- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 04 April 2016 17:28
- Hits: 719
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
แม้ SET อาจแกว่งบวกสลับ แต่ก็ย้อนลบได้อีก ดังนั้นยังรอซื้อลบต่อ...
กลยุทธ์ : แม้ว่า SET อาจจะมีจังหวะรีบาวด์กลับไปเคลื่อนไหวเป็นบวกสลับบ้าง แต่เนื่องจากตลาดยังขาดปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม ดังนั้น FSS จึงคาดว่า SET ยังมีสิทธิที่จะแกว่งลงต่อเนื่องได้อีก ดังนั้นเราแนะนำให้แบ่งขายทำกำไรลดพอร์ตในช่วงบวกต่อ โดยเฉพาะถ้าดัชนีเข้าใกล้ 1420 จุดหรือสูงกว่าขึ้นไป จากนั้นให้ถือเงินสดไว้ เพื่อรอเลือกหุ้นทยอยซื้ออีกครั้ง เมื่อ SET ปรับตัวลงต่ำต่อไป
หุ้นเด่นทางเทคนิค : ERW, PLANB, GL(short)
แนวโน้ม : ในช่วงท้ายสัปดาห์ที่แล้ว SET ยังปรับตัวลงต่ออีกในช่วงเช้า ก่อนที่ในภาคบ่ายจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้เริ่มแกว่งทรงตัวได้อีกครั้ง ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปในช่วงค่ำยังร่วงลงจากราคาน้ำมันที่ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อาจจะไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการจำกัดเพดานการผลิต หลังจากซาอุดิอาระเบียยืนยันว่าจะตรึงกำลังการผลิตก็ต่อเมื่ออิหร่านและประเทศอื่นๆ ต้องยอมปฏิบัติตาม ซึ่งที่ผ่านมาอิหร่านยังอยู่ในช่วงเพิ่มการผลิตให้เท่ากับก่อนถูกนานาชาติต่อต้านด้วย นอกจากนี้ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากรายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตของเยอรมนีที่กระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐยังสามารถปิดบวกได้ดีถึงกว่า 100 จุด หลังนักลงทุนขานรับข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเดือน มี.ค. ที่พุ่งขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กัน รวมถึงตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐที่ดีเกินคาด ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในเร็วๆ นี้ก็ลดน้อยลงไปแล้วจากถ้อยแถลงของประธานเฟดเมื่อสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังเปิดทำการด้านบวกได้ แต่กรอบขึ้นยังค่อนข้างจำกัด โดย FSS คาดว่านักลงทุนยังไม่มั่นใจกับสภาพตลาดมากนัก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังค่อนข้างอ่อนแอ ทำให้เรายังคาดว่า SET มีสิทธิแกว่งพักตัวลงต่อเนื่องได้อีกตามคาดเดิม จึงยังแนะนำให้รอทยอยซื้อช่วง SET ลบดีกว่า
แนวรับ 1395-1390 , 1386-1380 จุด
แนวต้าน 1402-1406 , 1408-1410 จุด
Fund Flow เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$137ล้าน ส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวันและเกาหลีใต้ US$128.6 ล้าน และ US$126.2 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่ไหลเข้าไทยมากที่สุด US$114.3 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาค เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากอัตราดอกเบี้ยที่ตกต่ำทั่วโลก แต่การไหลเข้าอาจชะลอตัวลง โดยอาจต้องติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ Fed ที่จะออกมาให้ความเห็นต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม รวมถึงความตึงเครียดเรื่องหนี้กรีซกับ IMF และประเทศใน EU
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) สหรัฐจ้างงานเพิ่มกว่าคาด +215,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ +205,000 ตำแหน่ง และมีการ revise ตัวเลขเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงก็ดีขึ้นและมากกว่าคาด (+2.3% Y-Y, +0.3% M-M) ตัวเลขที่ดีขึ้นกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นและน้ำมัน ตลาดกังวลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเร็ว
(-) ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงอีกครั้ง 4% หลังซาอุฯออกมาระบุว่าจะไม่ตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน หากอิหร่านและประเทศอื่นๆไม่ยอมปฎิบัติตาม ทำให้ตลาดกังวลว่าปัญหาอุปทานล้นตลาดที่จะกลับมากดดันราคาน้ำมันอีกครั้ง
(+) กลุ่มพลังงานทดแทน พรุ่งนี้กกพ.จะประกาศแนวทางดำเนินโครงการโซลาร์ฟาร์มราชการและสหกรณ์ 600 MW (หลังเลื่อนมา 2 ครั้งเพราะติดเรื่องผังเมืองและพ.ร.บ.ร่วมทุน) จะประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ 18 เม.ย. และกำหนดจับสลาก 21 เม.ย. นี้ หากไม่เลื่อนอีกจะเป็น sentiment บวกกับผู้ที่สนใจเข้าร่วมซึ่งต้องติดตามว่าจะผ่านคุณสมบัติหรือไม่ ได้แก่ TSE, EPCO, IFEC, SENA, SOLAR, SUPER, PSTC, และ GUNKUL
(-) กลุ่มธนาคาร ความกังวลเรื่อง NPL ที่ยังเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า แม้จะเพิ่มในอัตราที่ชะลอลงก็ตาม แต่อาจฉุดราคาหุ้นโดยเฉพาะแบงก์ใหญ่ที่ปรับขึ้นอย่างโดดเด่นในไตรมาสแรก (ราคาหุ้น 4 แบงก์ใหญ่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28-30% จากจุด low ในเดือน ม.ค.) พักฐาน หลังจาก KBANK ที่เราได้เข้าพบศุกร์ที่ผ่านมาซึ่งโทนไปทางลบ สัปดาห์นี้มี company visit อีกหลายแบงก์ ก่อนประกาศงบการเงินสัปดาห์ที่ 3 แม้ราคาหุ้นแบงก์ใหญ่ส่วนใหญ่จะมี upside เฉลี่ย 18% แต่แนะนำรอซื้ออ่อนตัว
(-) KBANK ส่งสัญญาณตั้งสำรองฯสูงกว่าปกติเพราะ NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้การเพิ่มขึ้นจะชะลอลงแต่ภาพรวมยังไม่ดีขึ้นจากปลายปีก่อน แนวโน้มกำไรในครึ่งปีแรกจึงไม่น่าดีนัก ส่วนกำไร 1Q16 เราคาด -23.8% Y-Y แต่ +72.5% Q-Q จากค่าใช้จ่ายที่ลดลงตามฤดูกาล แต่ PPOP ยังดี คาด +43.6% Q-Q, +13.8%Y-Y เราคงกำไรสุทธิทั้งปี 2016 +3.5% Y-Y เพราะคาดการตั้งสำรองจะค่อยๆลดลงใน 2H16 จึงคงราคาพื้นฐาน 210 บาท แม้จะมี upside แต่ภาพของผลประกอบการที่ไม่สดใส แนะนำรอซื้ออ่อนตัว แนวรับ 164-165 บาท
(+) TU หากไม่รวมรายการพิเศษในปีก่อน เราคาดกำไรปกติ 1Q16 โตแรง +86% Y-Y จากฐานต่ำในปีก่อน ค่าเงินยูโรแข็งค่า ธุรกิจปลาทูน่าและกุ้งฟื้น MWB ดีต่อเนื่อง และรวมผลการดำเนินงานของ Rugen Fish 2 เดือน แต่คาดกำไรลด 21% Q-Q เพราะค่าใช้จ่ายปรับขึ้นเร็วกว่ารายได้ แนวโน้มกำไร 2Q-3Q16 จะดีต่อเนื่องเพราะ High season และรวม Rugen Fish เต็มไตรมาส ส่วนธุรกิจของ Chicken of the Sea ที่แข่งขันรุนแรง บริษัทอยู่ระหว่างปรับแผนธุรกิจ แนวโน้มกำไรในระยะยาวยังมีทิศทางขาขึ้น แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นเร็วจนเกือบเต็มมูลค่าพื้นฐานปีนี้ที่ 22.50 บาท จึงลดคำแนะนำเป็นถือ จากเดิมซื้อ
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดในแดนบวกรับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและตัวเลข ISM ภาคการผลิตเดือน มี.ค. ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดในแดนลบแรงพอสมควรตามราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งอาจทำให้ FED ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียที่เปิดทำการเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับตัวในแดนบวกได้เล็กน้อยจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง
(0) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยก่อนที่จะปรับตัวพักฐานลงมา ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 35.06-35.20 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ร่วงแรง 1.55 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 36.79 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังซาอุดิอาระเบียกล่าวว่าจะไม่คงกำลังการผลิตหากอิหร่านและประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อื่นๆไม่คงกำลังการผลิตเหมือนกัน
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ร่วงลง 12.10 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,223.50 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ออกมาแข็งแกร่งกว่าคาด ทำให้นักลงทุนกังวลต่อช่วงเวลาที่ FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
4-เม.ย. - ตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง และไต้หวันปิดทำการ เนื่องในเทศกาลเชงเม้ง
- ไทย: GVREIT เริ่มซื้อขาย (ราคา IPO 10 บาท)
- สหรัฐ: คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (ก.พ.)
5-เม.ย. - ตลาดหุ้นไต้หวันปิดทำการ เนื่องในเทศกาลเชงเม้ง
- ไทย: CHEWA เริ่มซื้อขาย (ราคา IPO 1.60 บาท)
- ออสเตรเลีย: ธนาคารกลาง (RBA) ประชุม
- อินเดีย: ธนาคารกลาง (RBI) ประชุม
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (มี.ค.)