- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 April 2016 18:30
- Hits: 715
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ฟื้นตัว ยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงหุ้นที่คาดว่าจะมีกำไรเด่นใน 1Q59 (BDMS, ERW, CENTEL, WORK, PTT, IRPC, KCE) จึงเลือก PTT(FV@B330) และ TMT([email protected]) เป็น Top picks
รัฐเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีสัม คาดจะประมูล มิ.ย. นี้ ดีต่อ CK, ITD
ที่ประชุม ครม.วานนี้ อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) วงเงิน 8.29 หมื่นล้านบาท (หลังปรับลดวงเงินก่อสร้างลง 2.6พันล้านบาท) คาดว่าจะเปิดประมูลภายใน มิ.ย.2559 และจะเริ่มก่อสร้างจริงได้ในปี 2560 ขณะที่ก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติไปแล้ว 2 เส้นทาง คือ สายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท โดยทั้ง 2 เส้นเป็นโครงการที่อยู่ใน PPP Fast track ที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนภายใต้ พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พศ 2556 (PPP) ซึ่งมีขั้นตอน และกระบวนการทางกฎหมายที่มากกว่า จึงน่าจะเห็นการประมูลเกิดขึ้นใน มิ.ย.2559 และลงทุนก่อสร้างจริงปี 2560 เช่นเดียวกัน
โดยสรุปโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 เส้นทางที่ผ่านครม. ถือว่าเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์กลุ่มรับเหมาประมาณการ (In line) โดยแผนการลงทุนภาครัฐที่ดำเนินการต่อเนื่องเชื่อว่าจะส่งผลบวกหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ อาทิ CK ITD STEC และ UNIQ โดยทั้ง 4 บริษัท มีTrack record งานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐมาก่อน จึงสามารถเข้าประมูลงานได้ในฐานะผู้รับเหมาหลัก โดยฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบ CK ([email protected]) มากที่สุด เนื่องจาก CK มีประสบการณ์ทำงานที่หลายหลาย โดยเฉพาะงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ CK ถือเป็น 1 ใน 2 บริษัทก่อสร้างไทย (อีกบริษัทคือ ITD) ที่มีประสบการณ์ในการทำงานสถานีใต้ดินมาก่อน ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล และสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ซี่งเป็นงานใต้ดินเกือบทั้งหมดโดย CK ยังมีศักยภาพและความพร้อมมากที่สุดที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับภาครัฐสำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 3 เส้น และยังมี Upside ราว 21.15%
นอกจากนี้ ครม.อนุมัติ ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังที่นำเสนอใน Market talk วานนี้ อาทิ หักค่าใช้จ่ายเพิ่มป็น 50%ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 1แสนบาท (เดิมหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท) และเพิ่มหักค่าลดหย่อนบุตร จากเดิมที่กำหนดลดหย่อน 15,000บาท /คน แต่ต้องไม่เกิน 3คน เปลี่ยนเป็น ไม่จำกัดจำนวนบุตร เป็นต้น ซึ่งจะมีผลในปี 2560 จึงน่าจะเป็นผลดีต่อ (C) ในปี 2560
ตลาดน่าจะรับรู้การรายงานงบงวด 1Q59 ของ ธ.พ. และให้น้ำหนักในช่วงที่เหลือของปีนี้
จนถึงวานนี้ กลุ่ม ธ.พ. รายงานงบออกมาแล้ว 6 แห่ง คือ KKP, TISCO, TCAP, TMB, LHBANK และ BBL โดยส่วนใหญ่ผลการดำเนินงานเป็นไปตามคาดหรือต่ำกว่าคาดเล็กน้อย โดยภาพรวมนั้นรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียม มีการลดลง/ทรงตัวตามภาวะสินเชื่อที่ชะลอตัว ผลจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ขณะที่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลงหลังผ่านพ้นช่วงฤดูกาล ทำให้ผลการดำเนินงานในงวด 1Q59 นี้ ขึ้นอยู่กับระดับ NPL และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ซึ่ง ธ.พ. บางแห่งอาจตั้งสูงขึ้นตามนโยบายระมัดระวัง (TISCO, TCAP) บางแห่งอาจตั้งน้อยลง (KKP) เนื่องจากส่วนใหญ่มีระดับ NPL ที่ลดลงในงวด 1Q59
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ น่าจะรับรู้เข้ามาเต็มไตรมาสตั้งแต่งวด 2Q59 เป็นต้นไป กดดัน NIM ขณะที่คาดการณ์ NPL อาจพุ่งสูงขึ้นในงวด 2Q59 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังชะลอตัว ความต้องการสินเชื่อน้อย โดยเฉพาะ SMEs การลดดอกเบี้ยอาจจะไม่ช่วยเพิ่มความต้องการใช้สินเชื่อมากนัก อย่างไรก็ตามคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ น่าจะยังทรงตัวจากงวด 1Q59 ล่าสุดนักนักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มฯ ปี 2559-60 ลง 5.0% และ 4.5% จากเดิม ทำให้กำไรสุทธิของกลุ่มฯ ปี 2559 เติบโตลดลงเหลือเพียง 3.8% yoy
แต่หากพิจารณาการลดลงของราคาหุ้นในกลุ่มฯ เชื่อว่าน่าจะซึมซับข่าวร้ายไปมากพอควรแล้ว สะท้อนจากผลตอบแทนของกลุ่ม ธ.พ. ในปีนี้อยู่ที่ 9.5%ytd ใกล้เคียงกับตลาดที่ 9.9%ytd จึงน่าจะเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นที่ต่ำกว่าราคา Book Value หรือมีศักยภาพสูง พื้นฐานแข็งแกร่ง โดยฝ่ายวิจัยยังคงเลือก KBANK(FV@B238) เป็น top pick และซื้อ TISCO (FV@B50)
สินค้าโภคภัณฑ์ยังหนุนตลาด.. Dollar อ่อนค่าตราบที่สหรัฐเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยออกไป
วานนี้มีการรายงานตัวเลขยอดสร้างบ้าน ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ผิดความคาดหมาย โดยลดลง 8.8% mom อยู่ที่ 1.09 ล้านหลัง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558 สอดคล้องกับ ยอดสั่ง สร้างบ้านที่ลดลง ราว 7.7% ทำระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เริ่มเห็นการชะลอตัวลง เช่นเดียวกับทางฝั่งภาคการผลิตที่ยังคงทรงตัว เห็นได้จากตัวเลข PMI ภาคการผลิต (Markit) เดือน มี.ค. อยู่ที่ 51.5 จุด กระเตื้องขึ้นจาก 51.3 จุด ในเดือน ก.พ. เล็กน้อย (หลังจากที่แตะระดับต่ำสุดที่ 51.2 จุด เดือน ธ.ค. 2558) น่าจะกดดันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ในงวด 1Q59 ของสหรัฐ และ น่าจะทำให้ Fed เพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ตลาดคาดว่าการประชุมของ Fed ในรอบถัดไปคือ 26-27 เม.ย. และ 14-15 มิ.ย. น่าจะยังคงดอกเบี้ยฯตามเดิม ซึ่งถือเป็นเป็นปัจจัยกดดัน Dollar Index ให้ปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่องกว่า 4.8% นับตั้งแต่ต้นปี (ล่าสุด 93.97 จุด)
และในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ซึ่งตลาดคาดว่าไม่น่าจะมีมาตรการใด ๆ เพิ่มเติมหลังจากที่ได้ออกมากมาตรการผ่อนคลายผ่านการลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0% และ ลดดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากกับ ECB จนติดลบ 0.4% ถือว่าเป็นการติดลบมากสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว การใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังมีความจำเป็น
โดยสรุปการใช้นโยบายผ่อนคลายของธนาคารกลาง ยังคงเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลกต่อเนื่องอย่างน้อยในไตรมาส 2 ของปีนี้
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทย แต่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เท่านั้น
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 แต่มูลค่าซื้อเริ่มแผ่วลง โดยมีมูลค่าเพียง 40 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ ซื้อสุทธิสูงสุดราว 58 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิสุทธิ 12 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน แต่เล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และ ไทยขายสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ หรือ 583 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติได้ขายสุทธิสะสมหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาค ด้วยมูลค่าราว 137 ล้านเหรียญ หรือ 4.8 พันล้านบาท ซึ่งตามสถิติในอดีตที่มีความน่าจะเป็นกว่า 70% ที่ต่างชาติมักจะซื้อหุ้นในเดือนนี้ การขายหุ้นวานนี้จึงน่าจะเป็นเพียงการขายทำกำไรช่วงสั้น ๆ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศที่วานนี้ซื้อสุทธิสูงถึง 4.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 9.8 พันล้านบาท)
ขณะที่ทางตลาดตราสารหนี้พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.5 หมื่นล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อยราว 867 ล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) แต่เป็นที่สังเกตว่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสะท้อนว่าแรงขายของต่างชาติไม่ว่าจะในตลาดหุ้น และ ตราสารหนี้ น่าจะเป็นเพียงการพักฐานช่วงสั้น ๆ เท่านั้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์