- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 14 March 2016 18:38
- Hits: 563
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Money Supply ที่เพิ่มขึ้นยังหนุนตลาดหุ้นโลก ทำให้ SET มีโอกาสเดินหน้าแตะ 1,400 จุด ยังแนะให้สะสมปันผลสูง (INTUCH, AIT, AP, MCS, QH) หรือมีกำไรเด่น 1Q59 (BDMS, ERW, SC) เลือก PTT(FV@B330) และ AIT([email protected]) เป็น Top picks
Money Supply โลกเพิ่มตราบการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมี...ดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง
สัปดาห์นี้จะมีการประชุมธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลก หลังจากสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางยุโรป(ECB) ได้เพิ่มมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเหนือตลาดคาด ทั้งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0% (เดิม 0.05%) ลดดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB สู่ระดับติดลบ 0.4% (เดิมติดลบ 0.3%) ลดดอกเบี้ยที่ ECB ปล่อยสินเชื่อชั่วข้ามคืนให้แก่ธนาคาร พาณิชย์ลงเหลือ 0.25%(เดิม 0.3%) และเพิ่มวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร(QE) เป็น 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน จากเดิม 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน
15 มี.ค. นี้ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แม้ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันที่ ธ.พ. มาฝากกับธนาคารกลางฯ(BOJ) ติดลบ 0.1% เท่าเดิม และคงวงเงินซื้อพันธบัตร QQE ที่ 80 ล้านล้านเยน/ปีต่อไป แต่ยังให้น้ำหนักการเพิ่มมาตรการในการประชุมในรอบถัดไปอยู่
15-16 มี.ค. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คาดว่ายังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25 -0.5% แต่การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี (สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดว่าโอกาสที่ Fedจะปรับขึ้นมีเพียง 4% และติดตามคำแถลงของประธาน Fed ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกถึงทิศทางดอกเบี้ยได้ชัดเจนมากขึ้น
17 มี.ค. ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดว่ายังคงดอกเบี้ยในระดับต่ำ 0.5% (ยาวนานถึง 7 ปี) และประชุมธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ตลาดคาดว่าจะยังคงยืนดอกเบี้ยติดลบ 0.75% (ตั้งแต่ ม.ค. 2558) ตามเดิม
Fund Flow ยังไหลเข้าต่อทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ หนุนเงินบาทแข็งค่าต่อ
วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 มีมูลค่ากว่า 501 ล้านเหรียญ แต่เป็นการขายสุทธิเล็กน้อยในตลาดหุ้นอินโดนีเซียอยู่ประเทศเดียวเท่านั้นราว 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 365 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 11) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 120 ล้านหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิราว 14 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นไทย แม้แรงซื้อจากต่างชาติจะเป็นไปในลักษณะชะลอตัวลง แต่ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 โดยมีมูลค่าล่าสุดอยู่ที่ 4 ล้านเหรียญ หรือ 143 ล้านบาท ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 153 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.8 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.6 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดซื้อสะสมรวมสูงถึง 4.8 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.07 บาท/ดอลลาร์
ยังแนะเลือกหุ้นกำไรเด่นงวด 1Q59 : IRPC, BDMS, ERW, SC
วันนี้นำเสนอกลุ่มชิ้นส่วน ซึ่งคาดว่า ผลกำไรจะทรงตัวจาก 1Q59 จากงวดก่อนหน้า เนื่องจากผ่านพ้นช่วงฤดูกาลไปแล้วในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ตามมาด้วยกลุ่มพัฒนาอสังหาฯ คาดว่างวด 1Q59 ยังคงได้ประโยชน์จากมาตรการภาครัฐ (SC, LPN) และ นิคมฯ คาดว่างวด 1Q59 จะชะลอตัว แต่จะดีขึ้นในช่วง 2H59 เมื่อมีการออกกองอสังหาริมทรัพย์ฯ เพิ่มเติม นำโดย WHA รายละเอียดดังนี้
กลุ่มชิ้นส่วนฯ ดีขึ้น หุ้นเด่นคือ KCE, SVI
แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 1Q59 จะอยู่ที่ 3.0 พันล้านบาท ทรงตัวต่อเนื่องจากงวด 4Q58 (แต่เพิ่มขึ้น 23.1% yoy) เนื่องจากยังคงอยู่ในช่วง low season แต่หากพิจารณารายบริษัทพบว่า KCE สามารถทำกำไร new high รายไตรมาส ที่ระดับ 727 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 14.8% qoq และ 58.0% yoy จากแนวโน้มคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น หนุนการดำเนินการผลิต (utilization rate) ที่โรงงานลาดกระบังเฟส 1 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 80% และ SVI([email protected]) กำไรก่อนรายการพิเศษคาดว่าเติบโตเท่าตัวจาก 4Q58 ซึ่งมีฐานกำไรที่ต่ำมาก เกิดจากที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตัวอย่างให้กับลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายนี้ลูกค้าจะเป็นผู้แบกภาระ และ ยังได้รวมกำไรของบริษัทย่อยที่ไปซื้อกิจการมาเมื่อ ก.พ. ที่ผ่านมาคือ “Seidel” (ทำชิ้นส่วนฯ ที่ใช้ในกลุ่มระบบขนส่ง และการแพทย์ ซึ่งมีฐานการผลิตในออสเตรีย ฮังการี และ สโลวาเกีย จะใช้เป็นฐานส่งออกไปยังเยอรมันเป็นหลัก แต่ อัตราการทำกำไรขั้นต้นเฉลี่ย 8% เนื่องจากค่าแรงสูง)
โดยรวมกำไรสุทธิปี 2559 ทั้งกลุ่มจะเติบโต 12.3% yoy สู่ระดับ 1.47 หมื่นล้านบาท นำโดย KCE (ซื้อ FV@B100) ที่คาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2559 จะเติบโตถึง 41.9% yoy จากการดำเนินการผลิตที่โรงงานลาดกระบังเฟส 1 เพิ่มขึ้น หนุนประสิทธิภาพกำไรดีขึ้น และ SVI (ซื้อ [email protected]) คาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2559 เติบโตถึง 62.6% yoy จากการปรับปรุงโรงงานจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อเดือน พ.ย.57 เสร็จแล้ว จนสามารถดำเนินการผลิตได้เต็มที่ทั้งปี 2559 และผลบวกจากการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้น เลือก KCE และ SVI เป็น Top picks
กลุ่มพัฒนาอสังหา ยังได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐ SC, LPN
แม้โดยปกติภาพรวมกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ งวดไตรมาส 1 เป็นจุดต่ำสุดของปี แต่ในปีนี้ถือเป็นปีที่ดี เพราะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาของภาครัฐ (ลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ และจดจำนอง) ที่จะหมดอายุลงในวันที่ 28 เม.ย. 2559 ช่วยเร่งให้ผู้ซื้อโอนฯ บ้านเร็วขึ้น ต่อเนื่องจากงวด 4Q59 ขณะที่การจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโดฯ ในวันที่ 10-13 มี.ค. ที่ผ่านมา จะช่วยเร่งระบายสต๊อกสินค้าคงเหลือได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะโครงการแนวราบ (บ้าน-ทาวน์เฮ้าส์) ที่สามารถขายและโอนฯ ได้เร็วทันช่วงมาตรการฯ โดยรวมทำให้ คาดว่าผลการดำเนินงานกลุ่มฯ ใน 1Q59 เติบโตจากงวด 1Q58 (YoY) แต่อาจชะลอตัวจากงวด 4Q58 ( QoQ) ซึ่งปกติจะเป็นช่วงพีคสุดของปี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเป็นรายบริษัท คาดมีบางบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ คือ SC และ LPN
SC ([email protected]) เพราะยอดโอนฯจะมีทั้งแนวราบ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 60% ของยอดโอน ที่เหลือ 40% เป็นคอนโดฯ ทั้งส่วนที่ต่อเนื่องจากงวด 4Q58 คือ Centric Sea พัทยา และ 2 โครงการใหม่ เช่น Centric ห้วยขวาง และ อารีย์ใน 1Q59 ( EPS Growth ปี 2559 9% )
นอกจากนี้ SC ยังจ่ายเงินปันผล ปี 2558 สูงถึงหุ้นละ 0.18 บาท ขึ้น XD 28 เม.ย. 2559 หรือให้ Div Yield 5.6% LPN ([email protected]) คาดผลกำไรจะเติบโตใน 1Q59 และทำสถิติสูงสุดใหม่ใน 2Q59 เพราะจะมีคอนโดฯ ใหม่ที่กำหนดสร้างเสร็จพร้อมโอนฯ ในช่วง 1H59 มากถึง 6 โครงการ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท จากทั้งปี 9 โครงการ มูลค่า 1.75 หมื่นล้านบาท ทำให้คาดรายได้ขายอสังหาฯ ใน 1H59 จะสูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 69% ของรายได้ทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามผลประกอบการ 2H59 จะอ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัด หลังการโอนฯ โครงการคอนโดฯ เริ่มน้อยลง
กำไรสุทธิทั้งปี 2559 อาจจะเติบต่ำ 7% แต่จะมีบางบริษัทที่เติบโต เช่น ANAN([email protected]) มี EPS Growth 11% และ P/E ต่ำราว 8.4 เท่า ตรงข้ามกับ PS(FB@B38) แม้ปี 2559 จะมี EPS Growth น้อยมาก เพราะฐานรายได้และกำไรที่สูงมาก แต่ด้วยนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่สูงขึ้นเป็น 50% จากเดิม 30% ทำให้ Dividend yield สูงถึง 7% และมี P/E ต่ำเพียง 7.7 เท่า เลือก ANAN เป็น top pick
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
ผลประกอบการงวด 1Q59 ของกลุ่มนิคมฯ 3 บริษัทภายใต้ Coverage ของฝ่ายวิจัย (AMATA, WHA และ TICON) มีแนวโน้ม ชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ QoQ เนื่องจากผลกระทบของฤดูกาล กล่าวคือ ผู้พัฒนาโรงงาน/คลังสินค้าให้เช่าทั้ง WHA และ TICON(Switch: [email protected]) มักจะขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์ฯ (REIT) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี ขณะที่ 1Q59 จะไม่มีกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น และเช่นเดียวกับรายได้จากการขายที่ดินนิคมฯ งวด 1Q59 มีแนวโน้มหดตัว ทั้งนี้ภายหลังจาก HEMRAJ (WHA ถือหุ้น 98.54%) ได้โอนที่ดินล็อตใหญ่ในนิคมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด 2 จำนวน 437.5 ไร่ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ค่าย MG และได้รับรู้รายได้ไปแล้วในงวด 4Q58 ขณะที่รายอื่นๆ เช่น AMATA(Switch: [email protected]) รายได้จากการขายที่ดิน คาดยังหดตัวต่อเนื่องจากงวด 4Q58 จาก Backlog เหลืออยู่เพียงแค่ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของนิคมอมตะซิตี้ และนิคมไทย-จีน ที่มีราคาขายต่ำ
แต่หากพิจารณาภาพรวมทั้งปี 2559 คาดกำไรกลุ่มฯจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ 77% YoY เป็น 6.96 พันล้านบาท หลักๆถูกขับเคลื่อนด้วยกำไรของ WHA (ซื้อ: [email protected]) ที่คาดว่าจะเติบโตแรง 1.6 เท่าตัว YoY เป็น 5.1 พันล้านบาท เนื่องจากการจัดทำงบการเงินรวมกับ HEMRAJ (มีการรับรู้รายได้ธุรกิจพัฒนานิคมฯ โรงงานให้เช่า สาธารณูปโภค และโรงไฟฟ้า เข้ามาเต็มปี) และ WHA ทำการชำระคืนหนี้ที่ใช้ซื้อ AMATA จนปัจจุบันชำระคืนได้แล้ว 34% ของยอดหนี้ 3.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะชำระคืนที่เหลือได้ทั้งหมดภายในปี 2559 ด้วยแหล่งที่มาของกระแสเงินสดจากการขายสินทรัพย์เข้า REIT ช่วง 3Q59 และการ Spinoff ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงานเข้าตลาดฯช่วง 4Q59 ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ แผนการขายสินทรัพย์โรงงาน/คลังสินค้าของ HEMRAJ เข้ากองทรัสต์ H-REIT ใน 3Q59 และขายคลังสินค้าของ WHA เข้ากองทรัสต์ WHART ใน 4Q59 จะทำให้การรับรู้กำไรส่วนใหญ่อยู่ที่ช่วง 2H59 เลือก WHA เป็น Top pick
ยังแนะนำหุ้นปันผลที่ยังไม่ขึ้น XD : INTUCH, AIT, AP, MCS, QH
ยังแนะนำให้สลับมายังหุ้นที่ยัง underperform โดยเลือกลงทุนเป็นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโต และมีเงินปันผลสูง ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายบริษัทเหลือเวลาอีกกว่า 1-2 เดือน จึงจะขึ้น XD ได้แก่ AIT (FV@B30), INTUCH (FV@B75), THCOM ([email protected]), SC ([email protected]), QH ([email protected]) และ AP ([email protected]) โดยกลยุทธ์การลงทุน ถ้าซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 1.5 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ในอดีตให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7.7% ด้วยความน่าจะเป็นราว 81% และหากซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ในอดีตก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 6.5% ด้วยความน่าจะเป็นราว 79%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์