- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 09 March 2016 17:54
- Hits: 547
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ราคาน้ำมันปรับฐานกดดัน SET ทดสอบ 1,360 จุด ระยะสั้นให้สลับมาลงทุนหุ้น defensive/หุ้นปันผล/กำไรโดดเด่นใน 1Q59 (BDMS, EASTW) และยังให้สะสมหุ้น Global (PTT, IRPC) และ Domestic (SCC, INTUCH) Top pick วันนี้คือ BDMS(FV@B25)
ตลาดคาด ECB ยังคงนโยบายการเงินผ่อนคลาย
การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีนยังคงส่งสัญญาณการชะลอต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.พ. พบว่า ยอดการค้าระหว่างประเทศ ยังชะลอตัว กล่าวคือ ยอดส่งออกในรูปดอลลาร์ ติดลบ 25.4%yoy ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งป็นผลมาจากการปิดโรงงานในช่วงเทศกาลตรุษจีนยาว 1 สัปดาห์ และ เช่นเดียวกับ ยอดนำเข้าในรูปดอลลาร์ ติดลบ 13.8%yoy ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3.26 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้เชื่อว่าธนาคารกลางจีนยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องอีก หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว (PBOC) ได้ปรับลด RRR ลง 0.5% หลังจากได้มีการลดไปแล้ว 4 ครั้งในปี 2558 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ปรับลดลงไป 5 ครั้ง (ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 4.35%, RRR 17.0%)
จึงทำให้เชื่อว่าตลาดยังให้น้ำหนักต่อผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพรุ่งนี้ (10 มี.ค.) ต่อการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง เนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวล่าช้า กล่าวคือ เงินเฟ้อเดือน ก.พ. กลับมาติดลบ 0.2%yoy (จากที่เป็นบวกต่อเนื่อง 5 เดือนก่อนหน้า) ขณะที่ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจส่งสัญญาณขัดแย้งกัน กล่าวคือภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของมาร์กิต และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวต่อเนื่อง 2 และ 3 เดือนตามลำดับ ขณะที่ภาคครัวเรือนเริ่มเห็นสัญญาณเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น 3 เดือนติด จึงทำให้ตลาดคาดว่า ECB น่าจะตัดลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก 10 bps สู่ -0.4% และเพิ่มวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรอีก 1 หมื่นล้านยูโรเป็น 7 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่ม Money Supply ในระบบและเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นโลก
แม้กองทุนจะขายหุ้นไทยหนัก แต่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 มีมูลค่ารวมกว่า 527 ล้านเหรียญ โดยมีเพียงเกาหลีใต้ประเทศเดียวเท่านั้นที่สลับมาขายสุทธิราว 106 ล้านหรียญ ส่วนที่ ที่เหลือ ยังคงซื้อสุทธิทั้งหมด ประกอบด้วย ตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 142 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ตามด้วยฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ส่วนตลาดหุ้นไทย แม้ว่านนี้จะปรับตัวลงแรงถึง 21 จุด หรือคิดเป็น 1.51% โดยเกิดจากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นหลัก ซึ่งมียอดขายสุทธิสูงถึง 5.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทยอีกกว่า 641 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิสูงถึง 3.0 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 9.1 พันล้านบาท ซึ่งแรงซื้อของต่างชาติทั้งในตราสารหนี้และตลาดหุ้นยังคงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.34 บาท/ดอลลาร์
กำไรตลาดปี 2559 เติบโต 30% : PTT, PTTEP, PTTGC, ERW เด่น
สรุปผลการดำเนินของบจ. ปี 2558 ทำได้เพียง 6.55 แสนล้านบาท ต่ำกว่า ASPS คาดที่ 7 แสนล้านบาท (ขณะตลาดฯ รายงาน 6.97 แสนล้านบาท ส่วนต่างกว่า 4.2 หมื่นล้านบาทนั้น น่าจะเป็นผลขาดทุนของ SSI ที่เกิดจากการด้อยค่าเงินลงทุนของบริษัทย่อยในยุโรป ขณะที่ SSI ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ไปเมื่อช่วงกลาง ก.พ. ที่ผ่านมา) กำไรที่ต่ำกว่าคาดหลักๆ มาจากกลุ่มพลังงาน (PTT, PTTEP) กลุ่มปิโตรเคมี (PTTGC) และมีการบันทึกรายการค่าใช้จ่ายพิเศษขนาดใหญ่เข้ามาในกลุ่มเหล็ก (SSI) และธุรกิจเดินเรือ (TTA) ทำให้กำไรต่อหุ้น (EPS) ลดลงจาก 75.4 บาท มาอยู่ที่ราว 68.7 บาท
สำหรับปี 2559 ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากำไรสุทธิของตลาดจะอยู่ที่ราว 8.44 แสนล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น (EPS) ประมาณ 89.4 บาท แม้จะลดลงจากประมาณการเดิมที่ 94.5 บาท เนื่องจากมีการปรับลดประมาณการในกลุ่ม ICT ลงกว่า 53% เพื่อสะท้อนต้นทุนใบอนุญาต 4G ที่สูงกว่าคาด แต่กำไรตลาดก็ยังเติบโตถึงเกือบ 30% จากฐานที่ต่ำในปี 2558 โดยหุ้นที่มี EPS growth สูงกว่าตลาดคือ กลุ่มขนส่ง (+262%) ซึ่งน่ามาจากการเติบโตที่โดดเด่นของ AAV, BA และการขาดทุนที่ลดลงของ THAI ตามมาด้วยพลังงาน (+233% นำโดย PTT, PTTEP) กลุ่มปิโตรเคมี (+16% นำโดย PTTGC) รับเหมา (+15% นำโดย TTCL, UNIQ) ค้าปลีก (+13% นำโดย COM7 และ BEAUTY) อาหาร (+12% นำโดย BR) ธ.พ. (+10% นำโดย TCAP) และบางกลุ่มที่เติบโตน้อยกว่าตลาดแต่ EPS Growth หุ้นรายตัวมากกว่าตลาด เช่น TPIPL (โตกว่า 4 เท่า), WHA (+163%), WORK (+102%), SENA (+73%), TTCL (+55%), ERW (47%), LIT (43%), TWPC (+40%), RS (+39%), KCE (+39%) เป็นต้น
ณ ระดับดัชนีปัจจุบันคิดเป็นระดับ P/E ที่กว่า 15.4 เท่า ถือว่าเป็นระดับที่อาจจะถือว่าสูง (แต่ได้ลดลงจากที่เคยเคลื่อนไหวในกรอบ 18-20 เท่าในปี 2558) แต่ยังต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคที่เฉลี่ยเกิน 16 เท่า (มาเลเซีย 16.1 เท่า อินโดฯ 16.7 เท่า และฟิลิปปินส์ที่ 17 เท่า) ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะขยับค่า Expected P/E ที่ระดับ 16 เท่า ซึ่งน่าจะทำให้ได้ดัชนีเป้าหมายของปี 2559 ที่ 1,430 จุด
ทั้ง EPS ตลาดอาจแกว่งตัวจาก 2 ประเด็นเป็นอย่างน้อย คือ กรณีที่ JAS ไม่จ่ายค่าใบอนุญาต จะทำให้กำไรตลาดเพิ่มขึ้นราว 4.3 พันล้านบาท และ กรณีที่ 2 คือ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในงวด 1Q59 จะสามารถยืนเหนือ 37 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยใน ธ.ค. 2558 ได้เพียงใด เพราะจะมีผลทำให้หุ้นที่อิงน้ำมัน เช่น โรงกลั่น และ ปิโตรเคมี อาจจะมีกำไร/ขาดทุนสต๊อกน้ำมันได้
ให้น้ำหนักไปที่กำไรงวด 1Q59 เด่น : IRPC, PTTGC, BDMS, ERW
เชื่อว่าตลาดได้รับรู้ผลกำไรงวด 4Q59 จากนี้ไปคงต้องให้ความสนใจกับผลกำไรในปี 2559 ซึ่งมีแนวโน้มสดใส เนื่องจากฐานกำไรในปี 2558 ที่ต่ำมาก ดังจะกล่าวในย่อหน้าถัดไป โดยหุ้นที่ คาดว่า ผลกำไรงวด 1Q59 สดใสได้แก่
โรงกลั่นและปิโตรเคมี ให้น้ำหนักไปที่ IRPC และ PTTGC ดังที่กล่าวแล้วว่ากำไรตลาดในปี 2559 มีแนวโน้มสดใส ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี เนื่องจากฐานปี 2558 ที่ต่ำมากจากปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ และขณะนี้เข้าสู่งวด 1Q59 ตลาดน่าจะให้น้ำหนักรายกลุ่มที่คาดว่าจะทำกำไรได้สดใส ซึ่งเท่าที่ได้สอบถามนักวิเคราะห์ของ ASPS พบว่ากลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากงวด 4Q58 เพราะคาดว่าจะบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมันลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับงวด 4Q58 (ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยในเดือน ธ.ค. 2558 อยู่ที่ที่ 35 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่เดือน มี.ค. 2559 คาดว่าน่าจะใกล้เคียงหรือต่ำเล็กน้อย) นอกจากนี้ในงวด 1Q59 ยังได้รับอานิสงค์จากค่าการกลั่นที่ยังทรงตัวในระดับสูงใกล้กับงวดก่อนหน้าที่ 8 เหรียญฯต่อบาร์เรล (อ้างอิงตลาดสิงคโปร์) และ ธุรกิจปิโตรเคมีที่ Spread ผลิตภัณฑ์ดีขึ้นทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ จากอานิสงค์ช่วงฤดูกาล (เทศกาลตรุษจีน) รวมถึงมีโรงงานปิโตรเคมีในภูมิภาคที่เกิดการหยุดซ่อมบำรุงชั่วคราวโดยไม่ได้อยู่ในแผน (unplanned shutdown) สถานการณ์นี้น่าจะดีต่อ IRPC มากสุด รองลงมาคือ TOP ยกเว้น PTTGC และ BCP ที่ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่เพราะมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงานโอเลฟินส์ และโรงกลั่น ในงวด 1Q59 ตามลำดับ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน นักวิเคราะห์ ASPS ให้น้ำหนักลงทุนไปที่กลุ่มปิโตรเคมีมากกว่าโรงกลั่น เนื่องจาก spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยเฉพาะสายโอเลฟินส์มีสัญญาณดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ GRM ผ่านจุดพีคไปแล้ว จึงยังเลือก IRPC ([email protected]) เป็น top pick ได้รับผลบวกทั้งภาพอุตสาหกรรม และ UHV เสร็จตามแผนในปลายเดือน มี.ค. 2559 และตามมาด้วย PTTGC แม้ในระยะสั้นจะยังถูกกดันจากกำไร 1Q59 ดังกล่าวข้างต้น แต่แนวโน้มกำไรทั้งปี 2559 เติบโตถึง 28.0%yoy
กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม ให้น้ำหนักไปที่ ERW, CENTEL
เปิดปี 2559 สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยสดใสต่อเนื่องจากผลของฤดูกาล (Peak) สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยล่าสุดเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 15% yoy สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3 ล้านคน และน่าจะต่อเนื่องใน ก.พ. ซึ่งได้อานิสงค์จากช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (เดือน ม.ค. นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทย 8.15 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 27% ของนักท่องเที่ยวรวม และเติบโตสูงสุด 45% yoy) ซึ่งน่าจะ ส่งผลบวกต่อกลุ่มธุรกิจโรงแรมเติบโตในทิศทางเดียวกันกับการท่องเที่ยว โดยคาดผลประกอบการกลุ่มโรงแรมฯ จะพีคสุดรายไตรมาสใน 1Q59 เหมือนปกติทุกปี โดยเฉพาะ ERW ([email protected]) มีโครงสร้างรายได้หลักมาจากโรงแรมเกือบ 100% จึงคาดกำไร 1Q59 มีโอกาสทำ New High เช่นกัน (ทั้งปี 2559 จะเติบโตสูงถึง 40%) อีกทั้งราคาหุ้นมี upside มากสุดในกลุ่มฯ 31% รองลงมาคือ CENTEL(FV@B18) แม้ปีนี้จะเติบโต 12% แต่จากสถิติในอดีตมักจะ outperform กลุ่ม ฯ
ร.พ. เติบโตต่อเนื่องแม้เศรษฐกิจชะลอตัว BDMS เด่นสุด
คาดผลประกอบการกลุ่ม รพ.ใน 1Q59 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั้งจากงวด 4Q58 (qoq)และงวดเดียวกันของปีก่อน(yoy) โดยได้รับผลบวกจากช่วง พีคของฤดูกาลการท่องเที่ยว โดย รพ. ที่ได้รับผลบวกสูงสุดคือ BDMS เนื่องจากมีรพ.ในเครือข่ายจำนวนมาก และ กระจายตัวอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีกำไรสูงสุดของปีในไตรมาส 1 มาโดยตลอด รองลงมา คือ BH ที่มีสัดส่วนรายได้จากผู้ป่วยต่างขาติมากสุด คือ คิดเป็น 60-65% ของรายได้รวม แต่จุดอ่อน BH มี รพ. ใน กทม. เพียงแห่งเดียว จึงได้รับอานิสงส์น้อยกว่า ทำให้กำไรไตรมาส 1 ไม่โดดเด่นเท่ากับ ไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลของรพ.ในไทย ทั้งนี้ ร.พ. ทั้ง 2 แห่ง ยังรับผลบวกของเศรษฐกิจในแถบตะวันออกที่คาดฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าผู้ป่วยจากตะวันออกจะเดินทางมารักษาในไทยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนแนวโน้มงวด 2Q59 แม้เป็นช่วง low season เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาว (เทศกาลสงกรานต์) คนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เชื่อว่า BDMS จะมีกำไรเติบโตที่โดดเด่น เพราะฐานที่ต่ำมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน เกิดจากรพ.แห่งทั้งหมด 13 แห่งยังขาดทุน ขณะที่งวด 2Q59 เริ่มพลิกกลับมามีกำไรแล้ว 1 แห่ง และรพ. ใหม่ที่เหลือทยอยฟื้นตัว ทั้งนี้หุ้นในกลุ่ม รพ. ส่วนใหญ่ได้ปรับตัวขึ้นมาจนมี Upside จำกัด เหลือเพียง BDMS (FV@B25) ที่มี 13% และมีผลประกอบการที่โดดเด่นตั้งแต่งวด 1Q59 เป็นต้นไป
ค้าปลีก : ยังเติบโตเกิน 10% แม้ชะลอตัวจากงวด 4Q58
ผลประกอบการของกลุ่มค้าปลีกในงวด 1Q59 มีแนวโน้มลดลงจากงวด 4Q58 จากผลของฤดูกาลที่มีการจับจ่ายใช้สอยที่สูงสุดช่วงปลายปี กอปรกับในปลายปี 2558 กลุ่มค้าปลีกยังรับผลบวกจากมาตรการลดหย่อนภาษี โดยนำยอดจับจ่ายใช้สอยไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทในช่วงปลายปีมาลดหย่อนรายได้ จึงเป็นผลให้ประชาชนบางส่วนจับจ่ายใช้สอยล่วงหน้า ทั้งนี้กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากมาตรฐานภาษีปลายปีค่อนข้างมาก อย่าง COM7, HMPRO และ ROBINS มีแนวโน้มกำไรในงวด 1Q59 ที่หดตัวจากงวด 4Q58 มากกว่าบริษัทอื่น
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับงวดเดียวกับของปีก่อน คาดผลประกอบการกลุ่มยังเติบโตได้เกิน 10% yoy เนื่องจากบางแห่งเริ่มเห็นยอดขายสาขาเดิมที่เคยติดลบ กลับมาเป็นบวกแล้วในช่วง 2M59 อย่าง HMPRO (+3% yoy) และ TNP (+7% yoy) ประกอบกับส่วนใหญ่ยังคงเดินหน้า ขยายสาขาเชิงรุกในปีที่ผ่านมา รวมถึงขยายพื้นที่เช่ามากขึ้น อาทิ ROBINS ที่มีการเปิดสาขาที่เน้นพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้น (หลังการ Renovate สาขาเดิม) และยังมีการปรับเปลี่ยน ผสมสินค้าที่มี อัตราการกำไรเพิ่มขึ้น (การแข่งขันน้อย สินค้าเด็ก, เครื่องประดับ, รองเท้า ฯลฯ) โดยคาดบริษัทที่มีกำไรงวด 1Q59 เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดดเด่นสุด คือ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กคือ BEAUTY และ TNP (จากยอดขายสาขาเดิม และการเปิดสาขาใหม่) ส่วนหุ้นขนาดกลาง เลือก COM7 ([email protected]) จากทิศทางกำไรปีนี้จะเติบโตเด่นสุดในกลุ่มฯ เริ่มตั้งแต่งวด 2Q59 และระยะสั้นมีปัจจัยเก็งกำไรจากการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆของ Apple (ราว 21 มี.ค.นี้) และสุดท้ายหุ้นขนาดใหญ่ เลือก HMPRO ([email protected]) จากแนวโน้มการฟื้นตัวเร็วที่สุด สะท้อนจากยอดขายสาขาเดิมที่กลับมาเป็นบวก 3% ในงวด 4Q58 เนื่องจากเน้นขายสินค้าตกต่างบ้าน ซึ่งเป็น ฐานลูกค้าระดับกลาง – บน
ขนส่งทางอากาศ ลดน้ำหนักลงทุน ชอบ BA เท่านั้น
แนวโน้มกำไรงวด 1Q59 ของกลุ่มขนส่งทางอากาศ (เฉพาะ 4 บริษัทที่ ASPS ดูแล (AOT, AAV,BA และ THAI) คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีกจากงวด 4Q58 ด้วย 2 ปัจจัยหนุนคือ จำนวนผู้ใช้บริการที่ยังเติบโตต่อเนื่อง สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือน ม.ค. ที่เพิ่ม 16% จากค่าเฉลี่ยจำนวนนักท่องเที่ยวต่อเดือนในงวด 4Q58 หนุนยอดผู้ใช้บริการ และ ยอดจองล่วงหน้า (ดีต่อสายการบิน และ AOT ที่ให้บริการสนามบิน) และอีกประการหนึ่ง ต้นทุนน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ถือว่ายังดีต่อสายการบิน (ต้นทุนน้ำมันคิดเป็น 30% ของต้นทุนสายการบิน และ ในจำนวนนี้พบว่าส่วนใหญ่ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้เพียง 50% เท่านั้นในงวด 1Q59 และ ราคาน้ำเครื่องบินเฉลี่ยงวด 1Q59 YTD ลดลง 30.3% จากค่าเฉลี่ยงวด 4Q58)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาราคาหุ้นในกลุ่ม ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง จนเกิน Fair Value เช่น AOT(FVB@B35) ส่วนสายการบินบางรายแม้เริ่มมี Upside เช่น AAV([email protected]) และ THAI([email protected]) แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในการปรับลดมูลค่าพื้นฐานได้ จากการแข่งขันในกลุ่มทีรุนแรง ขณะที่ปัจจัยหนุนกลุ่มในระยะสั้นอย่างช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวใกล้สิ้นสุดลง อีกทั้งกำไรกลุ่มสายการบินนับจากนี้ ยังมีแนวโน้มถูกกดดันจากราคาน้ำมันคาดจะฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์ Oversupply ที่ผ่อนคลายขึ้น จนนักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานมีการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันระยะยาว ฝ่ายวิจัย ASPS จึงอยู่ระหว่างปรับลดกำไรกลุ่มสายการบินในระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกัน และเตรียมลดน้ำหนักลงทุนกลุ่มลงเหลือ “เท่าตลาด” จากเดิม “มากกว่าตลาด” อย่างไรก็ตาม ยังชื่นชอบ BA([email protected]) ซึ่งเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ยัง Laggard กลุ่ม อีกทั้งยังมีจุดเด่นเส้นทางบินกึ่งผูกขาดอย่าง เกาะสมุย ช่วยเป็นเกราะป้องกันการแข่งขันรุนแรง
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์