WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน


กลยุทธ์การลงทุน
     คาด SET ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมัน น้ำตาล กากถั่วเหลือง ยางมะตอย วันนี้แนะนำ TASCO(FV@B39), PTT(FV@B330) และ TMT([email protected]) เป็น Top picks และยังชื่นชอบหุ้นที่มีกำไรเด่นใน 1Q59 (BDMS, IRPC, KCE, WORK)

Money Supply โลกเพิ่มขึ้นชัดเจน ยังคงหนุนตลาดหุ้นโลก
      การที่หลายธนาคารกลางทั่วโลก ยังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ย (ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB และญี่ปุ่น หรือ BOJ ) หรือ การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ อาทิ ECB ที่ได้เพิ่มวงเงิน QE เป็น 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน จากเดิม 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน ควบคู่กับการลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0% และลดดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากกับ ECB จนติดลบ 0.4% ถือว่าเป็นการติดลบมากสุดในประวัติศาสตร์ สอดคล้องกับธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ซึ่งมีการใช้ดอกเบี้ยติดลบ 0.75% (ตั้งแต่ ม.ค.2558) การใช้นโยบายผ่อนคลายทั้ง QE และอัตราดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางดังกล่าวข้างต้น เป็นปัจจัยหนุนให้ Money supply (M2) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากพิจารณา (M2) ตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน (YTD) ประเทศพัฒนาแล้วพบว่า M2 ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากที่สุด 2.08% ตามมาด้วย ยุโรป ปรับเพิ่มขึ้น 1% ยกเว้น ญี่ปุ่น ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2%
     ขณะที่ประเทศแถบเอเซีย พบว่า M2 ในจีนปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดราว 3.9% เนื่องจากมีการใช้มาตรการการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องมากที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตามมาด้วยไทย เพิ่มขึ้น 1.12% ขณะที่ อินโดนีเซีย และมาเซียปรับเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน 0.5% และ 0.4% ตามลำดับ
และวันนี้การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตลาดคาดว่าไม่น่าจะมีมาตรการใดๆ เพิ่มเติมหลังจาก ECB ได้ออกมาตรการไปแล้วดังที่กล่าวในข้างต้น ขณะที่สหรัฐการรายงานตัวเลขตลาดบ้านที่ยังขัดแย้งกัน กล่าวคือยอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค.ที่ปรับเพิ่มขึ้น 5%mom อยู่ที่ระดับ 5.33 ล้าน สวนทางกับวานนี้ที่มีการรายงานยอดการสร้างบ้าน เดือน มี.ค. ที่หดตัว ลดลง 8.8% mom อยู่ที่ 1.09 ล้านหลัง (ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558) น่าจะทำให้ Fed เพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ตลาดคาดว่าการประชุมของ Fed ในสัปดาห์หน้า 26-27 เม.ย. น่าจะยังคงดอกเบี้ยฯตามเดิม
     กล่าวโดยสรุป Money supply ที่ยังเพิ่มขื้นอย่างต่อเนื่องจากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก ยังเป็นปัจจัยหนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น น้ำมันและทองคำ

สินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นยกแผง..น้ำมัน กากถั่วเหลือง น้ำตาล และเหล็ก
     ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้นได้แรงวานนี้ เริ่มจากสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าทั้ง WTI และ Brent พุ่งขึ้นเหนือ 43 และ 45 เหรียญต่อบาร์เรล ตามลำดับ ได้แรงหนุนจากการรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์ รวมทั้งความคาดหวังว่าจะมีการประชุมของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC รอบใหม่อีกครั้งในเดือน มิ.ย. ราคาน้ำมันโลกที่วิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อหุ้นน้ำมัน ทั้ง PTT (FV@B330) และ PTTEP (FV@B80)
เช่นเดียวกับราคาน้ำตาลโลก วานนี้ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 15.81 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้นหลังจากย่อตัวลงไปที่ 14.29 เซ็นต์ต่อปอนด์ เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10.64% ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ และมีโอกาสขึ้นไปทดสอบ High เดิม ที่ 16.71 เซ็นต์ต่อปอนด์ โดยราคาเฉลี่ยน้ำตลาดในตลาดโลกขณะนี้ถือว่าดีกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์ของ ASPS ประเมินไว้ที่ 15.5 เซ็นต์/ปอนด์ ดีต่อผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฝ่ายวิจัยยังคงชอบ KSL ([email protected]) ที่มีโครงสร้างรายได้มาจากน้ำตาล 70% ของรายได้รวม และยังมีการกระจายไปยังธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอทานอล และโรงไฟฟ้า ขณะที่ราคาปัจจุบันยังมี upside สูงถึงกว่า 19% นอกจากนี้ ยังแนะนำ KTIS ([email protected] อิง PBV 3.6) และ KBS (FV@B9 อิง PBV 1.34) ที่มีโครงสร้างรายได้มาจากธุรกิจน้ำตาล 80% ทั้งคู่
ขณะที่ราคากากถั่วเหลืองโลก มีสัญญาณปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา วานนี้พุ่งขึ้นสูงถึง 5.60% สู่ 322 เหรียญต่อตัน ทำให้ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. ราคากากถั่วเหลืองขึ้นไปแล้วกว่า 19.5% เหตุจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในบราซิล ส่งผลให้ปริมาณถั่วเหลืองออกมาน้อยลง บวกกับความต้องการใช้เพื่อทำเป็นอาหารสัตว์มากขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ ก็เป็นอีกปัจจัยหนุน ในสถานการณ์นี้ดีต่อ TVO ([email protected]) ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตกากถั่วเหลืองจำหน่ายในประเทศรายใหญ่ เนื่องจากจะไปช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ให้เพิ่มสูงขึ้น ฝ่ายวิจัยประเมินเบื้องต้นว่า ทุกๆ 0.5% ของ Gross Profit Margin ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้กำไรสุทธิของ TVO เพิ่มขึ้นถึง 6% ขณะที่ราคาหุ้น TVO ปัจจุบันพุ่งขึ้นแรง จึงอาจหาจังหวะย่อตัวลงมาเพื่อทยอยสะสม
    ส่วนราคาเหล็กโลก ยังคงเป็นไปในทิศทางบวก โดยราคาสินแร่เหล็ก 62% Fe ที่ท่าเรือ Tianjin วานนี้อยู่ที่ 64.3 เหรียญต่อตัน ส่งผลให้ในปีนี้ ราคาสินแร่เหล็กเพิ่มขึ้นแรงกว่า 50% แล้ว ดีต่อผู้ประกอบการเหล็ก ฝ่ายวิจัยยังแนะนำ TMT ([email protected]) หลังมีการปรับประมาณการกำไรขึ้น โดยคาดกำไรงวด 1Q59 โดดเด่นมากที่ 265 ล้านบาท เติบโต 3.1 เท่าตัว QoQ และ 2.8 เท่าตัว YoY โดยแรงหนุนหลักๆ เกิดจากราคาขายเหล็กเฉลี่ยงวด 1Q59 ที่ปรับขึ้น 5% QoQ เป็น 1.89 หมื่นบาท/ตัน ตามทิศทางราคาเหล็กโลก และอุปทานเหล็กในประเทศที่ขาดแคลนในระยะสั้นจากการที่ผู้ผลิตเหล็กหลายรายขาดทุนในช่วงปีก่อนหน้า และประสบปัญหาสภาพคล่อง ขณะที่ TMT มีสต็อกต้นทุนเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) ต้นทุนต่ำอยู่ คาดหนุน Gross Margin งวด 1Q59 ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 14% เทียบกับที่ทำได้ 7.7% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนแนวโน้ม 2Q59 ยังมีทิศทางที่ดี ตามราคาขายเหล็กปัจจุบันที่ขึ้นต่อเนื่องทะลุ 2 หมื่นบาท/ตัน แล้ว ซึ่งด้วยราคาเหล็กที่ฟื้นตัวเร็วและแรงกว่าคาด ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน Expected PER เพียงแค่ 7.5 เท่า และมี Dividend Yield น่าจูงใจมากถึง 10.7% จึงเลือกเป็น Top pick

Fund Flow ไหเลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องตาม Money Supply ที่เพิ่มขึ้น
      วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่า 105 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อเพียง 3 ประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 109 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) อินโดนีเซียซื้อสุทธิสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) และไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 139 ล้านบาท ที่เหลืออีก อยู่ 2 ประเทศขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์และไต้หวัน ขายสุทธิ ใกล้เคียงกันราว 12 ล้านเหรียญ และ 11 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ทั้งนี้คาดว่าในเดือน เม.ย. ต่างชาติน่าจะกลับมาซื้อสะสมสุทธิ ตาม Money Supply ที่เพิ่มขึ้นข้างต้น และ เนื่องจาก สถิติในอดีตพบว่า มีโอกาสสูงถึง 70% ที่ต่างชาติจะซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย การซื้อ-ขาย สลับจึงน่าจะเป็นภาวะปกติเท่านั้น เนื่องจากตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนราว 10% นับจากต้นปีจนปัจจุบัน (ytd) ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แต่ยังน้อยกว่าประเทศ ฟิลิปินส์ ซึ่งให้ผลตอบแทนกว่า 16% จากจุดต่ำสุดในเดือน ม.ค.
ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ กลับมาขายสุทธิ 1.1 พันล้านบาท หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วันเกือบ 1 หมื่น และ จากสถิติย้อนหลัง พบว่าสถาบันในประเทศมีโอกาสซื้อสุทธิและขายสุทธิ ในเดือน เม.ย. เท่าๆ กัน (ยอดซื้อสะสมเดือน เม.ย. 2.1 ล้านบาท) ดังนั้นจึงน่าจะเห็นสถาบันในประเทศ ซื้อสลับขายตลอดเดือน เม.ย.
ส่วนตลาดตราสารหนี้พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.4 พันล้านบาท สวนทางบนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 4.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) แต่ยังคงหนุนเงินบาทแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า เนื่องจาก fund flow ที่ยังไหลเข้าข้างต้น
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

ราคาวัสดุก่อสร้างเริ่มขยับขึ้น... TASCO Laggard และ upside มากสุด
      ดังที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ถึงแนวโน้มราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง มีสัญญาณที่ดีขึ้น กล่าวคือ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 0.6% mom (จากเดือน ก.พ. เพิ่ม 0.3% mom) เป็นการบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องหลายเดือน โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเหล็ก ขณะที่ปริมาณการใช้วัสดุก่อสร้างนั้นก็มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในบางหมวด อาทิ ปูนซีเมนต์ ล่าสุดเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 6.8% (จากเดือนก่อนหน้าที่ 1.3% ) และ กระเบื้องปูพื้น (+8.1%) และ เสาเข็มคอนกรีต (+8.5%) ซึ่งคาดปัจจัยหนุนน่าจะมาจากโครงการก่อสร้างขนาดเล็กที่หน่วยราชการท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณ
ราคาวัสดุก่อสร้างอีกประเภทหนึ่งที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากคือ ยางมะตอยโลก พบว่าล่าสุด เดือน เม.ย. อยู่ที่ 165 เหรียญฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 32% (จากจุดต่ำสุดที่ 125 เหรียญฯ/ตันเมื่อต้นปี) ซึ่งน่าจะเป็นผลจากที่จีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ได้กลับเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้าง (Work Season) อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่หยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน และ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่ามา จีนเผชิญกับภาวะอากาศ ทำให้การก่อสร้างต้องหยุดไป จึงทำให้ ปริมาณการใช้ยางมะตอยเพิ่มขึ้นนับจากนี้ เช่นเดียวกับในประเทศที่ปริมาณการใช้ยางมะตอยปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณค้างจ่ายในส่วนของกรมทางหลวงชนบท เพื่อก่อสร้าง/ซ่อมแซมถนน ซึ่งส่งผลบวกต่อหุ้น TASCO (FV@B39) ที่ปัจจุบันแม้มีปริมาณขายในประเทศเพียง 20% ของยอดขายรวม ที่เหลือ 80% เป็นการส่งออก (ในจำนวนนี้ 30% เป็นการส่งออกไปจีน ซึ่งได้ลดลงจากที่เคยสูงกว่า 40% โดยการกระจายไปยังตลาดอื่น ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น) และเนื่องจากตลาดในประเทศจะขายยางมะตอยที่มีคุณภาพสูง โดยคาดว่างวด 1Q59 ยอดขายยางมะตอยในประเทศน่าจะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ระดับ 1.6-1.7 แสนตัน และยังได้คำสั่งซื้อ Bitumen Mixture จากจีนเพิ่มขึ้น ช่วยชดเชยยอดส่งออกที่อยู่ในช่วง Low Season และทำให้ปริมาณขายรวมสูงกว่า 6 แสนตัน (และน่าจะทำกำไรระดับใกล้เคียง 1 พันล้านบาท)
     และคาดแนวโน้ม งวด 2Q59 นั้นคาดตลาดส่งออกจะกลับมาฟื้นตัว จากตลาดอาเซียน แม้ Spread ระหว่างยางมะตอยและน้ำมันดิบ เริ่มถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ดิบฟื้นตัวแล้วก็ตาม แต่ ณ ระดับราคาปัจจุบันยังคงทำให้ TASCO สามารถทำกำไรในระดับ 5 พันล้านบาท ใกล้เคียงในปีที่ผ่านมา (ด้วยนโยบายที่มีการทำการป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนน้ำมันราว 45% ของต้นทุนรวม) ขณะที่ หุ้นในปัจจุบันถือว่าปรับฐานลงมาก ทำให้ Upside เปิดกว้าง 50% จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อ Fair Value อิง PER 13 เท่า จะอยู่ที่ 39 บาท

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!