- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 01 April 2016 17:54
- Hits: 10335
บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Market View : Swing Trading
Stock of the town : DAII JSP
หุ้นแนะนำพิเศษ : CK
หุ้นมีข่าว : PTT SYNEX กลุ่มสื่อสาร SCB BBL KBANK KTB
SET วานนี้ย่อตัวลงเล็กน้อยจากแรงขายกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมันทรุดตัวลงหลุด 39 US/Barrel รวมถึงแรงขายทำกำไรระยะสั้นตามสัญญาณเทคนิค ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,407.70 จุด (-2.59 จุด) Volume 4.1 หมื่นลบ. โดย Foreign Net +1,790 ลบ. , Net TFEX -4,533 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
- ธปท.ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี59 เหลือ +3.1% (จากเดิม +3.3%) โดยมองว่าแรงส่งมาจากการลงทุน การท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นภาครัฐ
- สตง. และสนง.ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบเอาผิด PTT กรณีคืนท่อก๊าซฯ และลงทุนสวนปาล์มในอินโดนีเซียทำให้เกิดความเสียหาย เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครอง 4 เม.ย.
- ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาสแรกของปี 2559 อยู่ที่ระดับ +6 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ +8
- ตลาดหุ้น DJ - 31.57 จุด หลังจากจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 11,000 ราย สู่ระดับ 276,000 ราย
- S&P ปรับลดอันดับเครดิตจีนและฮ่องกง สู่ "เชิงลบ" ชี้มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ,การเงินที่เพิ่มขึ้น
+ บอร์ด PPP คาดรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ) เสนอ ครม.ได้ต้น พ.ค.นี้ภายใต้ Fast Track
+ จีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมี.ค.ขยายตัวขึ้นแตะ 50.2
+/- กทค.กำหนดประมูลใหม่ 900 MHz วันที่ 24 มิ.ย.ราคาตั้งต้น 7.56 หมื่นลบ. พร้อมปรับหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็น 3,783 ล้านบาท และกำหนดบทลงโทษหากผู้ชนะประมูลทิ้งใบอนุญาตจะต้องจ่ายค่าเสียหายราว 1.51 หมื่นล้านบาท
+/- ราคาน้ำมันทรงตัวล่าสุด 38 USD/Barrel เนื่องจากนักลงทุนจับตาการประชุมประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในวันที่ 17 เม.ย.
ปัจจัยลบจากสตง.เตรียมตรวจสอบ PTT , ธปท.ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี59 ลงเหลือ เป็นปัจจัยบกดดันต่อภาวะตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ตาม Fund Flow ที่เป็น Net Buy ต่อเนื่อง รวมถึงการเร่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังเป็นเป็นแรงหนุนต่อทิศทางตลาด ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัว 1,400 - 1,415 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำรอซื้อเล่นรีบาวด์ช่วงอ่อนตัวแบบ Selective Buy
- STA TRUBB ราคายางพาราปรับตัวขึ้น 38% YTD ล่าสุด 172 Yen/Kg
- VPO LST CPI ราคาปาล์มปรับตัวขึ้น 27% YTD ล่าสุด 685 USD
- TTA PSL ค่าระวางเรือ + 48% MoM ล่าสุด 429 จุด
- SOLAR AKR IFEC GUNKUL SUPER กกพ.เตรียมจับสลากโซลาร์ฟาร์มราชการและสหกรณ์ 600 Mw 21 เม.ย.
- DEMCO NWR UNIQ ITD ILINK LOXLEY EMC งานย้ายสายไฟลงดิน มูลค่า 2,500 ล้านบาท "กฟน." เล็งเปิดให้ยื่นซองเทคนิควันที่ 19 เม.ย.
- กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง รัฐบาลเร่งพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ
ประเด็นข่าวอื่น
- TRUE ออก TSR จำนวน 8.39 พันล้านหน่วย ให้ฟรีผถห.เดิม 2.932445:1,ราคาใช้สิทธิ 7.15 บ./หุ้น
- IRCP เซ็นสัญญาให้เช่าเครื่องคัดแยกสิ่งของทางไปรษณีย์ แบบ cross Belt Sorter กับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ระยะเวลา 10 ปี มูลค่า 513 ล้านบาท
- EFORL เผยบริษัท ดับบลิวซีไอ โฮลดิ้ง จำกัด (WCIH) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของวุฒิศักดิ์ฯ เลื่อนยื่นไฟลิ่งออกไปเป็นเดือน พ.ค. และคาดว่าจะสามารถนำหุ้นเข้าซื้อขายได้ในช่วงเดือนพ.ย. 59 เพื่อรอเปิดผลผลการดำเนินงาน 1Q59
- BTS เผยบริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท ไลน์ บิซ พลัส จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจบริการรับชำระเงินแทนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และออนไลน์ นอกจากนี้ยังเตรียมเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู
หุ้นแนะนำพิเศษ
CK ราคาปิด 25.50 บาท ราคาพื้นฐาน 32 บาท
- Backlog 8.3 หมื่นลบ. รองรับรายได้อีก 3 ปี และได้ประโยชน์จากโครงการลงทุนภาครัฐกว่า 5 แสนลบ. ทั้งนี้บ.ตั้งเป้ารายได้ปี 59 +3% สู่ 3.5 หมื่นลบ.
- คาดกำไรปี 59 ที่ 1.8 พันลบ. ตามการรับรู้รายได้จากโครงการขนาดใหญ่อาทิ โครงการเขื่อนไชยะบุรี โครงการทางด่วนศรีรัช และรับรู้กำไรจาก BEM เพิ่มขึ้น
หุ้นมีข่าว
- ประเด็นลบ PTT - ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ร่วมกันตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเด็นการคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้กับภาครัฐไม่ครบถ้วน และการลงทุนสวนปาล์มในอินโดนีเซียที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
- SYNEX (ราคาปิด 4.64 แนะนำ ซื้อราคา 5.60) เดินเกมลุยตลาดเพื่อนบ้านเต็มสูบ หวังอัพฐานต่างแดนพุ่งเท่าตัว พร้อมปักธงปี 2559 รายได้ตามนัดโต 8% จากปีก่อนโหนกระแสไอทีบูม หนุนออเดอร์กระฉูด ผู้บริหารเดินหน้าเข็นบริษัทลูกเข้าตลาดหุ้น เสริมแกร่งระยะยาว
- กทค.กำหนดประมูลใหม่ 900 MHz วันที่ 24 มิ.ย.ย้ำราคาตั้งต้น 7.56 หมื่นลบ.
- ความเห็น: เนื่องจากใบอนุญาตในรอบนี้ไม่มีผู้เล่นรายที่ 4 เข้าร่วมรวมถึงคลื่นดังกล่าวมีคลื่นรบกวนบางส่วนซึ่งบริษัทจะต้องลงทุนอุปกรณ์เพื่อป้องกันการรบกวนเพื่อให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ราคาใบอนุญาตคลื่น 900MHz ชุดที่ 1 นี้ควรมีราคาที่ต่ำ กว่าการประมูลรอบที่แล้ว อีกทั้ง ADVANC ยังได้ลงทุนเครือข่าย เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานหลังจากแพ้การประมูลในรอบที่แล้วจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายวิจัยคาดว่า ADVANC และ DTAC จะไม่เข้าร่วมประมูลในรอบนี้
- 4 แบงก์ใหญ่ BBL KTB KBANK และ SCB เตรียมปล่อยกู้โครงการรถไฟไทย-จีน 1.7 แสนล้านบาท ก.คลังเสนอปรับวงเงินกู้ปี 59 เพิ่ม เข้าครม. ดอกเบี้ยไม่เกิน 2%
- ความเห็น : การที่รัฐบาลกลับลำมาลงทุนโครงการรถไฟไทย-จีนเองเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแบงก์ในฐานะผู้ปล่อยกู้ ทั้งนี้ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อสุทธิของกลุ่มแบงก์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 59 ส่วนใหญ่ยังหดตัวจากปลายปี 58 BBL -0.31% KTB -0.73% SCB -0.6% มีเพียง KBANK ที่ยอดสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้น 0.25% อย่างไรก็ดีในแง่ผลตอบแทนไม่น่าจะสูงเนื่องจากเป็นโครงการภาครัฐ
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -31.57 จุด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,685.09 จุด ลดลง 31.57 จุด หรือ -0.18% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,869.85 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด หรือ +0.01% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,059.74 จุด ลดลง 4.21 จุด หรือ -0.20% หลังจากมีรายงานว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมี.ค.ในวันนี้
ตลาดน้ำมัน NYMEX +0.02 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดบวก 2 เซนต์ หรือ 0.05% แตะที่ระดับ 38.34 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ที่กาตาร์
ปัจจัยบวก
(+) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาสแรกของปี 2559 โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ อยู่ที่ระดับ +6 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์โดยเฉลี่ยของตลาดที่ระดับ +8
(+) เยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของประเทศลดลงเหลือ 6.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นสถิติที่ลดลงที่มักจะเกิดขึ้นในเดือนมี.ค. เนื่องจากเป็นช่วงหลังฤดูหนาว
(+) จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตในเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.2 จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 49 ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการในเดือนมี.ค.ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 53.8 จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 52.7 และจากเดือนม.ค.ที่ระดับ 53.5 ดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคบริการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า
(+) วานนี้แบงก์ชาติจีนอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ 1 แสนล้านหยวน (1.54 หมื่นล้านดอลลาร์) หวังคลายภาวะสภาพคล่องตึงตัว
(+) ธปท. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. 59 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยภาคการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง และการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวดี แม้รายจ่ายลงทุนแผ่วลงบ้างเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่มีการเร่งเบิกจ่าย
ปัจจัยลบ
(-) ธปท.ปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือขยายตัวราว 3.1% ซึ่งลดลงจากประมาณการในครั้งก่อนที่ระดับ 3.3% โดยมองว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยปีนี้มาจากการลงทุน การท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
(-) สหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 11,000 ราย สู่ระดับ 276,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 26 มี.ค.
(-) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่าพร้อมที่จะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.โดยคาดว่าเฟดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 2 ครั้งในปีนี้
(-) ยุโรป รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ของประเทศในยูโรโซนร่วงลง 0.1% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
(-) S&P ประเทศ ประกาศปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของจีนและฮ่องกง สู่ "เชิงลบ" จาก "มีเสถียรภาพ" โดยระบุถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเงินที่เพิ่มขึ้นต่ออันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลจีน
(-) ธปท. ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือน ก.พ.59 ดัชนีฯ ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 48.5 มาอยู่ที่ระดับ 48.2 จากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
(-) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้างเห็นได้จากตัวเลข GDP ที่ปรับลดลงเรื่อยๆ จากเคยเติบโต 10% ลดลงมาเหลือ 7-8% และ 5-6% และลดลงเหลือ 3% ตามลำดับ ขณะที่ในบางปีเศรษฐกิจขยายตัวได้เพียง 1-2% ซึ่งไม่ได้มาจากปัญหาจากเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการปฏิรูปแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นคาดว่าในอีก 5-6 ปี ข้างหน้าเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับ 5% อีกต่อไปหรืออาจจะขยายตัวได้ต่ำกว่าระดับ 3% ได้ หากไม่แก้ไขอย่างจริงจัง
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
- ต้นเดือนเม.ย. เป็นช่วงเวลาของการ preview งบ Q1/59 ของหุ้นกลุ่มแบงก์ซึ่งมีกำหนดประกาศภายใน 21 เม.ย. (1 เม.ย. KBANK 4 เม.ย. LHBANK 5 เม.ย. BBL 7 เม.ย. KTB)
- 20-21 มิ.ย. ยื่นซองประมูลสุวรรณภูมิเฟส 2
- 24 มิ.ย. กทค. เปิดประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ กำหนดราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท
- 7 ส.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ต่างประเทศ
- 1 เม.ย. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค. (นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก.พ.ที่พุ่งขึ้น 242,000 ตำแหน่ง) / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมี.ค./ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. / ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค. / การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.พ.
- อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมี.ค./อัตราว่างงานเดือนก.พ.
- เยอรมนีเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตมี.ค.
- จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการผลิตเดือนมี.ค.
- 2 เม.ย. สหรัฐเปิดเผยยอดขายยานยนต์เดือนมี.ค.
- 4 เม.ย. สหรัฐเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนมี.ค. /ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ.
- อียูเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ.
- 5 เม.ย. สหรัฐเปิดเผยส่งออก นำเข้า และดุลการค้าเดือนก.พ./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการและรวมภาคการผลิต-บริการเดือนมี.ค/ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค.
- อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ และรวมภาคการผลิต-บริการเดือนมี.ค./ยอดค้าปลีกเดือนก.พ.
- เยอรมนีเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ และรวมภาคการผลิต-บริการเดือนมี.ค.
- 6 เม.ย.สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์
- เยอรมนีเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.
- จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมี.ค. / ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนมี.ค.
- 7 เม.ย.(ช่วงเช้า)คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุม
- 17 เม.ย. กำหนดประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันรวม 15 ชาติเพื่อหารือเกี่ยวกับการลดปริมาณผลิต
- 26 - 27 เม.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (ตลาดคาดว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกระประชุมรอบนี้)
- 23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติว่า "อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่" ซึ่งมีผลการศึกษาสรุปว่าหากอังกฤษถอนตัวออกจาก EU เป็นไปได้ว่าจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ