- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 04 March 2016 16:21
- Hits: 673
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ด้วยสภาพคล่องโลกที่เพิ่ม หนุน fund flow และน่าจะทำให้ SET เดินหน้าทดสอบ 1,385 จุด กลยุทธ์ยังให้ผสมหุ้น Global (PTT, IRPC) + Domestic (ADVANC, SCC, ASK, AIT) เลือก SCC(FV@B595) และ IRPC([email protected]) เป็น Top picks
ตลาดให้น้ำหนักสหรัฐชะลอขึ้นดอกเบี้ยดีต่อตลาดหุ้นโลก
วานนี้มีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกเดือน ก.พ. 2559 ยังส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ จีน (Caixin) ลดลงราว 2% (เหลือ 51.2 จุด vs เดือน ม.ค. 52.4 จุด) หลังจากฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และ ญี่ปุ่น ลดลง 2.29% เหลือ 51.2 จุด ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ยกเว้นยูโรโซนที่ ดัชนี PMI ภาคบริการยังคงทรงตัวระดับ 53 จุด
ขณะที่สหรัฐดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งภาคการบริการและภาคการผลิตยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะภาคบริการ สะท้อนจาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคบริการปรับลดลงอยู่ที่ 49.7 จุด (เดือน ม.ค. 53.2 จุด ต่ำกว่า 50 จุดครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2556) เป็นการส่งสัญญาณการหดตัว เช่นเดียวกับ ภาคการผลิต ที่ยังคงหดตัวติดต่อกันกว่า 4 เดือน เป็นการตอกย้ำว่า Fed ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขึ้นดอกเบี้ย หรือไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ตามเป้าหมาย ติดตามผลการประชุม วันที่ 15-16 มี.ค. ซึ่งคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จากการสำรวจ Bloomberg ที่ลดลงเหลือเพียง 8% (จาก 10% ในสัปดาห์ก่อน) ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ย และกดดันให้ Dollar Index แกว่งตัวระดับ 97-100 จุด หนุนสินทรัพย์เสี่ยงทั้งตลาดหุ้น และทิศทางราคาน้ำมันให้ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
ดัชนีความเชื่อมั่นไทยลดลงจากปัญหาโลกและภัยแล้ง
ส่วนไทยวานนี้มีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ. พบว่าลดลง 1%mom นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาภัยแล้งมากขึ้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผู้มีรายได้น้อย และ SMEs ซึ่งต่อเนื่องในปี 2559 โดยใช้เม็ดเงิน 1.6 แสนล้านบาท เทียบกับปี 2558 ที่ใช้เม็ดเงินกระตุ้นในกลุ่มนี้ 1.7 แสนล้านบาท (ล่าสุดครม. ได้อนุมัติวงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยผู้ประสบภัยแล้งและเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเกษตรกร อาทิ เงินกู้ฉุกเฉินให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง 6 พันล้านบาท โครงการเปลี่ยนเกษตรกรเป็น SME วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อกลุ่มเกษตรกรวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เป็นต้น)
นอกจากนี้ยังมีมาตรการกระตุ้น SMEs เป็นเงิน 5 หมื่นล้านบาท เทียบกับปี 2558 ที่ใช้เม็ดเงิน 1 แสนล้านบาท ทั้งนี้ยังมีมาตรการที่ต่อเนื่องจากปี 2558 คือ มาตรการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน เม.ย. 2559 (และมาตรการนำเงินค่าบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มาลดหย่อนภาษีไม่เกิน 1.2 แสนบาทได้เป็นระยะเวลา 5 ปี สิ้นสุดธ.ค. 2559) โดยรวมน่าจะส่วนกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้บ้างและน่าจะมีสัญญานที่ดีขึ้นหลังจากนี้
โดยรวมในปี 2559 ASPS ประเมินว่า GDP Growth น่าจะอยู่ที่ 3.5% (ลดลงจากประมาณครั้งก่อนที่ 3.8% ) โดยคาดว่าปัจจับขับเคลื่อนมาจากการบริโภคภาคครัวเรือน (เติบโต 2.5%) การลงทุนรวม (เติบโต 4%) และ การใช้จ่ายภาครัฐ 3.5% ติดตามอ่าน Economic Outlook ในวันนี้
ต่างชาติซื้อไทยสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง
กระแสเงินทุนจากต่างชาติเริ่มไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคมากขึ้นเรื่อยๆ โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคในปริมาณที่สูงถึง 1,118 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) และเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 5 ประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิสูงสุดราว 444 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ใกล้เคียงกันกับไต้หวันซื้อสุทธิราว 437 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 74 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5) ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 18 ล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 146 ล้านเหรียญ หรือ 5,181 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง (นับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 56 เป็นต้นมา) จนทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันพลิกกับมาเป็นบวกได้ราว 1,166 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิราว 1,538 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 9,736 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 1,079 ล้านบาท โดยแรงซื้อหุ้นของต่างชาติส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแน้วโน้มแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.43 บาท/ดอลลาร์
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
SET เดินหน้าต่อ เลือกหุ้น Laggard : SCC, IRPC
วานนี้ SET Index ขยับขึ้นต่อเนื่อง 14 จุด (1.03%) ดัชนีอยู่บริเวณ 1380 จุด นับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน SET ให้ตอบแทนถึง 7.1% โดยการปรับขึ้นของ SET ในรอบนี้ล้วนแต่มาจากกลุ่มฯ หลักๆ ได้แก่ ธ.พ., ICT, ขนส่ง, ค้าปลีก, พลังงาน และ ปิโตรเคมี การปรับขึ้นอย่างรุนแรงภายในระยะเวลาอันสั้นทำให้หุ้นหลายบริษัทที่ฝ่ายวิจัยแนะนำเริ่มมี upside จำกัด เช่น ADVANC upside 3.9% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่เกิน Fair value ของฝ่ายวิจัยแล้ว อาทิ ธ.พ. (เช่น BBL, SCB, KKP, LHBANK), ICT (เช่น JAS, TRUE, SIM), ขนส่ง (เช่น AOT, JWD), ค้าปลีก (เช่น BIGC), พลังงาน (BANPU, PTTEP) ทำให้มีความเสี่ยงที่ราคาหุ้นจะย่อตัวลงในระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำให้สลับการลงทุนมายังหุ้นที่ยัง laggard เมื่อเทียบกับตลาด มี upside สูง และเงินปันผลสูง เช่น SCC upside 28.2%, IRPC upside 27.2%, KBANK upside 34.8%, AIT upside 24.8%, PS upside 40.7% และ TCAP upside 24% เป็นต้น
หุ้นที่เลือกเป็น Top picks วันนี้คือ SCC(FV@B595) หลังรายงานกำไรสุทธิงวด 4Q58 ดีกว่าคาด เนื่องจาก Spread ของธุรกิจปิโตรเคมีที่ดีขึ้น (โครงสร้างกำไรประกอบด้วยธุรกิจ ปูนซิเมนต์ และ ปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ 35% และ 65%) แนวโน้มปิโตรเคมีปี 2559 มีสัญญาณที่ดีขึ้น แม้ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์จะยังอยู่ในภาวะ oversupply จากกำลังการผลิตใหม่ของจีนและตะวันออกกลาง แต่เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะค่อยๆ ผ่อนคลายลงเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจะทำให้ผู้ผลิตที่ไม่คุ้มทุนต้องทยอยลดกำลังการผลิตลง
และพบว่า Spread ผลิตภัณฑ์สัปดาห์ที่ผ่านมาแม้จะลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในงวด 1Q58 โดย Spread ผลิตภัณฑ์กลุ่มโอเลฟินส์ (PTTGC, IRPC, SCC) ปรับตัวลดลง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบแนฟทาเพิ่มขึ้น 8.7%wow มาอยู่ที่ 337 เหรียญฯต่อตัน ส่งผลให้ Spread ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม HDPE-Naptha และ LDPE-Naptha ทั้งคู่ลดลง 2.2%wow อยู่ที่ 754 และ 769 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ (เทียบกับกับเฉลี่ยงวด 1Q59 ที่อยู่ที่ 748 และ 755 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ) เช่นเดียวกับ Spread PP-Naptha และ ABS-Naptha ลดลงเช่นกัน 1.6% และ 2.1% มาอยู่ที่ 596 และ 789 เหรียญฯต่อตัน ตามลำดับ แต่ภาพรวมถือว่ายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยงวด 1Q59 เช่นกัน เป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อ PTTGC และ IRPC
ส่วน IRPC([email protected]) ถือว่าราคาหุ้นยัง laggards ขณะที่แนวโน้มกำไรในปี 2559-2560 คาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 16% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการ UHV (ปรับเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันใส ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า) ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่ม GRM ได้เฉลี่ย 1 เหรียญ ต่อบาร์เรล ขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบโลกที่ฟื้นตัวน่าจะหนุนให้ stock loss ในงวด 1Q59 ลดลง และมีกำไรปกติ(ไม่รวม stock loss) ราว 2000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับงวด 4Q58 และระยะสั้นยังมีประเด็นเรื่องเงินปันผลจ่ายสำหรับผลการดำเนินงานปี 2558 ที่กำหนดจ่ายหุ้นละ 0.22 บาท ขึ้น XD 18 ก.พ. และ เลือกเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มพลังงาน
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์