WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
     SET กลับทดสอบ 1,380 จุด ตามการฟื้นตัวของหุ้น Global (PTT, PTTEP, PTTGC, SCC) Dollar Index อ่อนค่า สะท้อน Fed เลื่อนการขึ้นดอกเบี้ย และสต๊อกน้ำมันเพิ่มน้อยกว่าคาด และหุ้นที่กำไรเด่นใน 1Q59 (BDMS, ERW, IRPC, CENTEL) Top pick คือ BDMS(FVB25) และลงทุนระยะสั้น LPH(FV@8) กำไรเติบโตสูงสุดในปี 2559

FED ลดเป้าหมายดอกเบี้ยฯ สิ้นปีลง กดดัน Dollar Index อ่อนตัว
      ผลสรุปการประชุม Fed (15-16 มี.ค.) เป็นไปตามที่ตลาดคาด กล่าวคือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25%-0.50% ต่อไป เนื่องจาก Fed มีความกังวลต่อเศรษฐกิจในต่างประเทศที่ชะลอตัว โดยมีการปรับลดประมาณการดอกเบี้ย (Dot plot) สิ้นปี 2559 ลงเหลือ 0.875% จากเดิมคาดไว้ที่ 1.375% (ทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้เหลือเพียง 2 ครั้ง จากเดิมที่ Fed เคยคาดไว้ที่ 4 ครั้ง) และคาดดอกเบี้ยปี 2560 เหลือ เหลือ 1.875% (จากเดิม 2.375%) และยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอลง โดยปรับลด GDP Growth ปี 2559 ลงเหลือ 2.1 – 2.3% (เดิมคาด 2.3-2.5%) ซึ่งต่ำกว่าที่ IMF ประเมินไว้ 2.6% พร้อมปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี เหลือ 1.2% (เดิมคาดที่ 1.6% เงินเฟ้อเดือน ก.พ. อยู่ที่ 1% ) แต่อย่างไรก็ตาม Fed ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดแรงงานที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องจนหนุนให้อัตราการว่างงานในปีนี้ เหลือ 4.7% (ล่าสุดอยู่ที่ 4.9% นาน 2 เดือน) และ ปี2560 ลดลงเหลือ 4.5% โดยภาพรวมทำให้ตลาดให้น้ำหนักต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นเป็นในช่วงกลางปี 14-15 มิ.ย. และ ปลายปี 13-14 ธ.ค. ทำให้ Dollar index ชะลอการแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 95.89 โดยเป็นผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้นน้ำมันและ ทองคำ

ต่างชาติปรับพอร์ตโดยเลือกขายบางประเทศในกลุ่ม TIP
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 409 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 15 วัน) แต่เริ่มขายบางประเทศ คือ อินโดนีเซีย และไทย ประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิ นำโดยไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 392 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 14) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 102 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิราว 4 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ส่วนที่เหลือคือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ และไทยขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 มูลค่าราว 65 ล้านเหรียญ หรือ 2.3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศขายสุทธิราว 2.8 พันล้านบาท
      ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 4.7 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1.9 พันล้านบาท

ราคาน้ำมันฟื้นตัวอีกรอบ หลังสต๊อกน้ำมันเพิ่มน้อยกว่าคาด และ Dollar Index อ่อนค่า
      วานนี้ สำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ รายงานสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ (เพิ่มขึ้น 1.32 ล้านบาร์เรล vs คาดเพิ่มขึ้น ราว 2.7 ล้านบาร์เรล) สวนทางกับน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลง อาทิ น้ำมันเบนซินลดลง 7.4 แสนบาร์เรล ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 เช่นเดียวกับน้ำมันดีเซล ลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล เกิดจากการใช้น้ำมันภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ ปริมาณการใช้ในสัปดาห์ก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 6.4% yoy
ส่วนการแก้ปัญหา Over supply มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกลุ่ม OPEC นำโดย ซาอุดิอาระเบีย ยืนยันให้ความมือในการควบคุมการผลิต (แม้อิหร่านปฎิเสธการเข้าร่วม) พร้อมจะมีการจัดประชุมระหว่าง ผู้ผลิตน้ำมันกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC เพื่อหารือแผนการคงกำลังการผลิตที่กรุงโดฮา ในวันที่ 17 เม.ย. นี้

      ขณะที่เริ่มเห็นกำลังการผลิตน้ำมันของผู้ผลิตในสหรัฐ ปรับตัว ลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ลดลง 0.1 แสนบาร์เรล เหลือ 9.07 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
นอกจากนี้ Dollar Index ที่กลับมาชะลอการแข็งค่า (ล่าสุด Dollar Index ที่ 95.89 จุด) หนุนราคาน้ำมันให้กลับมาฟื้นตัว ล่าสุดน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent เพิ่มขึ้น 4.10% ขณะที่ น้ำมันดูไบ Spot ล่าสุดที่ยังคงแกว่งตัวระดับ 35 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 35.17) คาดมีแนวโน้ม ขึ้นสู่ระดับ 40-42 เหรียญฯต่อบาร์เรล หนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน อาทิ PTT(FV@B330) PTTEP(FV@B80) และหุ้นในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตเคมีอย่าง IRPC([email protected]) และ PTTTGC(FV@B68)

กลยุทธ์การลงทุนให้สะสมหุ้น โรงพยาบาล : BDMS, LPH
      แม้ผลตอบแทนของ SET Index ในเดือน มี.ค. ในอดีตอาจไม่ค่อยดีนัก กล่าวคือพิจารณาจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี (2549 - 2558) พบว่า ดัชนีปรับตัวขึ้นเพียง 5 ครั้งเท่านั้น ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ยราว 1.6% อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถ outperform ตลาดได้ ด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง จะเป็นกลุ่มฯ ที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ หรือ Domestic Play เป็นหลัก คือ ค้าปลีก ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 4.06 และความน่าจะเป็นที่ 80% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ., โรงพยาบาล และ ประกันฯ ให้ผลตอบแทน 2.94%, 2.21% และ 2.16% ด้วยความน่าจะเป็นที่ 70% เท่ากันทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งในช่วง ครึ่งเดือนแรกของเดือน มี.ค. ปีนี้ พบว่ากลุ่มค้าปลีก และ โรงพยาบาล ให้ผลตอบแทนสูงราว 3.7% และ 2.1% ยกเว้นประกันที่ให้ผลตอบแทนต่ำ 0.6% ซึ่งกลุ่มหลังน่าจะได้รับผลกระทบจากผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่ลดลง ขณะที่ SET Index ให้ผลตอบแทน 3.8%
และหากพิจารณาเดือน เม.ย. นั้น

       ภาพรวมของ SET ดีขึ้นมาก โดยผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 3.3% ด้วยความน่าจะเป็นสูงมากถึง 90% ขณะที่กลุ่มฯ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด มีทั้ง Global Play คือ ปิโตรเคมี และพลังงาน ผลตอบแทน 6.8% และ 4.7% ด้วยความน่าจะเป็น 80% เท่ากัน และกลุ่ม Domestic Play คือ โรงพยาบาล วัสดุก่อสร้าง และ อสังหาฯ ผลตอบแทนอยู่ที่ 5.5%, 3.9% และ 3.7% ตามลำดับ ด้วยความน่าจะเป็น 80% ทั้ง 3 กลุ่ม
ส่วนเดือน พ.ค. SET มักจะกลับมาปรับฐาน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยเหลือเพียง 0.5% เท่านั้น ด้วยโอกาสที่จะปรับขึ้นเพียง 40% ทั้งนี้พบว่า กลุ่มประกันฯ โรงพยาบาล และค้าปลีก ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด คือ 6.0%, 4.0% และ 3.0% ตามลำดับ ด้วยความน่าจะเป็น 70% และเดือน มิ.ย. ตลาดปิดท้ายไตรมาส 2 ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 0.95% ความน่าจะเป็น 60% ซึ่งในเดือนนี้ มีเพียงกลุ่มโรงพยาบาล ที่ยังโดดเด่นต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1.6% ความน่าจะเป็น 70% ขณะที่กลุ่มอื่นๆ นั้น ทำได้เพียงใกล้เคียงกับตลาด
      จะเห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่สามารถ outperform ตลาดได้ตลอด 4 เดือนในช่วงเวลานี้จึงแนะนำให้สะสมหุ้นโรงพยาบาลที่ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นน้อย โดยเฉพาะ BDMS, BH และเก็งกำไร LPH

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!