- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 08 March 2016 16:08
- Hits: 707
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET เตรียมแตะ 1,400 จุด ด้วยแรงหนุนหุ้นน้ำมัน หลังราคาน้ำมันเบรนท์แตะ 40 เหรียญฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ยังชอบหุ้น Global (PTT, IRPC) และ Domestic (SCC) วันนี้เลือก Top pick คือ INTUCH(FV@B75) มี upside มากสุดในกลุ่ม ICT โดยให้ Switch จาก TRUE, JAS, DTAC ที่ราคาตลาดเกินมูลค่าหุ้นแล้ว
หุ้น TRUE, DTAC แพงแนะให้ Switch มายัง INTUCH
หุ้น ICT ยังคงสร้างสีสันให้กับตลาดหุ้นไทยตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้หลังจากที่ตลาดผิดหวังจากการเสนอราคาประมูลใบอนุญาต 3G ที่แพงลิบลิ่วของ TRUE และ JAS และเมื่อพิจารณาฐานะการเงินและฐานลูกค้ามือถือของ JAS ทำให้ ASPS ไม่มั่นใจต่อความสามารถในการชำระเงินค่าใบอนุญาตของ JAS ตั้งแต่การประมูลเสร็จสิ้น และจนถึงใกล้วันชำระเงินในช่วงต้นเดือน มี.ค. มีข่าวที่สะพัดมาในตลาดฯ ว่า JAS อาจไม่สามารถชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก 8 พันล้านบาท ตามกำหนดวันที่ 21 มี.ค. (จากค่าประมูล 7.4 หมื่นล้านบาท) ข่าวดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกที่หนุนให้ JAS ปรับตัวขึ้นในวันเดียว 15% ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะหาก JAS ไม่จ่ายค่าใบอนุญาตงวดแรก แต่จะยอมถูกยึดเงินมัดจำ 600 ล้านบาท จะทำให้ JAS สามารถมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ (เฉพาะธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) ที่ 4.3 และ 3.5 พันล้านบาท ตามลำดับ ตรงกันข้าม ถ้าชำระค่าใบอนุญาตฯ จะต้องเผชิญกับผลขาดทุนจากการเข้าทำธุรกิจ 4G ที่มี ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่สูงอย่างมากขึ้นต้น กล่าวคือปี 2559 JAS จะต้องเผชิญกับขาดทุนปกติกว่า 4.7 และ ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 5.6 พันล้านบาท ในปี 2560 และยังคงขาดทุนต่อเนื่องไปอีกหลายปีหลังจากนี้
และเมื่อวานนี้ JAS ยังแจ้งตลาดฯ ถึงแผนซื้อหุ้นคืนที่ราคาหุ้นละ 5 บาท ในสัดส่วนราว 16.8-20% ของทุนเรียกชำระแล้ว (7,133.5 พันล้านหุ้น ราคาพาร์ 0.5 บาทต่อหุ้น) ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินสดราว 6 พันล้านบาท เป็นที่สังเกตว่าทำไมบริษัทถึงต้องประกาศซื้อหุ้นคืนในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บริษัทควรจะต้องจัดเตรียมเงินสด พร้อม bank garauntee เพื่อชำระเงินค่าใบอนุญาต 4G งวดแรก (แบ่งจ่ายเป็น 4 งวด งวดแรก 8 พันล้านบาท งวด 2 และงวด 3 จ่าย 4 พันล้านบาทเท่ากัน และงวดสุดท้าย 5.8 หมื่นล้านบาท) เป็นการสะท้อนว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจ 4G น้อยกว่าการดูแลหุ้น JAS ใช่หรือไม่
ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้เชื่อว่าภาพรวมธุรกิจมือถือน่าผ่อนคลายลง เพราะการเข้ามาแข่งขันบริการ 4G ของรายที่ 4 อาจจะไม่เกิดขึ้นดังที่ตลาดกังวล ซึ่งถือว่าดีต่อผู้ประกอบการรายเดิมทุกราย โดยเฉพาะ DTAC(FV@B40) ที่ถือว่าลอยตัวเหนือปัญหา เพราะไม่มีปัญหาด้านต้นทุนใบอนุญาตที่แพง เหมือนกับ TRUE และ JAS และ ADVANC(FV@B187) ที่ถือว่าต้นทุนการให้บริการมือถือปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำสุด และสุดท้าย TRUE([email protected]) แม้จะได้รับผลดีเช่นกัน แต่ TRUE คงต้องเผชิญกับภาระต้นทุน 4Gที่สูงสุด (ไม่นับรวม JAS) และยังต้องเผชิญกับภาระขาดทุนต่อเนื่อง
และที่สำคัญราคาหุ้นมือถือทุกแห่ง ทั้ง TRUE, DATC ขณะนี้เกินจาก Fair Value ปี 2559 ยกเว้น ADVANC ยังมี upside จำกัดเพียง 2.5% แต่แนะนำให้ถือต่อ จึงแนะนำให้ switch จากหุ้น DTAC และ TRUE มาเข้าหุ้น INTUCH(FV@75) ซึ่งราคาตลาดมี upside 21.4% ส่วน JAS ดังที่กล่าวแล้ว่าโอกาสทำธุรกิจ 4G ลดลง และยังมีแผนซื้อหุ้นคืนระยะสั้นอาจจะทำให้ราคาหุ้นกลับขึ้นไปใกล้ 5 บาทอีกครั้งจึงอาจจะเป็นโอกาสการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
การประชุมของ ECB ในสัปดาห์นี้น่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
การรายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงชะลอตัวตามตลาดคาด สะท้อนจาก GDP Growth งวด 4Q58 ที่ปรับปรุงล่าสุดอยู่ที่ -0.3% ดีกว่า การประมาณครั้งก่อนที่ -0.4% ก็ตาม แต่ส่งผลให้ทั้งปี 2558 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว 1.1% (ดีขึ้นจากการประกาศเมื่อเดือนก่อนที่ 1.4%) ผลมาจากการชะลอของภาคการบริโภค ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลได้ประกาศขึ้นภาษีขายไปตั้งแต่เดือน เม.ย. 2557 รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยนส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการส่งออก นอกเหนือไปจากการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งอย่างจีน นอกจากนี้ภาวะเงินเฟ้อญี่ปุ่นที่ยังอยู่ที่ 0% จึงทำให้เชื่อว่าการประชุม BOJ วันที่ 14-15 มี.ค. นี้ น่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ส่วนของยุโรปนั้น การประกาศ GDP Growth วันนี้ ซึ่งคาดว่ายังคงฟื้นตัวล่าช้าแล้ว ตลาดยังให้น้ำหนักต่อการประชุม ECB ในวันที่ 10 มี.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะกระตุ้นทั้ง 2 ทาง คือ ตัดลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก 10 bps สู่ -0.4% หรือเพิ่มวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรอีก 1 หมื่นล้านยูโรเป็น 7 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบและยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลกต่อไป
ขณะที่ไทย กระทรวงการคลัง มีนโยบายให้เร่งรัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิของผู้มีรายน้อย อาทิ โครงการเบิกจ่าย หมู่บ้านละ 5 แสนบาทวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท โครงการ 1 ตำบล 1 SMEs วงเงิน 7 หมื่นล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความมั่นใจว่างบลงทุนสร้างรถไฟ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในงวด 2H59 วงเงินสาย 3.5 หมื่นล้านบาท สะท้อนจากแผนระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะระดมทุนเบื้องต้น 1 หมื่นล้านบาท ภายใน มี.ค.นี้ และจะเพิ่มให้ได้ตามแผน ภายใน พ.ค. นี้ เพื่อให้ GDP Growth เกินกว่า 3% ในปีนี้
แต่เป็นที่สังเกตว่าวงเงินดังกล่าวนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปี 2559-2560 วงเงิน 1.8 ล้านล้านบาท จึงคาดว่ารรัฐจะต้องมีการระดมเงินกู้ยืมเพิ่มเติม ซึ่งเท่ากับเป็นการแย่งชิงเงินออมในระบบ ซึ่งทำให้ เชื่อว่า การประชุม กนง. ในวันที่ 23 มี.ค. น่าจะยังคงยืนดอกเบี้ยที่ 1.5 % ต่อไป แต่ถือว่าเป็นระดับต่ำ ที่สามารถกระตุ้นการลงทุนได้
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะ 40 เหรียญฯ หนุนหุ้นน้ำมันต่อ
ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หลังจากเห็นความร่วมมือในการแก้ปัญหา Over Supply ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นล่าสุดผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มลาตินอเมริกาฯ พร้อมควบคุมกำลังผลิต โดยรัฐมนตรี เอกวาดอร์ จะจัดประชุมในวันศุกร์ 11 มี.ค. นี้ ซึ่งจะประเทศเข้าร่วมประชุม 5 แห่ง อาทิ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย และ เม็กซิโก เป็นต้น ทั้งนี้เป็นการประชุมล่วงหน้าก่อนที่ จะมีการประชุมของผู้ผลิตใน OPEC และ Non-OPEC ที่กำหนดไว้วันที่ 20 มี.ค. ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ในเบื้องต้น ทางกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ให้ความเห็นว่า ราคาน้ำมันที่ระดับ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล คาดเป็นระดับเหมาะสมที่จะสามารถสร้างสมดุลให้กับตลาดได้ ซึ่งประเด็นนี้น่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันดิบระยะสั้นเดินหน้าต่อได้
ขณะที่ Dollar Index ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง (ล่าสุด 97.07 จุด) ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 97-100 จุด หนุนสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นและ น้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุด(ytd) กลับมายืนระดับ 40 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 40.84 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ทิศทางเดียวกับ น้ำมันดิบดูไบ Spot ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 8% จากวันก่อน ปิดตลาดที่ 34.58 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มน้ำมัน อาทิ PTT(FV@B330) รวมถึงหุ้นปิโตรเคมี และโรงกลั่น อย่าง IRPC([email protected]) ที่จะได้รับปัจจัยบวกจากกำไรฐานใหม่ หลังจากโครงการ UHV แล้วเสร็จในเดือน มี.ค.
Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียต่อเนื่อง
วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคอีกกว่า 361 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ นำโดยไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 175 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 114 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 39 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) และฟิลิปปินส์ที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 8 ล้านหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยยังคงซื้อสุทธิอีกราว 27 ล้านเหรียญ หรือ 940 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท) และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2,244 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 4.0 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 6.6 ล้านบาท การไหลข้าวของต่างชาติทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ทำให้ค่าเงินเอเชีย รวมถึงเงินบาทอยู่ในทิศทางแข็งค่า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์