- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 17 March 2016 17:25
- Hits: 557
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET มีบวกสลับ แต่กรอบขึ้นยังแคบ ดังนั้นยังรอเลือกซื้อช่วงลบ...
กลยุทธ์ : หลัง SET ปรับตัวลงมาแล้วเริ่มมีแรงซื้ออีกครั้ง ทำให้ดัชนีมีสิทธิขยับกลับไปแกว่งบวกได้บ้าง แต่คาดว่ากรอบบวกจำกัด ดังนั้นช่วงนี้เน้นแค่เทรดดิ้งสั้นตามรอบ ในลักษณะลงซื้อ-ขึ้นขาย ส่วนถ้าจะเลือกหุ้นเข้าซื้อจริงจังยังน่ารอเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วงตลาดกลับไปปรับตัวลงใหม่ดีกว่า
หุ้นเด่นทางเทคนิค : DCON, MONO, GL(buy back)
แนวโน้ม : วานนี้ SET เปิดบวกขึ้นได้เพียงเล็กน้อย ก็เริ่มมีแรงขายออกมากดดันต่อเนื่องอีกครั้ง จนทำให้ดัชนีหุ้นไทยไหลลงมาแกว่งตัวด้านลบ แต่ก็ถือว่าดัชนียังสามารถทรงตัวอยู่ได้จากแรงซื้อกลับที่ยังมีให้เห็นอยู่ ขณะที่เช้านี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศถือว่าสดใส เพราะตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่เปิดทำการในระดับ +1% ขึ้นไปทีเดียว โดยได้แรงหนุนจากผลประชุมเฟดเมื่อคืนนี้ที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิม ซึ่งก็เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหวัง และยังมีการปรับลดคาดการณ์ว่าจะมีการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ครั้งละ 0.25% เหลือเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ทำให้ตลาดผ่อนคลายมากขึ้น เพราะไม่ต้องวิตกว่าเฟดจะเร่งการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงถัดไป รวมทั้งการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปิดเป็นบวกเกือบ 6% หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งก็มีส่วนช่วยหนุนให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทำให้ FSS คาดว่า SET ก็มีโอกาสพลิกกลับไปแกว่งบวกได้ด้วยเช่นกัน แต่เรายังมองว่ากรอบบวกน่าจะค่อนข้างจำกัด เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนเพิ่ม หลัง SET ดีดขึ้นมามากพอควรแล้วในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นต้องตามระวังแรงขายช่วงบวกกดดันให้ SET กลับไปปรับตัวลงตามที่เคยคาดไว้ก่อนหน้าอยู่
แนวรับ 1372-1366 , 1360-1354 จุด
แนวต้าน 1380-1383 , 1386-1390 จุด
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$410ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$391.7ล้าน และเกาหลีใต้ US$101.8 ล้าน ขณะที่ไหลออกไทย US$66.5ล้าน และอินโดนีเซีย US$21.3ล้าน ทำให้ TIP เงินทุนไหลออกเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันอีก US$84ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคตามค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงหลังการประชุม FOMC เมื่อคืนนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคาดการณ์การปรับขึ้นจะล่าช้าออกไป ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุน Fund flow ต่อ
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) FED ไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้น 4 ครั้งในปีนี้ ลดลงเหลือเพียง 2 ครั้ง ซึ่งหมายความว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกแค่ 0.5% เป็น 1.0% ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อม นอกจากนี้ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2016-2017 ลงเหลือ 2.2% และ 2.1% จากเดิม 2.4% และ 2.2% ผลคือทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า บาทแข็ง กระตุ้นการไหลเข้าของกระแสเงินในระยะสั้น
(+) ราคาน้ำมันบวกแรงสะท้อนข่าวการจัดประชุมผู้ผลิตน้ำมันเดือนหน้า ราคาน้ำมันปิดบวกเฉลี่ยราว 5% จากประเด็นการจัดประชุมระหว่างกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC เพื่อหาข้อตกลงการคงกำลังการผลิตอีกครั้งในวันที่ 17 เม.ย. ที่กรุงโดฮา กาตาร์ นอกจากนี้ EIA ยังรายงานตัวเลขสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่ตลาดคาด เป็นบวกต่อกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะ PTT PTTEP
(-) ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.พ. ยังชะลอต่อเนื่อง อยู่ที่ 166,412 คัน เพิ่มขึ้น 13% M-M แต่ยังลดลง 7% Y-Y ทำให้เรายังให้น้ำหนัก Underweight สำหรับแม้ว่าจะเป็นช่วงปลายวัฏจักรขาลง เราคาดว่าปีนี้จะเป็นปีสุดท้ายที่อุปสงค์ในประเทศจะถูกกระทบจากโครงการรถคันแรก แต่ยอดส่งออกเริ่มคาดหวังยากขึ้นโดยลดลง Y-Y ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เราคาดยอดผลิตทั้งปีนี้มีโอกาสออกมาต่ำกว่าเป้าของ ส.อ.ท. ที่ 2 ล้านคัน หุ้นทั้งหลุ่มยังไม่น่าสนใจ มีเพียง EPG ที่ยอดผลิตชิ้นส่วนรถกระบะกำลังอยู่ในช่วงขยายตัว แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 15 บาท
(0) กลุ่มโรงพยาบาล ในช่วงตลาดขาขึ้นล่าสุดตั้งแต่กลางเดือนก.พ. SET ปรับขึ้น 6.4% ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลปรับขึ้น 7.8% ซึ่งคาดว่าเกิดจากแนวโน้มการเติบโตของผลการดำเนินงานที่ยังแข็งแกร่งจากสังคมผู้สูงอายุที่เป็น Mega Trend เราคาดกำไรปกติของกลุ่มโต 15.5% Y-Y ในปีนี้สูงกว่าตลาดที่คาดโตราว 10% Y-Y อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปรับตัวขึ้นจนหลายตัวมี Upside จำกัดและเกินราคาพื้นฐาน เหลือเพียงแค่ BDMS (ราคาพื้นฐาน 24 บาท) และ LPH (ราคาพื้นฐาน 8.20 บาท) ที่ยังพอจะมี Upside ซึ่งยังเป็น Top Pick ของเรา ระยะสั้นเราชอบ LPH มากที่สุดจากกำไร 1Q16 ที่มีโอกาสโตราว 100% Y-Y จากผลของการเปิดศูนย์แพทย์เฉพาะทางและได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงาน
(0) KBANK ราคาหุ้นปรับลง 5% วานนี้เราไม่พบเหตุผลในเชิงปัจจัยพื้นฐาน ธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อและมุมมองระมัดระวังต่อเศรษฐกิจรวมถึงการควบคุมคุณภาพหนี้ การปรับลงคาดว่ามาจากการปรับพอร์ตของนักลงทุนหลังจากราคาเพิ่มขึ้น 20% YTD มากสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และดีกว่า SET ที่ +8% YTD อีกทั้งข้อมูลจาก NVDR สะท้อนว่า KBANK เป็นเป้าหมายการซื้อหนักที่สุดในกลุ่มตั้งแต่ต้นปี ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ ราคาพื้นฐาน 210 บาท โดยเรายังเห็นถึง 1.การฟื้นตัวของกำไรตั้งแต่ 1Q16 มาอยู่ที่ราว 1.1 หมื่นลบ.หรือเท่าตัว Q-Q 2. ความสามารถในการทำกำไรที่อยู่ในระดับสูง (ROE ราว 14% และ NIM ที่ 3.5%) และ 3.การให้ความสำคัญต่อการจัดการ NPL โดยเฉพาะกลุ่ม SME ซึ่งธนาคารให้ความช่วยเหลือและดูแลอยู่แล้วและส่วนใหญ่เริ่มกลับมาเป็นหนี้ปกติได้
(+) FSMART ราคาหุ้นที่ปรับลงในช่วงก่อนหน้าเกือบ 20% คาดว่าเกิดจากการปรับพอร์ตเพื่อทำกำไรของนักลงทุนบางกลุ่ม แต่เรายังคาดว่าแนวโน้มการเติบโตยังคงอยู่ในระดับสูงตามยอดเติมเงินผ่าน “ตู้บุญเติม”ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มกำไร 1Q16 คาดว่ายังเติบโตต่อเนื่องทั้ง Q-Q และ Y-Y และจะเพิ่มขึ้น Q-Q ในทุกๆไตรมาสของปีนี้ โดยยังคงประมาณการกำไรปี 2016 โตสูง 47.7% Y-Y และปี 2017 โตอีก 28.8% Y-Y จากความแข็งแกร่งในการขยายจำนวนตู้เติมเงิน รวมถึงศักยภาพในการเติบโตจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆซึ่งจะเป็น Upside ในอนาคต เรายังแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 17.70 บาท
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดบวกได้หลัง FED มีมติคงดอกเบี้ย รวมถึงปรับลดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยเหลือ 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น
(0) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนปิดผสมโดยนักลงทุนรอดูผลการประชุม FED ซึ่งออกมาหลังจากตลาดปิดทำการ
(+) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนบวกได้ค่อนข้างแรง โดยตอบรับเชิงบวกจากผลการประชุม FED รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น
(+) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแรงพอควรหลัง FED ไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80-34.90 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. พุ่งขึ้น 2.12 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 38.46 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงการจัดประชุมผู้ผลิตน้ำมันในเดือนหน้าที่จะแก้ปัญหา Oversupply
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 1.20 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,229.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากตลาดปิดทำการก่อนทราบผลการประชุม FED ขณะที่เช้านี้ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างแรง หลัง FED ไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ย
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
17 มี.ค. - อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
20 มี.ค. - การประชุมนัดพิเศษระหว่างกลุ่ม OPEC กับรัสเซีย
21 มี.ค. - ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการ เนื่องในวัน Vernal Equinox Day
- ไทย: ครบกำหนดผู้ชนะประมูล 4G ชำระค่าไลเซ่นส์พร้อมแบงก์การันตี
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ก.พ.)
22 มี.ค. - ยูโรโซน: ZEW Survey Expectations (มี.ค.)
23 มี.ค. - ไทย: กนง.ประชุม (ตลาดคาดคงดอกเบี้ยที่ 1.5%)
- ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลาง (BSP) ประชุม
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ก.พ.)
24 มี.ค. - ไทย: TPBI เข้าเทรด (ราคา IPO 10.80 บาท)
- ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ และอินเดีย ปิดทำการ
25 มี.ค. - ตลาดหุ้นสหรัฐ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย ปิดทำการ วัน Good Friday
Contact person : Somchai Anektaweepon Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852 www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch