- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 March 2016 17:23
- Hits: 623
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ECB กระตุ้นเศรษฐกิจเหนือความคาดหมาย น่าจะยังดึงเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย ทำให้เชื่อว่า SET ยังมีโอกาสเดินหน้าต่อ ระยะสั้นสลับมาลงทุนหุ้น Laggards โดยเฉพาะ ที่มีปันผลสูง (INTUCH, AIT, AP, MCS, QH) หรือกำไรโดดเด่น 1Q59 (BDMS, ERW, CPF) วันยังเลือก PTT(FV@B330) และ ERW([email protected]) เป็น Top picks
Money Supply โลกยังเพิ่ม..ECB กระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าตลาดคาด
ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วานนี้ มีมติ ให้เพิ่มนโยบายการเงินผ่อนคลาย เหนือความคาดหมายของตลาด โดยมีการปรับลดดอกเบี้ยและส่วนการเพิ่มวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร(QE) กล่าวคือ ลดดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากเดิม 0.05% พร้อมลดดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB สู่ระดับ ติดลบ 0.4% (จากเดิมที่ติดลบ 0.3%) ลดดอกเบี้ยที่ ECB ปล่อยสินเชื่อชั่วข้ามคืนให้แก่ธนาคาร พาณิชย์ลงเหลือ 0.25% (จากเดิม 0.3%)
ส่วนการเพิ่ม QE เป็น 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน จากเดิม 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน โดยยังคงระยะเวลาการใช้ QE ถึงมี.ค. 2560 (ระยะโครงการรวม 25 เดือน จาก มี.ค.2558 - มี.ค.2560) ทำให้มูลค่าซื้อสินทรัพย์รวมเพิ่มจาก 1.5 ล้านล้านยูโร (จาก ธ.ค. 2558) เป็น 1.76 ล้านล้านยูโร หรือเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 17% (มีผลบังคับใช้ 16 มี.ค. นี้)
ทั้งนี้การใช้มาตรการกระตุ้นเหนือตลาดคาด น่าจะเป็นเพราะ ECB กังวลต่อการฟื้นตัวที่ล่าช้า ทำให้ ECB ปรับลด GDP Growth ของยูโรโซนปี 2559 ลงเหลือ 1.4% (เดิมคาด 1.7%) รวมทั้งลดเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างมากจาก 1% เหลือ 0.1%
เช่นเดียวกับทางฝั่งสหรัฐ คาดว่าน่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายถึง ก่อนจะขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้ ทั้งนี้เพราะ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงขัดแย้ง กล่าวคือ แม้ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดผู้ขอรับสวัสดิการ การว่างงานครั้งแรกสัปดาห์ที่ผ่านมา (5 มี.ค.) ลดลง 1.9 หมื่นราย เหลือ 2.59 แสนราย ซึ่งนับเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน สอดคล้องกับ ยอดการจ้างงานนอกภาคเอกชน(ADP) เดือน ก.พ. ที่เพิ่มขึ้น 11% mom อยู่ระดับ 2.14 แสนราย แต่คาดว่าอัตราการว่างงานยังคงที่(4.9%) ซึ่งน่าจะเป็นเพราะมีแรงงานที่เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น และพบว่าฝั่งผู้บริโภคยังคงชะลอตัว สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่ทรงตัวระดับ 0.2% และจากการสำรวจคาดจะเริ่มเห็นการชะลอตัวอย่างชัดเจนในเดือน ก.พ. (คาดการณ์หดตัว 0.1%) สวนทางกับยอดขายบ้านใหม่ที่คาดจะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงติดต่อกัน 2 เดือนที่ผ่านมา กดดันให้เงินเฟ้อยังห่างจาก เป้าหมาย (2%)
จึงเชื่อว่าการประชุม Fed 15-16 มี.ค. น่า จะยืนอัตราดอกเบี้ยที่เดิม และ น่าจะต่อเนื่องในการประชุมรอบถัดไป (เหลืออีก 6 ครั้ง จากทั้งหมด 8 ครั้งใน 1 ปี) โดยส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยไปที่เดือน ธ.ค. 2559 ด้วยโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ย 73% ส่วนเดือน พ.ย. ก.ย. ก.ค. มิ.ย. เม.ย. และ โอกาสที่ขึ้นมีเพียง 63%, 60%, 50%, 45%, 24% ตามลำดับ และ ผลการสำรวจ Bloomberg ล่าสุดพบว่ามีน้อยมากเพียง 4% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่คาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ย (ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 8%) กดดันให้ Dollar Index ยังคงแกว่งในทิศทางอ่อนค่าในกรอบ 96-100 จุด
โดยสรุปเป็นการตอกย้ำว่านโยบายการเงินผ่อนคลายยังคงจำเป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นการเพิ่ม Money supply หนุนตลาดหุ้นทั่วโลกหนุนสินทรัยพ์เสี่ยง ทั้งตลาดทุนและทิศทางราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น
คาดว่าแรงซื้อต่างชาติชะลอตัวช่วงสั้นๆ เท่านั้น
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 มีมูลค่าสูงถึง 734 ล้านเหรียญ โดยยังซื้อทุกประเทศ ยักเว้นมา สลับมาขายสุทธิในอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวราว 42 ล้านเหรียญ ส่วนการซื้อสุทธิที่เหลือ นำโดย เกาหลีใต้ สูงสุดราว 523 ล้านหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 2 วัน) ตามด้วยไต้หวันซื้อสุทธิราว 236 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10) และฟิลิปปินส์ที่ซื้อสุทธิราว 11 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และ ไทย ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 แต่เริ่มชะลอตัวลง เหลือ 6 ล้านเหรียญ หรือ 210 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องรวม 7 วัน 1.6 หมื่นล้านบาท) สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 778 ล้านบาท และเป็นการขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยมียอดขายรวม 7.5 พันล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.3 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.2 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดซื้อสะสมรวมสูงถึง 3.3 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.21 บาท/ดอลลาร์
แนะหุ้นปันผลที่ยังไม่ขึ้น XD : INTUCH, AIT, AP, MCS, QH
คาดว่า Money Supply ยังเพิ่มขึ้นจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ECB ครั้งนี้ ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เช่นเดียวกับ SET ที่ยังมีโอกาสเดินหน้าต่อไป แต่ในระยะสั้นยังอาจเผชิญกับการปรับฐานเนื่องจากผลของการปรับขึ้นของดัชนีที่เร็วและแรงเกินไป ดังนั้น นักลงทุนควรทยอยปรับพอร์ตโดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มที่ปรับขึ้นมาแรงจนเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย เช่น ICT, ธ.พ., พลังงาน, ค้าปลีก ขนส่ง เป็นต้น และให้สลับมายังหุ้นที่ยัง underperform โดยเลือกลงทุนเป็นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มเติบโต และมีเงินปันผลสูง ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายบริษัทเหลือเวลาอีกกว่า 1-2 เดือน จึงจะขึ้น XD ได้แก่ AIT (FV@B30), INTUCH (FV@B75), THCOM ([email protected]), SC ([email protected]), QH ([email protected]) และ AP ([email protected]) โดยกลยุทธ์การลงทุน ถ้าซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 1.5 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ในอดีตให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7.7% ด้วยความน่าจะเป็นราว 81% และหากซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ในอดีตก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 6.5% ด้วยความน่าจะเป็นราว 79%
นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เลือกหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการปี 2559 มีแนวโน้มสดใส โดยเฉพาะในงวด 1Q59 ใน 2 วันที่ผ่านมา ได้แก่ โรงกลั่นและปิโตรเคมี ให้น้ำหนักไปที่หุ้นที่กำไรกระจุกตัวไปทางด้านปิโตรเคมี IRPC และ PTTGC กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม ให้น้ำหนักไปที่ ERW, CENTEL และ กลุ่ม ร.พ. BDMS
ขณะที่กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง CK เด่นสุด จากความพร้อมในการลงทุนภาครัฐมากที่สุด และ BJCHI จากโอกาสที่จะได้รับงานประมูลโครงการมูลค่าสูงเข้ามาปลายเดือน มี.ค หรือต้นเดือน เม.ย นี้ ตามด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC แม้ธุรกิจปูนซีเมนต์จะยังทรงตัว แต่ยังได้ธุรกิจปิโตรเคมีที่จะเติบโตโดดเด่น และกลุ่ม ธ.พ. คาดผลการดำเนินงานในงวด 1Q59 ยังเติบโตต่อเนื่องจากการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายดำเนินงานหลังพ้นช่วงฤดูกาล รวมทั้งความต้องการสินเชื่อขนาดใหญ่ ทั้งในกลุ่ม ICT ที่ต้องจัดหาเงินทุนสำหรับการจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 1800 และ 900 MHz และกลุ่มค้าปลีก โดย BBL, KBANK โดดเด่น หลัง กสทช. มีทางออกให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตัล ช่วยคลายความกังวลในฐานะที่เป็น Bank Guarantee นอกจากนี้ยังชอบ TCAP เนื่องจากมีการเติบโตสูง
หุ้นปันผลเด่นที่เหลือเวลาอีกกว่า 1-2 เดือนจะขึ้น XD
Earnings Outlook งวด 1Q59 เด่น : IRPC, BDMS, ERW, CPF
ส่วนวันนี้นำเสนอแนวโน้มกำไรเพิ่มเติม คือกลุ่มเกษตร-อาหาร ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในงวด 1Q59 เนื่องจากผลของฤดูกาล ยังชื่นชอบ CPF และ TU และตามมาด้วยกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ยังชอบ SAT มากที่สุดจากประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัท
กลุ่มเกษตร-อาหาร ชอบ CPF และ TU
แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 1Q59 จะเติบโตจากงวด 4Q58 (qoq) เนื่องจากในงวด 1Q59 มีเทศกาลตรุษจีน หนุนการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น และเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากราคาไก่เฉลี่ยงวด 1Q59 เพิ่มขึ้น 1.3% qoq (แต่ลดลง 5.8% yoy) มาอยู่ที่ 36.43 บาท/ก.ก. ขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองทรงตัวระดับต่ำ นำโดย CPF (ซื้อ FV@B28) และ TU (ซื้อ FV@B25) ยกเว้น GFPT(FV@B13) คาดว่ากำไรจะหดตัว เพราะงวด 4Q58 ปริมาณการส่งออกดีเกินคาด
และแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2559 คาดจะเติบโต 22.3% yoy สู่ระดับ 2.26 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานจะเติบโตถึง 100.1% yoy เป็น 1.66 หมื่นล้านบาท นำโดย CPF ที่คาดกำไรจากการดำเนินงานจะเติบโตกว่า 5.6 เท่าตัว จากฐานกำไรที่ต่ำมากในปี 2558 และมีปัจจัยสนับสนุนจากธุรกิจสุกรและธุรกิจไก่ฟื้นตัวจากปี 2558 ที่มีปัญหาไก่ล้นตลาด ขณะที่ธุรกิจกุ้งจะฟื้นตัวชัดเจนจากการควบคุมโรคตายด่วน (EMS) ได้ดีขึ้น และแนวโน้มราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทรงตัวระดับต่ำต่อเนื่องจากปี 2558 และ TU (ซื้อ FV@B25) คาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานจะเติบโต 21.9% yoy จากธุรกิจทูน่าที่เป็นแบรนด์ในยุโรปเติบโตต่อเนื่อง และผลบวกจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบปลาทูน่าที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ TU สามารถจัดทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายได้มากขึ้น
กลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ฯ SAT
เดือน ม.ค. 2559 พบว่าการผลิตรถยนต์ หดตัว 11% yoy ตามยอดขายในประเทศที่ลดลง 13% yoy เนื่องจากผู้บริโภคได้เร่งการซื้อในช่วงปลายปี 2558 ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ในปี 2559 ทั้งนี้แม้ตลาดส่งออกรถกระบะและอีโคคาร์อย่างออสเตรเลียและยุโรปยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่ถูกจำกัดด้วยฐานสูงในปีก่อน และภาวะค่าเงินอ่อนค่าในกลุ่มประเทศแอฟริกาและอเมริกาใต้ทำให้กำลังซื้อลดลง โดยรวมคาดผลการดำเนินงานของกลุ่มยานยนต์งวด 1Q59 ยังชะลอตัวลง YoY ส่วน 2Q59 น่าดีขึ้น yoy เพราะ งวด 2Q58 มีการหยุดปรับปรุงสายการผลิตของค่าย Toyota ทำให้ยอดผลิตปีก่อนมีฐานต่ำ
ส่วนตลอดปี 2559 คาด ยอดผลิตรถยนต์จะเพิ่มเพียง 2% yoy แต่คาดกำไรปกติของกลุ่มฯจะเติบโตได้ 13.2% yoy เนื่องจากประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น กลยุทธ์แนะนำเลือกรายหุ้น ที่เติบโตโดดเด่น อย่าง SAT ([email protected]) ที่ได้รับออเดอร์ชิ้นส่วนใหม่ๆในกลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่มีมาร์จิ้นสูงกว่าเข้ามาเพิ่ม และ IRC([email protected]) จากอานิสงค์ราคาต้นทุนวัตถุดิบยางช่วยยกระดับ Gross Margin ขึ้น ขณะที่ราคาปัจจุบันของทั้ง 2 บริษัทมีระดับ PER ซื้อขายเพียง 9 เท่า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์