- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 April 2016 23:01
- Hits: 596
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET มีโอกาสรีบาวด์สลับ แต่ยังคาดมีลุ้นลงต่อ ดังนั้นรอซื้อลบดีกว่า
กลยุทธ์ : แม้ SET ยังมีโอกาสรีบาวด์กลับไปแกว่งด้านบวกได้อีก ตามบรรยากาศการลงทุนที่ดีของตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม ขณะที่ช่วงก่อนหน้านี้ SET ดีดตัวขึ้นมาพอควรแล้ว ทำให้ FSS ยังแนะนำให้ระวังแรงขายทำกำไรช่วงบวกที่คาดว่าจะมีออกมากดดันให้ SET แกว่งพักตัวลงต่อตามคาดเดิมได้อยู่ ดังนั้นเรายังไม่แนะนำให้ไล่ซื้อช่วงบวก แต่น่ารอหาจังหวะเลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อช่วง SET ลบน่าจะเหมาะสมกว่า ส่วนถ้าเลือกหุ้นซื้อช่วงลบแล้วสามารถเน้นถือต่อเนื่อง เพื่อรอรอบขึ้นใหญ่ต่อไปได้
หุ้นเด่นทางเทคนิค : PTG, IRCP, TTA(short)
แนวโน้ม : วานนี้ SET เริ่มมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนและย้อนลบให้เห็นอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ดัชนีขยับขึ้นมาค่อนข้างเร็วถึงเกือบ 70 จุดในช่วง 4-5 วันทำการ ขณะที่ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มแบงก์ในบ้านเราที่ทยอยประกาศในช่วงนี้ก็ยังอ่อนแอกว่าคาด อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังพอที่จะช่วยหนุนให้หุ้นกลุ่มพลังงานขยับบวกต่อได้ดีทดแทน โดยล่าสุดราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากรายงานของ EIA ที่ระบุว่าตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปเมื่อคืนนี้ปิดบวกได้ดี หนุนให้ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่เช้านี้สามารถเปิดเป็นบวกอีกครั้ง และมีสิทธิส่งผลต่อเนื่องมายังตลาดหุ้นบ้านเราให้ SET พลิกกลับไปขยับบวกต่อได้อีกเช่นกัน อย่างไรก็ตามกรอบการบวกของตลาดหุ้นเอเชียยังค่อนข้างจำกัด ทำให้ FSS คาดว่า SET ก็จะมีกรอบบวกที่จำกัดด้วย รวมทั้งช่วงนี้ถือได้ว่ายังไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาช่วยหนุนเพิ่มเติม จึงต้องตามระวังแรงขายทำกำไรช่วงบวกที่มีสิทธิที่จะกดดันให้ SET กลับไปอ่อนตัวลงอีกครั้งตามคาดเดิมได้ ดังนั้นเรายังแนะนำให้รอทยอยซื้อช่วงตลาดอ่อนตัวลงก่อน น่าจะเหมาะสมกว่า
??แนวรับ 1410-1407, 1403-1398 จุด
??แนวต้าน 1417-1420 , 1426-1429 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$111 ล้าน ส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$109.9 ล้าน และอินโดนีเซีย US$14.8 ล้าน ส่วนไทยเม็ดเงินไหลเข้า US$4 ล้าน ขณะที่ไหลออกฟิลิปปินส์ 12.8 ล้าน และไต้หวัน US$11.1 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคโดยกลุ่มพลังงานน่าจะเป็นกลุ่มหนุนตลาดตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น 3% เมื่อคืนนี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ค่าเงินบาทและเงินสกุลเอเชียกลับมาอ่อนค่า นักลงทุนขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงออกมาบ้างหลังพุ่งขึ้นเร็วในช่วงก่อนหน้า ทั้งราคาน้ำมันที่มีปัจจัยกดดันลดลงหลังคนงานในคูเวตยุติการประท้วงแล้วเมื่อวานนี้ ส่วนตลาดพันธบัตรของไทย ต่างชาติยังคงขายต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันและเป็นปริมาณมากขึ้น สำหรับการประชุม ECB วันนี้ คาดว่าไม่มีมาตรการเพิ่มเติมหลังจากที่ปล่อยมาตรการชุดใหญ่ออกมาในการประชุมครั้งก่อน แต่ควรจับตาความเห็นต่อเศรษฐกิจในยูโรโซนที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน
(+) KBANK กำไรก่อนสำรองดีเกินคาด +51% Q-Q, +19.7% Y-Y เพราะคุมรายจ่ายได้ดี ส่วนกำไรสุทธิ 1Q16 ใกล้เคียงคาด +76% Q-Q, -22% Y-Y (ดีกว่าตลาดคาด) เป็น 9.65 พันล้านบาท การตั้งสำรองสูงขึ้นมากตามที่ธนาคารให้ guidance สำหรับสินเชื่อ +0.23% YTD, NPL เพิ่มเป็น 2.81%, Coverage ratio แกร่ง 135% แนวโน้มกำไร 2Q16 น่าจะใกล้เคียง 1Q16 โดย NPL จะยังเพิ่ม การตั้งสำรองยังสูงต่อไป NIM จะลดลง คาดกำไรจะดีขึ้นใน 2H16 ยังแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 202 บาท
(+) BIG เราคาดกำไร 1Q16 โตก้าวกระโดด +191% Y-Y, +7% Q-Q นอกจาก loss carry forward ที่เป็นตัวช่วย ธุรกิจหลักยังแข็งแกร่งมากตามเทรนด์ของกล้อง Mirrorless ที่โตตัวแรง โดยมูลค่าตลาดใน 2 เดือนแรก +146% Y-Y ขณะที่การปรับ product mix ของบริษัททำให้อัตรากำไรขั้นต้นทำจุดสูงสุดใหม่ใน 1Q16 เราปรับกำไรปี 2016-17 ขึ้น 38% และ 55% เป็นเติบโตสูงถึง 60% ในปีนี้และ 20% ในปีหน้า และ re-rate PE ขึ้นเป็น 20 เท่า ราคาพื้นฐานเพิ่มขึ้นเป็น 4 บาทจาก 2.50 บาท แนะนำซื้อ
(+) GFPT เราคาดกำไร 1Q16 โตดี +27.5% Y-Y แต่ -38% Q-Q ตามฤดูกาล เป็น 278 ล้านบาทจากปริมาณส่งออกไก่ที่ดีขึ้น (ราคาขายทรง) และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม (GFN, McKey) ที่จะโตก้าวกระโดดจาดฐานต่ำปีก่อน ชดเชยธุรกิจกุ้ง (6% ของรายได้รวม) ที่ยังไม่สดใสได้ แนวโน้มกำไรจะดีต่อเนื่องใน 2Q-3Q16 เพราะเป็น high season และราคาลูกไก่เนื้อที่เริ่มขยับขึ้น เราคงประมาณการกำไรปีนี้ +11.% Y-Y แต่ปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 16 บาทจากการ re-rate PE ขึ้นเป็น 15 เท่าจาก 13 เท่า แนะนำซื้อ
(+) ASEFA เราคาดกำไร 1Q16 +65.8% Y-Y จากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น แต่ -25.8% Q-Q ตามฤดูกาล Backlog ปัจจุบันยังสูงถึง 1.7 พันล้านบาท รับรู้เป็นรายได้ในปีนี้ 60-65% เรายังคงคาดกำไรทั้งปี +17.8% Y-Y แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 7 บาท
(-) M เราคาดกำไรสุทธิ 1Q16 ไม่สดใส -8% Q-Q, -5.2% Y-Y จากยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาเดิมที่น่าจะติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ราว -5% Y-Y ทำให้รายได้น่าจะทำได้เพียงทรงตัว แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการเปิดสาขา มาตรการกินช่วยชาติจะช่วย M ชั่วคราวใน 2Q16 เราคาดกำไรทั้งปี +20% Y-Y เป็น 2.24 พันล้านบาทจากการขยายสาขา 50 แห่งในปีนี้ แต่ประมาณการของเราอาจมี downside ประกอบกับราคาหุ้นขยับขึ้นมาจน upside แคบลง ลดคำแนะนำเป็นถือ จากเดิมซื้อ คงราคาพื้นฐาน 60 บาท
??(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดบวกได้อีกเล็กน้อยโดยยังได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดับที่พุ่งขึ้นต่อ รวมถึงผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่
??(+) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนบวกได้เช่นกันนำโดยหุ้นในกลุ่มพลังงานและเหมืองแร่
??(+) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวในแดนบวกได้ต่อเนื่องตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่ยังค่อนข้างสดใส
??(+) ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 34.93-35.00 บาท/ดอลลาร์
??(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. พุ่งขึ้น 1.55 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 42.63 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA เปิดเผยตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด และข่าวลือว่าจะมีการประชุมกลุ่มผุ้ผลิตน้ำมันในเดือนหน้าที่รัสเซีย แต่ล่าสุดได้ออกปฏิเสธแล้ว
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ขยับขึ้นเพียง 0.10 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,254.40 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยเริ่มมีแรงขายออกมากดดันหลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันก่อนหน้า รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
18-22 เม.ย. - ไทย: กลุ่มธนาคารรายงานผลประกอบการ
21-เม.ย. -ไทย: จับสลากโครงการโซลาร์ฟาร์มราชการและสหกรณ์ 600 MW
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- ยูโรโซน: ECB ประชุม
22-เม.ย. - ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (เม.ย.)
24-เม.ย. - ไทย: ดุลการค้า (มี.ค.)
25-เม.ย. - สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (มี.ค.)
26-เม.ย. - เกาหลีใต้: 1Q16 GDP
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.), S&P/Case-Shiller Index (ก.พ.)
27-เม.ย. - ไทย: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มี.ค.)
- สหรัฐ: Pending home sales (มี.ค.)
27-28 เม.ย. - สหรัฐ: FOMC ประชุม
28-เม.ย. - ญี่ปุ่น: BOJ ประชุม, ยอดค้าปลีก (มี.ค.)
- สหรัฐ: 1Q16 GDP
- ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)
29-เม.ย. - ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค.
- ยูโรโซน: 1Q16 GDP
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265 Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch