- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 07 March 2016 16:41
- Hits: 551
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fund flow เข้าต่อเนื่อง หนุน SET แกว่งตัวขึ้นทดสอบ 1,385-1,400 จุด กลยุทธ์ ให้ผสมหุ้น Global (PTT, IRPC) + Domestic (ADVANC, SCC) เลือกหุ้น Laggards คือ SCC(FV@B595) และ PTT(FV@B330) เป็น Top picks หลังปรับ Fair Value PTT ขึ้นจากเดิม 20 บาทต่อหุ้นหรือเพิ่มขึ้น 6.5%
Fund Flow ไหลเข้าหนุนค่าเงินแข็งค่าทั้งเอเชีย
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 รวมมูลค่าอีกกว่า 527 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อทุกตลาด ยกเว้นเพียงฟิลิปปินส์เดียวที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 8 ล้านหรียญ เรียงลำดับประเทศที่ซื้อสุทธิสูงสุดจากมากไปน้อย คือ ไต้หวันซื้อสุทธิสูงสุดราว 214 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ตามด้วยเกาหลีใต้ 167 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7) อินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) และไทยซื้อสุทธิอีกกว่า 131 ล้านเหรียญ หรือ 4,632 ล้านบาท เป็นยอดซื้อสุทธิสูงสุดลำดับ 2 ในปีนี้ (เทียบกับที่เคยสูงสุด 5.2 พันล้านบาทเมื่อ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา)
โดยรวมทำให้ต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเป็นบวกแล้วเกือบ 5.8 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิต่อเนื่องวันที่ 2 ราว 1,195 ล้านบาท ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.3 หมื่นล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 811 ล้านบาท
แรงซื้อหุ้นของต่างชาติส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงอยู่ในโซนแข็งค่า ล่าสุดอยู่ที่ 35.36 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่นักลงทุนต่างชาติเริ่มซื้อสะสมหุ้นในภูมิภาคเมื่อวันที่ 16 ก.พ. เป็นต้นมา เงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์แข็งค่าแล้วกว่า 0.8% แต่นับว่ายังแข็งค่าน้อยกว่าในภูมิภาค กล่าวคือ เงินรูเปียห์อินโดนีเซียแข็งค่ามากที่สุดถึง 2.63% รองลงมา เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่า 1.64% เปโซฟิลิปปินส์แข็งค่า 1.37% ริงกิตมาเลเซียแข็งค่า 0.97%
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
น้ำมันฟื้นตัว ปรับเพิ่มสมมติฐานระยะยาวขึ้น บวกต่อ PTTEP
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงอยู่ภาวะแกว่งตัวขึ้น เพื่อตอบรับความคาดหวังเชิงบวกต่อการจัดการ ปัญหา Over Supply ที่ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้หลังผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกหันมาหารือควบคุมกำลังการผลิต (ติดตามการประชุมที่จัดขึ้นโดย เวเนซุเอล่า วันที่ 20 มี.ค. เบื้องต้นคาดกว่า 15 ประเทศเข้าร่วม) ขณะที่ฝั่ง Supply ล่าสุดเห็นแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการรายงานจำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ที่ผ่านมา (ผู้ผลิตน้ำมันที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ Shale oil และ Shale gas) ลดลง 8 หลุม เหลือ 392 หลุม (จากจุดสูงสุดกว่า 1,609 หลุมในปี 2557) ส่งผลทำให้ตัวเลขปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลงติดต่อกัน 6 สัปดาห์ มาอยู่ที่ 9.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งทำให้ปริมาณการการผลิตน้ำมันในส่วนนี้ลดลงราว 6 แสนบาร์เรล ต่อวันในปี 2559 และ ลดลงอีก 2 ล้านบาร์เรลในปี 2560 ถือเป็นพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง ต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน
ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้าทั้ง WTI และ Brent ยังคงปรับตัวขึ้นติดต่อกัน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่า 11.83% และ 12% จากสัปดาห์ก่อน (ล่าสุด 36.92 และ 38.72 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ส่วนทิศทางเดียวกับน้ำมันดูไบ Spot ยังคงยืนเหนือ 30 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ล่าสุด 32.29 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้นน้ำมันทั้ง PTT (FV@B330) ซึ่งสวนทางกับค่าการกลั่นที่กลับมาย่อตัว อยู่ระดับ 6 เหรียญฯต่อบาร์เรล ( ล่าสุด 6.79 เหรียญฯต่อบาร์เรล)
ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ได้ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้นจากเดิมที่ให้คงที่ที่ระดับ 45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ขึ้นเป็น ขั้นบันได กล่าวคือในปี 2559 ให้คงที่ที่ 45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล แต่ให้ปรับเพิ่มเป็น 50 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในปี 2560 เพิ่มเป็น 55 เหรียญฯ ในปี 2561 และ ตั้งแต่ปี 2562 ให้เพิ่มเป็น 60 เหรียญฯ (เป็นระดับที่บริษัททำการตั้งสำรองฯ การด้อยค่า/สินทรัพย์และเงินลงทุนในต่างประเทศ) ส่งผลให้ Fair Value ปี 2559 อยู่ที่ PTTEP เป็น 80 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 20 บาท หรือเพิ่มขึ้น 33% จึงปรับเพิ่ม คำแนะนำจากเดิม switch เป็น ซื้อ แม้ upside เพียง 10.3% จาก Fair Value ใหม่ เนื่องจากราคาหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นไปก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก (ทั้งนี้ยังไม่รวมรายการพิเศษที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หลังที่บริษัทได้มีการ บันทึกรายการพิเศษในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบตกต่ำ)
ขณะเดียวกับ ทำให้ต้องปรับเพิ่ม Fair Value ของ PTT (ถือหุ้นใน PTTEP 65.29%) ขึ้นจากเดิม 20 บาท ต่อหุ้นเป็น 330 บาท หรือเพิ่มขึ้น 6.5% เป็น Fair Value ใหม่ ทำให้มี upside สูง 19% ยังเลือก PTT เป็น Top pick ควบคู่กับ IRPC (ติดตามอ่านรายละเอียดกลุ่มน้ำมันได้ใน Equity Talk วันนี้ )
ตลาดให้น้ำหนักต่อการประชุม ECB ที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
ตลาดแรงงานสหรัฐยังมีสัญญานการฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว ได้รายงานยอดการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 11%mom อยู่ที่ระดับ 2.14 แสนราย (เพิ่มขึ้นติดต่อเป็นเดือนที่ 2) สอดคล้องกับการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls)
เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 40.7%mom อยู่ที่ระดับ 2.42 แสนราย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ได้ทำให้อัตราการว่างงานเปลี่ยนไปจากเดิมคือยังยืนอยู่ที่ 4.9% นานเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้คาดว่าสาเหตุน่าจะเป็นผลจากที่มีผู้สู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามภาคการผลิตที่ไม่ฟื้นตัว และปัจจัยภายนอกที่กดดันเศรษฐกิจสหรัฐทำให้ (FED) ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าการ ประชุมของ FED ใน 15-16 มี.ค. น่าจะยืนดอกเบี้ยที่เดิม สะท้อนจาก ผลการสำรวจ Bloomberg ล่าสุดพบว่ามีเพียง 8% ของผู้ตอบเท่านั้น (จาก 10% ในสัปดาห์ก่อน) ที่คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย ซึ่ง กดดันให้ Dollar Index แกว่งตัวระดับ 97-100 จุด หนุนสินทรัพย์เสี่ยงทั้งตลาดหุ้น และทิศทางราคาน้ำมันให้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
และสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นทั่วโลกให้ความสนใจต่อการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 10 มี.ค. โดยตลาดคาดว่ามีโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจทั้ง 2 ทาง คือ ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ (ECB) ลงอีก 10 bps สู่ -0.4% และเพิ่มวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร จากปัจจุบันอยู่ที่ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน หลังจากเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนทั้งภาคการผลิตและภาคบริการยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับเงินเฟ้อ ล่าสุดกลับมาติดลบ 0.2%yoy (ก่อนหน้านี้เงินเฟ้อขึ้นมาเป็นบวกต่อเนื่องมา 5 เดือน) ซึ่งหากผลการประชุมว่าเป็นไปตามตลาดคาด เท่ากับช่วย Money Supply ยังเป็นบวกต่อตลาดหุ้นโลก
SET เดินหน้าทดสอบ 1,385-1,400 จุด เลือกหุ้น Laggard : SCC, IRPC
คาดว่า SET Index ยังเดินหน้าต่อ เพื่อทดสอบ 1,380-1,400 จุด โดยแนะนำให้สลับการลงทุนมายังหุ้นที่ยัง laggard และเงินปันผลสูง เช่น SCC upside 28.2%, IRPC upside 27.2%, KBANK upside 34.8%, AIT upside 24.8%, PS upside 40.7% และ TCAP upside 24% เป็นต้น
หุ้นที่เลือกเป็น Top picks วันนี้คือ SCC(FV@B595) หลังรายงานกำไรสุทธิงวด 4Q58 ดีกว่าคาด เนื่องจาก Spread ของธุรกิจปิโตรเคมีที่ดีขึ้น (โครงสร้างกำไรประกอบด้วยธุรกิจ ปูนซิเมนต์ และ ปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ 35% และ 65%) แนวโน้มปิโตรเคมีปี 2559 มีสัญญาณที่ดีขึ้น แม้ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์จะยังอยู่ในภาวะ oversupply จากกำลังการผลิตใหม่ของจีนและตะวันออกกลาง แต่เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะค่อยๆ ผ่อนคลายลงเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจะทำให้ผู้ผลิตที่ไม่คุ้มทุนต้องทยอยลดกำลังการผลิตลง
และพบว่า Spread ผลิตภัณฑ์สัปดาห์ที่ผ่านมาแม้จะลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในงวด 1Q58 โดย Spread ผลิตภัณฑ์กลุ่มโอเลฟินส์ (PTTGC, IRPC, SCC) ปรับตัวลดลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบแนฟทาเพิ่มขึ้น 8.7%wow มาอยู่ที่ 337 เหรียญฯต่อตัน ส่งผลให้ Spread ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม HDPE-Naptha และ LDPE-Naptha ทั้งคู่ลดลง 2.2%wow อยู่ที่ 754 และ 769 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ (เทียบกับกับเฉลี่ยงวด 1Q59 ที่อยู่ที่ 748 และ 755 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ) เช่นเดียวกับ Spread PP-Naptha และ ABS-Naptha ลดลงเช่นกัน 1.6% และ 2.1% มาอยู่ที่ 596 และ 789 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ แต่ภาพรวมถือว่ายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยงวด 1Q59 เช่นกัน เป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อ PTTGC และ IRPC
ส่วน IRPC([email protected]) ถือว่าราคาหุ้นยัง laggards ขณะที่แนวโน้มกำไรในปี 2559-2560 คาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 16% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการ UHV (ปรับเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันใส ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า) ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่ม GRM ได้เฉลี่ย 1 เหรียญ ต่อบาร์เรล ขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวน่าจะหนุนให้ stock loss ในงวด 1Q59 ลดลง และมีกำไรปกติ(ไม่รวม stock loss) ราว 2000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับงวด 4Q58 และระยะสั้นยังมีประเด็นเรื่องเงินปันผลจ่ายสำหรับผลการดำเนินงานปี 2558 ที่กำหนดจ่ายหุ้นละ 0.22 บาท ขึ้น XD 18 ก.พ. และ เลือกเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มพลังงาน
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์