- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 29 April 2016 16:51
- Hits: 2076
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET ปรับตัวลงจริงจังมากขึ้นแล้ว ถือเป็นโอกาสในการเลือกหุ้นเข้าซื้อ!
กลยุทธ์ : คาดว่า SET จะยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวผันผวนและมีจังหวะปรับพักตัวลงต่อได้อีกสักระยะ แต่คาดว่าที่บริเวณใกล้ๆ จุดต่ำเดิมแถว 1360-1350 จุดจะเป็นระดับดัชนีที่มีลุ้นแรงซื้อกลับของนักลงทุนส่วนใหญ่ได้อีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะช่วยผลักดันให้ SET พลิกกลับมาแกว่งไต่ระดับขึ้นจริงจังอีกครั้งได้ด้วย ดังนั้นช่วงถัดจากนี้น่าสนใจเลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อเมื่อตลาดเป็นลบ แล้วเน้นถือต่อเนื่องเพื่อรอรอบขาขึ้นครั้งใหม่ของตลาดต่อไปตามคาด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LIT, MILL, BDMS(short)
แนวโน้ม : SET ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง หลังค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากที่ประชุม BOJ เมื่อวานนี้ไม่ได้มีมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมออกมา ซึ่งกดดันให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลดลง รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงตลาดหุ้นสหรัฐทำให้ปิดเป็นลบกว่า 200 จุด โดยมีแรงกดดันจากตัวเลข GDP เบื้องต้นในไตรมาสแรกของสหรัฐที่ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาด และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2014 ด้วย ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังคงเปิดเป็นลบ กดดันให้ SET ยังมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวลงต่อได้อีก อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์เป็นแรงหนุน ซึ่งมีสิทธิที่จะช่วยกระตุ้นแรงซื้อกลับในหุ้นกลุ่มพลังงานได้บ้าง ทำให้ FSS คาดว่า SET จะยังอยู่ในช่วงแกว่งตัวผันผวนมีจังหวะบวก-ลบสลับอยู่ แต่เนื่องจากบ้านเราจะติดช่วงวันหยุดยาวถึง 2 ครั้งในรอบ 1 สัปดาห์ และสัปดาห์หน้าจะมีวันทำการเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้คาดว่าโอกาสที่จะมีแรงขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยงกดดันอยู่ก่อนน่าจะเป็นไปได้มากกว่า ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วงลบ แบบไม่ต้องรีบร้อนเช่นเดิม
แนวรับ 1396-1393, 1390-1384 จุด
แนวต้าน 1404-1406 , 1410-1412 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$428 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$189.5 ล้าน และเกาหลีใต้ US$178.9 ล้าน ส่วนไทยมีเงินไหลออกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 อีก US$22 ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเวียดนามประเทศเดียว US$2 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคแม้ตลาดจะผิดหวังผลการประชุม BOJ เมื่อวานนี้ที่ไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมออกมาอีก แต่การที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำทำให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังมีความน่าสนใจกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) Sell in May กำลังจะเริ่ม 5 ใน 6 ครั้งนับจากหลัง QE1 เป็นต้นมาที่ดัชนีปรับลงในเดือน พ.ค. ด้วยแรงขายของต่างชาติ สำหรับ พ.ค. ปีนี้มีโอกาสที่จะพักฐานเพราะ SET 4 เดือนแรกปรับขึ้นมาแล้ว 9% ดีสุดในภูมิภาค แต่เป็นโอกาสในการทยอยสะสมรอบใหม่เพราะเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดีขึ้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดูน่าจะเกิดขึ้นได้จริงกว่าปีก่อน ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า กระแสเงินทุนมีแนวโน้มไหลเข้าจากการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยช้า
(+) MINT ราคาหุ้นที่ร่วงลงมาเป็นโอกาสในการซื้อ เราคาดกำไรปกติ 1Q16 โตแข็งแกร่ง -8.4% Q-Q, +9.6% Y-Y หลังรวมงบการเงินของโรงแรม Tivoli ต้น ก.พ. และโอน The Residences by Anantara, Layan ภูเก็ตได้อีก 2 วิลล่า ธุรกิจอาหารคาดมี SSSG เป็นบวก ส่วนกำไรสุทธิจะโตก้าวกระโดดเพราะมีกำไรพิเศษจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนใน Tivoli แนวโน้มยังสดใส เราคาดกำไรทั้งปี +31% Y-Y ราคาพื้นฐาน 43 บาท
(+) ERW ราคาหุ้นที่ปรับลงมาเป็นโอกาสในการซื้อ เราคาดกำไร 1Q16 +75% Q-Q, +29.1% Y-Y สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แนวโน้ม 2Q-3Q16 ที่ปกติขาดทุนเพราะเป็น low season แต่เชื่อว่าปีนี้จะทำกำไรได้เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังโตแข็งแกร่ง เรายังคาดกำไรทั้งปี +56.7% Y-Y ราคาพื้นฐาน 5 บาท
(0) KBANK ประกาศปรับลดเป้าหมายทางการเงินปี 2016 ลง หลักๆเป็นการปรับ NIM ลงและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ เราปรับกำไรปีนี้ลง 10% สะท้อนเป้าหมายใหม่ของธนาคาร ทำให้กำไรปีนี้หดตัว 10% Y-Y จากเดิมคาด flat Y-Y ราคาพื้นฐานปรับลงเป็น 194 บาทจากเดิม 202 บาท คำแนะนำยังเป็นซื้อลงทุน
(0) KKP แม้ว่าเราจะปรับกำไรปีนี้ขึ้น 13% เป็น +19% Y-Y จากเดิมคาด +5.7% Y-Y จากการปรับลดค่าใช้จ่ายสำรองฯลงเพราะคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่จะลดลงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งทำให้ราคาพื้นฐานปรับขึ้นเป็น 48 บาทจาก 44 บาท แต่ราคาหุ้นวานนี้ที่ปรับขึ้นมาเร็วทำให้ upside แคบลง จึงยังแนะนำถือ
(0) PLANB ตลาดโฆษณายังอ่อนแอและไตรมาสแรกเป็น Low season เราคาดกำไรปกติ 1Q16 -35.8% Q-Q, +2.7% Y-Y แม้แนวโน้มในไตรมาสที่เหลือจะค่อยๆดีขึ้น และการได้บริหารสิทธิประโยชน์ของสมาคมฟุตบอลและบ.พรีเมียร์ลีก 4 ปี (2017-20) คาดช่วยเพิ่มกำไรปีละประมาณ 120 ล้านบาท แต่ประมาณการเดิมของเรายังคงสูงไป จึงปรับกำไรปีนี้ลง 11% เหลือ +20% Y-Y ปรับราคาพื้นฐานลงเป็น 7 บาท ยังแนะนำถือ
(0) LPN แนวโน้มกำไร 1Q16 โตดีจากมาตรการลดหย่อนค่าใช้จ่ายโอนและจดจำนอง (หมดอายุ เม.ย. นี้) และการลดรายจ่าย เราคาดกำไรสุทธิ +113.2% Q-Q, +110.3% Y-Y และคาดกำไรทั้งปี +16% Y-Y แต่ปีหน้ายังน่าห่วงจาก Backlog ที่เหลือโอนไปปีหน้ามีน้อยมาก ขณะที่ยอดขายของโครงการที่เปิดใหม่ยังทำได้ช้า เราปรับ Target PE ลงเหลือ 8 เท่าทำให้ราคาพื้นฐานลดเหลือ 15.20 บาท ลดคำแนะนำลงเป็นถือ จากเดิมซื้อ
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนปิดลบค่อนข้างแรงหลังผิดหวังกับ BoJ ที่ไม่มีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และมีข้อมูลบ่งชี้ว่า GDP 1Q16 ของสหรัฐฯชะลอตัว รวมถึงหุ้น Apple Inc ที่ร่วงลงถ่วงตลาด
(0) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดผสมโดยตอบรับราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผิดหวังกับผลการประชุม BoJ ที่ออกมาสวนทางกับที่ตลาดคาด
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนลบตามตลาดหุ้นสหรัฐฯซึ่งถ่วงบรรยากาศการลงทุน
(0) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างแรงและเร็วหลัง BoJ ไม่มีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-34.96 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.70 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 46.03 ดอลลาร์/บาร์เรล จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า รวมถึงแรงหนุนจากสต๊อกน้ำมันดิบที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปริมาณการผลิตที่ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. พุ่งขึ้น 16.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,266.40 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าหลัง BoJ ไม่ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ขณะที่ FED ส่งสัญญาณว่าไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
29 เม.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค.
- ยูโรโซน: 1Q16 GDP
- ไต้หวัน: 1Q16 GDP
1 พ.ค. - จีน: Manufacturing PMI (เม.ย.)
2 พ.ค. - ตลาดหุ้นที่ปิดทำการ: ไทย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย (วันแรงงาน)
- ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (เม.ย.)
3-5 พ.ค. - ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการ
3 พ.ค. - จีน: Caixin China PMI Manufacturing (เม.ย.)
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA) ประชุม (ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 2%)
4 พ.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (เม.ย.), คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (เม.ย.)
5 พ.ค. - จีน: Caixin China PMI Composite (เม.ย.)
- อินโดนีเซีย: 1Q16 GDP
6 พ.ค. - สหรัฐ: การจ้างงานนอกภาคเกษตร (เม.ย.)
5-6 พ.ค. - ตลาดหุ้นที่ปิดทำการมี ไทย และอินโดนีเซีย
8 พ.ค. - จีน: ดุลการค้า (เม.ย.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch