- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 07 March 2016 17:05
- Hits: 702
บล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Market View : ผันผวนขาขึ้น
Stock of the town : GENCO TRUBB
Analyst Meeting : XO
หุ้นมีข่าว : MAJOR AQUA VTE JWD GUNKUL NOK
SET วันก่อนปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากความคาดหวัง ECB จะใช้มาตรการ QE เพิ่มเติมในการประชุม 10 มี.ค. แต่ถูกแรงขายระยะสั้นตามสัญญาณเทคนิคที่เข้าเขต Overbought ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,379.53 จุด (+0.20 จุด) Volume 5.6 หมื่นลบ. โดย Foreign Net +4,632 ,Net TFEX -6,712 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
+ ตลาดหุ้น DJ +62.87 จุด ตอบรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งโดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ. พุ่งขึ้น 242,000 ตำแหน่ง(มากกว่าคาด) และอัตราการว่างงานอยู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี ที่ 4.9% แม้ว่ายอดขาดดุลการค้าสหรัฐเดือนม.ค. จะพุ่งขึ้น 2.2% , การส่งออก -2.1% และการนำเข้า -1.6% ก็ตาม
+ คาด ECB ใช้มาตรการ QE เพิ่มเติมในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. (ปัจจุบันใช้ QE ที่ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน) หลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ยูโรโซนเดือนก.พ. ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0
+ คาด FED ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 15 – 16 มี.ค. เนื่องจากความไม่แน่นอนของการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐ
+ ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นล่าสุด 36.27 USD/Barrel จากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐปรับตัวลดลง รวมถึงการประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในเดือนนี้คาดว่าจะตกลงปรับลดกำลังการผลิตลง
+ Foreign Net Buy 3 วันต่อเนื่องราว 1.3 หมื่นลบ.
- จีนปรับลด GDP ปี 59 เหลือ 6.5%-7.0% จากระดับ 7% ของปี 58 พร้อมทั้งกำหนดอัตราการขยายตัวรายปีโดยเฉลี่ยเอาไว้อย่างน้อย 6.5% ไปจนถึงปี 2563
ภาวะตลาดหุ้นไทยยังคงมี Sentiment เชิงบวกจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น , การคาดการณ์ ECB จะใช้ QE เพิ่มเติมในการประชุม 10 มี.ค. , คาด FED จะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 15 – 16 มี.ค. รวมถึง Fund Flow ต่างชาติที่พลิกเป็น Net Buy 3 วันราว 1.3 หมื่นลบ. ดังนั้นคาดว่า SET จะปรับตัวขึ้นโดยมีแนวต้านที่บริเวณ 1,390 - 1,395 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวก
- กลุ่มพลังงาน อานิสงส์ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น
- KSL KBS KTIS BRR ราคาน้ำตาล + 16%WoW ล่าสุด 14.78 USD. จากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ และภาวะภัยแล้ง
- TRUBB STA ราคายาง +14% WoW ล่าสุด 167 Yen/Kg
- PDI อานิสงส์ราคาสังกะสี +25% MoM ล่าสุด 1,839 USD/Ton
- DTAC 7 มี.ค. นัดหารือร่วมพันธมิตร กสท เพื่อนำคลื่น 1800 MHz. จำนวน 20 MHz. มาอัพเกรดให้บริหาร 4G
- AOT ทอท.เสนอบอร์ด 23 มี.ค. ขยายดอนเมืองเฟส 3 กว่า 1 หมื่นล้าน รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี
- กลุ่ม High Dividend INTUCH ADVANC KTB KKP TISCO
ประเด็นข่าวอื่น
- TPIPL จะนำ"ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์"ซึ่งทำธุรกิจไฟฟ้า และให้บริการสถานี น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขาย IPO เข้าตลาดหุ้นภายใน Q4/59
Analyst Meeting
XO ราคาปิด 5.45 บาท
กำไรปี 2558 ที่ 86 ล้านบาท ทรงตัวจากปี 2557 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจยูโรปที่เป็นตลาดหลักชะลอตัว รวมถึงมี FX loss ใน Q4/58 ราว 12 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยอดขายของบริษัทมีการเติบโตขึ้นเล็กน้อยราว 0.7% YoY เป็น 740 ล้านบาท
คาดรายได้และกำไรปี 2559 เติบโตขึ้น เนื่องจากบริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 15 - 20% ตามกำลังการผลิตที่สูงขึ้น 4 เท่าจากโรงงานแห่งใหม่ซึ่งจะเสร็จราว Q2/59 และเป็นโรงงานที่ Fully Automatic จึงสามารถลดค่าแรงลงได้ราว 15 ล้านบาท/ปี อีกทั้งบริษัทเตรียมขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้นโดยเน้นตลาดจีนและฮ่องกง
บริษัทตั้งเป้า 5 ปี เติบโต 15% ต่อปีและเพิ่มสัดส่วนตลาดหลักเป็นยุโรป 50% และเอเชีย สหรัฐ อื่นๆอีก 50% เพื่อกระจายความเสี่ยงตลาด
บรษัทอยู่ระหว่างทำดีลบริษัทนอกตลาด 2 ดีล (ยอดขายรวมราว 600 ล้านบาท/ปี) ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้
3/5/16 XW 5 ต่อ 1 และ XD 0.10 บาท/หุ้น
หุ้นมีข่าว
JWD (ราคาปิด 21.70 ซื้อเก็งกำไร) ปีนี้เตรียมปิดดีลซื้อกิจการในอาเซียน 1 แห่ง มูลค่ากว่า 3.5 พันล้านบาท หลังซุ่มเจรจาอยู่ 10 ราย พร้อมสนใจต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์ในกลุ่มอื่น ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 10% (ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ)
GUNKUL (ราคาปิด 25.00 แนะนำซื้อ 26) ไฟเขียวแตกพาร์จาก 1 บาท เป็น 0.25 บาทต่อหุ้น เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน พร้อมทั้งอนุมัติออกหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท อายุไม่เกิน 7 ปี เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตเตรียมขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นในวันที่ 26 เมษายนนี้ (ที่มา:ทันหุ้น)
ประเด็นลบ NOK (ราคาปิด 7.00) ประกาศยกเลิกเที่ยวบินวันเดียว 61 ไฟลท์ เหตุผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้า หลังเจอปัญหานักบินประท้วง 14 ก.พ. 59 กระทบความเชื่อมั่น “พาที” ร่อนจดหมายขออภัย พร้อมขอเวลาสะสางองค์กร(ที่มา:ข่าวหุ้น)
MAJOR แนวรับ 29.00-28.75 บาท แนวต้าน 30.00 , 31.25 บาท
ระดับราคาสามารถดีดกลับขึ้นมาทำ New high เล็กน้อยในรอบสัปดาห์ โดยมีวอลุ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อยประกอบกับ MACD ผ่านขึ้นมายืนเหนือระดับศูนย์ได้แล้ว หากวันนี้ระดับราคาอ่อนตัวกลับลงมาแถวๆ 29-28.75 บาทอีก น่าซื้อเพิ่ม ลุ้นดีดกลับแถวๆ เส้นค่าเฉลี่ย 75 วันที่ 30 บาทก่อนผ่านขึ้นทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันที่ 31.25 บาทต่อไป
AQUA แนวรับ 0.82-0.81 บาท แนวต้าน 0.86-0.88 บาท
ระดับราคาสามารถดีดกลับขึ้นมาทำ New high ในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจาก MACD ไม่หลุดลงไปต่ำกว่าศูนย์และมีวอลุ่มซื้อขายเพิ่มขึ้นพอสมควร หากวันนี้ระดับราคาไม่ถอยกลับลงมาหรือปิดต่ำกว่า 0.82-0.81 บาทซะก่อน มีโอกาสที่ระดับราคาจะดีดกลับขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมในรอบ 4 เดือนแถวๆ 0.86-0.88 บาทต่อไป
VTE แนวรับ 2.12-2.10 บาท แนวต้าน 2.16 , 2.24 บาท
ระดับราคาสามารถดีดกลับขึ้นมาปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันได้และกำลังมีลุ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน ท่ามกลางวอลุ่มที่เริ่มสูงขึ้นและ MACD กำลังจะผ่านขึ้นมายืนเหนือศูนย์ได้ หากวันนี้ระดับราคาไม่ถอยกลับลงมาหรือปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันแถวๆ 2.12-2.10 บาทอีก จึงจะมีลุ้นดีดกลับผ่าน 2.16 บาท เพิ่มลุ้นดีดกลับขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมในรอบสัปดาห์แถวๆ 2.24 บาทต่อไป
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : +62.87 จุด
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,006.77 จุด เพิ่มขึ้น 62.87 จุด หรือ +0.37% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,717.02 จุด เพิ่มขึ้น 9.60 จุด หรือ +0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,999.99 จุด เพิ่มขึ้น 6.59 จุด หรือ +0.33%เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานที่ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ.ของสหรัฐปรับตัวขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และอัตราการว่างงานเดือนก.พ.ยังคงเคลื่อนไหวที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี โดยข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่พุ่งขึ้น 3.9% ซึ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นด้วย
ตลาดน้ำมัน NYMEX : +1.35 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดพุ่งขึ้น 1.35 ดอลลาร์ หรือ 3.9% แตะที่ระดับ 35.92 ดอลลาร์/บาร์เรล และตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมัน WTI ปรับขึ้นทั้งสิ้น 9.6% เพราะได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ และข้อมูลที่ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีมุมมองที่เป็นบวกว่า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อาจจะตกลงกันได้ในประเด็นปรับลดกำลังการผลิต ในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นในเดือนนี้
ปัจจัยบวก
+ สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 242,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.9% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2008
+ เฟดสาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 2.2% ในไตรมาส 1 โดยการขยายตัวดังกล่าวสูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 1.9% ในวันที่ 1 มี.ค.
+ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าฐานะการคลังในขณะนี้ยังเปิดช่องให้รัฐบาลใช้นโยบายการคลังเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจได้ หากภาคส่งออกหดตัวมากกว่าที่คาด และภัยแล้งยาวนานกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะการดูแลรายได้ภาคเกษตรที่หายไป
ปัจจัยลบ
- สหรัฐรายงาน ตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนม.ค. สู่ระดับ 4.57 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกสินค้าร่วงลง 3.3% สู่ระดับ 1.169 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2010 และการส่งออกสินค้าและบริการลดลง 2.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2011 ทั้งนี้ การส่งออกได้ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
- จีนปรับลด GDP ปี 59 เหลือ 6.5%-7.0% จากระดับ 7% ของปี 58 พร้อมทั้งกำหนดอัตราการขยายตัวรายปีโดยเฉลี่ยเอาไว้อย่างน้อย 6.5% ไปจนถึงปี 2563 ขณะที่หน่วยงานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) มองว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่ตกต่ำรุนแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกแต่ยอมรับว่า ความไม่แน่นอนและความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก อาจมีความเสี่ยงต่อการเติบโตของประเทศได้
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
7 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
7-8 มี.ค. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงาน SET Thai Corporate Day 2016: Driving Economy with Sustainable Growth
8-12 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯจะนำทีมไปเยือนศรีลังกาเพื่อประชุมทวิภาคีกับรมต.ฝ่ายเศรษฐกิจและขยายความร่วมมือการค้าการลงทุน
9-10 มี.ค. ประเทศไทยป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue – ACD)
11 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
กลางมี.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์/ กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
21 มี.ค. ครบกำหนดจ่ายเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz งวดแรกของผู้ชนะประมูล
23 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 2/2559
23-26 มีนาคมประชุมสรุปร่างรธน.นัดสุดท้ายนอกสถานที่ที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งมอบให้ครม.นำไปทำประชามติต่อไปในวันที่ 29 มี.ค.
24-27 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีนำภาคเอกชนไปโรดโชว์เกาหลีใต้
สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง (คาดจะปรับลดประมาณการ GDP)
29 มี.ค. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำหนดจัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้าย
30 มี.ค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
31 มี.ค. ธปท.แถลงข่าวรายงานนโยบายการเงิน / รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน / ธปท. เตรียมปรับลดเป้า GDP หลังจากเศรษฐกิจไทยในเอนม.ค. มีทิศทางแผ่วลง การส่งออกติดลบ 9.3%
31 ก.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (เบื้องต้น)
ต่างประเทศ
จับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) 10 มี.ค. ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
7 มี.ค. เยอรมนีเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ.
ญี่ปุ่นเปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนก.พ./ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนม.ค.
8 มี.ค.สหรัฐเปิดเผยสินเชื่อผู้บริโภคเดือนม.ค. / สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนม.ค.
อียูเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาส 4/2558
เยอรมนีเปิดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.
จีนเปิดเผยดุลการค้าเดือนก.พ./ยอดนำเข้าและส่งออกเดือนก.พ.
ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดการปล่อยกู้ภาคธนาคารเดือนก.พ./ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4/2558/ ดุลการค้าเดือนม.ค./ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนม.ค./ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.
9 มี.ค.สหรัฐเปิดเผยสต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนม.ค./ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
10 มี.ค. สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์
เยอรมนีเปิดเผยดุลการค้าเดือนม.ค./ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนม.ค.
จีนเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ./ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ./ยอดปล่อยเงินกู้ใหม่เดือนก.พ.
11 มี.ค. (ช่วงเช้า) สหรัฐเปิดเผยดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนก.พ.
15 – 16 มี.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ
23 มิ.ย. อังกฤษมีกำหนดจัดทำประชามติว่า “อังกฤษควรจะอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่”
Analyst : วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
ชัยยศ จิวางกูร
บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์