WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GBX copyบล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : ผันผวนขาขึ้น
Stock of the town : INET KAMART
หุ้นแนะนำพิเศษ : BANPU
หุ้นมีข่าว : PTT CK CI TPOLY
  SET สัปดาห์ก่อนปรับตัวขึ้นได้ดีตอบรับราคาน้ามันที่ฟื้นตัว ประกอบกับ Fund flow นลท.ต่างชาติที่พลิกเป็น Net Buy ต่อเนื่องซึ่งเป็นแรงหนุนให้ SET ปิดที่ 1,343.07 จุด (+0.72 จุด) Volume 4 หมื่นลบ. โดย Foreign Net -1,373 ลบ. ,Net TFEX +3,761 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
  - ตลาดหุ้น DJ -57.32 จุด จากตัวเลขเศรษฐกิจที่คละเคล้า GDP Q4/58 +1.0% ต่ำกว่า Q3/58 ที่ +2% , การใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 0.5%
  - Foreign พลิกเป็น Net Sell ราว 1.3 พันลบ.
  - สินเชื่อธนาคารเดือน ม.ค.ยังหดตัว MoM 5 หมื่นล้าน เหตุแห่ชำระคืนเงินกู้ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อยังไม่กระเตื้อง ด้านเงินฝากลดลงตาม
  +/- ราคาน้ำมันดิบทรงตัวล่าสุด 32.9 USD/Barrel จากแรงขายทำกำไร
  + ธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  + G20 ให้คำมั่นจะใช้เครื่องมือนโยบายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการเงิน การคลัง และเชิงโครงสร้าง ทั้งใช้แยกกันและใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพของตลาดและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงซบเซา
  + ECB ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 10 มี.ค. (ปัจจุบันใช้ QE ที่ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน)
  + คลังมั่นใจโครงการลงทุนคมนาคม 20 โครงการ 1.7 ล้านล้าน เซ็นสัญญาภายในปีนี้ ประเดิมรถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่น มอเตอร์เวย์ 2 โครงการ เส้นพัทยา-มาบตาพุด บางปะอิน-นครราชสีมา อยู่ระหว่างประกวดราคา
  + แรงซื้อดักงบและปันผลปี 2558 ที่จะทยอยประกาศถึง 1 มี.ค.59
  ภาวะตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวก/ลบที่คละเคล้า ได้แก่แรงหนุนจากการซื้อดักงบและปันผลปี 58 รวมถึงความคาดหวัง ECB จะใช้ QE เพิ่มเติมในการประชุม 10 มี.ค. อย่างไรก็ตามแรงกดดันจาก Fund Flow ต่างชาติพลิกเป็น Net Sell รวมถึงสินเชื่อธนาคารเดือนม.ค.ยังคงหดตัวเป็นตัวถ่วง ดังนั้นคาดว่า SET จะแกว่งตัวขึ้นทดสอบ 1,335 – 1,350 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
  แนะนำ Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยบวกและสะสมหุ้นที่งบเติบโตขึ้น
  - KSL KBS KTIS BRR ราคาน้ำตาล + 10%WoW ล่าสุด 14 USD. จากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ และภาวะภัยแล้ง
  - AOT MINT CENTEL High season ท่องเที่ยว รวมถึงกพท. เตรียมเสนอแผนแก้ปัญหาการบินภาพรวมต่อครม.เพื่อปลดธงแดง ICAO
  - กลุ่ม High Dividend INTUCH ADVANC KTB KKP TISCO
  - TCAP ธนาคารแห่งโนวาสโกเทียเดินหน้าหาผู้ซื้อ หุ้นธนชาต 49% คาดว่าจะเปิดประมูลรอบแรกได้ในช่วง Q2/59

หุ้นแนะนำพิเศษ
  BANPU ราคาปิด 18.2 บาท ราคาพื้นฐาน 22 บาท
  คาดปี 2016 พลิกเป็นกำไรที่ 1,510 ลบ. (+198% YoY) จากการโรงไฟฟ้า BLCP และโรงไฟฟ้าหงสาจะทำการผลิตไฟฟ้าครบทั้ง 3 หน่วย ซึ่งจะชดเชยผลประกอบการของธุรกิจถ่านหินที่ปรับตัวลง
  ปรับลดการลงทุนในธุรกิจถ่านหินเพื่อเน้นธุรกิจโรงไฟฟ้าสู่ 2.4 GW ในปี 63 โดยในปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 1.63 GW (รวมโรงไฟฟ้าหงสาทั้ง 3 หน่วย)
  เตรียมนำ BANPU POWER (BPP) เข้าตลท.ในช่วง 2H59 ซึ่งจะช่วยชำระคืนเงินกู้แก่ BANPU ราว 400 ล้านดอลลาร์ และลดภาระดอกเบี้ยได้ราว 800 ล้านบาทต่อปี

หุ้นมีข่าว
  PTT (ราคาปิด 264 ) มั่นใจงบปี 59 ฟื้นกำไรสุทธิมากกว่าปีก่อน คาดไม่มีบันทึกด้อยค่าเหมือนปีก่อน ถ้าราคาน้ำมันไม่หลุด 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เชื่อภาวะราคาน้ำมันตลาดโลกผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ตั้งงบลงทุน 5 ปี 3 แสนล้านบาท (ที่มา:ข่าวหุ้น)
  CK (ราคาปิด 23.20) รายงานกำไรปี 58 ที่ 2,192 ล้านบาท -5%YoY พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผล 0.4 บาทต่อหุ้นคิดเป็นอัตราผลตอบแทน 2.8% ต่อปี (ปันผลรวม 0.65 บาทต่อหุ้น) ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 4 พ.ค.
  CI (ราคาปิด 2.42) มีแผนร่วมทุนกับบริษัทใหญ่รับเหมาก่อสร้างจีนพัฒนาคอนโดฯเชียงใหม่มูลค่า 1.2 พันลบ. บริษัทได้เข้าบริหารโรงแรมที่เกาะไหหลำ 20 ปี เล็งเพิ่มที่เซี่ยงไฮ้- ต้าลี่ รวมทั้งมีแผนจัดตั้งกอง REIT 1.5 พันลบ.ใน H2/59 ตั้งเป้าแตะ 1 หมื่นลบ.ในปี 62 ส่วนผลประกอบการปี 58 พลิกมีกำไร 132 ล้านบาทจากที่ขาดทุน 28 ล้านบาทในปี 57
  TPOLY (ราคาปิด 3.08 ซื้อเก็งกำไร) ลั่นปี 2559 ผลงานพลิกเป็นกำไร จากปีก่อนที่ขาดทุนราว 278.06 ล้านบาท อานิสงส์งานเรียงคิวบุ๊กอื้อซ่า นาย "ไชยณรงค์ จันทร์พลังศรี" ใส่เกียร์ลุยของใหม่ 1.4 พันล้านบาท ปั๊ม Backlog เพิ่มจากเดิมราว 5 พันล้านบาท กินยาวปีหน้า (ที่มา:ทันหุ้น)

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : -57.32 จุด
  ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 57.32 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 16,639.97 ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 3.65 จุด หรือ 0.19% ที่ระดับ 1,948.05 ดัชนี Nasdaq บวก 8.26 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,590.47ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ภายหลังมุมมองบวกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นเริ่มอ่อนแรงลง ประกอบกับราคาน้ำมันได้กลับมาปรับลดลงอีกครั้ง หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา

ตลาดน้ำมัน NYMEX : -0.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
  สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.9% แตะที่ 32.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นประมาณ 3.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 เนื่องจากเทรดเดอร์ขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาด หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

ปัจจัยบวก

+ สหรัฐเปิดเผยว่าตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ครั้งที่ 2 สำหรับ 4Q58 ขยายตัว 1% โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 0.7% แต่ลดลงจากระดับ 2.0% ในไตรมาส 3 และ 3.9% ในไตรมาส 2
+ สหรัฐรายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ กระทรวงยังรายงานว่า รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2015
+ สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และพุ่งขึ้น 1.3% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2014
+ เยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีร่วงลงสู่ระดับ 0% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน อันเนื่องจากการดิ่งลงของราคาพลังงาน ส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเดือนหน้าเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ
+ ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า จีนจะคงดำเนินนโยบายการเงินให้มีเสถียรภาพต่อไปอีกทั้งแสดงจุดยืนคัดค้านการลดค่าเงินเพื่อหวังผลด้านการแข่งขันทางการค้า แม้บางประเทศได้มีการดำเนินงานดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการส่งออกของตน
+ ที่ประชุมกลุ่มประเทศ G20 ออกแถลงการณ์ร่วมให้คำมั่นว่าจะใช้เครื่องมือนโยบายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การคลัง และเชิงโครงสร้าง ทั้งใช้แยกกันและใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพของตลาดและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงซบเซาและไม่กระจายตัว และย้ำจุดยืนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่แต่ละประเทศจะไม่ลดค่าเงินเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแข่งขัน
+ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรม การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ฟันด์) วงเงิน 1 แสนล้านบาท กล่าวว่าในเดือน มี.ค.นี้ จะสามารถจัดตั้งกองทุน และจะขายหน่วยลงทุนส่วนแรก 1 หมื่นล้านบาท ให้กับนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนวายุภักษ์ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ก่อนเป็นอันดับแรก
ปัจจัยลบ

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่าสินเชื่อแบงก์เดือน ม.ค.ยังหดตัวจากเดือนก่อนหน้า 5 หมื่นล้าน เหตุแห่ชำระคืนเงินกู้ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อยังไม่กระเตื้องรอโครงการรัฐนำร่อง ด้านเงินฝากลดลงตาม ขณะที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 59 เป็นต้นมา ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทสมาชิกได้ขอเข้ามาตรวจสอบข้อมูลลูกค้ารายเดิมกับเครดิตบูโรถี่ขึ้นอย่างมาก จากปกติตรวจสอบข้อมูล 6 เดือนต่อครั้ง เป็นตรวจสอบ 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อบริหารความเสี่ยงในการปล่อยกู้
- สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. เผยเศรษฐกิจเดือนมกราคม ยังมีสัญญาณชะลอตัวลง หลังส่งออกยังทรุด การใช้จ่ายเอกชนชะลอตัว เล็งปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกในเดือน เม.ย.นี้

ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ

29 ก.พ. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม แถลงดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2559 เพื่อสรุปภาพรวมภาวะอุตสาหกรรม และรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2559 / ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือนม.ค. / วันสุดท้ายในการส่งงบปี 58 ในกรณีที่ไม่ส่งงบ Q4 ของบริษัทจดทะเบียน / วันนี้มีกำหนดประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (กกร.)
21 มี.ค. ครบกำหนดวางเงินงวดแรกของผู้ชนะประมูล 4G
23-26 มีนาคมประชุมสรุปร่างรธน.นัดสุดท้ายนอกสถานที่ที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งมอบให้ครม.นำไปทำประชามติต่อไปในวันที่ 29 มี.ค.
31 ก.ค. กำหนดวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (เบื้องต้น)


ต่างประเทศ

จับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
29 ก.พ.สหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนก.พ./ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือนม.ค.
เยอรมนีเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนม.ค.
ญี่ปุ่นเปิดเผยยอดการผลิตรถยนต์เดือนม.ค./ยอดส่งออกรถยนต์เดือนม.ค./ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนม.ค./ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค./ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.
1 มี.ค.สหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ./ ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.พ./ ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้างเดือนม.ค.
เยอรมนีเปิดเผยข้อมูลว่างงานเดือนก.พ./ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต ก.พ.
อียูเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนก.พ./ข้อมูลว่างงานของสหภาพยุโรปเดือนม.ค.
ญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลว่างงานเดือนม.ค./ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนม.ค.
Analyst : วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์
     ชัยยศ จิวางกูร
     บุญฤทธิ์ เบญจธนารักษ์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!