงทรงตัว ขณะที่ภาคการผลิต และเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่าคาด ทำให้รายงาน GDP Growth เบื้องต้น งวด1Q59 ออกมาที่ต่ำกว่าตลาดคาด กล่าวคืออยู่ที่ 0.5% qoq VS ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.7% qoq (1.9% yoy VS คาด 1.7% yoy ) ซึ่งเป็นการเติบโตระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ งวด 1Q58 จึงทำให้คาด Fed จะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบหน้า (14-15 มิ.ย.) แม้ว่าจะมีรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมาจะเปิดช่องว่างในการขึ้นก็ตาม แต่คาดว่าจะปรับขึ้นเร็วสุดในไตรมาส 4 ของปีนี้
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ในรอบ 12 วันทำการ
แม้วานนี้ Dollar Index อ่อนค่าลงแรงราว 0.7 % ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 35.00 บาท/ดอลลาร์ และไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม Fund Flow กลับไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ ด้วยมูลค่าขายสุทธิสูงถึง 430 ล้านเหรียญ (หลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 วัน) นำโดย ไต้หวันขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 190 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ถูกขายสุทธิราว 179 ล้านเหรียญ, 40 ล้านเหรียญ และ 2 ล้านเหรียญ ตามลำดับ และ ไทยขายสุทธิเช่นเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านราว 22 ล้านเหรียญ หรือ 771 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมีมูลค่ารวม 2.3 พันล้านบาท) ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 34 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเช่นเดียวกับทางด้านตลาดหุ้น ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 2.4 หมื่นล้านบาท
รัฐเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลกดดัน OISHI, ICHI, SAPPE, MALEE, CBG,SSC
ท่ามกลางการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งเน้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ แต่ในทางตรงกันข้าม สภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) เตรียม ครม. ให้ขึ้นภาษีเครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ (Non Alcohol) เฉพาะที่มีน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาทิ น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง น้ำผลไม้ จากเดิมที่จัดเก็บภาษี เครื่องดื่มที่มีความหวาน แต่มิได้กำหนดเกณฑ์ของปริมาณน้ำตาลในเครื่อง ซึ่งปัจจุบันมีการจัดเก็บในเครื่องดื่มประเภทประเภทดังกล่าวข้างต้น อัตรา 20% ของราคาขาย ทั้งนี้ยกเว้น ชาเขียวและน้ำผลไม้มีส่วนผสมตามที่กรมสรรพากรกำหนด ที่ไม่เคยเรียกเก็บ
ทั้งนี้ หาก ครม. อนุมิติ คาดว่าการจัดเก็บภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามปริมาณน้ำตาลคือ
1. เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นจากปัจจุบัน และทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายปลีกปัจจุบัน (ที่รวมภาษีอยู่แล้ว 20%) ซึ่งเครื่องดื่มในปัจจุบันที่มีปริมาณน้ำตาลในเกณฑ์นี้มีเฉพาะชาเขียว ซึ่งไม่เคยถูกจัดเก็บมาก่อน ซึ่งหากมีการถูกเก็บภาษีในรอบนี้ ชาเขียวจะถูกเก็บไม่น้อยกว่า 20%
2. เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 25% ของราคาขายปลีก ซึ่งเครื่องดื่มที่เข้าข่ายที่จะต้องถูกจัดเก็บเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่เก็บอยู่แล้ว คือ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันถูกจัดเก็บอยู่แล้วในอัตรา 20% หากมีการจัดเก็บรอบนี้เพิ่มอีก ไม่น้อยกว่า 25% ก็จะทำให้ภาษีจ่ายโดยรวมเป็น 36% ส่วนสินค้าที่ไม่เคยถูกจัดเก็บเลยคือน้ำดื่มผลไม้ ให้ความหวานตามธรรมชาติ และพวกเครื่องดื่มเสริมความงาม (functional drink) จะถูกเก็บในรอบนี้เป็นครั้งแรก
คาดรัฐจะเก็บภาษีสรรมพาสามิตเพิ่มขึ้นราว 10% จากปัจจุบัน ที่ เก็บภาษีจากเครื่องดื่มประเภท Non Alcohol ทุกประเภทรวมกันอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท/ปี (คิดเป็นเพียง 2.3% ของภาษีสรรพสามิตทั้งหมด ซึ่งแบ่งเป็นภาษีที่ได้จากเครื่องดื่มประเภท Alcohol 50% และประเภท Non Alcohol อีก 50%) ทั้งนี้ปัจจุบันมูลค่าตลาดของ เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์โดยรวมแต่ละปีอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น น้ำอัดลมมีมูลค่ามากที่สุดราว 42% รองลงมาคือน้ำดื่ม 23% เครื่องดื่มชูกำลัง 12.6% ชาพร้อมดื่มและน้ำผลไม้มีสัดส่วนใกล้กันที่ 6.3% กาแฟ 5% และเครื่องดื่มสมุนไพร ราว 4.8% เป็นต้น
ผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย คาดว่าผู้บริโภคน่าจะมีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นราคาขาย (High price Elasticity) ดังนั้นผู้ผลิตน่าจะแบกรับภาระต้นทุนทางภาษีที่เพิ่มขึ้นบางส่วน และผลักให้ผู้บริโภคเพียงบางส่วน ซึ่งโดยรวมคาดว่าน่าจะกระทบต่อต้นทุน และ Gross Margin ของผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาด อาทิ ICHI OISHI SAPPE MALEE CBG และ SSC เป็นต้น โดยหากพิจารณารายสินค้าพบว่า เครื่องดื่มชูกำลัง น่าจะกระทบมากสุด เพราะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับ 18 กรัม/100 มิลลิลิตร นำโดย CBG ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มยาชูกำลัง (คาราบาว เกลือแร่) 100%
รองลงมาคือเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้และ Functional Drink ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับ 12-15 กรัม/100 มิลลิลิตร น่าจะกระทบต่อ MALEE และ SAPPE (FV@B20) แต่เนื่องจาก SAPPE มีสัดส่วนการขายในประเทศเพียง 40%ของยอดขายรวม อีก 60% ส่งออกตลาดต่างประเทศ คาดว่าผลกระทบต่อมาตรการภาษีจะมีเฉพาะส่วนที่ขายในประเทศ
ตามมาด้วยเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับ 10-12กรัม/100 มิลลิลิตร นำโดย SSC มีสัดส่วนการผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม อาทิ EST และ 100PLUS และเครื่องดื่มชา LIPTON เครื่องดื่มแรงเยอร์ เป็นต้น
เครื่องดื่มชาเขียว มีปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับ 7-9 กรัม/100 มิลลิลิตร มี 2 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจ คือ ICHI และ OISHI ทั้งนี้คาดว่า ICHI ([email protected]) น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากธุรกิจกระจุกตัวในธุรกิจเครื่องดื่ม 100% ของรายได้รวม และเน้นขายเพียงตลาดในประเทศทั้งหมด รองลงมาคือ OISHI ([email protected]) เนื่องจากมีการกระจายธุรกิจ โดยธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวมีสัดส่วน 50% และร้านอาหาร 50%
ส่วนกลุ่มฯ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการขึ้นภาษีในครั้งนี้ คือ ธุรกิจค้าปลีก ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางการจำหน่ายเครื่องดื่มดังกล่าว อันได้แก่ TNP BIGC CPALL และ MAKRO เป็นต้น แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในวงจำกัดแต่ไม่มากนัก เนื่องจากสัดส่วนยอดขายเครื่องดื่มต่อยอดขายรวมของบริษัทไม่มากนัก นำโดย TNP มีสัดส่วน มากที่สุดราว 10% ขณะที่ BIGC CPALL MAKRO มียอดขายไม่เกิน 5%ต่อยอดขายรวม
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์