- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 April 2016 17:25
- Hits: 842
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ยังมีลุ้นแกว่งตัวลงต่อได้อีก ดังนั้นค่อยๆ ทยอยซื้อลบต่อไป...
กลยุทธ์ : SET เริ่มมีจังหวะปรับตัวลงจริงจังมากขึ้น ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม ทำให้คาดว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะยังแกว่งตัวลงต่อเนื่อง ให้เป็นโอกาสในการเลือกหุ้นทยอยซื้อตามที่เคยแนะนำไปได้ โดยแนะนำให้ค่อยๆ ทยอยรับช่วงลบแบบไม่ต้องรีบร้อนมากนัก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา SET ขึ้นมาพอควรแล้ว จึงน่าจะปรับพักตัวสักระยะ อย่างไรก็ตาม FSS ยังคาดว่าเป็นการพักฐานช่วงสั้น ก่อนที่จะพลิกกลับไปขยับบวกต่อได้ในช่วงถัดไป ดังนั้นเรายังแนะนำให้เลือกหุ้นซื้อช่วงลบแล้วเน้นถือเพื่อรอรอบบวกต่อไปได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : DEMCO, WICE, TU(buy back)
แนวโน้ม : เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(22 เม.ย.) SET เริ่มปรับพักตัวลงแรง หลังจากช่วงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีดีดบวกขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยระยะทางพอควร ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม ทำให้นักลงทุนขายทำกำไรลดความเสี่ยงบ้าง โดยช่วงก่อนหน้ายังได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกบ้าง แต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันโลกก็เริ่มผันผวนและอ่อนตัวลงอีกครั้งแม้ว่าจะไม่รุนแรง แต่ก็กดดันราคาหุ้นกลุ่มพลังงานพอควร นอกจากนี้ผลประกอบการกลุ่มแบงก์ในบ้านเราออกมาอ่อนแอกว่าคาดด้วย ส่วนเช้านี้ SET ยังถูกกดดันต่อเนื่อง จากการเปิดปรับตัวลงของตลาดหุ้นภูมิภาค หลังตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปิดเป็นลบในช่วงท้ายสัปดาห์ก่อน โดยตลาดหุ้นสหรัฐแม้ว่าจะปิดเป็นบวกได้ จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน แต่ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะยังมีแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทเอกชนรายใหญ่ในสหรัฐ เช่นไมโครซอฟท์และแคเทอร์พิลลาร์ ทำให้ FSS ยังคงคาดว่า SET จะอยู่ในช่วงแกว่งตัวลงต่อเนื่องได้อีกตามคาดเดิม ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วง SET ปรับลงเช่นเดิมไม่ต้องรีบร้อน แต่หลังจากทยอยซื้อแล้วสามารถเน้นถือเพื่อรอรอบรีบาวด์ครั้งหน้าได้
แนวรับ 1408-1402, 1398-1392 จุด
แนวต้าน 1415-1420 , 1424-1426 จุด
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$278ล้าน ส่วนใหญ่เม็ดเงินไหลเข้าเกาหลีใต้ US$125.2ล้าน และไต้หวัน US$112.3ล้าน ขณะที่ไหลออกไทยประเทศเดียวแต่เบาบาง US$1.4ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนยังมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาค ตลาดรอการประชุม FOMC ในปลายสัปดาห์นี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(0) จับตาตัวเลขส่งออกของไทยวันนี้ ตลาดคาดส่งออกเดือน มี.ค. -5% Y-Y อยู่ที่ US$1.79 หมื่นล้าน เท่ากับยอดส่งออกเฉลี่ยรายเดือนในปีก่อน และดีขึ้นจาก 2 เดือนแรกที่ไม่รวมรายการพิเศษในเดือน ก.พ. ถ้าหากยอดส่งออกในช่วงที่เหลือของปีทรงตัวได้ในระดับนี้ US$1.8 หมื่นล้าน/เดือน ซึ่งถือว่าท้าทาย ส่งออกทั้งปีจะทรงตัวเท่าปีก่อน ทั้งนี้ ธปท.คาดส่งออกปีนี้ -2% หดตัวต่อเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
(0) กลุ่ม Real sector เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการ สัปดาห์นี้จะมี SCC, PTTEP, SPRC, GLOW, HMPRO, DELTA, ASP เราคาด SCC มีกำไร 1.16 หมื่นล้านบาท +2% Q-Q, +5% Y-Y ธุรกิจปิโตรเคมียังหนุน ชดเชยธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่ชะลอได้ เราคงราคาพื้นฐาน 500 บาท แนะซื้ออ่อนตัว ส่วน PTTEP คาดกำไรสุทธิ 4.55 พันล้านบาท -3% Q-Q, -47% Y-Y กำไรส่วนใหญ่มาจาก Forex แต่ธุรกิจหลักยังดีไม่เต็มที่เพราะปริมาณขายและราคาขายลดลง แนวโน้ม 2Q16 อ่อนแอลงจากการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งปิโตรเลียมและราคาก๊าซปรับลง คงราคาพื้นฐาน 68 บาท แนะนำขาย
(0) SCB กำไรน้อยกว่าคาด -10.8% Q-Q, -20% Y-Y เพราะค่าใช้จ่ายของ SCBLife สูงกว่าคาดจากการปรับนโยบายบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิต ทำให้ต้องตั้งสำรองประกันชีวิตเพิ่ม 7.5 พันล้านบาท ถ้าไม่รวมผลกระทบจาก SCBLife กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 1.38 หมื่นล้านบาท +17% Q-Q, +5% Y-Y ดีกว่าคาด ด้าน NPL ลดเหลือ 2.6% จาก 2.9% ใน 4Q15 สวนทางกลุ่ม อย่างไรก็ตาม เราปรับกำไรปีนี้ลง 10% เหลือ 4.4 หมื่นล้านบาท -6.6% Y-Y สะท้อนค่าใช้จ่ายพิเศษใน 1Q16 ปรับราคาพื้นฐานลงเป็น 150 บาทจาก 161 บาทเพราะ ROE ที่ลดลง แต่ยังแนะนำซื้อ
(-) KTB ความเสี่ยง NPL สูงขึ้นตลอดทั้งปี การประชุมนักวิเคราะห์วันศุกร์ เราได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า NPL ใน 1Q16 ที่พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี มาจากกลุ่มใหม่คือกลุ่มธุรกิจและ SME ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิตและพาณิชย์ ผู้บริหารคาดว่า NPL จะเพิ่มในอัตราชะลอลง จึงต้องตั้งสำรองสูงกว่าปกติต่อไป เราคาดกำไร 2Q16 จะทรงตัว Q-Q, -12% Y-Y เราปรับกำไรปีนี้ลง 2% เหลือโต 3.7% Y-Y จากผลของการลดดอกเบี้ยและคาดการตั้งสำรองจะลดลงใน 2H16 ยังคงราคาพื้นฐาน 19.50 บาท คงคำแนะนำถือ
(-) DTAC แม้ไม่รวมกำไรจาก FX กำไรปกติที่ดีกว่าคาด (+26% Q-Q, -45% Y-Y ) เพราะมีรายได้ค่าใช้เสาที่ได้รับจาก ADVANC เพิ่ม จริงๆแล้วผลประกอบการยังน่าห่วงเพราะรายได้บริการลดต่อเนื่อง ส่วน Regulatory cost และ SG&A สูงขึ้น แนวโน้ม 2Q16 จะแย่ลงเพราะเริ่มโปรโมชั่นลดราคา(-) กลุ่มแบงก์ยัง
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดผสมหลังผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ออกมาน่าผิดหวัง แต่ยังไรก็ตามยังถูกชดเชยได้จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น
(-) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดในแดนลบนำโดยหุ้นในกลุ่มยานยนต์จากความกังวลเรื่องการใช้ Software โกงการทดสอบค่าไอเสีย โดยมี 5 ผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนีเรียกคืนรถมาแก้ไข
(-) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนลบจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใสนัก
(0) ค่าเงินบาทยังแกว่งทรงตัวออกข้าง ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 34.98-35.08 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ขยับขึ้น 0.55 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 43.73 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง Bake Hughes ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันปรับตัวลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงแรง 20.30 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,230.00 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและยูโร ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุม FED ในวันที่ 26-27 เม.ย. นี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
25 เม.ย. - ไทย: ดุลการค้า (มี.ค.)
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (มี.ค.)
26 เม.ย. - เกาหลีใต้: 1Q16 GDP
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.), S&P/Case-Shiller Index (ก.พ.)
27 เม.ย. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มี.ค.)
- สหรัฐ: Pending home sales (มี.ค.)
27-28 เม.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
28 เม.ย. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม, ยอดค้าปลีก (มี.ค.)
- สหรัฐ: 1Q16 GDP
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
29 เม.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค.
- ยูโรโซน: 1Q16 GDP
- ไต้หวัน: 1Q16 GDP
1 พ.ค. - จีน: Manufacturing PMI (เม.ย.)
2 พ.ค. - ตลาดหุ้นที่ปิดทำการ: ไทย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย (วันแรงงาน)
- ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (เม.ย.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Manufacturing PMI (เม.ย.)
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch